*บทความนี้เขียนขึ้นบนพื้นฐานของข้อมูลที่
ได้จากสื่อภาคภาษาอังกฤษของสำนักข่าวต่างๆ ที่ชี้ว่า
รัฐบาลซีเรียมีส่วนในการใช้อาวุธเคมีจริงตามรายงานเบื้องต้นของคณะตรวจอาวุธ
จากสหประชาชาติ ซึ่งเป็น “ข้อเท็จจริง”
ที่ใช้ในการนำมาวิเคราะห์ตามกฎหมายระหว่างประเทศซึ่งจะได้กล่าวต่อไปในบท
ความ
ทั้งนี้ข้าพเจ้าตระหนักถึงความซับซ้อนของข้อเท็จจริงและข้อสังเกตทั้งหลาย
เกี่ยวกับการใช้อาวุธตามทฤษฎีสมคบคิด
แต่ก็ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ได้เนื่องจากข้อจำกัดที่ได้กล่าวไว้แล้ว
ความตึงเครียดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางที่กำลังเขม็งเกลียวเนื่อง จากมีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะประกาศทำสงครามกับรัฐซีเรียนั้น กำลังเป็นที่ถกเถียงถึงความชอบธรรมของการทำสงครามในครั้งนี้เฉกเช่นการทำ สงครามครั้งก่อนๆ ของสหรัฐอเมริกา
หากลองวิเคราะห์ย้อนหลังจะพบว่าสหรัฐอเมริกาจะมีข้ออ้างบางประการ “ก่อน” การทำสงคราม เนื่องจากการเมืองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ได้กำหนดเงื่อนไขในการทำสงครามไว้ เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้กำลังอาวุธก่อสงครามอันจะกระทบกระเทือนต่อ สันติภาพของประชาคมโลก
ในการทำสงครามกับอิรักรอบแรก สหรัฐได้อ้างเรื่องการรุกรานคูเวต และนำเรื่องดังกล่าวเข้าขอมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก่อนที่ จะใช้กำลังอาวุธเข้าทำสงครามโดยมีพันธมิตรชาติอื่นเข้าร่วมหรือมีความเห็น คล้อยตาม เป็นสงครามที่ชอบธรรมในสายตาชาวโลก
แต่ในการทำสงครามกับอิรักรอบสอง มีการอ้างเรื่องอิรักสะสมกำลังอาวุธที่มีประสิทธิภาพร้ายแรง หรือ การทำสงครามกับอัฟกานิสถานก็อ้างการปราบปรามรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้ายที่ เป็นภัยต่อสหรัฐ นั้น มิได้มีการร้องขอมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ การทำสงครามทั้งสองจึงตกหนักอยู่กับกองทัพสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรหลักจำนวน หนึ่ง และต้องเผชิญกับกระแสต่อต้านและเรียกร้องให้ยุติการรุกรานประเทศอื่น ซึ่งมีส่วนเพาะบ่มความรู้สึกเกลียดชังต่อสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตร เช่น สหราชอาณาจักรให้ต้องเผชิญ “ความเสี่ยง” กับภัยก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง
ในทางกลับกันมีการเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาและสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง ถาวรที่ประกอบด้วย สหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จีน รัสเซีย มีมติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ใน ซูดาน ดาร์ฟูร์ โคว้ตติวัร์ และอีกหลายกรณีในทวีปอัฟริกา แต่กลับมิได้มีการตอบสนองแม้จะมีหลักฐานที่ชัดเจนถึงการละเมิดกฎหมายระหว่าง ประเทศอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชกรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ จึงเกิดข้อสนเท่ห์ว่า บทบาทของกองทัพและการใช้กำลังทำสงคราม มีไว้เพื่อผดุงความยุติธรรมและปกป้องคนที่ปกป้องตัวเองไม่ได้ จริงหรือไม่ ในกรณีที่ต้องใช้กองกำลังเข้ารักษาสันติภาพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทำไมไม่ มีมติและการดำเนินการใดๆ
ดังนั้นการประกาศทำสงครามจึงมีผลต่อ “การตระหนักว่าสิ่งใดเป็นกฎหมาย” และ “การปฏิบัติตามหลักกฎหมาย” เป็นอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศใช้ในระดับโลก มิใช่กฎหมายภายในที่มีขอบเขตในเพียงระดับรัฐ ดังนั้นการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศจึงแสดงออกด้วยการออกมติของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อยืนยันหลักการกฎหมายว่า “สิ่งใดต้องห้ามด้วยกฎหมาย” และ ควรมี “มาตรการในการบังคับตามกฎหมาย” อย่างไรบ้าง
ในกรณีซีเรีย รัฐบาลซีเรียมีส่วนสำคัญในการใช้อาวุธเคมีในการโจมตีประชาชนซึ่งเป็นพลเรือน ในความขัดแย้งทางอาวุธที่เกิดขึ้นภายในประเทศ การใช้อาวุธเคมีถือเป็นการละเมิดกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง เนื่องจากเป็นการใช้กำลังที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มข้นและกว้างขวาง ไร้ซึ่งมนุษยธรรม
กฎหมายสงครามถือเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ มานานนับศตวรรษและการใช้อาวุธเคมีก็เป็นที่ยอมรับและปฏิบัติตามอย่างเข้ม แข็งเสมอมาว่าเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายอย่างชัดเจน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
การใช้อาวุธเคมีโจมตีเป้าหมายพลเรือนหรือทำให้พลเรือนได้รับผลกระทบอย่าง ร้ายแรงนี้ถือว่าเป็นความผิดว่าด้วยอาชญากรรมระหว่างประเทศ ในลักษณะอาชญากรรมสงคราม ซึ่งมีรายละเอียดขององค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บัญญัติไว้
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศพัฒนามาจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ โดยมิได้อาศัยความสมัครใจในการเข้าร่วมผูกพันของรัฐซีเรียหรือรัฐต่างๆ โดยกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศว่าด้วยสงครามได้มีรวบรวมบทบัญญัติเป็น สนธิสัญญา ดังปรากฏรายละเอียดของกฎหมายที่เรียกว่าชุด สนธิสัญญาเจนีวา อย่างไรก็ดีการเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมสนธิสัญญามิใช่สาระสำคัญนัก เนื่องจากเรื่องการห้ามใช้อาวุธเคมีถือเป็นเรื่องกฎหมายจารีตประเพณีที่ บังคับกับทุกรัฐอยู่แล้ว แม้ไม่ได้ลงนามและให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาเจนีวาก็ตาม
กฎหมายสงครามหรือกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้ให้บทบัญญัติว่าด้วย วิธีการทำสงคราม โดยการทำสงครามต้องไม่ใช้อาวุธที่เป็นภัยเกินเหมาะสม คือ ทำให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงเกินควร และอาวุธมีผลเป็นวงกว้างไม่สามารถควบคุมเป้าหมายให้จำกัดอยู่ในขอบเขต
การใช้อาวุธเคมีจึงเป็นอาวุธร้ายแรงต้องห้าม เนื่องจากควบคุมเป้าหมายได้ยากและสร้างอันตรายต่อมนุษย์อย่างร้ายแรง ดังปรากฏการเสียชีวิตของพลเรือนชาวซีเรีย
ในกรณีนี้คืออาวุธเคมี จึงเป็นสิ่งต้องห้ามด้วยกฎหมาย และต้องการมาตรการบังคับใช้กฎหมายเพื่อชี้ว่า การใช้อาวุธเคมีต้องยุติลงและผู้ใช้ต้องได้รับผลร้ายตามกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้ใช้และการใช้อาวุธเคมีจึงเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาระหว่างประเทศด้วย เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เข้าเงื่อนไขการพิจารณาโทษของศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นความผิดในเขตอำนาจศาลสากลเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกรัฐในการพยายาม ส่งผู้กระทำความผิดเข้ารับการพิจารณาคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ
คำถามที่ว่า การทำสงครามมีความจำเป็นหรือไม่ ก็ต้องตอบด้วยความจำเป็นในการยุติการละเมิดสิทธิมิให้เกิดซ้ำ และการพยายามเข้าไปจับกุมอาชญากรสงครามเพื่อมาดำเนินคดี การทำสงครามตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้นต้องมีเงื่อนไขการใช้กำลังตาม หมวด 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติที่ให้อำนาจคณะมนตรีความมั่นคงในการออกมติ กำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยุติการละเมิดสิทธิ และนำอาชญากรเข้าสู่การพิจารณาคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ
การทำสงครามกับซีเรียนี้จึงมีความจำเป็นเพื่อบีบบังคับให้ยุติการละเมิด กฎหมาย และนำผู้กระทำผิดมาขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อพิจารณาคดีและลงโทษให้ได้
แต่ก็มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาดำเนินการ คือ ควรนำเรื่องเข้าคณะมนตรีความมั่นคงฯ เพื่อขอมติ ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปซีเรีย เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า “ใครทำอะไร ผิดกฎหมายจริงหรือไม่” ก่อนที่จะมีมาตรการส่งกองกำลังเข้าไปในรัฐเอกราชอย่างซีเรีย เพราะหากไม่มีกระบวนการดังกล่าวเสียแล้ว การส่งกองทัพเข้าไปของสหรัฐอาจเป็นการรุกรานรัฐอื่นเสียเอง และมีผลต่อความชอบธรรมในการทำสงคราม และเป็นการทำลายหลักกฎหมายเสียเอง
ความกังวลจึงเกิดขึ้นหากสหรัฐอเมริกาจะไม่ขอมติจากคณะมนตรีฯ ซึ่งถือเป็นการรุกราน แต่ประชาคมโลกก็ทำอะไรกับสหรัฐอเมริกาในทางกฎหมายไม่ได้ เพราะอเมริกามีอำนาจในการวีโต้ มติลงโทษของคณะมนตรีความมั่นคงฯ คือ รัฐสมาชิกถาวรทั้ง 5 ได้เขียนกฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจพิเศษนี้ไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากทั้ง 5 รัฐเป็นแกนนำหลักของฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงคราม
เพราะฉะนั้น สถานการณ์ขณะนี้จึงอยู่ที่ผู้นำสหรัฐอเมริกาว่าจะเลือกทางเดินใด เพราะจะมีผลต่อความชอบธรรมของการทำสงคราม และการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพบนพื้นฐานของกฎหมายและสิทธิมนุษยชน โดยประธานาธิบดีบารัก โอบามาเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพตั้งแต่ยังไม่ได้ทำอะไร
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า โนเบลสาขาสันติภาพที่ให้แต่ละยุคจะสะท้อน 2 เงื่อนไข คือ
1.สิ่งที่คนเหล่านั้นทำหรือควรทำต้องเป็นที่ยอมรับโดยกฎหมายระหว่างประเทศในขณะนั้น
2.สิ่งที่ผู้มอบรางวัลต้องการแสดงให้เห็นว่าผู้ได้รับรางวัลเป็นตัวแทนของความหวังเรื่องอะไร
ดัง นั้นบทบาทและการตัดสินใจของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจึงมีผลต่อสันติภาพของ โลกอย่างมาก เป็นเหตุให้ผู้มอบรางวัลโนเบลและประชาคมโลกต้องจับจ้องและกดดันให้การตัดสิน ใจของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอยู่บนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ ตราบเท่าที่กฎบัตรสหประชาชาติยังให้อำนาจพิเศษแก่รัฐมหาอำนาจดังที่เป็นมา นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป
ความตึงเครียดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกกลางที่กำลังเขม็งเกลียวเนื่อง จากมีแนวโน้มว่าสหรัฐอเมริกาจะประกาศทำสงครามกับรัฐซีเรียนั้น กำลังเป็นที่ถกเถียงถึงความชอบธรรมของการทำสงครามในครั้งนี้เฉกเช่นการทำ สงครามครั้งก่อนๆ ของสหรัฐอเมริกา
หากลองวิเคราะห์ย้อนหลังจะพบว่าสหรัฐอเมริกาจะมีข้ออ้างบางประการ “ก่อน” การทำสงคราม เนื่องจากการเมืองในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและระบบกฎหมายระหว่างประเทศ ได้กำหนดเงื่อนไขในการทำสงครามไว้ เพื่อป้องกันมิให้มีการใช้กำลังอาวุธก่อสงครามอันจะกระทบกระเทือนต่อ สันติภาพของประชาคมโลก
ในการทำสงครามกับอิรักรอบแรก สหรัฐได้อ้างเรื่องการรุกรานคูเวต และนำเรื่องดังกล่าวเข้าขอมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก่อนที่ จะใช้กำลังอาวุธเข้าทำสงครามโดยมีพันธมิตรชาติอื่นเข้าร่วมหรือมีความเห็น คล้อยตาม เป็นสงครามที่ชอบธรรมในสายตาชาวโลก
แต่ในการทำสงครามกับอิรักรอบสอง มีการอ้างเรื่องอิรักสะสมกำลังอาวุธที่มีประสิทธิภาพร้ายแรง หรือ การทำสงครามกับอัฟกานิสถานก็อ้างการปราบปรามรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้ายที่ เป็นภัยต่อสหรัฐ นั้น มิได้มีการร้องขอมติของคณะมนตรีความมั่นคงฯ การทำสงครามทั้งสองจึงตกหนักอยู่กับกองทัพสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรหลักจำนวน หนึ่ง และต้องเผชิญกับกระแสต่อต้านและเรียกร้องให้ยุติการรุกรานประเทศอื่น ซึ่งมีส่วนเพาะบ่มความรู้สึกเกลียดชังต่อสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตร เช่น สหราชอาณาจักรให้ต้องเผชิญ “ความเสี่ยง” กับภัยก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง
ในทางกลับกันมีการเรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาและสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคง ถาวรที่ประกอบด้วย สหรัฐ สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส จีน รัสเซีย มีมติส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยุติการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง ใน ซูดาน ดาร์ฟูร์ โคว้ตติวัร์ และอีกหลายกรณีในทวีปอัฟริกา แต่กลับมิได้มีการตอบสนองแม้จะมีหลักฐานที่ชัดเจนถึงการละเมิดกฎหมายระหว่าง ประเทศอย่างร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อาชกรรมสงคราม อาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ จึงเกิดข้อสนเท่ห์ว่า บทบาทของกองทัพและการใช้กำลังทำสงคราม มีไว้เพื่อผดุงความยุติธรรมและปกป้องคนที่ปกป้องตัวเองไม่ได้ จริงหรือไม่ ในกรณีที่ต้องใช้กองกำลังเข้ารักษาสันติภาพและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนทำไมไม่ มีมติและการดำเนินการใดๆ
ดังนั้นการประกาศทำสงครามจึงมีผลต่อ “การตระหนักว่าสิ่งใดเป็นกฎหมาย” และ “การปฏิบัติตามหลักกฎหมาย” เป็นอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายระหว่างประเทศใช้ในระดับโลก มิใช่กฎหมายภายในที่มีขอบเขตในเพียงระดับรัฐ ดังนั้นการบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศจึงแสดงออกด้วยการออกมติของคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพื่อยืนยันหลักการกฎหมายว่า “สิ่งใดต้องห้ามด้วยกฎหมาย” และ ควรมี “มาตรการในการบังคับตามกฎหมาย” อย่างไรบ้าง
ในกรณีซีเรีย รัฐบาลซีเรียมีส่วนสำคัญในการใช้อาวุธเคมีในการโจมตีประชาชนซึ่งเป็นพลเรือน ในความขัดแย้งทางอาวุธที่เกิดขึ้นภายในประเทศ การใช้อาวุธเคมีถือเป็นการละเมิดกฎหมายสงครามอย่างร้ายแรง เนื่องจากเป็นการใช้กำลังที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเข้มข้นและกว้างขวาง ไร้ซึ่งมนุษยธรรม
กฎหมายสงครามถือเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ มานานนับศตวรรษและการใช้อาวุธเคมีก็เป็นที่ยอมรับและปฏิบัติตามอย่างเข้ม แข็งเสมอมาว่าเป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายอย่างชัดเจน นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
การใช้อาวุธเคมีโจมตีเป้าหมายพลเรือนหรือทำให้พลเรือนได้รับผลกระทบอย่าง ร้ายแรงนี้ถือว่าเป็นความผิดว่าด้วยอาชญากรรมระหว่างประเทศ ในลักษณะอาชญากรรมสงคราม ซึ่งมีรายละเอียดขององค์ประกอบความผิดตามที่กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ บัญญัติไว้
กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศพัฒนามาจากกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ โดยมิได้อาศัยความสมัครใจในการเข้าร่วมผูกพันของรัฐซีเรียหรือรัฐต่างๆ โดยกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศว่าด้วยสงครามได้มีรวบรวมบทบัญญัติเป็น สนธิสัญญา ดังปรากฏรายละเอียดของกฎหมายที่เรียกว่าชุด สนธิสัญญาเจนีวา อย่างไรก็ดีการเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมสนธิสัญญามิใช่สาระสำคัญนัก เนื่องจากเรื่องการห้ามใช้อาวุธเคมีถือเป็นเรื่องกฎหมายจารีตประเพณีที่ บังคับกับทุกรัฐอยู่แล้ว แม้ไม่ได้ลงนามและให้สัตยาบันต่อสนธิสัญญาเจนีวาก็ตาม
กฎหมายสงครามหรือกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศได้ให้บทบัญญัติว่าด้วย วิธีการทำสงคราม โดยการทำสงครามต้องไม่ใช้อาวุธที่เป็นภัยเกินเหมาะสม คือ ทำให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรงเกินควร และอาวุธมีผลเป็นวงกว้างไม่สามารถควบคุมเป้าหมายให้จำกัดอยู่ในขอบเขต
การใช้อาวุธเคมีจึงเป็นอาวุธร้ายแรงต้องห้าม เนื่องจากควบคุมเป้าหมายได้ยากและสร้างอันตรายต่อมนุษย์อย่างร้ายแรง ดังปรากฏการเสียชีวิตของพลเรือนชาวซีเรีย
ในกรณีนี้คืออาวุธเคมี จึงเป็นสิ่งต้องห้ามด้วยกฎหมาย และต้องการมาตรการบังคับใช้กฎหมายเพื่อชี้ว่า การใช้อาวุธเคมีต้องยุติลงและผู้ใช้ต้องได้รับผลร้ายตามกฎหมายระหว่างประเทศ ผู้ใช้และการใช้อาวุธเคมีจึงเป็นความผิดตามกฎหมายอาญาระหว่างประเทศด้วย เพราะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง เข้าเงื่อนไขการพิจารณาโทษของศาลอาญาระหว่างประเทศ เป็นความผิดในเขตอำนาจศาลสากลเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของทุกรัฐในการพยายาม ส่งผู้กระทำความผิดเข้ารับการพิจารณาคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ
คำถามที่ว่า การทำสงครามมีความจำเป็นหรือไม่ ก็ต้องตอบด้วยความจำเป็นในการยุติการละเมิดสิทธิมิให้เกิดซ้ำ และการพยายามเข้าไปจับกุมอาชญากรสงครามเพื่อมาดำเนินคดี การทำสงครามตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้นต้องมีเงื่อนไขการใช้กำลังตาม หมวด 7 ของกฎบัตรสหประชาชาติที่ให้อำนาจคณะมนตรีความมั่นคงในการออกมติ กำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยุติการละเมิดสิทธิ และนำอาชญากรเข้าสู่การพิจารณาคดีในศาลอาญาระหว่างประเทศ
การทำสงครามกับซีเรียนี้จึงมีความจำเป็นเพื่อบีบบังคับให้ยุติการละเมิด กฎหมาย และนำผู้กระทำผิดมาขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อพิจารณาคดีและลงโทษให้ได้
แต่ก็มีประเด็นสำคัญที่ต้องพิจารณาดำเนินการ คือ ควรนำเรื่องเข้าคณะมนตรีความมั่นคงฯ เพื่อขอมติ ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปซีเรีย เพื่อเป็นการตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า “ใครทำอะไร ผิดกฎหมายจริงหรือไม่” ก่อนที่จะมีมาตรการส่งกองกำลังเข้าไปในรัฐเอกราชอย่างซีเรีย เพราะหากไม่มีกระบวนการดังกล่าวเสียแล้ว การส่งกองทัพเข้าไปของสหรัฐอาจเป็นการรุกรานรัฐอื่นเสียเอง และมีผลต่อความชอบธรรมในการทำสงคราม และเป็นการทำลายหลักกฎหมายเสียเอง
ความกังวลจึงเกิดขึ้นหากสหรัฐอเมริกาจะไม่ขอมติจากคณะมนตรีฯ ซึ่งถือเป็นการรุกราน แต่ประชาคมโลกก็ทำอะไรกับสหรัฐอเมริกาในทางกฎหมายไม่ได้ เพราะอเมริกามีอำนาจในการวีโต้ มติลงโทษของคณะมนตรีความมั่นคงฯ คือ รัฐสมาชิกถาวรทั้ง 5 ได้เขียนกฎบัตรสหประชาชาติให้อำนาจพิเศษนี้ไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากทั้ง 5 รัฐเป็นแกนนำหลักของฝ่ายพันธมิตรผู้ชนะสงคราม
เพราะฉะนั้น สถานการณ์ขณะนี้จึงอยู่ที่ผู้นำสหรัฐอเมริกาว่าจะเลือกทางเดินใด เพราะจะมีผลต่อความชอบธรรมของการทำสงคราม และการรักษาไว้ซึ่งสันติภาพบนพื้นฐานของกฎหมายและสิทธิมนุษยชน โดยประธานาธิบดีบารัก โอบามาเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพตั้งแต่ยังไม่ได้ทำอะไร
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า โนเบลสาขาสันติภาพที่ให้แต่ละยุคจะสะท้อน 2 เงื่อนไข คือ
1.สิ่งที่คนเหล่านั้นทำหรือควรทำต้องเป็นที่ยอมรับโดยกฎหมายระหว่างประเทศในขณะนั้น
2.สิ่งที่ผู้มอบรางวัลต้องการแสดงให้เห็นว่าผู้ได้รับรางวัลเป็นตัวแทนของความหวังเรื่องอะไร
ดัง นั้นบทบาทและการตัดสินใจของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจึงมีผลต่อสันติภาพของ โลกอย่างมาก เป็นเหตุให้ผู้มอบรางวัลโนเบลและประชาคมโลกต้องจับจ้องและกดดันให้การตัดสิน ใจของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอยู่บนพื้นฐานกฎหมายระหว่างประเทศ ตราบเท่าที่กฎบัตรสหประชาชาติยังให้อำนาจพิเศษแก่รัฐมหาอำนาจดังที่เป็นมา นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง หรือถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับความ สัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น