แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จับพิรุธข้าวเน่า "ศิริโชค" คล้ายจัดฉากจงใจใส่ร้ายทางการเมือง

ที่มา go6tv


ตั้งใจจะเขียนเรื่อง "ข้าวเน่า" ที่คุณศิริโชค โสภา ได้นำมาเผยแพร่ไว้ในเฟสบุ้คส่วนตัว

ขอวิเคราะห์แบบคนมีความรู้ด้านธุรกิจหน่อย  คุณศิริโชคไม่เคยทำธุรกิจ เรียนจบกลับมาก็มาเป็นเลขาฯ ให้คุณชวน หลีกภัย คงไม่ทราบจริงๆ ว่าข้าวถุงที่มาทิ้งนั้นล้วนมีพิรุธ โดยมีข้อสังเกตดังนี้

ที่อ้างว่าเป็นข้าวเน่า จึงนำมาทิ้ง เหตุผลนี้มัน "ลอยๆ ไร้น้ำหนัก" เพราะปกติการค้าขายสินค้านั้น สินค้าจะอยู่ในมือของฝ่ายต่างๆ ไม่เกิน 3 ฝ่ายคือ ฝ่ายผู้ผลิต-กระจายสินค้า  ฝ่ายร้านค้า  และ ลูกค้า

1. กรณีฝ่ายผู้ผลิต-กระจายสินค้า

กรณีสินค้าเน่าเสีย โดยปกติ  หากมีสินค้าหมดอายุเน่าเสีย หีบห่อฉีกขาดเสียหาย ทั้งผู้ผลิตและผู้กระจายสินค้า  จะมีระบบในการตรวจนับอายุวันหมดอายุ หากสินค้าใดใกล้หมดอายุไม่เกิน 3-6 เดือน ผู้ผลิตจะไม่ขายสินค้า แต่ก็จะไม่ทิ้งสินค้านั้น จะมีโกดังพิเศษ ไว้เก็บแยกของเน่าเสียโดยเฉพาะ

เหตุผลที่ผู้ผลิตจะเก็บสินค้านั้นไว้เพราะ  ผู้ผลิตสามารถนำหีบห่อสินค้าที่ค้างสต็อคทั้งหมด ไปหักลบกับสินค้าคงเหลือ เคลมภาษีต่างๆคืน จากกรมสรรพพากร ซึ่งบริษัท โรงงานขนาดใหญ่รู้ดี และต้องเชิญกรมสรรพากร ไปตรวจสอบโกดังโรงงานทุกสิ้นปี และนัดหมายวันตรวจนับ "สินค้าเน่า" ให้สรรพากรได้ดู ตรวจนับ เพื่อเป็นหลักฐานขอคืนภาษีในส่วนสินค้าที่จ่ายไปก่อนแล้วไม่ได้ขาย

ดังนั้น ในฝ่ายผู้ผลิต จึงเป็นไปไม่ได้ ที่ผู้ผลิตจะนำสินค้าเน่าเสียของตนมาแอบทิ้ง เพราะเท่ากับ "ทิ้งเงินสดๆ" ของตัวเอง

2. กรณีผู้ขายร้านค้า

กรณีสินค้าเน่าเสีย ในขณะที่อยู่ร้านค้า โดยปกติ บริษัททุกแห่งจะมีระบบการแลกคืน เปลี่ยนคืนสินค้าเน่าเสีย โดยร้านค้าจะต้องเก็บสินค้านั้นไว้ พอเซลล์มาทุกรอบเดือน ก็จะส่งมอบสินค้าเน่าเสียกลับไปเพื่อแลกสินค้าใหม่กลับมาวางขาย เป็นปกติ  โดยเฉลี่ยการรับสินค้าเสียคืนทางธุรกิจ มักอยู่ประมาณไม่เกิน 1-2% ของปริมาณสินค้าทั้งหมดที่ขายต่อปี  อีกทั้งปัจจุบัน มีระบบการตรวจสอบสินค้าเน่าเสีย หมดอายุของ อย.เข้มงวด สินค้าทุกหีบห่อ จะถูกตรวจสอบวันหมดอายุก่อนออกจากโรงงาน และตอนร้านค้ารับสินค้าเข้าร้านตัวเอง  ก็มีระบบนับวันหมดอายุและสุ่มตรวจ (เช่นห้างใหญ่ทุกแห่ง จะไม่รับสินค้าที่มีอายุเหลือไม่ถึง 6 เดือน เป็นต้น)  อีกทั้ง เมื่อสินค้าวางขายแล้ว หากไกล้หมดอายุ จะมีระบบเตือนด้วยคอมพิวเตอร์ สั่งให้เก็บสินค้าคงเหลือนั้นขึ้น เพื่อส่งคืนหรือแลกเปลี่ยนกับผู้ผลิตโดยอัตโนมัติ

ดังนั้น ในฝ่ายร้านค้า โอกาสที่จะมีข้าวเน่า จากทางร้านค้าออกมาแทบจะเป็นศูนย์

3. กรณีผู้บริโภค

ปกติทุกคน หากซื้อสินค้า-อาหาร อะไรก็ตามแล้วมีความผิดปกติ (ไม่จำเป็นต้องเน่าเละตามภาพ) ทุกคนจะเอาสินค้านั้น "กลับไปคืน หรือแลกเปลี่ยนเป็นสินค้าชิ้นใหม่" พร้อม "ก่นด่าห้าง-ร้านค้าที่ตัวเองไปซื้อ"  เป็นธรรมชาติของผู้ซื้อ  และห้าง-ร้านค้าทุกแห่ง (โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า) จะมีระบบ รีฟัน Refund คือแผนกรับแลก-คืนสินค้า  แม้สินค้าจะแทบไม่เป็นอะไรเลย แต่ห้างไม่ต้องการให้เสื่อมเสียชื่อเสียง ก็จะรับ Refund สินค้าคืนหมดเพราะสามารถนำไปคืนเจ้าของสินค้าได้อยู่แล้วเป็นปกติ

ดังนั้น ฝ่ายลูกค้า หากซื้อสินค้าไปแล้วมีปัญหา ย่อมแลกคืน หรือเปลี่ยนใหม่ได้

4. การทำลายสินค้า
ปกติทางการค้า เจ้าของสินค้าทุกยี่ห้อ จะรวบรวมสินค้าเน่าเสีย ฉีกขาด ทั้งหมดไว้เพื่อทำภาษีคืน และจะมีการทำลายสินค้าดังกล่าว (หากเป็นบริษัทใหญ่) จะมี จนท. กรมสรรพากร มาเป็นสักขีพยานในการทำลาย เช่น ที่โรงงานแถบอยุธยา จะมีโรงงานทำลายสินค้า มีเตาเผาขนาดยักษ์ ขนสินค้าที่ผ่านการตรวจนับว่าเน่าเสียแล้ว ไปเข้าเตาเผาโดยมีเอกสารจากกรมสรรพากร มี จนท.มาตรวจนับว่าถูกต้องและทำการทำลายต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ลงลายมือชื่อ ถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานทั้งหมด

วิเคราะห์ภาพข้าวเน่า

จากภาพ  การทิ้งถุงข้าวเน่าในป่า ในปริมาณ 30-40 ถุง

ตั้งสมมุติฐานว่า  หากจำนวนข้าวมากถึง 40 ถุง  ถามว่า ใครจะนำมาทิ้ง

ผู้ผลิต มีระบบเคลมภาษี เขาก็ไม่ทิ้ง ต้องเก็บไว้ทำภาษีคืน
ผู้ขาย มีระบบวันหมดอายุ เขาก็ไม่ทิ้ง ส่งคืนให้เจ้าของสินค้าแลกของใหม่
ผู้บริโภค  ปกติซื้อข้าวกินครั้งละ 1 ถุง  คงไม่บ้าซื้อ 40 ถุงแล้วเน่า แต่ไปโยนทิ้งพงหญ้า
การทำลายสินค้า  มีกรมสรรพากรมาดู และตรวจสอบทุกขั้นตอน


คนทิ้งข้าว 40 ถุง คงไม่ใช่ทั้ง ผุ้ผลิต ผู้ขาย และ ผู้บริโภค  เพราะทั้งสามฝ่ายต่างมีส่วนได้เสียกับปริมาณข้าวมูลค่า 4-5000 บาท คงไม่มีใครทิ้งไปเฉยๆ

ข้อสังเกต สถานที่พบข้าวเน่า ในแต่ละแห่ง มักเป็น "ภาคใต้" ทั้งสิ้น และมักเกิดขึ้นในที่มิดชิดเช่น "ในถุงยังชีพ"  "ในป่าข้างทาง"   โดยปกตินั้น สินค้าหากเน่าจริง ต้องพบได้ทุกแห่งทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเจอในห้างท็อปส์ เซ็นทรัล   หรือเจอในถุงข้าวห้างโลตัสเอ็กเพรส กลางสยามสแควร์  ข้าวเน่าคงไม่ "เน่าเฉพาะแห่ง"

แต่ในข่าวนั้น มักพบใน "ถุงข้าว" ที่ปิดมิดชิด ผ่านการ "เก็บส่วนตัว" ระยะหนึ่ง หรือมักพบในจุดที่ดูลึกลับ เช่น ผ่านการเก็บไว้ที่ อบต. ก่อนนำแจกจ่าย   และอย่างลืมว่า สามารถสร้างสถานการณ์ข้้าวเน่าได้ เช่น ฉีดน้ำเน่าผ่านเข็มฉีดยา เข้าไปที่ถุงข้าวแล้วทิ้งไว้ไม่เกิน 5 วัน ข้าวเน่าได้  ปกติ แช่ข้าวในน้ำสะอาด ข้ามวันก็เหม็นได้แล้ว

หากตรวจสอบระยะเวลาจากข่าว ว่ารับข้าวไปเก็บไว้ใน อบต. วันที่ 5 และแจกจ่ายวันที่ 9 ก็ผ่านไป 4 วัน ก็พอดีกับระยะเวลา "ข้าวเน่า" ได้สบายๆ

ล่าสุด เจอบางภาพมีพิรุธกว่านั้น  ถ่ายจากถุงข้าวมียี่ห้อ สภาพเหมือนวางในห้าง "แต่บรรยากาศรอบภาพ มืดสนิท"  ปกติคนเดินห้างเวลาเปิดบริการ จะเปิดไฟสว่างไสว  หากจะหยิบมือถือถ่ายภาพ ก็จะสว่างชัดเจนไปทั้งภาพ  แต่ข้าวเน่าในถุงที่จงใจถ่าย ความสว่างของสถานที่รอบๆ ภาพนั้น กลับมืดเหมือนแอบถ่ายตอนห้างปิดบริการ ดับไฟ!

ขอร้องว่า อย่าต้องการเอาชนะทางการเมือง โดยการทำลายข้าวไทยเลย!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น