แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

พีร์ พงศ์พิพัฒนพันธุ์: 10 ข้อเสนอถึง ททท.สำนักงานอเมริกา

ที่มา ประชาไท


มีคนเคยถามครับว่า คนอเมริกันรู้จักเมืองไทยและชอบที่จะไปเที่ยวเมืองไทยกันมากไหม ซึ่งหมายถึงสถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวระหว่าง 2 ประเทศ ที่หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยหรือ ททท. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ในส่วนฝั่งตะวันตกของอเมริกา นั้น ททท.มีสำนักงานอยูที่ลอสแองเจลิส(แอล.เอ.) ปัจจุบันมี  นางกุลปราโมทย์ วรรณะเลิศ เป็นผู้อำนวยการ
ททท.โดยนายสุรพล เศวตเศรนี ผู้ว่าการฯ บอกว่า แผนการตลาดของ ททท. ในปี 57 จะเน้นการผลักดันรายได้ของนักท่องเที่ยวให้ได้ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้อง การรายได้จากการท่องเที่ยว 2 ล้านล้านบาทในปี 58 แผนการตลาดของททท. คือ ทำให้สัดส่วนของนักท่องเที่ยวระดับกลางและบน เพิ่มขึ้นเป็น 40% จากเดิม 30% และลดสัดส่วนกลุ่มนักท่องเที่ยวระดับล่าง จาก 70% เหลือ 60% เนื่องจากนักท่องเที่ยวระดับบนเป็นนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพที่ใช้จ่ายด้าน การท่องเที่ยวที่สูง โดยคาดว่ารายได้จากการท่องเที่ยวปี 57 จะต้องโต 13% จากปี 56
ส่วนที่แอล.เอ. นางกุลปราโมทย์ ซึ่งรับนโยบายจากนายสุรพล ตั้งเป้านักท่องเที่ยวจากอเมริกาเอาไว้ว่าจะเติบโต 5.8 เปอร์เซ็นต์   โดยททท.แอล.เอ.เป็นผู้กำหนดตัวเลขนี้เอง  ซึ่งตัวเลขของแต่ละประเทศนี้จะไม่เหมือนกัน ขึ้นกับการเอาสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในขณะนั้นๆมาจับ และมองว่าสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจของอเมริกายังฟื้นตัวไม่ค่อยมาก
สำหรับตลาดอเมริกา นางกุลปราโมทย์ บอกว่า ประเทศไทยเป็นตลาด repeater  เสียส่วนมาก คือนักท่องเที่ยวกลุ่มเดิมๆ ที่เคยไปเมืองไทยมาแล้ว สังเกตจากเวลาออกตลาดก็จะพบว่ามีคนอเมริกันมาคุยกับตนเหมือนรียูเนียน (กลับไปเจอกันอีก)เป็นส่วนใหญ่ คือมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น ททท.แอล.เอ.ก็เลยหารือกันว่าในเมื่อเป้าขยับได้ประมาณ 5-6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น  จึงเน้นการโปรโมทว่าจำนวน 5-6 เปอร์เซ็นต์ดังกล่าวนี้  ให้เป็นนักท่องเที่ยวครั้งแรก (first visitors) ซึ่งนำไปสู่การทำงานของ ททท.แอล.เอ ในปีหน้า (2557) ที่ททท.จะเน้นการปฏิบัติการนอกรัฐแคลิฟอร์เนีย
ความเห็นของนางกุลปราโมทย์ต่อความเป็นไปของตลาดท่องเที่ยวในอเมริกาโดย เฉพาะการดึงนักท่องเที่ยวให้ไปเที่ยวเมืองไทยนั้น ความจริงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเหล้าเก่าในขวดใหม่ คือ ยังเป็นปัญหา เดิมๆ เหมือนปัญหาเมื่อ 10-15 ปีที่ผ่านมา หรืออาจมากกว่านั้นด้วยซ้ำ และการที่เราจะดูว่า ททท. ประสบผลสำเร็จในการส่งเสริมการท่องเที่ยวมากน้อยแค่ไหน จำเป็นต้องเปรียบเทียบกับการส่งเสริมการ ท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้านของไทย อย่างเช่น มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนามและสิงคโปร์ครับ
ที่สำคัญคือ การส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการดันหลังให้นักเที่ยวอเมริกันไปเที่ยว ไทยด้วย แล้ว อย่าไปนึกว่าง่ายครับ ผมเกรงว่าที่พูดวางแผนกันอยู่จะทำไม่ได้จริง และจะเป็นเหตุให้เรียกททท. สำนักงาน แอล.เอ.ได้ว่า “พิเศษเฉพาะคนไทย(เท่านั้น)” ด้วยเงื่อนไขบางประการ ดังนี้
1.นักท่องเที่ยวหรือคนอเมริกันจำนวนมากไม่ รู้จักเมืองไทย พอถามว่ารู้จักเมืองไทยไหม ก็บอกว่า อ๋อ รู้จักสิ ไต้หวัน ไง !  เป็นการบ้านที่ททท.ต้องคิดว่าทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวอเมริกันรู้จักเมือง ไทย ถ้าเป็นเมื่อก่อนหลายปีมาแล้ว ททท.เคยโฆษณาผ่านทีวี อย่างเช่น ซีเอ็นเอ็นหรือทีวีกระแสหลักของอเมริกัน หรือวารสารสิงพิมพ์อเมริกัน แต่เดี๋ยวนี้หายไปไม่มีการโฆษณาแบบนี้ (หรือผมไม่เจอเอง??)
 2. ระยะการเดินทางที่แสนไกล ยิ่งหากต่อเครื่องด้วยแล้วจะใช้เวลามากกว่า  20 ชั่วโมง หรือแม้แต่
บินตรงก็ยังใช้เวลานานมากอยู่ดี นักท่องเที่ยวอเมริกันส่วนมากพากันนึกถึง เม็กซิโก แคนาดา คอสตาริกา ประเทศในหมู่เกาะแคริบเบียน หรือประเทศในแถบนี้มากกว่าที่จะนึกถึงประเทศในเอเชีย  
3. ผมมีความเชื่อของผมเอง(จากประสบการณ์ส่วนตัว)นะครับว่า คนอเมริกันที่เดินทางไปเมืองไทย ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นนักท่องเที่ยวในแบบของการไปเที่ยวร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เป็นนักธุรกิจและคนที่ญาติหรือ ครอบครัวเกี่ยวดองกับคนไทยไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง และกลุ่มคนพวกนี้มีความจำเป็นต้องเดินทางไปเมืองไทย อยู่แล้ว โดยไม่ต้องอาศัยการชักจูงจากททท.สำนักงานอเมริกา
4. ททท. สำนักงานอเมริกา มักจบลงด้วย “คนไทยในอเมริกา” ในการโฆษณาหรือโปรโมทการท่อง เที่ยว โดยเฉพาะในพื้นที่แคลิฟอร์เนียซึ่งมีคนไทยอาศัยอยู่มากที่สุด ความจริงแล้วมันได้ผลหรือไม่ไม่มีใคร ทราบครับ เพราะไม่มีการทำข้อมูลแบบแยกแยะ ว่ากลุ่มไหนเป็นนักท่องเที่ยวไทย นักท่องเที่ยวไทย-อเมริกัน หรือนักท่องเที่ยวอเมริกันจำนวนเท่าไหร่ ทำให้ยากในการประเมินผลเพื่อสรุปสำหรับการกำหนด นโยบายหรือแผนของททท.เอง
5. โปรโมทการท่องเที่ยวอย่างไร้จุดหมาย หรือการโปรโมทการท่องเที่ยวแบบลอยๆ, จากปัญหา ข้างต้นก็ทำให้การเดินทางไปไทยของนักท่องเที่ยวอเมริกันอืดมากพออยู่แล้ว ยังการกำหนดเป้าหมายกลุ่ม ของลูกค้าที่ไม่แน่ชัดอีก ทำให้ททท.มีแนวโน้มจะหาลูกค้าได้ยากขึ้น การคิดแคมเปญการท่องเที่ยวต้องเข้า ใจสำนึก(sense)ของอเมริกันด้วย ไม่เพียงแต่อาศัย sense แบบไทยๆ เช่น  sense ของทหารผ่านศึกอินโดจีน หรือครอบครัวของทหารเหล่านี้ พวกเขายังมีความสัมพันธ์เชิงความหลัง ความรู้สึกกับเมืองไทยอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้จำเพาะว่า เป็นเมืองไทยเท่านั้น แต่เป็นกับประเทศเพื่อนบ้านของไทยเช่น เวียดนาม ลาว กัมพูชาที่เคยเป็นสมรภูมิด้วย ททท.จำเป็นต้องแสวงหาโอกาสทำนองนี้ให้มากขึ้น
6. เชื่อมจากข้อที่ 5 คือ ททท.ต้องคิดถึงการที่ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค โดยเฉพาะอาเซียน การโปรโมทประเทศไทยเพียงประเทศเดียวถือว่า เป็นวิสัยทัศน์การโปรโมทการท่องเที่ยวที่ล้าสมัยไปแล้ว หากไม่พ่วงเอาประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนเข้าไปด้วย
7.กิจกรรมหน่อมแน้ม ประเภททัวร์เยาวชนไทยจากอเมริกา ทัวร์เล่นกอล์ฟใช้ได้ครับ แต่จริงๆ แล้วมันคือ กิจกรรมประจำ(routine) ซึ่งน่าจะขยายออกไปสู่คนอเมริกันให้มากขึ้น เช่น ลงไปสู่เยาวชน อเมริกัน  หรือผู้เล่นกอล์ฟอเมริกันให้มากขึ้น (เข้าใจว่าอาการเห่อกีฬากอล์ฟของคนไทยในตอนนี้น้อยลงไป หลังจากหมดยุคบูมของไทเกอร์ วู๊ด) 
8.การขยายการโปรโมทการท่องเที่ยวไทยไปยังรัฐ ต่างๆ ที่ไม่ใช่รัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นเรื่องที่น่าจะใช้ คำว่า “เป็นการทดลอง” มากกว่าเพราะหาความแน่นอนของตลาดไม่ค่อยได้ ทั้งนี้เราต้องใช้เอเยนซี่ ที่เป็นมืออาชีพอเมริกันช่วงที่ผ่านมาตั้งแต่สมัยของนายนิติ คงกรุด เป็นผอ.ททท.สำนักงานแอล.เอ. (กว่า 10 ปีมาแล้ว) แต่ไม่ประสบสำเร็จอะไรมากนัก ททท.ต้องวางแผนดีๆ ไม่เช่นนั้นก็เสียเงินเปล่า ยิ่งถ้ากันไปใช้บริการเอเยนซี่ไทยด้วยแล้ว โอกาสของความล้มเหลวก็พอมองเห็นรำไร
9. นโยบายอย่างหนึ่งที่บางประเทศเพื่อนบ้านของไทยทำเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ของเขาเอง คือ การใช้บุคคลอเมริกันผู้มีชื่อเสียง เช่น ดารา นักกีฬา นักการเมืองอเมริกัน ช่วยโปรโมทการท่องเที่ยว ไม่จำเป็นว่าบุคคลเหล่านั้นต้องไปเยือนไทย เสมอไป แต่ถ้าช่วยให้พวกเขาไปเยือนไทยได้ก็จะเป็นการดี  การช่วยอำนวยความสะดวก และช่วยเหลือองค์กรการกุศลอเมริกันก็เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างความ ศรัทธาให้เกิดขึ้นกับอเมริกัน (เวลานี้มีอเมริกันบางกลุ่มตั้งข้อรังเกียจว่าคนไทยดีแต่ take ไม่ค่อยมี give) 
10.ทำงานแบบบูรณาการกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เรื่องนี้นอกเหนือจากหน่วยงานในต่างประเทศของ รัฐไทยแล้ว หลายคนนึกการบินไทย ความจริงไม่เป็นต้องเป็นสายการบินแห่งชาติ(ที่ประสบชะตากรรมขาดทุนเนืองนิจ) เท่านั้นแต่เป็นสายการบินใดก็ได้ที่ให้เงื่อนไขพ้องกับเป้าประสงค์ของททท.
ที่อยากเสนอเพิ่มเติมในเรื่องการทำงานแบบบูรณาการให้กว้างไกลออกไป คือ  ความร่วมมือ ระหว่างประเทศอาเซียนที่มีสำนักงานตัวแทนของแต่ละประเทศในอเมริกาด้วยกัน หากไทยเราเป็นฝ่าย เปิดประเด็น หรืออาจเป็นหัวหอกในการจัดการในเรื่องนี้ ก็จะช่วยให้ศักยภาพของอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ทุกฝ่ายทุกประเทศก็จะมีส่วนในผลประโยชน์ร่วมกันอย่างกลมกลืน.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น