แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

"หมอเลี้ยบ"แจงทุกปม ปัดเอื้อ"ชินคอร์ป"

ที่มา มติชน

 


หมายเหตุ - เมื่อ วันที่ 18 กรกฎาคม นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้สัมภาษณ์กรณีถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) มีมติ 6 ต่อ 2 ชี้มูลความผิด สมัยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีไอซีทีกับพวก กรณีอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) เพื่อลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือในบริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 เป็นไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดโดยมิชอบ มีมูลความผิดทางอาญา มาตรา 157 โดยนายไกรสร พรสุธี เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงไอซีที เป็นผู้ถูกกล่าวหาที่ 2 และนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ เป็นผู้ถูกกล่าวหาที่ 3 ยังมีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535 อีกด้วย
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี

ข้อ เท็จจริงของคดีดังกล่าวที่เกี่ยวข้องมีหลายประเด็นด้วยกัน ประเด็นแรก กิจการดาวเทียมเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่ประเทศกำลังประสบภัยพิบัติ หากนอกเหนือไปจากกิจการโทรคมนาคมหรือการแพร่ภาพกระจายเสียงวิทยุและโทรทัศน์ ต่างๆ แล้ว ดาวเทียมที่ชื่อว่า ไอพีสตาร์ ยังเป็นดาวเทียมที่สามารถให้บริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์ได้ด้วย จะเห็นว่าในช่วงที่ประเทศญี่ปุ่นเกิดสึนามิ โครงข่ายโทรคมนาคมภาคพื้นดินถูกทำลาย ไม่สามารถใช้การได้ การติดต่อสื่อสารทำไม่ได้เลย รัฐบาลญี่ปุ่นจึงได้ขอความช่วยเหลือสนับสนุนกิจการการสื่อสารจากดาวเทียมไอ พีสตาร์ ทำให้ญี่ปุ่นสามารถทำการสื่อสารในระหว่างการเกิดภัยพิบัติได้ นี่คือประโยชน์ และแสดงให้เห็นว่ากิจการดาวเทียมมีความสำคัญมาก

ประเด็น ถัดมา กิจการดาวเทียมไม่ใช่ธุรกิจที่แข่งขันกันเฉพาะภายในประเทศ เป็นการแข่งขันระหว่างประเทศ บางคนอาจจะบอกว่าดาวเทียมเป็นธุรกิจผูกขาด ความจริงไม่ใช่ เพราะการให้บริการดาวเทียมไม่เหมือนกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่พอ พ้นอาณาเขตของประเทศไทยไปแล้วจะต้องใช้โครงข่ายของประเทศอื่น เนื่องจากสถานีพื้นดินจะตั้งอยู่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ดาวเทียมไม่ใช่ลักษณะนั้น เพราะดาวเทียมลอยอยู่บนอวกาศสามารถให้บริการนอกพรมแดนได้หมด


สมมุติว่า การให้สัมปทานกับ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จะทำให้บริษัทดังกล่าวผูกขาดอยู่เพียงรายเดียว ความจริงมันไม่ใช่แบบนั้น เพราะจะต้องแข่งขันในเรื่องวงโคจรของดาวเทียม และแข่งขันในเรื่องของการให้บริการด้วย ดังนั้น การให้บริการดาวเทียมจึงเป็นการแข่งขันระหว่างประเทศด้วย

ตอนประเทศ ไทยเริ่มต้นที่จะมีเรื่องโครงการในการให้บริการเรื่องดาวเทียมนั้น สัญญาในการให้บริการเป็นสัญญาประเภท Build Transfer Operation (BTO) กล่าวคือ เมื่อมีการยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน จะต้องโอนดาวเทียมให้กับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ทันที ฉะนั้น มีบางคนออกมาพูดว่าดาวเทียมเป็นของต่างชาติก็ต้องบอกว่าไม่ใช่ เพราะในขณะนี้ดาวเทียมทุกดาวเป็นของกระทรวงไอซีทีโดยอัตโนมัติตามสัญญาอยู่ แล้ว โดยที่กระทรวงไอซีทีไม่ต้องลงทุนแต่ให้สัมปทานบริษัทเอกชนเป็นผู้ลงทุนแทน กระทรวงไอซีทีเป็นผู้รับส่วนแบ่งรายได้ 20.5 เปอร์เซ็นต์ โดยที่ไม่ได้หักค่าใช้จ่ายด้วย

เรื่องที่เป็นคดีอยู่ในขณะนี้ บริษัทแม่ถือหุ้นคือ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ต้องถือหุ้นบริษัทลูก คือ บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) หรือ บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 51 เปอร์เซ็นต์ แต่บริษัทแม่มาขอลดสัดส่วนการถือหุ้นลง เป็นสัญญาที่แตกต่างกับสัญญาอื่น

ใน ตอนนั้นได้ถามผู้ที่เกี่ยวข้องว่าทำไมถึงมีข้อกำหนดลักษณะนี้ ได้รับการบรรยายสรุปว่า เหตุที่ต้องมีข้อกำหนดในลักษณะดังกล่าวเพราะว่าในขณะที่มีการให้สัมปทานนั้น เรื่องกิจการดาวเทียมอาจจะเป็นกิจการที่ยังไม่มีความมั่นใจว่าจะคืนทุนได้ เร็วแค่ไหน ฉะนั้น เอกชนอาจจะบิดพลิ้วไม่ยอมลงทุนทำตามสัญญาก็ได้ จึงออกข้อกำหนดบังคับให้บริษัทแม่จะต้องถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ เป็นอย่างน้อย เพื่อที่จะเป็นพันธสัญญาว่า ภายหลังจากการรับสัมปทานไปแล้วจะต้องปฏิบัติตามสัญญาโดยเคร่งครัด

แต่ ในระหว่างการจะดำเนินการยิงดาวเทียมชื่อว่า ไอพีสตาร์ เป็นโครงการที่ใหญ่มาก เขาจึงอยากจะระดมทุนโดยการกระจายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จึงมาเสนอปรับข้อกำหนดดังกล่าวให้บริษัทแม่ถือหุ้นในบริษัทลูกเพียง 40 เปอร์เซ็นต์ โดยยังมีพันธสัญญาว่าแม้จะลดหุ้นดังกล่าวแล้ว พันธสัญญาเดิมที่เคยตกลงไว้ก็จะยืนยันทำตามข้อกำหนดเดิมทุกประการ

เรื่อง ดังกล่าวเสนอมาที่กระทรวงไอซีที ในสมัยที่ผมดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีทีอยู่ ทางกระทรวงได้พิจารณาแล้ว และได้ส่งเรื่องไปที่สำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อขอความเห็น ก็ได้ให้ความเห็นว่า ให้นำเรื่องดังกล่าวเสนอสู่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทางกระทรวงก็ได้ส่งเรื่องไปที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ก่อนจะส่งเรื่องกลับมาว่า เรื่องนี้ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเข้า ครม. จึงต้องส่งเรื่องไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดอีกครั้ง และมีความเห็นตอบกลับมาว่า หากไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะเข้าสู่ ครม. ก็ให้เป็นอำนาจของกระทรวงไอซีทีว่าจะดำเนินการแก้ไขสัญญาดังกล่าวได้ กระทรวงไอซีทีจึงได้ดำเนินการ ซึ่งกระบวนการพิจารณาเรื่องดังกล่าวนั้นใช้เวลาถึง 10 เดือน เพราะเราต้องทำอย่างรอบคอบ

อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากรัฐประหารในปี 2549 มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ขึ้นมา ว่าการแก้สัมปทานดังกล่าวเป็นการเอื้อให้เอกชน แต่ผมคิดว่าข้อกล่าวหาตรงนี้เวลาได้เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า โครงการดังกล่าวเอกชนได้ประโยชน์และรัฐก็ได้ประโยชน์ด้วยหรือได้มากกว่า เอกชนด้วยซ้ำ เพราะทำให้เอกชนระดมทุนยิงดาวเทียมดวงใหม่และทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มมากยิ่ง ขึ้น ได้ประโยชน์ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

ทั้งนี้ มติของ ป.ป.ช.ดังกล่าวจะนำไปสู่การพิจารณาคดีในอนาคต หากการพิจารณาในการปรับลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นทำไม่ได้และมีความผิดและเป็น บรรทัดฐานในการพิจารณาคดีนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายมาก เพราะต่อไปการตัดสินใจปรับเปลี่ยนสิ่งใดเพื่อทำให้เอกชนมีความเข้มแข็ง ระหว่างนั้นทำไม่ได้ และความเสียหายก็จะกลับมาสู่รัฐเอง เพราะเอกชนไทยจะสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในเวทีระหว่างนั้นไปทันที

ทั้ง นี้ ในเรื่องกระบวนการดำเนินการฟ้องนั้น ทาง ป.ป.ช.ก็จะส่งเรื่องไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาว่าจะยื่นฟ้อง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองหรือไม่ แต่อย่างที่ผมเรียนไปแล้วว่า ขั้นตอนในระหว่างการพิจารณาปรับลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นได้มีการปรึกษาสำนักงาน อัยการสูงสุด 2-3 ครั้ง จึงทราบเรื่องดังกล่าวดีอยู่แล้ว ดังนั้น จึงอยู่ที่ดุลพินิจของทางอัยการสูง สุดว่าจะฟ้องหรือไม่ แต่หากไม่ฟ้อง ป.ป.ช.ก็มีอำนาจฟ้องเองได้อยู่ดี ผมก็จะเตรียมการต่อสู้กระบวนการต่อไป โดยจะนำข้อมูลข้อเท็จจริงดังกล่าวทั้งหมดไปชี้แจงเช่นกัน



ไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์

ตลอด ชีวิตการทำงานราชการ ผมทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริตมาตลอดภายใต้ความถูกต้อง ฉะนั้นเมื่อ ป.ป.ช.มีผลตัดสินเช่นนี้ ส่งผลให้ต้องออกจากราชการ จึงรู้สึกรับไม่ได้จากผลตัดสินดังกล่าว ในประเด็นที่ ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดมานั้น ขอยืนยันว่าได้กระทำถูกต้องตามกระบวนการทุกอย่างด้วยความรอบคอบ โดยข้อเท็จจริงในเวลานั้น บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือมาสอบถามเรื่องข้อเท็จจริงต่างๆ รวมถึงความเป็นไปได้ในการแก้ไขสัดส่วนผู้ถือหุ้น ซึ่งกระทรวงไอซีทีเวลานั้น ได้พิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้าน

โดยเฉพาะในประเด็นที่บริษัทไทยคม ที่มี บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ยังเป็นบริษัทของคนไทยอยู่หรือไม่ อีกทั้งในเวลานั้นกระทรวงไอซีทียังได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอให้ ครม.พิจารณา แต่ทางเลขาธิการ ครม. มีหนังสือตอบกลับมาว่าเรื่องดังกล่าวไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่ต้องเสนอเข้า ครม.และอัยการสูงสุดพิจารณา โดยได้ตอบกลับมายังกระทรวงไอซีทีว่าการพิจารณาดังกล่าวไม่ได้ทำให้ประเทศ ชาติเสียหายแต่อย่างใด และให้เป็นดุลพินิจของกระทรวงไอซีที ทางกระทรวงไอซีทีจึงได้ลงนามอนุมัติแก้ไขสัญญาให้แก่บริษัทไทยคม

กระบวน การทั้งหมด ที่ ป.ป.ช.ตัดสินว่า ผมทุจริตในมาตรา 157 คือการจงใจละเว้นปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งคำว่าจงใจ หมายถึง รู้ทั้งรู้ว่าผิดยังดำเนินการอยู่ แต่กระบวนการดังกล่าวผ่านมานานแล้วกว่า 10 ปี และไม่มีอะไรเสียหาย จากกระบวนการแก้สัญญานี้ผมเป็นเพียงกระบวนการทางผ่าน แต่กลับโดนมาตรา 157 จึงมองว่าไม่ยุติธรรม ดังนั้น อยากขอบารมีศาล ช่วยเมตตาคุ้มครอง เพราะที่สุดแล้วผมเชื่อว่าประเทศนี้ยังคงมีความยุติธรรมอยู่


น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ

สำหรับ ประเด็นที่ ไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ ปลัดกระทรวงไอซีที เป็น 1 ในผู้ที่ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดในครั้งนี้ ขอไม่แสดงความเห็นแต่อย่างใด เพราะเบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงาน หรือเอกสารที่เป็นข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าวจากทาง ป.ป.ช. หากทาง ป.ป.ช.มีมติและส่งรายละเอียดมายังกระทรวงไอซีทีแล้ว กระทรวงไอซีทีก็จะนำมาพิจารณาในขั้นตอนของกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ต่อไป โดยจะยึดความถูกต้องเป็นหลัก

หน้า 2,มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น