แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สื่อ-เอ็นจีโอ-ศอ.บต. มองต่าง ปัญหาชายแดนใต้

ที่มา Voice TV




การสัมมนาเรื่องปัญหาชายแดนภาคใต้  เผยให้เห็นว่า สื่อ องค์กรของรัฐ และเอ็นจีโอท้องถิ่น ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเห็นไม่ตรงกันว่า ปัญหาใหญ่ในพื้นที่คือเรื่องอะไร
 
 
​ในเวทีเสวนา "ไฟใต้ โจทย์ใหญ่ประเทศไทย" ที่สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์แห่งประเทศไทย  นางปาตีเมาะ เปาะอิแตดาโอะ นายกสมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่  เป็นผู้หญิงจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่าโจทย์ที่ต้องแก้ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น  ไม่ใช่เรื่องการก่อความไม่สงบเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ในชุมชน และอาชญากรรมทั่วไป  ที่ไม่เกี่ยวกับการเรียกร้องอิสรภาพจากรัฐ แต่ถูกทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการก่อความไม่สงบด้วย
 
 
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ กิจถาวร รองเลขาธิการ ศอ.บต. เห็นตรงกับนางปาตีเมาะ ที่ว่าปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องความรุนแรง  สำหรับเขา ความรุนแรงเป็นเพียง "โจทย์ผิวหน้า" แต่ปัญหาที่ลึกกว่านั้น  ได้แก่ ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาด้านระบบการศึกษา  ที่ไม่สอดรับกับวัฒนธรรมของคนท้องถิ่น ปัญหาเรื่องคนในพื้นที่ถูกกีดกันจากการบริหารท้องถิ่น
 
 
อย่างไรก็ดี แม้ว่าปัญหาของจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีหลากหลาย แต่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะ ก็คิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของภาครัฐทั้งหมด เพราะโจทย์ส่วนใหญ่  คนในพื้นที่จะต้องแก้ด้วยตัวเอง ส่วน ศอ.บต.  เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก คอยสร้างเงื่อนไขให้คนในพื้นที่  สามารถแก้โจทย์เหล่านั้นได้อย่างสันติเท่านั้น  ในแง่นี้สิ่งที่ ศอ.บต. ต้องทำคือ ลดเงื่อนไขการใช้ความรุนแรง และส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม ซึ่งหมายถึงการสร้างกลไกให้คนหลากหลายวัฒนธรรมสามารถแก้ปัญหาร่วมกันได้
 
 
แต่ไม่ใช่ทุกคนที่คิดว่าปัญหาชายแดนภาคใต้ นั้น  มีหลากหลาย และความรุนแรงเป็นเพียงปัญหาหนึ่ง  สื่อมวลชนอย่างนายเสริมสุข กษิติประดิษฐ์ บรรณาธิการข่าวการเมืองและความมั่นคง ของสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส กล่าวว่าปัญหาหลักของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้  คือความรุนแรงจากขบวนการแบ่งแยกดินแดน ที่ตั้งกองกำลังต่อสู้กับรัฐ และปลุกระดมคนในพื้นที่อย่างเป็นระบบ
 
 
นายนครินทร์ ชินวรโกมล ผู้สื่อข่าวเครือเนชั่น และสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 ประจำจังหวัดยะลา เห็นด้วยกับนายเสริมสุขว่าการแบ่งแยกดินแดนเป็นปัญหาหลัก 
 
 
นายนครินทร์ ยังอ้างว่า ผู้ก่อความไม่สงบ  เลือกทำร้ายชาวพุทธเป็นหลัก เพื่อขู่ให้ออกจากพื้นที่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม  ส่วนชาวพุทธที่เสียชีวิต มักเป็นทหาร ซึ่งไม่ใช่คนในพื้นที่ 
 
 
นอกจากนี้  นายนครินทร์  ยังกล่าวว่า ชาวพุทธในพื้นที่ย้ายออกจากพื้นที่  จนเหลือเพียงร้อยละ 20 นั้น แต่ในความเป็นจริง ชาวพุทธในจังหวัดปัตตานีมีเพียงร้อยละ 12 และไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่มีเหตุรุนแรง  เช่นเดียวกับจังหวัดยะลาซึ่งมีชาวพุทธประมาณร้อยละ 28 
17 กรกฎาคม 2556 เวลา 18:16 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น