แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

จรัญ โฆษณานันท์: นิติธรรมมายาของศาลรัฐธรรมนูญไทย

ที่มา ประชาไท


อนุสนธิจากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2556 กรณีร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญกล่าวพาดพิงถึงหลักนิติธรรมอย่างมากและหลายๆคราวในฐานะ เป็นฐานที่มาแห่งการอ้างอำนาจในการวินิจฉัยคดี ทำให้ประเด็นเรื่องหลักนิติธรรมกลายเป็นศูนย์กลางหนึ่งของคำวินิจฉัยและกลับ กันเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์หนึ่งเช่นกันในฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยโดยเฉพาะใน เรื่องความเลื่อนลอยคลุมเครือในคำอธิบายของศาลรัฐธรรมนูญ [1]
ที่ผ่านมาบ่อยครั้งมักมีบางฝ่ายชื่นชมต่อรัฐธรรมนูญ 2550 โดยอ้างอิงถึงการปรากฏตัวเป็นครั้งแรกของวาทกรรม “หลักนิติธรรม”ในบทบัญญัติมาตรา 3 วรรค 2 และมาตรา 78(6)(แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน)ของรัฐธรรมนูญ  ขณะที่จงใจหรือละลืมการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญ มาตรา 309(รับรองความชอบธรรมของการรัฐประหารและผลพวงการใช้อำนาจที่ตามมา)ซึ่งเป็น การทำลายหลักนิติธรรมโดยสิ้นเชิง

สถานะแห่งคุณค่าหรือความสำคัญของ หลักนิติธรรมในรัฐธรรมนูญจึงมีลักษณะลักลั่นขัดแย้งกันอยู่ในตัวเองชัดเจน  ซ้ำร้ายหลักนิติธรรมดังกล่าวยังปรากฏตัวอย่างคลุมเครือปราศจากการให้นิยาม หรือคำอธิบายอันชัดเจนใดๆกระทั่งนักกฎหมายฝ่ายจารีตนิยมยังยอมรับถึงอันตราย ที่ไม่มีแนวทางรองรับในรัฐธรรมนูญว่าคืออะไร[2]   จุดอ่อนอันสำคัญนี้อาจนับเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการปรับใช้หลัก นิติธรรมอย่างผิดพลาด/ไร้เหตุผลหนักแน่นของศาลรัฐธรรมนูญในอดีตหลายๆคราว ดังอาทิ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 5/2551  หรือคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555[3]   รวมทั้งกรณีล่าสุดปัจจุบันในปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญล่าสุดดังกล่าว เมื่อพิจารณาโดยละเอียดแล้วไม่ปรากฏว่าศาลรัฐธรรมนูญอธิบายหลักคิดพื้นฐาน ทางกฎหมายของหลักนิติธรรมแต่อย่างใด   ศาลรัฐธรรมนูญกล่าวอย่างเป็นนามธรรมยิ่งว่าหลักนิติธรรมเป็นหลักการพื้นฐาน สำคัญของกฎหมายที่อยู่เหนือบทบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์อักษร โดยเป็นแนวทางในการปกครองที่มาจากหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติอันเป็นความ เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ปราศจากอคติ ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตนเข้ามาเกี่ยวข้อง   หากศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้คำอธิบายชัดเจนใดๆว่าหลักการพื้นฐานสำคัญของกฎหมาย ดังกล่าวมีลักษณะที่เป็นแก่นแกนเชิงหลักกฎหมายอย่างไร หากไพล่ไปพรรณนาว่าการใช้อำนาจให้ถูกต้องตามหลักนิติธรรมต้องไม่ใช่การใช้ อำนาจตามอำเภอใจกดขี่ข่มเหงฝ่ายเสียงน้อย มีความทับซ้อนระหว่างผลประโยชน์  และไม่นำมาซึ่งความเสียหาย-แตกสามัคคีในประเทศชาติ  และโดยตรรกะอย่างครอบจักรวาลเช่นนี้เองที่ศาลรัฐธรรมนูญนำมาเป็นข้อ อ้างอย่างรวบรัดเพื่อสถาปนาอำนาจทางกฎหมายของตนในการตรวจสอบถ่วงดุลการใช้ อำนาจเพื่อให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมอันขยายความสู่การมีอำนาจในการพิจารณา การยื่นคำร้องตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เรื่องการใช้สิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ
แม้หลักนิติธรรมตามนิยามคลุมเครือของศาลรัฐธรรมนูญอาจดูเสมือนหลักการใช้ อำนาจที่เป็นธรรมทั่วไป แต่พิจารณาโดยรวมกลับมีฐานะเป็นหลักนิติธรรมเฉพาะกิจที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ เจาะจงให้สอดรับกับความเชื่อมั่นรุนแรงของศาลในพฤติกรรมการใช้อำนาจที่ไม่ เป็นธรรมของรัฐบาล/ฝ่ายเสียงข้างมากในรัฐสภาทั้งในแง่เผด็จการเสียงข้างมาก หรือการมีผลประโยชน์ทับซ้อน  ยิ่งกว่านั้นในความคลุมเครือของคำอธิบายหลักนิติธรรมดังกล่าว หากสังเกตให้ดีจะพบว่าไม่มีมิติของกฎหมาย หลักการทางกฎหมาย/กระบวนการยุติธรรมปรากฏอยู่เลย  จนมีสภาพประหนึ่งหลักอนิติธรรมหรือหลักนิติธรรมมายาที่ไร้นิติ/กฎหมายในตัว มันเอง
ความผิดพลาดสำคัญของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว  เป็นไปได้ที่จะเกิดจากความไม่รู้หรือแสร้งไม่รู้ต่อความหมายเบื้องต้นหนึ่ง ของหลักนิติธรรมในแง่หลักความเป็นใหญ่สูงสุดของกฎหมายที่เป็นธรรมในเชิง เนื้อหาหรือรูปแบบในการปกครองบ้านเมือง โดยที่ความชอบธรรมในการใช้อำนาจรัฐขององค์กรใดๆหรือกระทั่งอำนาจประชาชนล้วน ต้องสามารถอธิบายโดยยึดโยงกับตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  ในแง่นี้หลักนิติธรรมแท้จริงจึงบังคับให้ศาลรัฐธรรมนูญต้องอธิบายอำนาจในการ พิจารณาคำร้องดังกล่าวโดยอ้างอิงมาตรา 68ของรัฐธรรมนูญโดยตรง ไม่ใช่การอ้างอิงอำนาจหลักนิติธรรมอันคลุมเครือเพื่อยืนยันอำนาจชี้ขาดของตน อย่างไม่ชอบธรรม
การยืนยันอำนาจวินิจฉัยอันไม่ถูกต้องย่อมนำไปสู่ข้อกังขาสำคัญต่อปัญหา การใช้อำนาจอย่างเป็นอิสระและเป็นกลางของศาลรัฐธรรมนูญ  อันโยงสู่ปัญหาการละเมิดหลักนิติธรรมอันแท้จริงของตุลาการรัฐธรรมนูญเอง  แม้ว่าณปัจจุบันข้อถกเถียงทางวิชาการเกี่ยวกับความหมายแห่งหลักนิติธรรมจัก ดำรงอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่คำอธิบายหลักนิติธรรมในทางสากลจำนวนมากต่างเห็นพ้องต่อหลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของศาลในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญหนึ่งของหลักนิติธรรม ดังปรากฏตัวอย่างในคำอธิบายหลักนิติธรรมของนักนิติปรัชญาสำคัญของโลกอย่าง H.L.A. Hart [4], Joseph Raz[5] ,หรือในนิยามหลักนิติธรรมของสหประชาชาติ[6] ,เนติบัณฑิตยสภาสากล (The International Bar Association/IBA)[7]และ The World Justice Project Rule of Law Index,2012[8]      

แม้ หลักนิติธรรมในมาตรา 3 วรรค 2 ของรัฐธรรมนูญจะไม่มีนิยามใดๆในตัวเอง แต่แท้จริงแล้วหลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของตุลาการในฐานะเป็นองค์ประกอบ สำคัญของหลักนิติธรรมมีปรากฏชัดเจนเช่นกันในรัฐธรรมนูญ  ดังเห็นประจักษ์ได้ในมาตรา197 วรรค 2 :ความเป็นอิสระและเป็นธรรมในการใช้อำนาจตุลาการ และมาตรา 201 :การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษา-ตุลาการโดยปราศจากอคติเพื่อให้เกิดความ ยุติธรรม   บทบัญญัติเหล่านี้ล้วนสอดรับกับสิทธิพื้นฐานในกระบวนการยุติธรรมของบุคคลใน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ(ที่มีอคติ/ความขัดกันแห่งผลประโยชน์)และ สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างถูกต้องและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 40 (2) (3) รวมทั้งสอดคล้องกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(ข้อ10:สิทธิที่จะได้รับ การพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมโดยศาลซึ่งเป็นอิสระและไร้อคติ)และกติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและการเมือง(ข้อ 14 : สิทธิได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมในศาลที่มีอิสระและเป็นกลาง)ซึ่งไทย ร่วมลงนามและให้สัตยาบันผูกมัดรับรอง
หลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของตุลาการในฐานะเป็นองค์ประกอบสำคัญของ หลักนิติธรรม มีความหมายในตัวเองที่การตัดสินคดีต้องเป็นไปอย่างอิสระและเป็นกลาง ไม่แอบแฝงหรือเก็บซ่อนความคิดใดล่วงหน้าเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นปัญหาในการ พิจารณา ไม่กระทำในสิ่งซึ่งเอื้อประโยชน์แก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือไม่มีความขัดกันแห่งผลประโยชน์ใดๆของผู้พิพากษากับคดีที่พิจารณา  ดังหลักการพื้นฐานที่ว่าบุคคลไม่อาจเป็นผู้พิพากษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ตนเองโดยถือกันทั่วไปว่าเป็นเสมือนหลักความยุติธรรมตามธรรมชาติ(Natural Justice)  น่าสนใจว่าสภาขุนนางของอังกฤษซึ่ง(เคย)ทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดเคยปรับใช้ หลักการนี้ในการปฏิเสธอำนาจพิจารณาของตุลาการที่มีความผูกพันเกี่ยว ข้องอย่างแรงกล้า(Strong Commitment)ในความเชื่อมั่นหรือความคิดเห็นบางประการอันสัมพันธ์กับเรื่อง ที่พิจารณา หรือปฏิเสธอำนาจตุลาการผู้มีความสัมพันธ์กับบุคคลหรือองค์กร/สถาบันซึ่ง เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เป็นปัญหาในกระบวนการพิจารณา[9]
ในแง่นี้เมื่อย้อนกลับมาพิจารณาปัญหาการแก้รัฐธรรมนูญของศาลรัฐธรรมนูญ ไทยปัจจุบัน  ตุลาการผู้มีส่วนร่วมสำคัญในการยกร่างรัฐธรรมนูญ พศ.2550 ซึ่งย่อมเห็นดีเห็นชอบด้วยในหลักการหรือกฎเกณฑ์ต่างๆที่ร่วมสถาปนาขึ้นมา  ย่อมมีผลประโยชน์ส่วนตนทั้งในเชิงความคิด อุดมการณ์ หรือระบบการเมืองในรูปแบบหนึ่งๆที่ตนยึดมั่นและมุ่งปกป้องส่งเสริมในรัฐ ธรรมนูญ   เช่นนี้แล้วภายใต้หลักนิติธรรมสากลที่เน้นความสำคัญของหลักความเป็นอิสระและ เป็นกลางของตุลาการ ตลอดจนตัวอย่างบรรทัดฐานสากลข้างต้น  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าวย่อมล้วนขาดคุณสมบัติหรือไร้อำนาจชอบธรรมใดๆใน การร่วมพิจารณาพิพากษาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอันเป็น ปัญหา   เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 3 ท่านที่เข้าร่วมวินิจฉัยเป็นส่วนหนึ่งของเสียงข้างมากในการตัดสินคดีครั้ง นี้   เคยมีส่วนร่วมสำคัญในการร่างรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งในฐานะสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญและรองประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐ ธรรมนูญ คนที่2(นายจรัญ  ภักดีธนากุล) และในฐานะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ(นายนุรักษ์ มาประณีต และนายสุพจน์ ไข่มุกด์)[10]  การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทั้งสามท่านไม่ยอมถอนตัว และฝืนเข้าร่วมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท ย่อมถือเป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ ละเมิดหลักความเป็นอิสระและเป็นกลางของตุลาการหรือฝ่าฝืนต่อหลักนิติธรรมอัน แท้จริง
ผลลัพธ์แห่งการใช้อำนาจตุลาการโดยละเมิดต่อหลักนิติธรรมเช่นนี้ ย่อมเป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่นำไปสู่ความสูญเปล่าแห่งความชอบธรรมใดๆของคำ วินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันที่ 20พฤศจิกายนที่ผ่านมา   และจักปรากฏเป็นรอยด่างสำคัญอีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์แห่งสถาบันตุลาการ ไทยซึ่งมักตกอยู่ใต้บทวิพากษ์แห่งความเป็นอำนาจนิยม/อนุรักษ์นิยมมาโดยตลอด[11]ดัง ได้รับการตอกย้ำจากคำวินิจฉัยล่าสุดของศาลรัฐธรรมนูญ แม้ครั้งนี้จะถูกปกปิดห่อคลุมด้วยหลักนิติธรรมมายาที่พยายามสร้างขึ้นเพื่อ ยืนยันอำนาจว่างเปล่า  หรือหยิบยืมวาทกรรมของพรรคฝ่ายค้านมาใช้ในคำวินิจฉัย จำพวกเผด็จการฝ่ายข้างมาก , สภาผัวเมียหรือการกดขี่ฝ่ายเสียงข้างน้อย เพื่ออวดอ้างความเป็นประชาธิปไตย
แต่ใช่หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วเสียงข้างน้อยดังกล่าว “ไม่ใช่เสียงข้างน้อยธรรมดาในระบบประชาธิปไตย แต่คืออภิสิทธิ์ชนส่วนน้อยในระบอบประชาธิปไตยครึ่งใบที่ได้อำนาจอภิสิทธิ์ เหนือคนอื่น และเหนือเสียงข้างมาก  มาจากการรัฐประหารและรัฐธรรมนูญที่ร่างโดยอำนาจรัฐประหารนั้น”[12]





[1] แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ เรื่อง “คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณีรัฐสภาแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการ ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา” วันที่ 23 พฤศจิกายน 2556 , นสพ.มติชน  อาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2556 หน้า 9
[2] ทรรศนะของวิษณุ เครืองาม ใน, ธานินทร์ กรัยวิเชียร , หลักนิติธรรม,นนทบุรี: สำนักงานกพ. 2552 , หน้า66
[3] คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่5/2551 ปรากฏนัยความไร้เหตุผลอันชอบธรรมจาก ความเห็นในการวินิจฉัยคดีส่วนตนของนายจรัญ ภักดีธนากุล ที่ยืนยันเชิงหลักการว่าประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบบประชาธิปไตยฯฉบับที่ 30(ประกาศคณะรัฐประหาร)เป็นมาตรการที่จำเป็นต้องมี  มิได้ฝ่าฝืนหรือขัดแย้งต่อหลักนิติธรรมหรือสิทธิมนุษยชนแต่ประการใด  ส่วนคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 28-29/2555 ยืนยันว่า ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ไม่ขัดหรือแย้งต่อหลักนิติธรรมตามมาตรา 3 วรรค2ของรัฐธรรมนูญภายใต้ข้ออ้างเรื่องความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของ ประชาชน
[4] H.L.A. Hart , Essays in Jurisprudence and Philosophy, Oxford :Clarendon Press, 1983, pp.114-5
[5] Joseph Raz, “The Rule of Law and Its Virtue”, The Law Quarterly Review,Vol.93, April 1977,p.201
[6] UN, Rule of Law and Transitional Justice in Conflict and Post-Conflict Societies,(S/2004/616), 2004 แม้ในการประชุมระดับสูงว่าด้วยหลักนิติธรรมของสหประชาชาติในปีคศ.2012  หลักความเป็นอิสระของระบบตุลาการและความเป็นกลาง-เที่ยงธรรมของศาล ยังได้รับการตอกย้ำให้เป็นสาระสำคัญอันจำเป็นเบื้องต้น(Essential prerequisite)ต่อการยืนหยัดในหลักนิติธรรม , UN General Assembly ,Declaration of the High-level Meeting of the General Assembly on the Rule of Law at the National and International Levels, 19 September 2012(ข้อ13)
[7] The International Bar Association(IBA), Rule of Law Resolution ,September 2005,WWW.ibanet.org/Document/Default.aspx? Document Uid=a 19de354
[8] http://worldjusticeproject.org/sites/default/files/wjp_Index_Report
[9] R v.Bow Street Metropolitan Stipendiary Magistrate, ex parte Pinochet Ugarte(No.2)  House of Lords, United Kingdom,(1999) 1 LRC 1  อ้างใน Nihal Jayawickrama , The Judicial Application of Human Rights Law, Cambridge : Canbridge University Press,2002 ,p.519   คดีนี้เกี่ยวข้องกับการออกหมายจับอดีตผู้นำเผด็จการชิลี(Pinochet)ในคดีส่ง ผู้ร้ายข้ามแดนเพื่อนำตัวมาพิจารณาคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ  ภายหลังพบว่าหนึ่งในผู้พิพากษาที่พิจารณาการออกหมายจับ เคยเป็นผู้อำนวยการและประธานองค์การนิรโทษกรรมสากล(AI) อันเป็นองค์กรที่ทำงานเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมผู้ตกเป็นเหยื่อของอำนาจเผด็จ การ/การละเมิดสิทธิมนุษยชน  แม้ไม่มีการกล่าวหาว่าผู้พิพากษาดังกล่าวมีอคติในความเป็นจริง  สภาขุนนางอังกฤษก็ชี้ขาดว่า ถึงแม้จะไม่พบความผิดในแง่การมีอคติความลำเอียงใดๆ   ผู้พิพากษาดังกล่าวย่อมขาดคุณสมบัติ(แห่งความเป็นอิสระ-เป็นกลาง)โดย อัตโนมัติในการพิจารณาการออกหมายจับดังกล่าว
[10] คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พศ.2550, http://th.wikipedia.org/wiki/
[11] ดูตัวอย่างบทวิพากษ์ล่าสุดของสถิตย์ ไพเราะ อดีตรองประธานศาลฏีกา ในงานเสวนาวิชาการ”คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกับหลักประชาธิปไตยและ นิติธรรม”24พย.2556 :”...สถาบันตุลาการของประเทศไทยในปัจจุบันยังคงมี อุดมการณ์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่มาก  เพราะหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 นั้น ศาลหรืออำนาจตุลาการเป็นสถาบันการเมืองเดียวที่แทบไม่ถูกปฏิรูปเลยแม้จะมี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง” ,นสพ.มติชน ,25 พย.2556
[12] เกษียร เตชะพีระ , “ผลทางการเมืองของมติศาลรัฐธรรมนูญ” ,  http://blogazino.in.th/blogs/kasian/post/4460

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น