ปัจจัยการชุมนุมทางการเมือง กดดันนักลงทุนเทขายเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินบาทวันนี้(26พ.ย.56) หลุดระดับ 32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งอ่อนค่ามากที่สุดในรอบกว่า 2 เดือน ขณะที่ประกาศเตือนการท่องเที่ยวในไทย เพิ่มเป็น 19 ประเทศแล้ว
นักบริหารค่าเงิน ระบุ
ค่าเงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ (26 พ.ย.) อยู่ที่ 32 บาท 1 สตางค์ต่อดอลลาร์
อ่อนค่ามากสุดในรอบกว่า 2 เดือน
ซึ่งแรงกดดันที่ทำให้บาทอ่อนค่าจากแนวโน้มเงินดอลลาร์สหรัฐที่ยังแข็งค่า
มาจากปัจจัยการเมืองกดดันให้นักลงทุนเทขายเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
และการที่นักลงทุนทยอยขนเงินกลับประเทศ
พัฒนาแล้ว หลังจากหลังจากเศรษฐกิจยุโรป และสหรัฐฯ ดีขึ้น
ทำให้มีการเทขายเงินบาทออกมาค่อนข้างมาก โดยตั้งแต่วันที่ 1
พฤศจิกายนจนถึงขณะนี้ นักลงทุนเทขายในตลาดหุ้นแล้ว 3 หมื่นล้านบาท
หากรวมตลาดพันธบัตรด้วยจะมีมูลค่าสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท
นายบัณฑิต นิจถาวร ประธานคณะกรรมการสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
กล่าวว่า สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนี้ ทำให้ผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรไทย
หรือ ตราสารหนี้ระยะยาวเพิ่มสูงขึ้นแล้วร้อยละ 0.3-0.4
เมื่อเทียบกับต้นปีที่ผ่านมา
ด้านนายวินเซนต์ มิลตัน กรรมการผู้จัดการ
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปัจจัยการเมือง
เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ฟิทช์ เรทติ้งฯ
ใช้ในการประเมินความน่าเชื่อถือของประเทศ โดยได้จับตาภาวะการเมืองตลอดช่วง
2-3 ปีที่ผ่านมา และต้องประเมินผลกระทบในอีก 2-3 เดือนต่อจากนี้ว่า
การเมืองจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในระยะยาวมากน้อยแค่ไหน
เบื้องต้นการบริโภคจะได้รับผลกระทบแน่นอน
จากความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง และหากสถานการณ์ยืดเยื้อ
จะมีผลต่อการวางนโยบายระยะยาว เช่น นโยบายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
/การพัฒนาด้านการศึกษาที่มีผลต่อขีดความสามารถของประเทศ
ซึ่งนโยบายเหล่านี้ต้องการรัฐบาลที่มีความเข้มแข็งและความน่าเชื่อถือในการ
ผลักดัน
ส่วนด้านการท่องเที่ยว นายศุกรีย์ สิทธิวนิช รองผู้ว่าการด้านการสื่อสารการตลาด
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. กล่าวว่า
ได้ประเมินผลกระทบการชุมนุมทางการเมือง 3 กรณี คือ กรณีที่
1.ไม่รุนแรงและจบในปีนี้ การท่องเที่ยวจะไม่ได้รับผลกระทบ และปี 2557
ยังคงเป้าหมาย 28 ล้าน 1 แสนคน รายได้ 1 ล้าน 3 แสน 2 หมื่นล้านบาท
กรณีที่
2.หากมีการประกาศเตือนนักท่องเที่ยวระดับ 5 หรือห้ามเที่ยวประเทศไทย
คาดนักท่องเที่ยวเดือนธันวาคมนี้ จะลดลงร้อยละ 8-10 ทั้งปีเหลือ 25 ล้าน 7
แสนคน เสียรายได้ 2 หมื่น 5 พันล้านบาท
และหากสถานการณ์ลากยาวถึงไตรมาสแรกปี 2557 ท่องเที่ยวปีหน้า
จะเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 7 รายได้โตร้อยละ 13
กรณีสุดท้ายหากมีการประกาศห้ามเที่ยวประเทศ
ไทย และมีสถานการณ์ใกล้เคียงกับการปิดสนามบินเมื่อปี 2551
นักท่องเที่ยวจะลดลงร้อยละ 18-20 หรือ 6 แสน 5 หมื่นคน ทำให้ทั้งปีนี้
มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเหลือ 25 ล้าน 5 แสนคน เสียรายได้ 2 หมื่น 7
พันล้านบาท และจะชะลอถึงไตรมาสสองปีหน้า ภาพรวมทั้งปี 2557
จะต่ำกว่าที่คาดการณ์
ทั้งนี้
ขณะนี้มีการประกาศแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวเพิ่มอีก 3 ประเทศ คือ อิตาลี
/ฟินแลนด์ /สโลวาเกีย เป็น 19 ประเทศ จากเดิม 16 ประเทศ
ซึ่งเป็นการเตือนให้หลีกเลี่ยงบางจุดที่มีการชุมนุม
26 พฤศจิกายน 2556 เวลา 10:59 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น