โสภณ พรโชคชัย
ประธานกรรมการบริหาร ศูนย์ข้อมูลวิจัยและประเมินค่าอสังหาริมทรัพย์ไทย
บจก. เอเจนซี่ ฟอร์ เรียลเอสเตท แอฟแฟร์ส
ที่มา: AREA แถลง ฉบับที่ 98/2556: วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม 2556
วันนี้ขอฉายภาพหลายกรณีศึกษาอสั
งหาริมทรัพย์ต่างประเทศที่พึงศึ
กษาไว้ เพื่อพัฒนาประเทศชาติของเราเอง ตั้งแต่ราคาบ้านในสหรัฐอเมริ
กาล่าสุด การล่มสลายของนครดีทรอยท์ การพัฒนาปากแม่น้ำสิงคโปร์ให้
กลายเป็นอ่างเก็บน้ำ และท่าเรือน้ำลึกมาเลเซียที่มุ่
งแข่งกับสิงคโปร์
ราคาบ้านในสหรัฐอเมริกา
ราคาที่อยู่อาศัยในสหรัฐอเมริกา ณ
สิ้นเดือนพฤษภาคม 2556 ซึ่งเป็นเดือนล่าสุดที่สำรวจ
เพิ่มขึ้น 0.7% และเดือนเมษายน
ก็เพิ่มขึ้น 0.5% ทั้งนี้ราคาบ้านเพิ่มขึ้นต่อเนื
่องเป็นเวลา 15 เดือนติดต่อกันแล้ว แสดงชัดว่าตลาดอสังหาริมทรัพย์
ฟื้นตัว ซึ่งมีปัจจัยมาจากเศรษฐกิ
จของประเทศฟื้นตัว จึงมีกำลังซื้อบ้านกลับเข้
ามาใหม่ จนดันราคาบ้านเพิ่มขึ้น
อาจกล่าวได้ว่าในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา พฤษภาคม 2555-2556 ราคาบ้านเพิ่มขึ้น 7.3% ซึ่งเพิ่มขึ้นสูงกว่าราคาบ้
านใน
กรุงเทพมหานครที่ประมาณ 5% เสียอีก อย่างไรก็ตามราคาบ้าน ณ
เดือนเมษายน 2556 หรือเดือนล่าสุดนี้ ยังต่ำกว่าราคาที่เคยขึ้นสูงสุด ณ
เดือนเมษายน 2550 อยู่ประมาณ 11.2% ราคาบ้านล่าสุดนี้เท่ากับราคาบ้
านเมื่อเดือนมกราคม 2548 หรือ 27 เดือนก่อนที่ราคาบ้านจะขึ้นสู
งสุดและดิ่งเหวลงมา
การตกต่ำของราคาบ้านในสหรั
ฐอเมริกา
เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2550 ที่ราคาบ้านสูงสุด
จนถึงเดือนมีนาคม 2554 เป็นเวลารวมกันถึงเกือบ 4 ปี (46 เดือน)
นับแต่เดือนพฤษภาคม 2550 แล้ว ราคาบ้านก็ทรง ๆ
ต่อมาจนถึงเดือนมกราคม 2555 เป็นเวลา 7 เดือน และหลังจากนั้น
ราคาบ้านก็เริ่มเพิ่มสูงขึ้
นจนถึงเดือนพฤษภาคม2556 ที่สำรวจล่าสุด
โดยที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริ
กาฟื้นตัว ก็น่าจะส่งผลดีต่อโลก ทำให้มีกำลังในการซื้อสินค้
าและบริการจากทั่วโลก ทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้รับอานิสงส์ไปด้วย คาดว่าประเทศไทยจะได้รับผลดี
ตามไปด้วยในอนาคต และประเทศไทยควรรณรงค์เชิญชวนนั
กลงทุนและนักท่องเที่ยวเข้ามายั
งประเทศให้มากขึ้น
การล้มละลายของนครดีทรอยต์
ไม่กี่วันที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ลงข่าวกันพอสมควรถึ
งการล้มละลายของนครดีทรอยต์ที่
เคยเป็นมหานครใหญ่อันดับหนึ่
งในห้าของสหรัฐอเมริกาที่เป็นศู
นย์รวมผลิตรถยนต์ของประเทศ แต่ขณะนี้ ตกต่ำอย่างหนักจนนครแห่งนี้มี
หนี้ท่วมถึง 450,000 ล้านบาท บริการสาธารณะต่าง ๆ ก็ต้องปิดไป หรือไม่ก็มีบริการที่ไม่เพียงพอ
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิ
นก็ด้อยลงอย่างมาก เดือนหน้าผมจะไปถ่ายรูปมาให้ดู
ครับ เพราะผมมีคิวไปบรรยายในนครใกล้ ๆ
นครแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปี 2353 หรือ 202 ปีก่อน มีอายุน้อยกว่ากรุงเทพมหานครเล็
กน้อย
ปีที่มีประชากรสูงสุดคือปี พ.ศ.2503 โดยในเขตนครมีประชากรถึง 1,670,144 คน
ณ ขนาดเมืองที่ 359 ตารางกิโลเมตร แต่ลดลงเหลือเพียง 713,777
คนในการสัมโนล่าสุด พ.ศ.2553 และล่าสุดเหลือประมาณ 700,000 คน
เท่านั้น การที่ประชากรลดก็เพราะอุ
ตสาหกรรมยานยนต์ย่ำแย่ลง คนจึงย้ายออก อย่างไรก็ตามในภูมิ
ภาคมหานครและปริมณฑล ประชากรกลับพอ ๆ กันเมื่อเทียบกับ 40 ปีที่ผ่านมา ทั้งนี้แสดงว่าประชากรย้
ายออกชานเมือง ซึ่งยิ่งทำให้เมืองมีปัญหาในทุ
กวันนี้ ด้วยสาธารณูปโภคไม่สามารถขยายตั
วได้ทั่วถึงตามงบประมาณที่มีอยู
่อย่างจำกัด
กรุงเทพมหานครที่เคยได้ชื่อว่
าเป็น "ดีทรอยต์แห่งเอเซีย" ก็ต้องสำเหนียกไว้เช่นกัน เพราะหากประเทศเพื่อนบ้านเติ
บใหญ่ ท่าเรือหลักอยู่ที่โฮชิมินห์ซิ
ตี้ สิงคโปร์และทะวาย ประเทศต่าง ๆ บินติดต่อกันเองโดยไม่พึ่งพิ
งกรุงเทพมหานครเป็นตัวเชื่อม โรงงานหลักๆ ย้ายออกไปตั้งอยู่ในอินโดนีเซี
ยและฟิลิปปินส์ ประกอบกับความไม่สงบภายในประเทศ ก็อาจทำให้กรุ
งเทพมหานครของเราหงอยไปถนัดตาก็
ได้ หวังว่าฝันนี้จะไม่เป็นจริง
ท่าเรือน้ำลึกจาฮอร์
พอดีเร็ว ๆ นี้ผมมีคิวไปบรรยายในการสั
มมนานานาชาติด้านที่อยู่อาศัย ที่รัฐจาฮอร์ มาเลเซีย ซึ่งเป็นที่ตั้งของท่าเรือน้ำลึ
กใน
เขตเศรษฐกิจพิเศษชื่อ Iskandar Malaysia หรือชื่อเดิมว่า Iskandar
Region ซึ่งเพิ่งพัฒนาเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อปี พ.ศ.2549 ที่ผ่านมานี้เอง
เพราะมาเลเซียต้องการแข่งขันด้
านการท่าเรือแข่งกับสิงคโปร์ โดยมีการจัดตั้งองค์กรใหม่ชื่อ Iskandar Regional Development Authority เป็นผู้ดำเนินการพัฒนา
ขนาดของเขตเศรษฐกิจพิเศษนี้ใหญ่
ถึง 2,217 ตารางกิโลเมตร ในพื้นที่นี้มีการก่อสร้างศูนย์
ธุรกิจใจกลางเมืองขึ้นมาใหม่ มีเขตที่อยู่อาศัย เขตอุตสาหกรรม เขตท่าเรือน้ำลึก โดยมุ่งหวังให้พื้นที่นี้เป็นศู
นย์สุขภาพของโลก เพราะมีโรงพยาบาลดี ๆ เป็นเมืองการศึกษาโดยให้มหาวิ
ทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งในพื้นที่นี้ ที่พิเศษและน่าสนใจยิ่งก็คื
อในพื้นที่พิเศษนี้ชาวสิงคโปร์ สามารถเข้ามาทำงานได้โดยไม่ต้
องมีใบอนุญาตใด ๆ ถือว่าเป็นประชากรของพื้นทื่นี้
เพื่อจูงใจให้ความเจริญไหลมาที่
มาเลเซียบ้าง
มาเลเซียลงทุนเต็มที่ ชวนบริษัทเดินเรืออันดับหนึ่
งให้ทิ้งสิงคโปร์
มาใช้ที่นี่ จูงใจประชาชน
ทำให้ชาวสิงคโปร์มาซื้อบ้านในที่นี้เป็นบ้านหลังที่สอง
และต้อนรับนักลงทุนจากทุกชาติ มีการเดิ
นสายแนะนำโครงการโดยตลอด ข้างฝ่ายสิงคโปร์ก็รุกรับกันน่าดู จนขณะนี้สิงคโปร์ก็เป็นหุ้นส่
วนการพัฒนาโครงการนี้แล้ว นึกแล้วทำให้ท้อใจเพราะในกรณี
ประเทศไทย การคิดนอกกรอบและคิดการใหญ่เช่
นนี้แทบไม่เคยเกิดขึ้น แล้วต่อไปไทยก็คงแข่งกับชาติอื่
นได้ยาก
อ่างเก็บน้ำจืดปากแม่น้ำสิงคโปร์
ในที่นี้หมายถึง the Marina Reservoir ซึ่งเป็นพื้นที่ปากแม่น้ำสิ
งคโปร์ เริ่มดำเนินการในวันที่ 30 ตุลาคม 2551 และเริ่มเปลี่ยนเป็นน้ำจืดในวั
นที่ 20 พฤศจิกายน2553 พื้นที่แห่งนี้สามารถเก็บน้ำไว้
ผลิตประปาให้ใช้ได้ประมาณ 10% ของความต้องการใช้น้ำในสิงคโปร์
การที่สิงคโปร์จำเป็นต้องพึ่
งตนเองเรื่องน้ำเพราะที่ผ่
านมาซื้อน้ำมาจากมาเลเซีย ทำให้ต้องขึ้นต่อมาเลเซียเป็
นอย่างมาก
ลองนึกถึงประเทศไทย หากปิดแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นปากอ่
าวไทยเพื่อเก็บเป็นน้ำจืด คงแทบนึกไม่ออก เพราะในความเป็นจริง ประเทศไทยไม่ขาดแคลนน้ำจืด แต่ในอีกแง่หนึ่งสิงคโปร์
สามารถจัดการไม่ให้ชาวบ้าน โรงงานหรือใครก็ตามปล่อยน้ำเสี
ยลงไปในแม่น้ำอย่างเด็ดขาด จึงทำให้สามารถกั้นปากอ่าวให้
กลายเป็นแหล่งน้ำจืดที่ใหญ่ที่
สุดของสิงคโปร์ นี่คือความยิ่งใหญ่ของผู้บริ
หารผู้มีวิสัยทัศน์กว้
างไกลบนเกาะกะจิดริดอย่างสิ
งคโปร์ที่ไทยพึงเรียนรู้
ทุกวันนี้ในพื้นที่อ่างเก็บน้
ำดังกล่าวยังใช้เล่นกีฬาพายเรือ แต่ไม่อนุญาตให้ว่ายน้ำ เพราะจะเก็บน้ำไว้ทำประปา แต่แม่น้ำเจ้าพระยาของกรุ
งเทพมหานครนั้น สกปรกลงทุกวัน ใช้เพื่อการขนส่งสินค้
าและระบายน้ำเสียจากในเมืองเป็
นสำคัญ นี่เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่
าไทยควรพัฒนาไปกว่านี้
อย่าลืมเอาเยี่ยงกา แต่ใช้ต้องเอาอย่างกาไปเสียทุกอย่าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น