แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิชา มหาคุณ ว่าด้วยเรื่อง ICC

ที่มา Thai Free News





นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกัน
และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) 
ในฐานะเจ้าของเรื่องพิจารณาการสั่งสลายการชุมนุม
ของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตย
ต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) 
เมื่อปี 2553 ตอบคำถามกรณี
หากศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) 
ลงนามรับรองเขตอำนาจ
ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ
และอาจเข้ามาพิจารณาเหตุการณ์
สลายการชุมนุมปี2553 ว่า เป็นคนละส่วนกัน
และไม่เกี่ยวข้องกับอำนาจ ป.ป.ช.แต่อย่างใด


โดยหากไอซีซีลงนาม และจะเข้ามาพิจารณา
ในเรื่องดังกล่าวจริงก็น่าจะเข้ามาเฉพาะ
ประเด็นการสั่งการสลายการชุมนุมว่า
เข้าข่ายการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ 
การใช้กำลังทำลายล้างชนกลุ่มใดหรือไม่ 
แต่ในส่วนของ ป.ป.ช.
จะเน้นที่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ 
หรือผู้เกี่ยวข้องว่ามีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
หรือไม่และคำสั่งสมควรแก่เหตุหรือไม่ 
ทั้งนี้ต่างคนต่างทำงานคนล่ะส่วน
และยืนยัน ป.ป.ช.จะทำงานต่อไป
ส่วนความเหมาะสมที่กระทรวงต่างประเทศ
จะลงนามรับรองร่วมกับไอซีซีนั้น 
นายวิชา กล่าวปฏิเสธที่จะออกความเห็น 
โดยระบุว่า ต้องไปถามตำรวจ อัยการ ศาล 
ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรม 
พร้อมกับต้องถามประชาชนคนไทยทุกคนว่า
ยังเห็นว่าศาลไทยยังทำงานอยู่หรือไม่ 
หรือยังคงยอมรับกระบวนการยุติธรรมอยู่หรือไม่


เปิดแถลงการณ์ผ่านอีเมล์ 
รอผลสอบ4กรณีก่อนฟันธงเพื่อความเป็นธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทั้งนี้เมื่อวันที่ 28 ต.ค.ที่ผ่าน 
ป.ป.ช.ได้ส่งอีเมล์ออกแถลงการณ์
รายงานความคืบหน้าคดีเหตุการณ์
การชุมนุมของกลุ่ม นปช.ปี 2553 
โดยระบุว่า ป.ป.ช.ได้มีการดำเนินการ
ในคดีดังกล่าวตามขั้นตอนกระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง

โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นองค์คณะ
ในการไต่สวนข้อเท็จจริง ซึ่งการดำเนินการ 
คณะกรรมการ ป.ป.ช. 
ต้องไต่สวนข้อเท็จจริงจากผู้กล่าวหา 
พยานบุคคล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 
รวมทั้งต้องรอผลการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว
จากหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย 
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นการเสียชีวิต
ของประชาชนในเหตุการณ์การชุมนุม
ระหว่างวันที่ 10 เม.ย.-19พ.ค. 2553 
มีหลายหน่วยงานดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง 
ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. จำเป็นต้อง
รอผลการตรวจสอบจากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้


1. รายงานการตรวจสอบ
เหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. 
จากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
2. ผลคำสั่งคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพผู้เสียชีวิต 
จากเหตุการณ์การชุมนุม
ที่ได้มีการยื่นคำร้องต่อศาลทุกคดี
3. ผลการสอบสวนคดีอาญา 
กรณีการเสียชีวิตของประชาชน
ในเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช.
จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)
4. รายงานฉบับสมบูรณ์ (ฉบับทางการ) 
ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบ
และค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) 
รวมถึงข้อมูลการให้ปากคำของพยานบุคคล 
และหลักฐานอ้างอิงตามที่ปรากฏอยู่ในรายงานฉบับดังกล่าว 

ดังนั้นการดำเนินการในคดีดังกล่าว 
คณะกรรมการ ป.ป.ช. จำเป็นต้องรับฟังข้อเท็จจริง
จากทุกฝ่ายและไต่สวนข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบ 
จึงต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการ
เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น