แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฤษณะ ฉายากุล: ข้าว

ที่มา ประชาไท


ปัญหาทางการเมืองที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผลผลิตทางการเกษตรของไทยใน ขณะนี้หนีเรื่องข้าวไปไม่พ้น การที่ฝ่ายหนึ่งมีนโยบายในการจัดการเพื่อให้ผลผลิตทางการเกษตรได้รับค่าราคา ที่สูงขึ้นจนสามารถเลี้ยงตนเองได้ตามที่ได้แถลงนโยบายไว้ต่อรัฐสภาและได้รับ ความยินยอมสนับสนุนจากสมาชิกรัฐสภาแล้ว  แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับจากอีกฝ่ายหนึ่ง  ด้วยการวิพากษ์วิจารณ์ คัดค้านนโยบายนี้นอกรัฐสภากล่าวหาว่าการจัดการเรื่องข้าวของรัฐบาลได้ดำเนิน การไปโดยไม่ถูกต้องจนมีข้าวเน่ามีข้าวที่ปนเปื้อนสารมีพิษมีการทุจริตใน โครงการรับจำนำข้าวนี้  เป็นต้น
การกล่าวหาในทางร้าย มุมมองในระบอบประชาธิปไตยที่แอบอ้างกันว่าเป็นสิทธิในการพูดวิพากษ์วิจารณ์ การทำงานของรัฐบาลที่แม้ประชาชนทุกคนก็สามารถกระทำได้    หากการกระทำในการกล่าวหานั้นก่อประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม แต่การกล่าวหาร้ายๆ ดังที่ยกมาเป็นตัวอย่างนั้นจำเป็นต้องมีหลักการพื้นฐานในการตรวจสอบมารองรับ ว่าข้าวมันเน่าทั้งหมดทั้งหนึ่งร้อยเปอร์เซ็นหรือไม่  ข้าวมันไม่มีความปลอดภัยจากสารพิษปนเปื้อนทั้งหมดหรือไม่  และมีการทุจริตเรื่องข้าวจริงหรือไม่
ความจริงแล้วข้าวไม่ได้เน่าทั้งหมด ไม่ได้มีสารพิษปนเปื้อนทั้งหมดหรืออาจไม่ได้มีสารพิษตกค้างเลยก็ได้  การกล่าวหาในทางร้ายตามที่ยกตัวอย่างมาจึงเป็นการทำลายตลาดข้าวทั้งระบบของ ประเทศไทยให้เกิดความเสียหายขาดความเชื่อมั่นจากผู้บริโภคทั้งโลกขัดต่อหลัก การในทางกฎหมายที่คุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค ที่หากมีข้าวเน่าจริง  ผู้ประกอบธุรกิจก็ต้องรับผิดชอบในการชดเชยเปลี่ยนแปลงให้กับผู้บริโภค  และกรณีการนำส่งสินค้าข้าวไปขายยังต่างประเทศ คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพข้าวจากทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ก็ต้องทำหน้าที่ตรวจสอบจนเป็นที่พอใจก่อนการส่งมอบกันอยู่แล้ว กับทั้งหลักกฎหมายความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ก็ยังคุ้มครองประโยชน์ของผู้ซื้อในการชดเชยความเสียหาย เมื่อพบความชำรุดบกพร่องหรือเสื่อมราคาในสินค้า
หากมีข้อสงสัยว่าข้าวไม่ปลอดภัยจากสารพิษปนเปื้อน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522    ก็มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบธุรกิจดำเนินการทดสอบหรือพิสูจน์สินค้านั้นได้  ซึ่งถ้าพบว่ามีอันตราย คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคก็มีอำนาจสั่งห้ามจำหน่ายสินค้านั้นได้หรือสั่ง ให้ดำเนินการให้เกิดความปลอดภัย  อันเป็นวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของทุกฝ่ายให้ได้รับความเป็นธรรม
นอกจากนั้นแล้วกฎหมายคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551  ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ ทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้เกิดความปลอดภัยทางด้านอาหารซึ่งหมายความรวมไป ถึงการจัดการให้สินค้าเกษตรที่นำมาเป็นอาหารบริโภคสำหรับมนุษย์มีความ ปลอดภัยด้วย
องค์กรกำกับเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และมีความปลอดภัยในสินค้าอาหารต่อประชาชน ที่มีอย่างครบถ้วนตามกฎหมายนั้น ไม่ได้มีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามเจตนารมณ์แต่อย่างใดเลย น่าเสียดายและน่าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่การแก้ไขปัญหาของเกษตรกรผู้ผลิตเพื่อให้ได้รับราคาที่เป็นธรรมและการคุ้ม ครองผู้บริโภคกรณีข้าวได้ถูกใช้วิธีการทางการเมืองในการกล่าวหาทำลายเครดิต ความเชื่อมั่นจนกระทั่งข้าวของไทยได้รับผลกระทบเกิดความเสียหายทั้งระบบ  และจะต้องใช้เวลาและ งบประมาณอีกสักเพียงใดจึงจะสามารถฟื้นฟูความเชื่อมั่นให้ข้าวไทยกลับมาเป็น สินค้ายอดนิยมของตลาดโลกเหมือนเดิม....         

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น