แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ตำนาน 18 ปี รธน.ฉบับ 40 ที่มา-ข้อเสนอ "ฉันทามติ" สูตรสำเร็จจาก "มธ." ถึง "พงศ์เทพ"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

updated: 13 ก.ค. 2556 เวลา 19:27:28 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

รายงานพิเศษครบ 1 ปีเต็มสำหรับคำสั่ง-คำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญ ให้ยุติกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ตามคำร้องตามมาตรา 68 เมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2555

แม้ช่วงเวลากว่า 2 ปี ส.ส.เพื่อไทยจะใช้พลังมหาศาลในการผลักดันให้กระบวนการดังกล่าว จนจบวาระที่ 2 แต่สุดท้ายก็เป็นผลทำให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ผลลัพธ์คือ "ยกร่างใหม่" มีอันต้องยุติลงชั่วคราว

"เนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันนี้ได้มาโดยการลงประชามติของประชาชน ก็ควรให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าจะมีรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หรือจะแก้ไขเป็นรายมาตรา ก็เป็นความเหมาะสมและเป็นอำนาจของรัฐสภา" คำวินิจฉัยของศาลระบุ

เป็น ที่มาของคำสั่งตรงจากนายกรัฐมนตรี ถึง "พงศ์เทพ เทพกาญจนา" รองนายกรัฐมนตรี ประสานงาน 3 มหาวิทยาลัยชื่อดัง ทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยรามคำแหง เพื่อขอความเห็นทางวิชาการเป็นแรงสนับสนุน กรณีที่ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" และพรรคเพื่อไทย ประสงค์เดินหน้ากระบวนการทั้งหมดต่อไป

หลังจากรอ คอยกระบวนการศึกษานานกว่า 180 วัน (จากกำหนดการเดิม 90 วัน) เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา ข้อมูลจากสถาบันการศึกษาก็ส่งตรงถึงมือ "พงศ์เทพ"



เป็น รายงานความเห็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพียงแห่งเดียว ขณะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง-จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเวลาอีก 30 วันในการดำเนินการดังกล่าว

เป็นรายงานที่มีชื่อ "ศุภสวัสดิ์ ชัชวาลย์" คณบดีคณะรัฐศาสตร์ และ "ปริญญา เทวานฤมิตรกุล" รองอธิการบดีฝ่ายการนักศึกษา ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวขบวนของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และเป็นรายงานที่ถูกตีความว่า "แทงกั๊ก" ไม่ฟันธงถึงทางออกที่ชัดเจนทางใดทางหนึ่ง

โดยคำตอบ 3 ข้อ จาก 3 คำถามของ "ธรรมศาสตร์" มีสาระสำคัญดังนี้

1.รัฐสภาสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อให้มีการยกร่างฉบับใหม่ได้หรือไม่ และมีขั้นตอนดำเนินการอย่างไร

ตอบ กรณีนี้นักวิชาการมีความเห็นแตกออกเป็น 2 ประเด็น ทั้ง "ทำได้" และ "ทำไม่ได้"

ทำ ได้ เพราะกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับไม่ใช่เรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นใน สังคม เพราะประเทศไทยเคยผ่านการแก้ไขโดยการตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่มาแล้ว 2 ครั้ง คือ ฉบับปี 2492 และฉบับปี 2540 ดังนั้นสามารถกระทำได้

ทำไม่ได้ เพราะการยกร่างใหม่ทั้งฉบับเป็นการยกเลิกระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2550 จึงย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

"อย่างไรก็ตาม เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้วว่า การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่สามารถทำได้ ก็ต้องถือตามความเห็นที่สอดคล้องกันว่าสามารถดำเนินการเรื่องดังกล่าวได้ แต่ควรจะทำหรือไม่ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่ง"

2.คำวินิจฉัยของศาลรัฐ ธรรมนูญถือว่ามีผลทางกฎหมายหรือไม่ และการทำประชามติหลังยกร่างเสร็จแล้ว ถือว่าสอดคล้องกับความเห็นของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่

ตอบ นักวิชาการมีความเห็นในทิศทางเดียวกันว่า เมื่อการกระทำของรัฐสภามิใช่การกระทำที่เป็นการล้มล้างระบอบการปกครอง ดังนั้นศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจในการ "สั่งการ" ให้รัฐสภาเลิกการกระทำดังกล่าวได้

"ศาลวินิจฉัยว่ารัฐธรรมนูญฉบับ ปัจจุบันได้มาจากการทำประชามติ ดังนั้นควรจะให้ประชาชนได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรมีฉบับใหม่หรือไม่ เป็นเพียงคำแนะนำ เพราะตีความจากการใช้ถ้อยคำว่า ควร ซึ่งแตกต่างจากคำวินิจฉัยทั่วไป"

และแม้จะเป็นเพียง "คำแนะนำ" และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็อาจมีผลทางการเมือง ในกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำดังกล่าวอาจเกิดแรงคัดค้านหรือต่อต้าน จนนำมาสู่ความขัดแย้งในประเทศรอบใหม่

ความเห็นของ "ธรรมศาสตร์" จึงย้ำว่า การทำประชามติหลังการยกร่างใหม่เสร็จสิ้น ถือว่า "ไม่สอดคล้อง" กับคำแนะนำดังกล่าว จึงมีความเห็นว่าต้องทำประชามติก่อน

3.กรณีที่ คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ริเริ่มกระบวนการทำประชามติ ควรจัดแบบหาข้อยุติหรือแบบให้คำปรึกษา และจะมีผลต่อสมาชิกรัฐสภาในการลงมติวาระที่ 3 หรือไม่ อย่างไร

ตอบ กรณีนี้การทำประชามติ นักวิชาการยังมีความเห็นแตกออกเป็น 2 ประเด็น ทั้ง "ทำได้" และ "ทำไม่ได้"

ทำ ได้ เพราะการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ย่อมแย้งกับบทบัญญัติกับรัฐธรรมนูญฉบับ เดิมอยู่แล้ว ถ้าหากถือสิ่งนี้เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ ย่อมหมายถึงเราไม่สามารถที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญได้เลย ซึ่งศาลเองก็วินิจฉัยแล้วว่า การยกร่างใหม่ทั้งฉบับสามารถทำได้

ทำ ไม่ได้ เพราะการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกฉบับเดิม กรณีนี้มิอาจทำประชามติได้ เพราะต้องห้ามตามมาตรา 165 วรรคสาม ที่ระบุว่า "...การจัดการออกเสียงในเรื่องที่ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญ...จะกระทำมิได้"

ประเด็น เรื่อง "ช่วงเวลา" ในการทำประชามตินั้น "ธรรมศาสตร์" มีความเห็นว่า ควรดำเนินการก่อนที่รัฐสภาจะเดินหน้าพิจารณาในวาระที่ 3 ต่อไป หากแต่มีเงื่อนไขบางประการที่ควรปฏิบัติก่อนเริ่มกระบวนการด้วย

"จึง เห็นว่าควรทำประชามติแบบมีข้อยุติ แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญควรเป็นอำนาจของสภา ไม่ใช่ของคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงเห็นควรที่ต้องให้สมาชิกรัฐสภายินยอมที่จะผูกพันกับผลของประชามติดัง กล่าวด้วย"

ส่วนประเด็นเรื่อง "จำนวนเสียง" ที่เป็นข้อพิพาทกันก่อนหน้านี้ ระหว่างการใช้จำนวนเสียงประมาณ 24 ล้านเสียง ตามมาตรา 165 แห่งรัฐธรรมนูญ กับการใช้จำนวนเสียงประมาณ 12 ล้านเสียง ตามบัญญัติมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

กรณีนี้ "ธรรมศาสตร์" ได้เสนอความเห็นไว้อย่างชัดเจนว่า ขอเพียงมีเสียงประชาชน 12 ล้านเสียงให้ความเห็นชอบในการทำประชามติ กระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับก็กระทำได้ในทันที

"หากดูจาก บทบัญญัติในมาตรา 165 ที่ใช้คำว่า เสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ไม่น่าจะมีความหมายว่าต้องได้เสียงเห็นชอบมากกว่ากึ่งหนึ่งของ

ผู้มี สิทธิเลือกตั้ง เพราะหากประสงค์เช่นนั้น น่าจะได้บัญญัติถ้อยคำเหมือนในกรณีใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของ ส.ส.ในการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี หรือการใช้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งในการลงคะแนนในวาระที่ 3"

"ดังนั้น ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ จึงไม่น่าจะขัดรัฐธรรมนูญ เพราะเสียงข้างมากที่ใช้ตามมาตรานี้ระบุว่า ต้องมีผู้มาออกเสียงเป็นจำนวนเสียงข้างมากของผู้สิทธิออกเสียง และมีจำนวนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้ออกมาเสียงในเรื่องที่จัดทำประชามติ นั้น"

ความเห็นที่แตกต่างในวงศึกษาวิจัย "ศุกสวัสดิ์" ระบุว่า คำตอบออกมาเป็นเช่นนี้ เพราะมหาวิทยาลัยกังวลที่จะตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง

"ต้องยอมรับ ว่าในวงประชุมเราบางคำตอบก็ไม่ได้ข้อสรุป เราถึงเลือกนำเสนอทั้ง 2 ทางเลือก ซึ่งก็มีข้อดีเหมือนกันว่า สุดท้ายจะได้ไม่ต้องกังวลว่า คำตอบของเราจะถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองหรือไม่"

นอกเหนือไป จาก 3 คำตอบของ 3 คำถามข้างต้น "ธรรมศาสตร์" ยังเสนอทางออกอีกหนึ่งชุดข้อมูล เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ กรณีรัฐบาลเลือกเดินหน้ายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยเทียบเคียงสถานการณ์ช่วงร่างรัฐธรรมนูญปี 2540

"รัฐธรรมนูญเป็น กติกาสูงสุด และเป็นสัญญาประชาคมในการอยู่ร่วมกันของประชาชน ดังนั้นการยกร่างฉบับใหม่มิอาจใช้เพียงแต่เสียงข้างมาก แต่ต้องทำให้เกิดความเห็นพ้องต้องกันในระดับหนึ่ง เช่น การยกร่างเมื่อปี 2540 ที่เริ่มต้นจากการศึกษาวิจัยโดยคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.)"

"จึง เห็นว่าก่อนที่จะมีการลงประชามติ ควรต้องมีการตั้งคำถามก่อนว่า ประเทศไทยจะทำให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด และเป็นกติกาของคนในประเทศท่ามกลางความแตกต่างและความขัดแย้งกันอย่างไร จึงเห็นควรให้มีกระบวนการสร้างฉันทามติร่วมกันเสียก่อน"

เป็นข้อเสนอ ของ "ธรรมศาสตร์" ที่เสนอให้รัฐบาลจัดทำกระบวนการ "ฉันทามติ" เฉกเช่นเดียวกันกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อ 18 ปีก่อนการถือกำเนิดของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่พรรคเพื่อไทยมักอ้างอิงถึง

โดย เริ่มต้นจากการอดอาหารประท้วงของ "เรืออากาศตรีฉลาด วรฉัตร" เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2537 และการชุมนุมของเครือข่ายภาคประชาชนเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.ปีเดียวกัน เพื่อเรียกร้องให้ "ชวน หลีกภัย" นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นปฏิรูปการเมือง

สุดท้าย "มารุต บุนนาค" ประธานรัฐสภาในขณะนั้น จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาประชาธิปไตย (คพป.) ที่มี "ศ.นพ.ประเวศ วะสี" เป็นประธาน ยกร่างข้อเสนอทั้งหมดเพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญต่อไป

หลัง จากใช้เวลาศึกษานานกว่า 1 ปี "ศ.นพ.ประเวศ" ก็ได้ส่งมอบข้อเสนอที่ผ่านการระดมสมองจากหลากหลายกลุ่ม เสนอแนวทางปฏิรูปการเมืองแก่รัฐสภา

กระทั่งเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2538 แม้ขั้วการเมืองเปลี่ยนผ่านจากรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ สู่ยุครัฐบาลพรรคชาติไทยแต่นายกรัฐมนตรีชื่อ "บรรหาร ศิลปอาชา" ก็ได้แถลงนโยบายสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

จากนั้นจึงได้มี การแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปการเมือง (คปก.) ที่มี นายชุมพล ศิลปอาชา เข้ามาดำเนินการรับลูกต่อจากข้อเสนอของ "ศ.นพ.ประเวศ" ในเวลาต่อมา

14 ก.ย. 2539 รัฐสภาจึงมีมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2534 มาตรา 211 เพื่อจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)

26 ธ.ค. 2539 รัฐสภาก็สรรหาสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จำนวน 99 คน โดยมี "อุทัย พิมพ์ใจชน" เป็นประธาน และมี "อานันท์ ปันยารชุน" เป็นรองประธาน

ขณะเดียวกันได้มีการเคลื่อนไหวจากภาคประชาชน องค์กรพัฒนาเอกชนในนาม 28 องค์กรประชาธิปไตย ได้นำเสนอเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อ ส.ส.ร. ซึ่งสาระสำคัญบางส่วนก็ถูกนำไปพิจารณาระหว่างกระบวนการจัดทำยกร่างรัฐ ธรรมนูญฉบับใหม่

กระทั่ง 8 พ.ค. 2540 ก็มีการรับร่างรัฐธรรมนูญในวาระที่ 1 ก่อนที่จะมาเริ่มต้นทำประชาพิจารณ์ในลำดับต่อมา กระทั่งในวันที่ 30 ก.ค. 2540 ก็รับร่างรัฐธรรมนูญวาระที่ 2 และผ่านความเห็นชอบในวาระที่ 3 เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2540

กระทั่ง 11 ต.ค. 2540 ก็มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับ พ.ศ. 2540 ที่ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ที่ผ่านกระบวนการทำประชาพิจารณ์ และกระบวนการฉันทามติ

และเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่พรรคเพื่อไทยถือเป็น "ต้นร่าง" ในการเดินหน้าเรื่องดังกล่าว

ดัง นั้นหากยังยึดถือหลักการจากรัฐธรรมนูญปี 2540 กระบวนการ "ฉันทามติ" ก็ย่อมเป็นกลไกหนึ่งที่จะสร้างความชอบธรรมในการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในยุค ของ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์" ก็เป็นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น