วงการศึกษาไทยต้องสะเทือนอีกครั้ง
อันเนื่องมาจากผลสำรวจการศึกษาในภูมิภาคอาเซียน คุณภาพการศึกษาไทยต่ำกว่า
กัมพูชาและ เวียดนามตามลำดับ ซึ่งไทยรั้งอันดับแปด
เป็นรองเวียดนามที่ได้อันดับ เจ็ด และกัมพูชาสูงกว่า อยู่ที่อันดับ หก
ทำให้ผู้เขียนนึกถึงนิทานสุดคลาสสิคเรื่องหนึ่งที่อยู่คู่กับสังคมไทย
มานาน แต่คนไทยเองก็มิได้ตระหนักถึงสาระของนิทานเรื่องนี้มากนัก
นอกจากเล่าต่อๆกันเพื่อความบันเทิงเท่านั้น นั้นก็คือ
นิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า
หากเราสังเกตพฤติกรรมของคนในสังคมไทย
เราจะเห็นคนไทยกลุ่มหนึ่งทำตัวเป็นกระต่ายโดยหยิบยื่นความเป็นเต่าให้กับ
ลาว และ กัมพูชา ในนิทานเรื่องกระต่ายกับเต่า
กระต่ายจะดูถูกเต่าว่าเป็นสัตว์ที่เดินช้าเพราะขาสั้นจะมาวิ่งแข่งกับ
ตนเองซึ่งขายาวและวิ่งเร็วกว่าได้อย่างไร พูดไปก็หัวเราะชอบใจ
อย่างมีความสุข
พฤติกรรมดังกล่าวคล้ายกับคนไทยกลุ่มหนึ่งที่ชอบล้อคนที่หน้าตาบ้านๆ
หรือ พฤติกรรมเฉิ่มๆว่า ไอ้ลาว (แล้วก็หัวเราะ)
วลีดูถูกที่หลายคนอาจคุ้นเคยกันดี
จากกรณีการสำรวจผลการศึกษาในเขตภูมิภาคอาเซียนที่
อันดับการศึกษาของประเทศกัมพูชาไต่อันดับสูงกว่าไทยส่วนประเทศลาวกับพม่า
นั้นไม่ได้สำรวจแต่ดูจากอันดับของกัมพูชาแล้วสามารถคาดคะเนได้ว่าประเทศลาว
น่าจะอยู่สูงกว่าไทยการผลการสำรวจนี้
ดูคล้ายกับบทสรุป นิทานเรื่อง กระต่ายกับเต่า
ที่ดูเหมือนจะเกิดขึ้นในชีวิตจริงให้เราได้เห็นกันแล้วเมื่อ
วลีดูถูกที่คนไทยกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ลาว นั้น
ประกาศอย่างเป็นทางการว่าระบบโครงข่ายการสื่อสารของประเทศลาวนั้นใช้ 4 g
อย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่ไทยพึ่งได้สัมผัสกับระบบ 3 g
จริงได้ไม่นานมานี้เอง
และผลสำรวจการศึกษาที่พูดเกริ่นไว้ดังกล่าวข้างต้น
เป็นการตอกย้ำว่าประเทศไทยเป็นกระต่ายในตัวละครหลักของนิทานเรื่อง
กระต่ายกับเต่าไปแล้วอย่างปฏิเสธไม่ได้
ประเด็นที่จะเขียนถึงดังต่อไปนี้
เป็นประเด็นที่เกี่ยวกับการศึกษาในมุมมองของผู้เขียนว่าสาเหตุและองค์ประกอบ
ใด การศึกษาไทยถึงตกต่ำถึงขนาดต่ำกว่า ลาว และ กัมพูชา
สาเหตุและองค์ประกอบของวิกฤติการศึกษาที่ตกต่ำจนน่าตกใจทั้งที่ผ่านมา
และที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้ อาจมีสาเหตุมากมายเหลือคณาจะกล่าวถึงได้
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงบประมาณ หลักสูตรการศึกษา คุณภาพครู
สภาพการศึกษาเรียนรู้แบบไทยๆ ที่เป็นอยู่ ฯลฯ เป็นต้น
สาเหตุดังกล่าวอาจเป็นสิ่งที่เรามองเห็นได้โดยทั่วไปทางกายภาพภายนอก หรือที่เรียกกันว่าเป็นระดับขั้นปรากฏการณ์ของปัญหา
แต่ที่ผู้เขียนสนใจและเห็นว่าเป็นปัญหาในระดับขั้นของอุดมการณ์ปัญหา
คือ การที่ผู้หลักผู้ใหญ่และวัฒนธรรมการศึกษาแบบไทยๆ
ที่ไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของนักเรียนนักศึกษาหรือเยาวชน
วัฒนธรรมการศึกษาไทยเป็นลักษณะเป็นการศึกษาแบบชี้นำ
ชี้นำทั้งในด้านความคิด การกระทำและชีวิตของนักเรียน
ความคิดและการกระทำถูกกำหนดโดยวัฒนธรรมและผู้ที่แอบบ้าอำนาจในนามของบุคคล
ที่เรียกตนเองว่าผู้ใหญ่
ตัวอย่างวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบชี้นำนี้ จะปรากฏชัดเช่น ในสังคมไทยจะมีสิ่งหนึ่งที่เรียกกันว่า กรอบ
กรอบเป็นตัวกำหนดว่าสิ่งนี้ทำได้และสิ่งนี้ทำไม่ได้
โดยบางเรื่องก็ขาดเหตุผลมารองรับ แต่ก็ต้องทำเนื่องมาจากว่า
มันเป็นประเพณีที่ทำสืบๆกันมา
การไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของนักเรียนยังแผ่ซ่านไปทั่วทุกอณูของสถาบัน
ทางสังคม แม้กระทั่ง สถาบันสื่อ ที่เป็นประเด็นล่าสุดคือการ การจะเพิ่มเรต
ละครซีรี่ส์วัยรุ่นที่กระแสฮิตติดลมบน อย่าง ฮอร์โมน์ วัยว้าวุ่น
หรือการเซนเซอร์ ชุดว่ายน้ำของชิซุกะ ในการ์ตูนเรื่อง โดราเอมอน
การกระทำดังกล่าวเป็นผลจากการไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของนักเรียนนักศึกษาหรือ
อีกสถานภาพหนึ่งคือ เยาวชน ซึ่งมองโดยผิวเผินแล้ว
อาจจะเห็นว่าเป็นความปรารถนาดี
แต่ในทัศนะของผู้เขียน
มองว่าการกระทำต่างๆที่กล่าวมาและที่ไม่ได้พูดถึงเหล่านี้เป็นผลสืบเนื่องมา
จากการไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของเยาวชนแล้วเกิดความระแวงและผลจากการการระแวง
บางเรื่องก็เกินเลยจนดูเหมือนเป็นการดูถูกสติปัญญาของเยาวชน อย่างกรณี
เซนเซอร์ชุดว่ายน้ำของ ชิซูกะ
วัฒนธรรมการศึกษาแบบชี้นำ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า "กรอบ"
เป็นเครื่องมือและการหาดระแวงจนเกินเหตุดังที่กล่าวมานั้น
ส่งผลโดยตรงกับเยาวชน
ผลก็คือ
มันได้ทำให้เยาวชนขาดทักษะในการคิดเพราะมีคนคิดให้แล้วว่าดีไม่ดีควรไม่ควร
เพียงแต่ปฏิบัติในสิ่งที่เรียกว่า กรอบ ก็จะเป็นคนดีในสายตาของสังคม
หากใครคนใดบังอาจทำตัวหลุดกรอบ ก็จะถูกตราหน้าว่า เลว
ด้วยเหตุดังกล่าว
ความสร้างสรรค์จึงไม่ค่อยเกิดขึ้นกับสังคมไทยและผลสำรวจการศึกษาที่ทำให้เรา
ตกใจนี้ ได้เตือนเราเป็นนัยๆว่า
การอ่านนิทานเรื่อกระต่ายกับเต่าของคนไทยนั้นไม่ได้ตระหนักถึงเนื้อหาสาระ
คติธรรมที่ซ่อนเร้นอยู่ในนิทานเรื่องนี้เลย
สังคมไทยจึงเป็นสังคมด้อยพัฒนาอย่างที่เป็นกันอยู่ทุกวันนี้
แม้หลายคนจะไม่ยอมรับก็ตาม
จากปัญหาต่างๆที่พูดถึงทั้งหมดอยากถามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระบบการศึกษาว่า ได้เวลาปฏิวัติวัฒนธรรมการเรียนแบบไทยๆ หรือยัง?
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น