แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2556

พนัส ทัศนียานนท์: ทิศทางการปฏิรูปการเมือง : ทางออกประเทศไทย (2)

ที่มา ประชาไท



อ่าน ทิศทางการปฏิรูปการเมือง : ทางออกประเทศไทย
3. ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์
          คณะนิติราษฎร์เป็นกลุ่มคณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่มีบทบาททางวิชาการโดดเด่นในการต่อต้านการทำรัฐ ประหารโค่นล้มรัฐบาลพรรคไทยรักไทยด้วยการเข้ายึดอำนาจเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยแสดงความกล้าหาญทางวิชาการด้วยการออกแถลงการณ์ในนามคณาจารย์ 5 คนประณามการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการขัดกับหลักนิติรัฐนิติธรรม และหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย ในขณะที่อาจารย์วิชากฎหมายส่วนใหญ่ที่เป็นกระแสหลักของวงการวิชาการ นิติศาสตร์เลือกที่จะไม่แสดงความคิดเห็นใด ๆในทางต่อต้านการรัฐประหารดังกล่าว เพราะมีนักนิติศาสตร์ชั้นแนวหน้าของไทยในระดับปรมาจารย์หลายคน ได้เสนอตัวหรือถูกเรียกให้เข้าไปมีส่วนร่วมและสนับสนุนการรัฐประหารครั้งนี้ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
การแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผยต่อสาธารณชนผ่านการออกแถลงการณ์ การอภิปรายและการประชุมสัมมนาอยู่เป็นประจำและสม่ำเสมอเพื่อชี้แจงให้ ประชาชนโดยทั่วไปเข้าใจเหตุผลและหลักการของกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมายมหาชน ซึ่งเป็นพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามหลักนิติรัฐนิติธรรม ทำให้กลุ่มอาจารย์นิติศาสตร์ 5 คนคณะนี้ซึ่งต่อมาได้ตั้งชื่อกลุ่มของตนว่า “คณะนิติราษฎร์” ได้มีโอกาสสร้างความกระจ่างชัดขึ้นในหมู่ประชาชนคนไทยที่ต่อต้านและไม่เห็น ด้วยกับการใช้อำนาจกำลังทหารทำรัฐประหารเข้ายึดอำนาจรัฐ เพราะถึงแม้จะมีข้ออ้างอยู่เสมอว่ามีเจตนาดีต่อประเทศชาติบ้านเมืองที่ไม่ ต้องการเห็นคนไม่ดีที่ทุจริตคอรัปชั่นมาปกครองบ้านเมืองก็ตาม แต่การทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งของประชาชนตามวิถีทางของ ระบอบประชาธิปไตย ก็คือการเหยียบย่ำและไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชนเสียงข้างมาก ซึ่งตามหลักประชาธิปไตยถือว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองบ้านเมืองเป็นของ ประชาชน จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อหลักนิติรัฐนิติธรรมและไม่ชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการทำรัฐประหารโดยชัดแจ้ง
การรณรงค์ต่อสู้ทางหลักการและหลักความคิดทางวิชาการกฎหมายมหาชนและกฎหมาย รัฐธรรมนูญของคณะนิติราษฎร์ในที่สุดได้ตกผลึกเป็นข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเด่น ชัดออกมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปทางการเมือง 2 ประเด็นสำคัญ ดังต่อไปนี
3.1 การลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย และยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุนี้ คณะนิติราษฎร์จึงเสนอให้มีการลบล้างผลพวงของรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ดังต่อไปนี้
1. ประกาศให้รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และการกระทำใดๆที่มุ่งต่อผลในทางกฎหมายของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน 2549 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2549 เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
2. ประกาศให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 มาตรา 36 และมาตรา 37 เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
3.  ประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่อาศัย อำนาจตามประกาศของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข (คปค.) และคำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่เป็นผล ต่อเนื่องจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษาที่เกิดจากการเริ่มกระบวน การโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)  เสียเปล่าและถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
4. ประกาศให้เรื่องที่อยู่ในกระบวนพิจารณาในชั้นเจ้าหน้าที่ และเรื่องที่อยู่ในกระบวนพิจารณาในชั้นศาล ที่เกิดจากการเริ่มเรื่องโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความ เสียหายแก่รัฐ (คตส.) เป็นอันยุติลง
5. การประกาศความเสียเปล่าของบรรดาคำวินิจฉัยและคำพิพากษาตามข้อ 3 และ การยุติลงของกระบวนการตามข้อ 4 ไม่ใช่เป็นการนิรโทษกรรมหรือการอภัยโทษหรือการล้างมลทินแก่บุคคลที่ถูกกล่าว หาว่ากระทำความผิด และไม่ใช่เป็นการลบล้างการกระทำทั้งหลายทั้งปวงของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำ ความผิด ดังนั้น หากจะเริ่มดำเนินคดีกับบุคคลดังกล่าวใหม่ก็สามารถกระทำไปตามกระบวนการทาง กฎหมายปกติได้
6. เพื่อความชอบธรรมทางประชาธิปไตย คณะนิติราษฎร์เสนอให้นำข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นไปจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมและนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ
      3.2 การยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ และการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เป็นผลพวงต่อเนื่องจาก
รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จึงมีปัญหาความชอบธรรมทางประชาธิปไตย แม้ว่ารัฐธรรมนูญดังกล่าวผ่านการออกเสียงประชามติก็ตาม แต่กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญและกระบวนการจัดให้มีการออกเสียงประชามติไม่ สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตย
1.     คณะนิติราษฎร์เสนอให้คณะรัฐมนตรีเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม
“หมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่”
2. คณะนิติราษฎร์เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่จะนำมาใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำรัฐธรรมนูญ ใหม่ สมควรเป็นพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และอาจนำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับ พัฒนาการในยุคร่วมสมัยมาเป็นแนวทางในการยกร่าง
3. เพื่อมิให้การรัฐประหารทำลายหลักการอันเป็นรากฐานของนิติรัฐ-ประชาธิปไตยจน หมดสิ้น คณะนิติราษฎร์เสนอให้มีการจัดทำ  “คำประกาศว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย” แม้คำประกาศดังกล่าวจะไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย แต่คำประกาศดังกล่าวเป็นวิญญาณของระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ไม่มีบุคคลใดหรือ ไม่มีวิธีใดทำลายหรือทำให้สูญสิ้นไปได้
4. คำประกาศว่าด้วยคุณค่าอันเป็นรากฐานของระบอบเสรีประชาธิปไตย ยืนยันว่ามนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิอำนาจ สูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย ไม่มีผู้ใดและไม่มีวิธีใดที่จะพรากไปจากราษฎรได้ การปกครองโดยกฎหมายที่ยุติธรรมเป็นคุณค่าพื้นฐานของรัฐ และการแบ่งแยกอำนาจเป็นอุดมการณ์ในการจัดรูปการปกครองที่ต้องธำรงไว้ให้มั่น คงตลอดกาล
5. หลังจากสภาร่างรัฐธรรมนูญให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปออกเสียงประชามติเพื่อให้ความเห็นชอบ
ทิศทางการปฏิรูปและทางออก
          อาจกล่าวได้ว่าข้อเสนอแนะและชี้นำของคณะนิติราษฎร์มีผลเป็นแรงบันดาลใจและ ผลักดันให้มีแรงขับเคลื่อนในกลุ่มพลังทางสังคมที่ต้องการเห็นการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยที่แท้จริงเกิดขึ้นในประเทศไทยเดินหน้ารณรงค์ต่อสู้เรียกร้อง เพื่อหาทางแก้ไขรัฐธรรมนูญเพิ่มมากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าการต่อสู้ดังกล่าวจะได้นำไปสู่การปราบปรามอย่างรุนแรงจากฝ่ายตรง กันข้ามซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทางฝ่ายทหารและกลุ่มพลังฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ให้เป็นรัฐบาลกุมอำนาจรัฐอยู่ในช่วงเวลานั้นก็ตาม จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน และ 19 พฤษภาคม 2553 ทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของประชาชนผู้เคราะห์ร้ายที่ตกเป็นเหยื่อของการใช้ความ รุนแรงเป็นจำนวนมิใช่น้อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงอีกครั้งหนึ่งในสังคม ไทย ซึ่งดูประหนึ่งว่าจะเป็นวัฏจักรของระบอบการเมืองการปกครองที่สังคมไทยไม่ สามารถก้าวข้ามให้พ้นไปได้เลยกระนั้นหรือ
        เมื่อพรรครัฐบาลชุดปัจจุบันชนะการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคม 2554 ได้มีการประกาศนโยบายไว้โดยชัดเจนว่าจะดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ 2550 ที่ยังใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เพื่อตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของประชาชนตามที่ได้ให้สัญญาประชาคมไว้ใน ระหว่างรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งคราวนั้น แต่อาจจะเป็นเพราะในปีเดียวกันนั้นเอง รัฐบาลต้องเผชิญกับการหาทางแก้ไขปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่นับตั้งแต่วันแรกที่ เข้ารับหน้าที่จนถึงประมาณต้นปี 2555 ปัญหาน้ำท่วมใหญ่จึงบรรเทาเบาบางลง หลังจากนั้นการดำเนินการเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงเริ่มต้นขึ้นโดยมีการยื่น ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภารวม 3 ฉบับ
1.ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291
เมื่อวันที่ 9 และ 16 กุมภาพันธ์ 2555 รัฐบาลและพรรคร่วมรัฐบาลรวมทั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวน หนึ่งได้เสนอร่างรัฐธรรมนูญขอแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 291 รวม 3 ฉบับ ซึ่งมีสาระสำคัญทำนองเดียวกันทั้งหมด เพื่อให้มีการก่อตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาทำการแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ทั้ง ฉบับ ยกเว้นหมวดที่ว่าด้วยพระมหากษัตริย์ทั้งหมวด ร่างรัฐธรรมนูญทั้ง 3 ฉบับมีบทบัญญัติทั้งหมด 5 มาตรา โดยมาตรา 4 เป็นการเสนอแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 โดยเพิ่มเป็นหมวด 16 “การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่”  มีบทบัญญัติ 17มาตรา ได้แก่ มาตรา 291/1-291/17
การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมทั้ง 3 ฉบับรวมกัน ถูกคัดค้านต่อต้านอย่างหนักจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้านและสมาชิก วุฒิสภาจำนวนหนึ่ง ถึงกระนั้นการพิจารณาร่วมกันโดยรัฐสภาก็สามารถดำเนินไปได้จนร่างรัฐธรรมนูญฯ ผ่านการลงมติเห็นชอบในวาระที่สอง คงเหลือเพียงการลงมติเห็นชอบหรือไม่ในวาระที่สามเท่านั้น ซึ่งการพิจารณาในวาระที่สามจะไม่มีการพิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมใดๆ อีก นอกจากการแก้ไขถ้อยคำที่พิมพ์ผิดพลาดเท่านั้น การลงมติจึงเป็นแต่เพียงให้ความเห็นชอบหรือไม่เท่านั้น หากเสียงข้างมากซึ่งจะต้องมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของทั้งสองสภาลง มติให้ความเห็นชอบ ก็จะมีการนำร่างรัฐธรรมนูญนั้นขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหา กษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยและเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็จะมีผลใช้บังคับเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในมาตราที่เกี่ยวข้อง ทันที
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะมีการนัดลงมติวาระที่สาม ได้มีสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคฝ่ายค้านและบุคคลอื่นจำนวนหนึ่ง รวม 5 ราย ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยกล่าวอ้างว่าการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไข เพิ่มเติมโดยรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาก็ดี และการดำเนินการของรัฐสภาในการพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างรัฐธรรมนูญดัง กล่าวก็ดี เป็นการกระทำที่ถือว่าเข้าข่ายเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามนัยมาตรา 68 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งห้ามประธานรัฐสภาเรียกประชุมเพื่อลงมติในวาระที่ สามต่อไป ซึ่งต้องรอให้ระยะเวลา 15 วันนับแต่วันที่ลงมติวาระที่สองผ่านไปเสียก่อน ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีคำสั่งใช้มาตรการคุ้มครองชั่วคราวโดยสั่งไปยังเลขาธิการ รัฐสภาให้แจ้งต่อประธานรัฐสภาให้ระงับการนัดประชุมวาระที่สามไว้ก่อนจนกว่า ศาลจะมีคำสั่งวินิจฉัย และให้ประธานรัฐสภา รัฐบาล และสมาชิกรัฐสภาทั้งสองสภาที่ร่วมกันเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดัง กล่าวยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาตามคำร้องของผู้กล่าวหา
ถึงแม้ว่าประธานรัฐสภา รัฐบาลและสมาชิกรัฐสภาที่ถูกกล่าวหาจะเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะ รับคำร้องของผู้กล่าวหาไว้พิจารณาได้ เพราะเป็นการเสนอคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง โดยไม่เสนอให้อัยการสูงสุดพิจารณาเสียก่อนว่าจะสมควรยื่นคำร้องต่อศาลรัฐ ธรรมนูญให้พิจารณาข้อกล่าวหาตามคำร้องหรือไม่ แต่ก็ยินยอมปฏิบัติตามคำสั่งศาลโดยยื่นคำชี้แจงด้วยเหตุผลดังกล่าวไป ซึ่งในที่สุด ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 ว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 68 และศาลมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาได้ ถึงแม้ว่าอัยการสูงสุดจะยังมิได้พิจารณาคำร้องของผู้ร้องก็ตาม แต่เห็นว่าการเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ของรัฐสภาที่ผ่านไปแล้วสองวาระยังไม่เข้าข่ายเป็นการล้มล้างระบอบการปกครองฯ ตามนัยมาตรา 68 จึงวินิจฉัยให้ยกคำร้องของผู้ร้องทุกคำร้อง
ถึงแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะได้มีคำวินิจฉัยให้ยกคำร้องทั้งหมดดังกล่าวแล้วก็ ตาม แต่เนื่องจากมีความคลุมเครือไม่ชัดเจนในคำวินิจฉัยว่า หากทางรัฐสภาจะเดินหน้าต่อไปให้มีการลงมติในวาระที่สาม จะมีการตีความโดยอาศัยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญทั้งที่เป็นคำวินิจฉัยกลาง และส่วนตนของตุลาการแต่ละคนมาเป็นเหตุผลสนับสนุนประเด็นข้อกล่าวอ้างของผู้ ร้องทั้ง  5 ราย ได้อีกหรือไม่ ซึ่งประเด็นที่ว่านี้ก็คือ ประเด็นที่ 2 ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นปัญหาว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 สามารถแก้ไขเพิ่มเติมโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ หรือการแก้ไขจะดำเนินการโดยยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ อันเป็นประเด็นหลักสำคัญที่ค้างคาและวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่จนถึงขณะนี้ ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้หรือไม่ กรณีนี้หรือประเด็นที่ 2 นี้เป็นเหตุสำคัญที่ทำให้การลงมติในวาระ 3 ต้องหยุดชะงักหรือชะลอไว้ก่อน
        เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวนี้ นคร พจนวรพงษ์ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลยุติธรรม ได้เสนอความเห็นไว้ว่า
”เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย "ให้ยกคำร้องทั้งห้าคำร้อง" แล้ว จึงไม่มีคำขอท้ายคำร้องใดๆ จะยังคงเหลือที่จะให้นำมาขบคิดหรือวิตกกังวลแต่อย่างใด แม้ในคำวินิจฉัยคดีส่วนกลางบางตอนหรือในคำวินิจฉัยคดีส่วนตนของตุลาการบาง ท่านบางตอนท่านอาจจะยกข้อความใดๆ ซึ่งไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี หรือเกินไปกว่า หรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้อง (ไม่มีในคำร้อง) ของผู้ร้อง โดยยกขึ้นมากล่าวเป็น ข้อสังเกต ข้อแนะนำต่างๆ จริงๆ แล้วเป็นการไม่สมควรและไม่มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ เมื่อข้อสังเกตหรือข้อแนะนำต่างๆ ดังกล่าวนั้นถูกนำมาเขียนลงในคำสั่งหรือคำวินิจฉัยโดยไม่ถูกต้อง ก็ไม่มีผลผูกพันและไม่จำต้องปฏิบัติตาม กล่าวคือผลของข้อสังเกตหรือข้อแนะนำนั้นๆ ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายๆ ในทางแพ่งเขาเรียกว่า "โมฆะ" ซึ่ง
ผู้ใดจะยกขึ้นมากล่าวอ้างเพื่อการใดๆ มิได้”
“โดยผลของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 "ให้ยกคำร้องทั้งห้าคำร้อง" เมื่อข้อกล่าวหาต่างๆ ที่กล่าวหาผู้ถูกร้อง ได้ถูกยก หรือสิ้นผล หรือหมดไป หรือฟังไม่ขึ้นแล้ว เพื่อประโยชน์สูงสุดของปวงชนชาวไทย ในการพัฒนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้ถาวรมั่นคงแข็งแรงและส่งผลไปถึงการบริหารบ้านเมืองเพื่อสร้างความเจริญ รุ่งเรืองของประเทศชาติสืบต่อไป” 
“ดังนั้น รัฐสภาโดยสมาชิกรัฐสภาในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติควรจะได้หยิบยกหรือดำเนินการ จัดการ ให้ออกเสียงลงคะแนนในวาระที่ 3 ที่ชะลอไว้ (รัฐสภาสามารถจะนำมาลงมติในวาระ 3 เมื่อไรก็ได้) และเมื่อการลงมติมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยแล้ว นายกรัฐมนตรีจะได้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าว ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ก็สามารถจะดำเนินการเลือกตั้งแต่งตั้ง ส.ส.ร. เพื่อยกร่างจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แทนรัฐธรรมนูญฉบับเดิม (พ.ศ.2550) ต่อไป”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น