ลี้ภัยการเมืองร่วม 4 ปี ล่าสุด 'สม รังสี' กลับกัมพูชาแล้วหลัง
'ฮุน เซ็น' ขอกษัตริย์สีหมุนีอภัยโทษ มีผู้สนับสนุนนับหมื่นรอฟังปราศรัย
ขณะที่ผู้นำฝ่ายค้านกัมพูชาได้ก้มลงจูบแผ่นดินเมื่อมาถึง
และโพสต์สเตตัสว่าจะไม่มีวันลืมวันนี้
ล่าสุดวันนี้ (19 ก.ค.) เพจของสม รังสี ได้เผยแพร่ภาพนายสม รังสี เดินทางกลับประเทศกัมพูชา โดยเขาได้ก้มลงจูบแผ่นดินเมื่อกลับมาถึง และปราศรัยกับผู้สนับสนุนนับหมื่นคนที่ออกมาชุมนุมในพนมเปญ
โดยเมื่อมาถึงพนมเปญ เพจของสม รังสีได้โพสต์ภาพของเขากำลังก้มลงจูบแผ่นดิน และลงข้อความว่า "ผมอยู่ที่นี่ ความฝันของผมเป็นจริงแล้ว ทั้งชีวิตของผมจะไม่มีวันลืมวันนี้"
สม รังสี ปัจจุบันอายุ 62 ปี ได้ลี้ภัยออกจากกัมพูชาในปลายปี 2552 หลังถูกศาลตัดสินข้อหายั่วยุ ให้ข้อมูลผิดพลาด และทำลายทรัพย์สินสาธารณะ หลังจากที่เขาได้ไปรื้อหมุดเขตแดนที่ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยศาลพิพากษาจำคุก 12 ปี และถูกห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปกัมพูชา
ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชา มีกำหนดจัดในวันที่ 28 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ โดยปัจจุบัน พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) นำโดยนายฮุน เซ็น ครองเสียงข้างมากอยู่ในสภาโดยมี ส.ส. 90 คน ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ที่มีนายสม รังสี เป็นผู้นำ ขณะนี้มีเสียงในสภา 26 ที่นั่ง โดยสม รังสี ถึงแม้จะไม่ได้ลงรับสมัครเลือกตั้ง แต่ก็เตรียมช่วยสมาชิกพรรคหาเสียงในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนจะถึงวันเลือกตั้ง 28 กรกฎาคมนี้
สำหรับพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เดิมชื่อพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (KPRP) ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2524 โดยนายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ปกครองกัมพูชามาอย่างยาวนานกว่า 27 ปี และประกาศว่าจะอยู่ในอำนาจอีก 30 ปี ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) เกิดจากการรวมกันของพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา 2 พรรคคือพรรคสม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนตั้งแต่กลางปี 2555 และจะร่วมกันแข่งขันในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคมนี้
อนึ่งก่อนหน้านี้ ายสม รังสี มีกำหนดเสวนาและเปิดตัวหนังสือ "เราไม่ใช่ตัวปัญหา: การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในกัมพูชาของข้าพเจ้า" (We Didn't Start the Fire: My Struggle for Democracy in Cambodia) ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ในวันที่ 5 มิถุนายน 2556 แต่มีรายงานว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่ไทยห้ามไม่ให้เข้าประเทศและถูกส่งกลับ อย่างไรก็ตามเขาใช้วิธีแถลงผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เข้ามาที่ FCCT แทน และได้แสดงความแปลกใจที่ทางการไทยห้ามเขาเข้าประเทศ เพราะเมื่อสองเดือนก่อนเขาก็ยังเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ตามปกติ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ที่มาของภาพ: เพจ Sam Rainsy
ที่มาของภาพ: เพจ Sam Rainsy
ตามที่เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ประชาไทเสนอข่าวกษัตริย์นโรดม
สีหมุนีของกัมพูชาได้พระราชทานอภัยโทษให้กับ สม รังสี
ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ซึ่งลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศ
โดยผู้ขอพระราชทานอภัยโทษคือฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง) และต่อมาสม รังสีมีกำหนดกลับพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 19 ก.ค. นั้นล่าสุดวันนี้ (19 ก.ค.) เพจของสม รังสี ได้เผยแพร่ภาพนายสม รังสี เดินทางกลับประเทศกัมพูชา โดยเขาได้ก้มลงจูบแผ่นดินเมื่อกลับมาถึง และปราศรัยกับผู้สนับสนุนนับหมื่นคนที่ออกมาชุมนุมในพนมเปญ
โดยเมื่อมาถึงพนมเปญ เพจของสม รังสีได้โพสต์ภาพของเขากำลังก้มลงจูบแผ่นดิน และลงข้อความว่า "ผมอยู่ที่นี่ ความฝันของผมเป็นจริงแล้ว ทั้งชีวิตของผมจะไม่มีวันลืมวันนี้"
สม รังสี ปัจจุบันอายุ 62 ปี ได้ลี้ภัยออกจากกัมพูชาในปลายปี 2552 หลังถูกศาลตัดสินข้อหายั่วยุ ให้ข้อมูลผิดพลาด และทำลายทรัพย์สินสาธารณะ หลังจากที่เขาได้ไปรื้อหมุดเขตแดนที่ชายแดนไทย-กัมพูชา โดยศาลพิพากษาจำคุก 12 ปี และถูกห้ามลงสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งทั่วไปกัมพูชา
ส่วนการเลือกตั้งทั่วไปของกัมพูชา มีกำหนดจัดในวันที่ 28 กรกฎาคม ที่จะถึงนี้ โดยปัจจุบัน พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) นำโดยนายฮุน เซ็น ครองเสียงข้างมากอยู่ในสภาโดยมี ส.ส. 90 คน ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ที่มีนายสม รังสี เป็นผู้นำ ขณะนี้มีเสียงในสภา 26 ที่นั่ง โดยสม รังสี ถึงแม้จะไม่ได้ลงรับสมัครเลือกตั้ง แต่ก็เตรียมช่วยสมาชิกพรรคหาเสียงในช่วงโค้งสุดท้าย ก่อนจะถึงวันเลือกตั้ง 28 กรกฎาคมนี้
สำหรับพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เดิมชื่อพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (KPRP) ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2524 โดยนายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ปกครองกัมพูชามาอย่างยาวนานกว่า 27 ปี และประกาศว่าจะอยู่ในอำนาจอีก 30 ปี ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) เกิดจากการรวมกันของพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา 2 พรรคคือพรรคสม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนตั้งแต่กลางปี 2555 และจะร่วมกันแข่งขันในการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคมนี้
อนึ่งก่อนหน้านี้ ายสม รังสี มีกำหนดเสวนาและเปิดตัวหนังสือ "เราไม่ใช่ตัวปัญหา: การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในกัมพูชาของข้าพเจ้า" (We Didn't Start the Fire: My Struggle for Democracy in Cambodia) ที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ในวันที่ 5 มิถุนายน 2556 แต่มีรายงานว่าเขาถูกเจ้าหน้าที่ไทยห้ามไม่ให้เข้าประเทศและถูกส่งกลับ อย่างไรก็ตามเขาใช้วิธีแถลงผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เข้ามาที่ FCCT แทน และได้แสดงความแปลกใจที่ทางการไทยห้ามเขาเข้าประเทศ เพราะเมื่อสองเดือนก่อนเขาก็ยังเดินทางเข้ามาประเทศไทยได้ตามปกติ (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น