แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

หมอมิ้งเปิดลับ19กันยาฝ่ายทักษิณขอเข้าเฝ้าฯต้านรัฐประหาร เบื้องหลังภาพไร้เงาผบ.สส.?

ที่มา Thai E-News



WAKE UP THAILAND : COFFEE WITH  นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช  อดีตรองนายกรัฐมนตรีและ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี บทเรียน ความทรงจำ  จากเหตุการณ์รัฐประหาร ๑๙ กันยา ๔๙" 

*ในวันที่ 19 กันยายน 2549 ฝ่าย รัฐบาลทักษิณก็เลยมีคำสั่งที่ได้ร่างไว้ 3 ฉบับ ฉบับหนึ่งนั้นได้แต่งตั้งให้พลเอกเรืองโรจน์ หมาศรานนท์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บัญชาการทหารบกอีกตำแหน่งหนึ่ง แล้วผมก็ไปพบพลเอกเรืองโรจน์ที่กองบัญชาการกองทัพไทย และประสานงานรัฐมนตรีคุมสื่อมาถ่ายทอดการต่อต้านรัฐประหาร แต่ทางรัฐมนตรีที่่ดูแลคือคุณเนวิน ชิดชอบ กับคุณสุรนันท์ เวชชาชีวะ แจ้งว่าทหารเข้าควบคุมตัว และยึดกรมประชาสัมพันธ์ไว้แล้ว และไปยึดสถานีไทยคมไว้แล้ว

*ผมก็เข้าไปพบพลเอกเรืองโรจน์และคณะ เพื่อให้พลเอกเรืองโรจน์เป็นผู้บัญชาการสถานการณ์ต่อต้านรัฐประหาร

*20.30 น.พล เอกเรืองโรจน์ต่อสายคุยกับพลเอกสนธิ แล้วพลเอกเรืองโรจน์ก็บอกหลังคุยโทรศัพท์กับที่ประชุมกับผมว่าพลเอกสนธิ ประกาศสู้ตาย เราก็ตรวจเช็กกำลังว่าผบ.ทร.อยู่ไหน ก็พบว่าอยู่สัตหีบ ผบ.ทอ.ก็อยู่ดอนเมือง ผบ.ตร.ยังไม่เจอ

*จากนั้นก็หารือกันว่ามีข้อสรุปว่าเพื่อคลี่คลายเรื่องนี้ ควรเข้าเฝ้าฯพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
 ผม ก็เห็นดีด้วยเพราะเราก็เป็นรัฐบาลในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เ้ราจะได้คลี่คลายเหตุการณ์โดยไม่เสียเลือดเนื้อ พระองค์ประสงค์ประการใดเราจะได้ปฏิบัติตามได้ ก็สรุปว่าขอเข้าเฝ้าฯ


*จากนั้นก็ต่อสายประสานงานและเราจะได้เข้าเฝ้าฯ พล เอกเรืองโรจน์ก็เดินทางเข้าเฝ้าฯ ผมเองก็รออยู่ที่กองบัญชาการกองทัพไทย กับรัฐมนตรีชิดชัย วรรณสถิตย์ และท่านสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ปลัดยุติธรรมในขณะนั้น..

พิธีกรถามแทรกว่า แล้วทำไมพลเอกเรืองโรจน์ไม่ได้เข้าเฝ้า?

*ราว 3 ทุ่มกว่า ท่าน พลเอกเรืองโรจน์ก็ไปรอเข้าเฝ้าฯ และก็ไปรอกันอยู่ รอกันทุกฝ่าย(ทั้งฝ่ายรัฐบาลที่ส่งพลเอกเรืองโรจน์ไป กับฝ่ายรัฐประหาร) แต่ยืนยันว่าพลเอกเรืองโรจน์ไปรอแน่นอน..แต่สังเกตไหมครับในภาพที่คมช.เผย แพร่ออกมาในภายหลังนั้นไม่มีพลเอกเรืองโรจน์อยู่ด้วย



แต่ อย่างที่เห็นภาพออกมาว่าในภาพนั้นไม่มีพลเอกเรืองโรจน์ร่วมเข้าเฝ้าฯแต่ อย่างใด แต่พลเอกเรืองโรจน์แจ้งผมว่า "รอ"เข้าเฝ้าฯอยู่แน่นอน ทุกฝ่ายทั้งฝ่ายทำรัฐประหาร และฝ่ายรัฐบาลที่ส่งพลเอกเรืองโรจน์ไปก็ไปรอเข้าเฝ้าฯ ต่อมาก็มีสัญญาณมาถึงผมว่า "ได้เข้าเฝ้าฯหมดแล้ว ผมก็ไม่ทราบว่าพลเอกเรืองโรจน์ได้เข้าเฝ้าฯด้วยไหม? แต่อย่าลืมว่าภาพที่คมช.เผยแพร่ิิ้ออกมานั้นไม่มีพลเอกเรืองโรจน์อยู่ด้วย"

พลเอกเรืองโรจน์(ที่2จากซ้าย)ในเวลาต่อมา ภายหลังคมช.ประกาศทำรัฐประหาร





สัมภาษณ์พิเศษ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ครบ 7 ปี รัฐประหาร:(คลิปสัมภาษณ์โดย ไทย





ผ่าน7ปี19ก.ย. คมช.ขอบิ๊กเนม บอกคนไทยให้อภัยกัน (ไทยรัฐทีวี)

ชมคลิปฮ็อต:7ปี19ก.ย. สุเทพถามทักษิณตอบ พร้อมจะหยุดด้วยกันไหม?-คลิกชม




7ปี19กันยา บังบอกรัฐประหารเกิดได้อีก ขึ้นอยู่กับประชาชน (อัพโหลดลงYoutube โดย matichontv)


กลุ่มปฏิญญาหน้าศาลชุมนุมหน้าสภา  7ปีรัฐประหาร วอนประชาชนที่ต้องการประชาธิปไตยช่วยกันผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญ (โดย ม้าเร็ว)




สุชาติ นาคบางไทร:'จับเข่าคุย รำลึก 7 ปี รัฐประหาร' 19-09-2013 (ที่มา:Thaivoice)



ฟัง 5 เสียงสะท้อน 7 ปี 19 กันยา บทเรียนรัฐประหาร :
นพ.ประเวศ วสี ราษฎรอาวุโส 
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.
พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน อดีตประธาน คมช.
อลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ 
ก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.พรรคเพื่อไทย

ออกอากาศครั้งแรกใน "มติชน ข่าวเที่ยง" 19 กันยายน 2556 ทางช่องเวิร์คพ้อยท์ ทีวี(อัพโหลดลงYoutube โดย matichontv)



รำลึก 19 กันยา เมื่อ'อำมาตย์' อยู่ในที่สว่าง (Wake up Thailand)




เหรียญสองด้าน ของรัฐประหาร (จากรายการDIVAS CAFE)





เสวนา "เบื้องหลังรัฐประหาร 6 ตุลา 19 ถึง 19 กันยา 49 สำเนาถูกต้อง" (อัพโหลดโดย ThailandMirror)
จรัล ดิษฐาอภิชัย พล.ต.อ.อชิรวิทย์ สุพรรณเภสัช ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์
ดร.จารุพรรณ กุลดิลก เทวฤทธิ์ มณีฉาย
13.00-16.00 น. พฤหัสบดี 19 กันยายน 2556 อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา แยกคอกวัว


บทเรียนฝ่ายประชาชน และการต่อต้านรัฐประหารในอนาคต (Voice TV)

จุดจบผู้ก่อรัฐประหารใน 7 ประเทศ


ที่มา Voice TV


เนื่อง ในวันครบรอบ 7 ปี การก่อรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ในประเทศไทย เราจะพาไปดูชะตากรรมของผู้ก่อรัฐประหารที่ถูกดำเนินคดีใน 7 ประเทศกัน
โดยปกติแล้ว คณะรัฐประหาร เมื่อก่อการสำเร็จ ก็มักออกกฎหมายนิรโทษกรรมความผิดให้ตัวเอง บ้างก็ออกเป็นกฎหมายปกติ บ้างก็ระบุลงในรัฐธรรมนูญที่เขียนขึ้นใหม่
แต่ที่ผ่านมา ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นว่า กฎหมายคุ้มครองตัวเองของคณะรัฐประหารนั้น ไม่ได้คุ้มครองพวกเขาได้เสมอไป เมื่อใดที่รัฐบาลพลเรือนกล้าหาญพอจะออกกฎหมายมาลบล้างกฎหมายเหล่านั้น ผู้ก่อรัฐประหารก็ถูกดำเนินคดีเอาผิดได้มาแล้วไม่น้อย
ตุรกีแก้กฎหมายเพื่อลบล้างบทนิรโทษกรรมตัวเองของคณะรัฐประหาร และตัดสินลงโทษผู้ร่วมก่อรัฐประหารไปแล้วกว่า 300 คน ในจำนวนนี้มีอดีตผู้บัญชาการ 3 เหล่าทัพ ที่เกษียณอายุแล้ว ถูกจำคุกตลอดชีวิต แต่ได้ลดโทษเหลือ 20 ปี ขณะเดียวกัน พล.อ. เคนาน เอฟเร็น วัย 96 ปี ซึ่งเป็นอดีตผู้นำคณะรัฐประหารตุรกีเมื่อ 33 ปีที่แล้ว และเป็นอดีตประธานาธิบดีตุรกี ช่วงปีคริตศักราช 1980-89 ก็กำลังถูกศาลตุรกีดำเนินคดีอยู่ และอาจถูกจำคุกตลอดชีวิต
เปรูตัดสินลงโทษนายอัลแบร์โต ฟูจิโมริ อดีตผู้นำที่ร่วมมือกับกองทัพก่อรัฐประหารตัวเอง แล้วปกครองเปรูแบบเผด็จการนาน 8 ปี โดยเปรูขอให้ทางการชิลีจับตัวนายฟูจิโมริ แล้วส่งตัวกลับในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน เปรูส่งคำขอส่งตัวนายฟูจิโมริถึง 13 ฉบับ โดยระบุความผิดของนายฟูจิโมริ ว่ามีตั้งแต่การยึดอำนาจ  สั่งสังหารผู้นำฝ่ายตรงข้าม และละเมิดสิทธิมนุษยชน  ในที่สุดนายฟูจิโมริก็ถูกส่งตัวไปยังเปรู  และถูกตัดสินจำคุกรวม 31 ปี
ในเกาหลีใต้ อดีตประธานาธิบดี ชุน ดูฮวาน ก่อรัฐประหาร และออกกฎหมายลบล้างความผิดตัวเอง พร้อมกฎหมายเผด็จการอีกหลายฉบับ แต่หลังจากลงจากอำนาจไปได้ 16 ปี รัฐบาลพลเรือนก็ออกกฎหมาย ลบล้างกฎหมายของนายชุน และตัดสินจำคุกนายชุนตลอดชีวิต พร้อมปรับเงินถึง 220,000 ล้านวอน ส่วนอดีตประธานาธิบดี โร แตวู ซึ่งเป็นผู้ช่วยนายชุนก่อรัฐประหาร ก็ถูกศาลตัดสินลงโทษจำคุก 22 ปีครึ่ง ก่อนลดให้เหลือ 17 ปี
เมื่อปี พ.ศ. 2547 ศาลสูงของประเทศฟิจิ ตัดสินลงโทษนายจอร์จ สไปท์ ผู้ก่อรัฐประหารปี 2543 นายสไปท์ถึงกับหลั่งน้ำตา เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาประหารชีวิตเขา แต่ประธานาธิบดีฟิจิก็ออกคำสั่งลดโทษ เหลือเพียงจำคุกตลอดชีวิต
อาร์เจนตินา ตัดสินลงโทษผู้ก่อรัฐประหารปี 2519 หลังจากเกิดเหตุการณ์ถึง 12 ปี  โดยศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต พล.อ. ฆอร์เก บิเดลา และ พล.ร.อ. เอมิลิโอ มาสเซรา พร้อมจำคุกนายทหารคนอื่นๆ ตั้งแต่ 4 ปี ถึง 17 ปี
ในชิลี พล.อ. ออกุสโต ปิโนเชต์ ก่อรัฐประหารในปี 2516 แต่ 26 ปีต่อมา เขาก็ถูกจับกุมดำเนินคดีกว่า 300 ข้อหา  แม้ว่าจะเสียชีวิตก่อนถูกตัดสินลงโทษ แต่ประวัติศาสตร์ได้จารึกชื่อของนายพลปิโนเชต์ ในฐานะอาชญากรในที่สุด
ในประเทศกรีซ ผู้ก่อรัฐประหารเมื่อปี 2510 ถูกดำเนินคดี 8 ปีหลังจากนั้น โดยผู้ต้องหาทุกคนได้รับคำสั่งห้ามออกนอกประเทศ และถูกจับไต่สวนสาธารณะ กลุ่มผู้นำคณะรัฐประหาร รวมทั้งนายพลที่มีอิทธิพลในกองทัพ และได้สมญาว่า "นักเผด็จการที่มองไม่เห็น" ถูกศาลตัดสินประหารชีวิตทั้งหมด แต่รัฐบาลพลเรือนขณะนั้นก็ลดโทษให้เหลือจำคุกตลอดชีวิต
ในประเทศไทย หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตย ไม่เคยมีผู้ก่อรัฐประหารสำเร็จคนใดถูกลงโทษ ผู้ก่อรัฐประหารและนักเผด็จการในอดีตหลายคนยังอยู่อย่างสุขสบาย ทั้งยังเป็นที่เคารพนับถือในกองทัพ และในสังคม ลูกหลานพวกเขาก็ยังยืดอกอยู่ในสังคมได้โดยไม่รู้สึกว่านามสกุลของพวกเขาแปด เปื้อนไปด้วยมลทินของอาชญากรแต่อย่างใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น