ที่่มา กรุงเทพธุรกิจ
"ศิโรฒน์"ระบุการประท้วงในอียิปต์ไม่เหมือนกับไทยสมัยพันธมิตร ย้ำเอาการเมืองไทยไปมองการเมืองอียิปต์ไม่ช่วยให้เข้าใจอะไรเลย
นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์อาจารย์รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้มุมมองต่อกรณีการประท้วงในอียิปต์ และเปรียบเทียบกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทยว่า มีสี่เรื่องที่ทำให้การประท้วงในอียิปต์ไม่เหมือนกับไทยสมัยพันธมิตร และนั่นหมายความว่าการเอาวิธีมองการเมืองไทยไปมองการเมืองอียิปต์ จะไม่ช่วยให้เข้าใจอะไรเลย
แน่นอนว่าอียิปต์มี
ความขัดแย้งระหว่างประธานาธิบดีกับกองทัพและศาล
แต่เทียบไม่ได้กับความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งกับกลุ่มที่
เรียกว่า"อำมาตย์" ของไทย
๑) คู่ขัดแย้งหลักในไทยคือฝ่ายอำมาตย์กับฝ่ายประชาธิปไตย ขณะที่คู่ขัดแย้งหลักในอียิิปต์คือฝ่ายอำนาจเก่ากับฝ่ายการเมืองอิงศาสนา ความขัดแย้งหลักของไทย จึงเป็นเรื่องการเอาหรือไม่เอาประชาธิปไตย ขณะที่ความขัดแย้งในอียิปต์เป็นเรื่องระหว่าง อำนาจเก่าที่ไม่เอาประชาธิปไตย กับอำนาจใหม่ที่อิงรัฐศาสนา (ซึ่งมีธรรมชาติจะขัดแย้งกับหลักเสรีประชาธิปไตย)
๒) มวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอียิปต์ คือ
พวกเสรีนิยม พวกฝ่ายซ้าย พวกกลุ่มพลเมือง รวมทั้งกลุ่มผู้หญิงและเยาวชน
ส่วนมวลชนฝ่ายต่อต้านทักษิณ คือพวกอนุรักษ์นิยมโหนเจ้า และอิงศาสนาบางนิกาย
ความต้องการของมวลชนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลอียิปต์ จึงเป็ํนเรื่องของการเรียกร้องการเลือกตั้งและประชาธิปไตย ขณะที่มวลชนฝ่ายไล่ทักษิณเป็นพวก 70-30 และนายกพระราชทาน
๓) ฉากการเมืองในอียิปต์ คือ
ผู้ขับไล่รัฐบาลใช้วิธีชุมนุมยืดเยื้อในที่ตั้งแต่ถูกกองกำลังของรัฐ
และมวลชนผู้สนับสนุนรัฐบาลประทุษร้าย จนฝ่ายต่อต้านตายไปแล้วอย่างน้อย ๑๘
ศพ ฉากการเมืองไทยสมัยไล่ทักษิณ คือฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตยใช้การชุมนุมแบบดาวกระจาย เพื่อเร่งให้สถานการณ์รุนแรงและยั่วยุให้ทหารรัฐประหาร
๔) พลังอนุรักษ์นิยมอียิปต์ คือ
ศาลและกองทัพ ซึ่งไม่มีโอกาสยุ่งกับความขัดแย้งทางการเมืองโดยตรง
ยุ่งเมื่อไรก็จะกลายเป็นฝ่ายทำลายประชาธิปไตยเมื่อนั้น
ขณะที่พลังอนุรักษ์นิยมไทย มี
ความยอมรับนับถือในประชาสังคมและพรรคการเมืองเป็นฐาน
ยุ่งเมื่อไรก็ไม่ถูกหาว่าทำลายประชาธิปไตย
ซ้ำยังถูกมองว่าเป็นบทบาทที่จำเป็นเพื่อพิทักษ์ประชาธิปไตย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น