แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

Ai Wei Wei Never Sorry

ที่มา ประชาไท


ปี 2555 เมืองไทยมีโอกาสได้ฉายหนังอันว่าด้วย “การต่อต้านรัฐบาลจีน” ถึงสองเรื่อง ซึ่งนับว่าเป็นความกล้าหาญของผู้จัดไม่น้อยที่เลือกฉายภาพยนตร์ที่สุ่ม เสี่ยงต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเช่นนี้ เรื่องแรกนั้นฉายในเทศกาลภาพยนตร์สั้นช่วงปลายเดือนสิงหาคม เป็นผลงานของ Ying Liang เรื่อง When Night Falls งานแนวดรามาที่เล่าเรื่องคุณแม่ผู้มีลูกชายถูกตักข้อหาทำร้ายร่างกายเจ้า หน้าที่รัฐจนท้ายที่สุดถูกตัดสินโทษประหารโดยกระบวนการไต่สวนล้วนเป็น Due Process of Law แบบว่ากันเอาเอง

อีกเรื่องเป็นผลงานสารคดีของอลิสัน เคลย์แมน (Alison Klayman) ในชื่อ Ai Wei Wei Never Sorry ซึ่งเล่าถึงผลงานของ อ้ายเหว่ยเหว่ย ศิลปินชาวจีนผู้ทำแคมเปญประเด็นทางการเมืองในจีน ซึ่งเมื่อไม่นานนี้ตัวอ้ายเหว่ยเหว่ยเองก็เต้นกังนัมสไตล์กลายเป็นประเด็น ฮอตไม่น้อยที่แอคทิวิสต์ก็เอากับเขาด้วย
เคลย์แมนพาเราไปรู้จักเรื่องราวของอ้ายเหว่ยเหว่ยผ่านผลงานแบบไม่ลำดับ เวลา โดยเริ่มแรกเธอได้แนะนำให้เรารู้จักกับอ้ายเวิยเวิ่ยผ่านแคมเปญอันสืบเนื่อง มาจากเหตุแผ่นดินใน ปี 2553 มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้จำนวนมาก แต่จำนวนไม่น้อยคือเด็กนักเรียนที่ติดอยู่ในซากอาคารซึ่งถูกสร้างโดยไม่มี คุณภาพ มีการอุปมากันว่าคุณภาพงานก่อสร้างอาคารโครงเรียนนั้นแย่เกินกว่าที่เรียก ว่า “เต้าหู้” เสียอีก ภาพกระเป๋านักเรียนมากมายกองเกลื่อนกราดทั่วพื้น (ซึ่งต่อมาอ้ายเหว่ยเหว่ยนำเอากระเป๋านักเรียนไปสร้างเป็นผลงานศิลปะที่เยอร มันนี)
ที่น่าสนใจคือรัฐบาลจีนปฏิบัติประหนึ่งว่าไม่มีเด็กเสียชีวิตในการนี้ พวกเขาปิดข่าว ไม่มีการสำรวจแน่ชัดว่าเสียชีวิตไปเท่าไหร่ อ้ายเหว่ยเหว่ยซึ่งได้เข้าไปเห็นสภาพเหตุการณ์จริงหลังจากนั้นไม่นานจึงเกิด ความคิดให้อาสาสมัครไปสืบหาและสัมภาษณ์พ่อแม่ผู้เสียชีวิต ขอชื่อสกุล อายุ และวันเกิด  เบ็ดเสร็จท้ายที่สุดทีมงานของอ้ายเหว่ยเหว่ยค้นพบว่ามีเด็กเสียชีวิตใน เหตุการณ์นี้ร่วม 5,500 คน
นี่คือปฐมบทของเหตุการณ์อันนำพาไปสู่เรื่องราวใน Ai Wei Wei Never Sorry
อ้ายเหว่ยเหว่ยรายล้อมด้วยทีมงานพร้อมกล้องถ่ายภาพ ฟุตเตจจำนวนมากถูกบันทึกจากหลากหลายมุมกล้องและหลายครั้งที่เขาได้ภาพ เหตุการณ์ที่ได้พบโดยไม่คาดฝัน ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เขาถูกตำรวจทำร้ายในห้องพักกลางดึก หรือการถูกตำรวจคุกคามระหว่างกินข้าวเย็นอยู่ริมถนน ไปจนถึงการมีปากเสียงกับตำรวจระหว่างที่แจ้งความเรื่องที่ตนถูกทำร้าย
เขา บอกกับนักข่าวจากนิวยอร์คไทม์สคนหนึ่งเมื่อได้รับคำถามว่ามาแจ้งความแล้วจะ ได้เรื่องหรือ อ้ายเหว่ยเหว่ยตอบพร้อมรอยยิ้มว่าเขารู้ดี ไม่มีอะไรเกิดขึ้นแน่ ทว่าเวลาที่เราบอกว่าระบบมันแย่ รัฐบาลมันเฮงซวย ถ้าเราไม่ได้พิสูจน์เองกับตัวแล้วเราจะพูดเต็มปากได้อย่างไร เขาจึงยอมเสียเวลาเพื่อพิสูจน์ว่าเรื่องแย่ ๆ ของรัฐบาลและข้าราชการจีนนั้นเป็นเรื่องจริง ซึ่งในทัศนะของผู้เขียน นี่เป็นแนวคิดที่เชื่อว่าน้อยคนจะกล้าเสี่ยงและลอง
อีกประเด็นที่สะท้อนอย่างชัดเจนใน Ai Wei Wei Never Sorry คือการใช้โซเชียลมีเดีย (โดยเฉพาะทวิตเตอร์) เป็นเครื่องมือในการรณรงค์ทางการเมือง อ้ายเหว่ยเหว่ยเริ่มสื่อสารกับผู้ติดตามผ่านบล็อกของเขาและต่อมาด้วย ทวิตเตอร์ หลาย ๆ ภาพที่เขาโพสต์คือภาพเบื้องหลังกล้อง ภาพปฏิกิริยาและการปฏิบัติต่อประชาชนของข้าราชการถูกถ่ายทอดออกมาพร้อมแววตา อันไม่ไว้วางใจและโกรธเกรี้ยวของคนในภาพ สำหรับอ้ายเหว่ยเหว่ยแล้ว โซเชียลมีเดียเป็นพลังอันสำคัญที่ขับเคลื่อนให้ผู้คนสนใจในการเมืองมากขึ้น แม้ในยามที่เขาเพลี่ยงพล้ำ เขาก็ยังทวีตข้อความแก่ผู้ติดตามว่า “Don’t Retreat, Retweet”
ด้วยพลังของภาพยนตร์ เชื่อได้ว่าคนดูไม่น้อยคงรู้สึกได้ถึงพลังใจและอุดมการณ์ของชายผู้นี้ แม้หนังเองจะเลือกเล่าเรื่องในมุมมองและอารมณ์ที่ผ่อนคลายก็ตามที หลาย ๆ จุดมีแมวเป็นตัวลดความเครียดและผู้กำกับก็เลือกฟุตเตจที่ไม่เร้าอารมณ์เกิน ไป แม้เป็นเหตุการณ์ที่พีคสุดในเรื่องซึ่งเกิดการกระทบกระทั่งกับตำรวจ และเอาเข้าจริง ถ้าผู้กำกับอยากบิวด์อารมณ์กว่านี้ก็ทำได้เป็นแน่
บทสรุปของภาพยนตร์เรื่องนี้คือในทัศนะของอ้ายเหว่ยเหว่ย ศิลปินต้องทำงานเพื่อบอกกล่าวความคิดตน และทัศนะของเขาก็รักประเทศจีนมากจนยอมไม่ได้ที่จะให้เกิดเหตุบัดซบเช่นนี้ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ถือเป็นหนังสารคดีที่ดูสนุก ผสมผสานการแสดงวิธีคิดและมุมมองในการอธิบายการเมืองได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคงเป็นการ “จุดไฟในสายลม” ให้แก่คนรุ่นใหม่ที่ไม่ยอมแพ่พ้ายต่อรัฐอีกไม่น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น