18 กันยายน, 2013 - 09:59 | โดย yukti mukdawijitra
เอ่อ.. คือ.. ผมก็เบื่อเรื่องนี้นะ อยากให้จบสักที
แต่มันก็ไม่จบง่ายๆ มีอาจารย์ใส่เครื่องแบบถ่ายภาพตัวเอง มีบทสัมภาษณ์
มีข่าวต่อเนื่อง มีเผจล้อเลียน มีโพลออกมา มีคนโต้เถียง ฯลฯลฯ
แต่ที่เขียนนี่
อยากให้นักศึกษาที่อึดอัดกับการต่อต้านการแต่งเครื่องแบบนักศึกษาอ่านมากที่
สุดนะครับ
ที่น่าสนใจคือ ดูเหมือน "คนรุ่นใหม่" อยากใส่ชุดนักศึกษามากยิ่งกว่า
"คนรุ่นก่อนหน้า" (เช่นคนรุ่นผมหรือรุ่นน้องผม
ที่ไม่ได้ปกป้องฟูมฟายกับการแต่งเครื่องแบบนักศึกษามากนัก)
ปฏิกิริยาของคนรุ่นเดียวกับคุณอั้ม เนโกะ
(เหมือนปฏิกิริยาของคนรุ่นเดียวกันต่อนักเรียนที่เรียกร้องให้ยกเลิกผม
เกรียน) มีมากทีเดียว ทำไมพวกเขาจึงอยากอยู่ในระเบียบวินัย
ทำไมพวกเขาอยากใส่ชุดนักศึกษา ผมอยากเสนอว่า
ชุดความหมายเกี่ยวกับเคร่ืองแบบนักศึกษามีหลายชุดความหมาย
เครื่องแบบนักศึกษาเป็นรหัสทางวัฒนธรรมที่ซับซ้อนทีเดียว ในขณะนี้
ดูเหมือนความหมายบางความหมายกำลังกลายเป็นความหมายนำ
เป็นความหมายที่สังคมยกย่องเชิดชูกันขึ้นมา
"เครื่องแบบนักศึกษาเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่ม" ใช้จัดกลุ่ม เหมือน
"ชุดประจำชาติ" "เครื่องแต่งกายของกลุ่มชาติพันธ์ุ" ใช้ระบุว่าใครเป็นใคร
ความหมายนี้เป็นความหมายที่ active เป็นสัญลักษณ์แห่งการแสดงตัวตน
เครื่องแบบตามความหมายนี้นำความภูมิใจมาสู่ผู้สวมใส่
ผมคิดว่าความหมายนี้แหละที่กำลังเป็นความหมายนำอยู่
แต่ผู้ที่สวมเครื่องแบบด้วยความหมายนี้จะมองเห็นหรือเปล่าว่า
ยังมีความหมายอะไรอื่นอีกล่ะที่ซุกซ่อนอยู่ใต้ขุดนักศึกษาอันน่าภูมิใจ
"เครื่องแบบนักศึกษาทำให้คนเท่ากัน"
ความหมายนี้เป็นความหมายที่พูดกันมาก
ว่าเครื่องแบบทำให้นักศึกษาไม่ว่าจะจากฐานะไหน ยากดีมีจน
เหมือนกันหมดและจึงเท่ากันหมด แต่จะจริงหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
เพราะเครื่องแบบนักศึกษานำมาซึ่งการดูแลรักษาความสะอาด
ถ้าเสื้อขาวเปื้อนกับเสื้อยืดสีหม่นๆ เปื้อน
เราจะใส่เสื้อขาวเปื้อนต่อหรือไม่ เสื้อยืดไม่รีดเราอาจใส่ได้
แต่เสื้อเชิ้ตยับๆ เราสักกี่คนจะใส่กัน ความสิ้นเปลืองไฟ เวลา
ค่าแรงเพื่อการรีดชุดนักศึกษายังจะทำให้ชุดนักศึกษาเป็นเครื่องหมายของความ
เท่าเทียมกันไหม เนื้อผ้า แฟชั่น ของชุดนักศึกษาที่เราเห็นกันในปัจจุบัน
จะยังรักษาอุดมการณ์ความเท่าเทียมกันภายใต้เครื่องแบบอยู่อีกไหมหากคิดถึง
ต้นทุนและชนชั้นทางสังคมที่สามารถแบกรับต้นทุนเหล่านั้น
"เครื่องแบบนักศึกษาเป็นเคร่ืองแสดงชนชั้น"
คนที่คิดอย่างนี้อาจจะไม่ได้คิดแบบนี้ตั้งแต่แรกหรอก
หรือเขาอาจคิดแบบนี้โดยไม่ตั้งใจ คำพูดประเภทที่ว่า "ไม่ใช่ทุกคนจะได้ใส่"
เป็นหนึ่งในนั้น แต่ชนชั้นของการมีเครื่องแบบ
ความพิเศษของการได้ใส่เครื่องแบบ ความภูมิใจในการได้ใส่เครื่องแบบ
เหล่านี้ก็สร้างชนชั้นของคนใส่เครื่องแบบนักศึกษา
ให้เหนือคนไม่มีโอกาสได้ใส่หรือไม่
คนที่ได้ใส่นักศึกษาน่าจะมีความคิดความอ่านเพียงพอจะเข้าใจความหมายนี้เอง
ได้
"เครื่องแบบนักศึกษากลายเป็นวัตถุทางเพศ" บางคนบอกว่า
"จะร่วมเพศกันไม่ต้องใส่เครื่องแบบนักศึกษาก็ได้" นั่นก็ถูก
เพราะที่จริงการร่วมเพศไม่ต้องสวมอะไรเลยด้วยซ้ำ
แต่อย่าลืมว่าเครื่องแบบนักศึกษาเป็นภาพแทนความอ่อนวัย ความสดใส
ความบริสุทธิ์
ความหมายแฝงเหล่านี้หรือไม่ที่ทำให้เครื่องแบบนักศึกษากลายเป็นสิ่งดึงดูดใจ
ทางเพศ แล้วการที่เครื่องแบบนักศึกษาไทยพัฒนาความเซ็กซี่ขึ้นมา
ซึ่งเกิดขึ้นเฉพาะเคร่ืองแบบนักศึกษาหญิงเท่านั้น
มันบอกความหมายเฉพาะของเครื่องแบบนักศึกษาไทยที่เชื่อมโยงกับเซ็กซ์หรือไม่
มันบอกการกดขี่หรือการใช้ชุดนักศึกษาเป็น "เครื่องเพศ" หรือไม่
คนใส่เครื่องแบบอย่างเซ็กซี่คงรู้ตนเองดี
"เครื่องแบบนักศึกษาเป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจ"
ที่ใช้ควบคุมระเบียบของสังคม
ข้อนี้ไม่ต่างอะไรกับชุดพนักงานในสำนักงานต่างๆ ที่มีเครื่องแบบ
สังเกตบ้างไหมว่าคนที่แต่งเครื่องแบบมีแต่คนด้อยอำนาจตำแหน่งเล็กๆ
หรือตำแหน่งลูกน้องเท่านั้นแหละที่แต่ง
มีผู้จัดการธนาคารที่ไหนแต่งเครื่องแบบ มีกรรมการบริหารบริษัท
ประธานบริษัทที่ไหนแต่งเครื่องแบบที่ให้พนักงานใส่
แม้แต่ตำรวจชั้นสัญญาบัตรเขายังไม่แต่งเครื่องแบบไปทำงานประจำวันเลย
"เครื่องแบบนักศึกษาเป็นเครื่องมือผลิตซ้ำอุดมการณ์ครอบงำ"
ง่ายที่สุดเลยคืออุดมการณ์เพศ ภายใต้เครื่องแบบนักศึกษา
คนสวมใส่เป็นได้เพียง ถ้าไม่ชาย ก็หญิง
ระเบียบของการแบ่งเพศเข้ามามีบทบาทในการแต่งชุดนักศึกษาอย่างเห็นได้ชัด
เกินจากนั้น ภายใต้เครื่องแบบ คนสวมจะแสดงตัวตนได้ไม่มากนัก
เมื่อสวมเครื่องแบบ คุณจึงถูกเครื่องแบบกำกับพฤติกรรม เพราะถูกมอง
ถูกคาดหวังต่อบทบาทตามเครื่องแบบ
ถึงที่สุดแล้ว ความหมายต่างๆ
ของชุดนักศึกษาไม่อาจมีความหมายใดเป็นความหมายนำอีกต่อไป
ความหมายที่เคยแน่นิ่ง ทั้งๆ ที่เมื่อก่อนก็แทบไม่เคยมีอำนาจนำ
กำลังถูกกวนให้ขุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ที่ต้องคิดด้วยคือ
ความหมายใดกันแน่ที่อยู่ซ้อนและครอบงำความหมายอื่นอยู่
แล้วทำไมความหมายนั้นจึงขึ้นมามีบทบาทเหนือความหมายอื่น
ความหมายใดเป็นความหมายลวงแค่เปลือก
ความหมายใดคือความหมายที่ใช้มอมเมาให้ยอมรับเพื่อใช้ความหมายอื่นควบคุม
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร
อย่าหยุดเถียงเพียงด้วยเพราะเราไม่ชอบความเห็นฝ่ายตรงกันข้ามก็แล้วกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น