หลังมีผู้เสียชีวิต 1 รายจากเหตุชุมนุม สมเด็จนโรดม สีหมุนี
ได้ออกพระราชสาสน์แสดงความเสียพระทัย ขอให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรง
และให้อดทนอดกลั้น ด้านฮุน เซน และสม รังสี ได้หารือร่วมกันเป็นรอบที่ 3
โดยเห็นพ้องว่าจะตั้งกลไกปฏิรูปการเลือกตั้ง และจะเจรจากันต่อเนื่อง
เพื่อหาทางออกที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย
แฟ้มภาพจากสำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP)
เป็นภาพการหารือระหว่างฮุน เซน และสม รังสี โดยมีสมเด็จนโรดม สีหมุนี
พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ที่พระราชวังเขมรินทร์ เมื่อ 14
ก.ย.
และภายหลังการสลายการชุมนุมเมื่อ 15 ก.ย. ล่าสุดเมื่อเช้าวันที่ 16 ก.ย. สมเด็จนโรดม สีหมุนีได้ออกพระราชสาสน์แสดงความเสียพระทัยอย่างสุดซึ้งต่อผู้เสียชีวิต ขอให้ทุกฝ่ายอดทนอดกลั้น เพื่อเลี่ยงภาวะไร้เสถียรภาพของชาติ (ที่มา: AKP/แฟ้มภาพ)
นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ฮุน เซน
(นั่งฝั่งขวา) และเป็นรองประธานพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) หารือกับสม รังสี
ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ เมื่อวันที่ 17 ก.ย. ที่รัฐสภากัมพูชา
(CNRP) ที่รัฐสภาเมื่อ 17 ก.ย. โดยเป็นการหารือครั้งที่สามเพื่อคลี่คลายวิกฤตการเมือง โดยที่ก่อนหน้านี้มีการหารือกันมา 2 ครั้ง คือเมื่อ 14 ก.ย. ตามคำเชิญของสมเด็จนโรดม สีหมุนี และเมื่อ 16 ก.ย. ที่ทั้งสองฝ่ายมาเจรจากันที่รัฐสภา (ที่มาของภาพ: Chey Phoumipul/AKP)
ตามที่นายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) นัดหมายผู้สนับสนุนชุมนุมเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. ถึง 17 ก.ย. เพื่อประท้วงการเลือกตั้งที่พวกเขาเห็นว่ามีความไม่ชอบมาพากล และต่อมาในวันที่ 15 ก.ย. มีการสลายการชุมนุมหลายจุด และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย บริเวณสะพานข้ามแยกกบาล ธนัล จุดตัดของทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ทางตอนใต้ของกรุงพนมเปญ และต่อมาพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) และพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ตกลงที่จะเจรจาที่รัฐสภาเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองในวันที่ 16 ก.ย. นั้น (อ่านข่าวย้อนหลัง)
ฮุน เซน - สม รังสี หารือรอบสอง ก่อนเห็นชอบในหลักการ 3 ข้อ
ต่อมาในวันที่ 16 ก.ย. พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) นำโดย ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี และรองประธานพรรค ได้นำคณะเข้าเจรจากับสม รังสี ประธานพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ที่รัฐสภา โดยเป็นการเจรจาครั้งที่ 2 หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ทั้ง 2 ฝ่ายได้มาเจรจากันที่พระราชวังเขมรินทร์ ตามที่สมเด็จนโรดม สีหมุนี พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี เป็นผู้เชิญ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
โดยภายหลังการหารือ สำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP) รายงานว่า ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบในหลักการ 3 ข้อ ได้แก่ หนึ่ง ตอบสนองและปฏิบัติตามอย่างแข็งขัน ต่อพระราชสาสน์ของกษัตริย์นโรดม สีหมุนีที่ออกมาในวันที่ 16 ก.ย. ที่ขอให้ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ยุติการใช้ยุติความรุนแรง สอง จัดตั้งกลไกเพื่อปฏิรูปการเลือกตั้งในอนาคต และสาม การดำเนินการเจรจาต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายพรรครัฐบาล ยังไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของพรคฝ่ายค้าน ที่ต้องการให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระเข้าตรวจสอบการเลือกตั้ง 28 ก.ค.
สมเด็จนโรดม สีหมุนี แสดงความเสียพระทัยสุดซึ้งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต - บาดเจ็บ
และขอทุกฝ่ายอดทนอดกลั้น
ทั้งนี้ สมเด็จนโรดม สีหมุนี พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ได้ออกพระราชสาสน์ในเช้าวันที่ 16 ขอให้ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ยุติการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ และให้กลับสู่ธรรมเนียมของการไม่ใช้ความรุนแรง มีความอดทนอดกลั้นอย่างสูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไร้เสถียรภาพของชาติ และทรงแสดงความเสียพระทัยอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและได้รับบาด เจ็บจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ด้วย
และต่อมาในวันที่ 17 ก.ย. สำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP) รายงานด้วยว่า ผู้แทนระดับสูงของพรรคประชาชนกัมพูชา และพรรคสงเคราะห์ชาติได้หารือกันอีก โดยการหารือสิ้นสุดลงในช่วงบ่าย
"แม้ว่าจะไม่มีการออกแถลงการณ์ร่วมเหมือนอย่างการพบกันเมื่อวานนี้ (16 ก.ย.) แต่พวกเรา (พรรคประชาชนกัมพูชา และพรรคสงเคราะห์ชาติ) ต่างมุ่งไปสู่การคลี่คลายปัญหาของชาติ" พรัก สุคุน จากพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) กล่าวระหว่างแถลงข่าวร่วมกับนายยึม โสวรรณ จากพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ภายหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้หารือกัน
โดยนายพรัก สุคุน กล่าวด้วยว่าผู้นำของทั้งสองพรรค จะกลับไปประชุมภายในพรรค และจะกลับมาประชุมร่วมกันอีกเพื่อหาทางออกที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย
นอกจากนี้รัฐสภากัมพูชาได้มีการเรียกเปิดประชุมสภาในวันที่ 23 ก.ย. นี้ด้วย โดยสมเด็จนโรดม สีหมุนี จะมาเปิดการประชุม และจะมีการถ่ายทอดสดพิธีเปิดการประชุมสภาทางสถานีโทรทัศน์แห่งกัมพูชา (TVK) และสถานีวิทยุแห่งชาติ 2 สถานีด้วย
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP) ยัง รายงานด้วยว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ (National Election Committee) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลได้ประกาศเมื่อวันที่ 16 ก.ย. ว่า ระหว่างวันที่ 1 - 20 ต.ค. จะมีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของปี 2556 โดยจะเป็นการตรวจสอบในทุกๆ ชุมชนระดับ "สังกัด" ทั่วประเทศ โดยคนที่ไม่พบชื่อในบัญชีรายชื่อ หรือเปลี่ยนที่อยู่ หรือเพิ่งอายุถึง 18 ปี สามารถไปแจ้งที่ชุมชนได้ โดยให้นำบัตรประชาชนไปด้วย ในประกาศของ กกต.กัมพูชาระบุ
อนึ่งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของกัมพูชาเมื่อปี 2555 นั้น มีผู้มีสิทธิถึง 9.6 ล้านคน
ทั้งนี้การดำเนินการของ กกต. กัมพูชา เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องของฝ่ายค้าน ที่ขอให้มีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หลังมีการกล่าวหาว่ามีการถอนรายชื่อผู้มีสิทธิ และมีรายชื่อ "ผี" อยู่ในบัญชี
ส่วนสถานการณ์ชุมนุมนั้น ล่าสุดผู้สนับสนุนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ได้ยุติการชุมนุม 3 วัน 3 คืน แล้วเมื่อเย็นวันที่ 17 ก.ย. โดยหลังเหตุสลายการชุมนุมเมื่อ 15 ก.ย. จนมีผู้เสียชีวิต ในการชุมนุมอีกสองวันต่อมา ก็ไม่มีรายงานการสลายการชุมนุม และตัวเลขผู้เสียชีวิตอีก
สำหรับพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เดิมชื่อพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (KPRP) ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2524 โดยนายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ปกครองกัมพูชามาอย่างยาวนานกว่า 27 ปี และประกาศว่าจะอยู่ในอำนาจอีก 30 ปี ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) เกิดจากการรวมกันของพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา 2 พรรคคือพรรคสม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนตั้งแต่กลางปี 2555
โดยเมื่อ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา กษัตริย์นโรดม สีหมุนีของกัมพูชาได้พระราชทานอภัยโทษให้กับ สม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ซึ่งลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศมาร่วม 4 ปี โดยผู้ขอพระราชทานอภัยโทษคือฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และต่อมาสม รังสีได้เดินทางกลับพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 19 ก.ค. และหลังจากกลับมาแล้ว เขาได้เข้ามาช่วยลูกพรรคหาเสียง แม้ว่า กกต.กัมพูชา จะระบุว่าเขาขาดคุณสมบัติที่จะสมัครเป็นผู้แทนก็ตาม
สำหรับผลการเลือกตั้งเมื่อ 28 ก.ค. พรรครัฐบาลได้ที่นั่ง 68 ที่นั่ง ส่วนพรรคฝ่ายค้านได้ที่นั่ง 55 ที่นั่ง อย่างไรก็ตามพรรคฝ่ายค้านไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และกล่าวหาว่ามีความไม่ชอบมาพากลในการจัดการเลือกตั้ง และได้ประท้วงรัฐบาลหลายรอบ จนกระทั่งเกิดการปะทะและมีผู้เสียชีวิตในการชุมนุมเมื่อ 15 ก.ย. ดังกล่าว
และภายหลังการสลายการชุมนุมเมื่อ 15 ก.ย. ล่าสุดเมื่อเช้าวันที่ 16 ก.ย. สมเด็จนโรดม สีหมุนีได้ออกพระราชสาสน์แสดงความเสียพระทัยอย่างสุดซึ้งต่อผู้เสียชีวิต ขอให้ทุกฝ่ายอดทนอดกลั้น เพื่อเลี่ยงภาวะไร้เสถียรภาพของชาติ (ที่มา: AKP/แฟ้มภาพ)
(CNRP) ที่รัฐสภาเมื่อ 17 ก.ย. โดยเป็นการหารือครั้งที่สามเพื่อคลี่คลายวิกฤตการเมือง โดยที่ก่อนหน้านี้มีการหารือกันมา 2 ครั้ง คือเมื่อ 14 ก.ย. ตามคำเชิญของสมเด็จนโรดม สีหมุนี และเมื่อ 16 ก.ย. ที่ทั้งสองฝ่ายมาเจรจากันที่รัฐสภา (ที่มาของภาพ: Chey Phoumipul/AKP)
ตามที่นายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) นัดหมายผู้สนับสนุนชุมนุมเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ย. ถึง 17 ก.ย. เพื่อประท้วงการเลือกตั้งที่พวกเขาเห็นว่ามีความไม่ชอบมาพากล และต่อมาในวันที่ 15 ก.ย. มีการสลายการชุมนุมหลายจุด และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย บริเวณสะพานข้ามแยกกบาล ธนัล จุดตัดของทางหลวงหมายเลข 1 และหมายเลข 2 ทางตอนใต้ของกรุงพนมเปญ และต่อมาพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) และพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ตกลงที่จะเจรจาที่รัฐสภาเพื่อแก้ปัญหาทางการเมืองในวันที่ 16 ก.ย. นั้น (อ่านข่าวย้อนหลัง)
ฮุน เซน - สม รังสี หารือรอบสอง ก่อนเห็นชอบในหลักการ 3 ข้อ
ต่อมาในวันที่ 16 ก.ย. พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) นำโดย ฮุน เซน นายกรัฐมนตรี และรองประธานพรรค ได้นำคณะเข้าเจรจากับสม รังสี ประธานพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ที่รัฐสภา โดยเป็นการเจรจาครั้งที่ 2 หลังจากก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 14 ก.ย. ทั้ง 2 ฝ่ายได้มาเจรจากันที่พระราชวังเขมรินทร์ ตามที่สมเด็จนโรดม สีหมุนี พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี เป็นผู้เชิญ (อ่านข่าวก่อนหน้านี้)
โดยภายหลังการหารือ สำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP) รายงานว่า ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบในหลักการ 3 ข้อ ได้แก่ หนึ่ง ตอบสนองและปฏิบัติตามอย่างแข็งขัน ต่อพระราชสาสน์ของกษัตริย์นโรดม สีหมุนีที่ออกมาในวันที่ 16 ก.ย. ที่ขอให้ทั้งฝ่ายผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ยุติการใช้ยุติความรุนแรง สอง จัดตั้งกลไกเพื่อปฏิรูปการเลือกตั้งในอนาคต และสาม การดำเนินการเจรจาต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ฝ่ายพรรครัฐบาล ยังไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของพรคฝ่ายค้าน ที่ต้องการให้มีการตั้งคณะกรรมการอิสระเข้าตรวจสอบการเลือกตั้ง 28 ก.ค.
สมเด็จนโรดม สีหมุนี แสดงความเสียพระทัยสุดซึ้งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิต - บาดเจ็บ
และขอทุกฝ่ายอดทนอดกลั้น
ทั้งนี้ สมเด็จนโรดม สีหมุนี พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ได้ออกพระราชสาสน์ในเช้าวันที่ 16 ขอให้ผู้ชุมนุมและเจ้าหน้าที่ยุติการใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ และให้กลับสู่ธรรมเนียมของการไม่ใช้ความรุนแรง มีความอดทนอดกลั้นอย่างสูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะไร้เสถียรภาพของชาติ และทรงแสดงความเสียพระทัยอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตและได้รับบาด เจ็บจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ด้วย
และต่อมาในวันที่ 17 ก.ย. สำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP) รายงานด้วยว่า ผู้แทนระดับสูงของพรรคประชาชนกัมพูชา และพรรคสงเคราะห์ชาติได้หารือกันอีก โดยการหารือสิ้นสุดลงในช่วงบ่าย
"แม้ว่าจะไม่มีการออกแถลงการณ์ร่วมเหมือนอย่างการพบกันเมื่อวานนี้ (16 ก.ย.) แต่พวกเรา (พรรคประชาชนกัมพูชา และพรรคสงเคราะห์ชาติ) ต่างมุ่งไปสู่การคลี่คลายปัญหาของชาติ" พรัก สุคุน จากพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) กล่าวระหว่างแถลงข่าวร่วมกับนายยึม โสวรรณ จากพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ภายหลังจากที่ทั้งสองฝ่ายได้หารือกัน
โดยนายพรัก สุคุน กล่าวด้วยว่าผู้นำของทั้งสองพรรค จะกลับไปประชุมภายในพรรค และจะกลับมาประชุมร่วมกันอีกเพื่อหาทางออกที่ยอมรับได้ทั้งสองฝ่าย
นอกจากนี้รัฐสภากัมพูชาได้มีการเรียกเปิดประชุมสภาในวันที่ 23 ก.ย. นี้ด้วย โดยสมเด็จนโรดม สีหมุนี จะมาเปิดการประชุม และจะมีการถ่ายทอดสดพิธีเปิดการประชุมสภาทางสถานีโทรทัศน์แห่งกัมพูชา (TVK) และสถานีวิทยุแห่งชาติ 2 สถานีด้วย
ขณะเดียวกัน สำนักข่าวแห่งกัมพูชา (AKP) ยัง รายงานด้วยว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งชาติ (National Election Committee) ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลได้ประกาศเมื่อวันที่ 16 ก.ย. ว่า ระหว่างวันที่ 1 - 20 ต.ค. จะมีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง และการลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งของปี 2556 โดยจะเป็นการตรวจสอบในทุกๆ ชุมชนระดับ "สังกัด" ทั่วประเทศ โดยคนที่ไม่พบชื่อในบัญชีรายชื่อ หรือเปลี่ยนที่อยู่ หรือเพิ่งอายุถึง 18 ปี สามารถไปแจ้งที่ชุมชนได้ โดยให้นำบัตรประชาชนไปด้วย ในประกาศของ กกต.กัมพูชาระบุ
อนึ่งในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งของกัมพูชาเมื่อปี 2555 นั้น มีผู้มีสิทธิถึง 9.6 ล้านคน
ทั้งนี้การดำเนินการของ กกต. กัมพูชา เป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องของฝ่ายค้าน ที่ขอให้มีการตรวจสอบบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หลังมีการกล่าวหาว่ามีการถอนรายชื่อผู้มีสิทธิ และมีรายชื่อ "ผี" อยู่ในบัญชี
ส่วนสถานการณ์ชุมนุมนั้น ล่าสุดผู้สนับสนุนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ได้ยุติการชุมนุม 3 วัน 3 คืน แล้วเมื่อเย็นวันที่ 17 ก.ย. โดยหลังเหตุสลายการชุมนุมเมื่อ 15 ก.ย. จนมีผู้เสียชีวิต ในการชุมนุมอีกสองวันต่อมา ก็ไม่มีรายงานการสลายการชุมนุม และตัวเลขผู้เสียชีวิตอีก
สำหรับพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล เดิมชื่อพรรคประชาชนปฏิวัติกัมพูชา (KPRP) ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2524 โดยนายฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ปกครองกัมพูชามาอย่างยาวนานกว่า 27 ปี และประกาศว่าจะอยู่ในอำนาจอีก 30 ปี ส่วนพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) เกิดจากการรวมกันของพรรคฝ่ายค้านกัมพูชา 2 พรรคคือพรรคสม รังสี และพรรคสิทธิมนุษยชนตั้งแต่กลางปี 2555
โดยเมื่อ 12 ก.ค. ที่ผ่านมา กษัตริย์นโรดม สีหมุนีของกัมพูชาได้พระราชทานอภัยโทษให้กับ สม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านพรรคสงเคราะห์ชาติ (CNRP) ซึ่งลี้ภัยการเมืองอยู่ต่างประเทศมาร่วม 4 ปี โดยผู้ขอพระราชทานอภัยโทษคือฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา และต่อมาสม รังสีได้เดินทางกลับพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ในวันที่ 19 ก.ค. และหลังจากกลับมาแล้ว เขาได้เข้ามาช่วยลูกพรรคหาเสียง แม้ว่า กกต.กัมพูชา จะระบุว่าเขาขาดคุณสมบัติที่จะสมัครเป็นผู้แทนก็ตาม
สำหรับผลการเลือกตั้งเมื่อ 28 ก.ค. พรรครัฐบาลได้ที่นั่ง 68 ที่นั่ง ส่วนพรรคฝ่ายค้านได้ที่นั่ง 55 ที่นั่ง อย่างไรก็ตามพรรคฝ่ายค้านไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และกล่าวหาว่ามีความไม่ชอบมาพากลในการจัดการเลือกตั้ง และได้ประท้วงรัฐบาลหลายรอบ จนกระทั่งเกิดการปะทะและมีผู้เสียชีวิตในการชุมนุมเมื่อ 15 ก.ย. ดังกล่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น