แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประชาไท: กลุ่มนักวิชาการ เสนอทางออก รบ.ประชามติแก้รธน.ทั้งฉบับ พร้อมยุบสภา

ที่มา Thai E-News

 ประชาไท
Thu, 2013-11-28 13:41


28 พ.ย.2556 กลุ่มนักวิชาการ ประกอบด้วย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, นิธิ เอียวศรีวงศ์, พวงทอง ภวัครพันธุ์, สมฤทธิ์ ลือชัย, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์, ยุกติ มุกดาวิจิตร, ประจักษ์ ก้องกีรติ, สมชาย ปรีชาศิลปกุล,  ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์, อัครพงษ์ ค่ำคูน และ ทวีศิลป์ สืบวัฒนา ออกแถลงการณ์เสนอทางออกจากสถานการณ์การเมืองในขณะนี้ต่อ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี 2 ข้อ ประกอบด้วย 1.เพื่อแก้ไขวิกฤตที่เกิดจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 ต้องจัดการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ  2. หลังจากนั้น รัฐบาลต้องประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการออกเสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ พร้อมระบุว่า  ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องคืนอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองให้กับประชาชน และยืนยันในความสำคัญของรักษาประชาธิปไตยตามวิถีทางรัฐสภา

พวงทอง ภวัครพันธุ์ รองศาสตราจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายเพิ่มเติมว่า ข้อเสนอตามที่แถลงไปนั้น ต้องการให้ประกาศลงประชามติซึ่งตามรัฐธรรมนูญกำหนดให้ใช้เวลาเป็นเวลาอย่าง น้อย 3 เดือน ซึ่งยาวนานกว่าช่วงเวลากำหนดเรื่องการยุบสภา ดังนั้นรัฐบาลจึงอาจจะประกาศเรื่องลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อน และให้คำมั่นว่าจะยุบสภา ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ประกาศล่วงหน้า 45 วัน

ทั้งนี้ กลุ่มของนักวิชาการที่ร่วมลงชื่อเห็นว่า ถ้าจะให้ประชาชนลงคะแนนเลือกตั้งแล้วก็น่าจะให้ลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งฉบับไปด้วย เพราะวิกฤตการเมืองส่วนหนึ่งที่สำคัญก็เกิดมาจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 2550 และตัวอย่างล่าสุดที่ทำให้เกิดความขัดแย้งก็คือเรื่องการแก้ไขที่มาของ ส.ว.

สำหรับท่าทีของฝ่ายต่อต้านรัฐบาลที่ไม่เอาการยุบสภา และต้องการตั้งสภาประชาชนนั้น ศ.นิธิ เอียวศรีวงศ์กล่าวว่าแม้ฝ่ายต่อต้านจะไม่เอาการยุบสภาแต่เห็นว่า รัฐบาลมีสิทธิที่จะยื่นข้อเสนอที่ดีที่สุดให้ประชาชน จะไม่ตอบรับก็ได้ แต่รัฐบาลมีสิทธิที่จะมอบอำนาจให้ประชาชนซึ่งถือเป็นทางออกที่ดีที่สุด “ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่มีเหตุผล ถ้าเสนอทางออกที่ไม่ใช้ความรุนแรง เชื่อว่าคนจะรอจังหวะเวลาในการลงประชามติ และรอการเลือกตั้ง” นิธิกล่าวพร้อมย้ำว่าตราบเท่าที่เป็นข้อเสนอที่คนส่วนใหญ่เห็นว่ามีเหตุผล ก็น่าจะเป็นทางออกได้

ส่วนคำถามว่าพรรคฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์อาจจะใช้วิธีบอยคอตการเลือกตั้ง นิธิตอบว่าคนส่วนใหญ่ก็คงเลือกเท่าที่มี และคิดว่าประชาชนต้องการฝ่ายค้านที่ดี มีเหตุผลและมีพลัง

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มธ. กล่าวว่า ตัวเขานั้นผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองมาหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภา 2535 และพฤษภา 53 ประวัติศาสตร์บอกว่าลักษณะของการชุมนุมประท้วงที่มีคนเข้าร่วมมากขณะนี้อาจ จะหลีกเลี่ยงการนองเลือดและจลาจลไม่ได้ นักวิชาการที่ได้ปรึกษาหารือกัน ณ ที่นี้ จึงเสนอทางออกสองข้อ คือแก้ไขรธน. ทั้งฉบับ และยุบสภา ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ถ้าไม่สามารถหาทางลงกันได้ การเสียชีวิตอาจจะมีมากกว่าที่ผ่านๆ มา

เขาชี้ว่าหากไม่ต้องการให้สังคมไปถึงจุดนั้น ข้อเสนอที่กล่าวมาก็เป็นสิ่งที่นักวิชาการพอจะทำได้ในการเสนอทางออกที่สันติ สุขให้สังคม จากนี้เป็นเรื่องของรัฐบาลที่จะตัดสินใจ แต่ถ้าไม่มีทางออก รัฐประหารก็จะตามมา แล้วการมีนายกพระราชทานก็จะตามมา ดังที่เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

พวงทองย้ำในตอนท้ายของการแถลงข่าวว่า สำหรับข้อเสนอของนักวิชาการครั้งนี้ ขอให้สังคมอย่ามองแค่มันเป็นไปได้หรือไม่ได้ แต่นี่เป็นเสียงที่พยายามหาทางออกให้สังคม ซึ่งขณะนี้มีคนที่ต้องการให้เกิดความรุนแรงเพื่อให้เกิดการใช้อำนาจนอกระบบ เข้ามา โดยนักวิชาการจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาทิ้งท้ายว่าอยากเตือนมวลชนทุกฝ่ายว่าอย่าตกเป็นเครื่องมือของแกนนำฝ่าย ใดๆ เพราะขณะนี้ก็ยังคงมีนักโทษการเมืองอยู่ในคุก

0000

แถลงการณ์ รัฐบาลต้องประกาศจัดออกเสียงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และยุบสภา

เรียน  นายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่นับถือ


ด้วยวิกฤตทางการเมืองที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้ ได้สร้างความวิตกกังวลแก่ประชาชนโดยทั่วหน้าว่าสังคมไทยกำลังเดินเข้าสู่ ภาวะกลียุค ที่กฎระเบียบทั้งทางกฎหมายและสังคมต่างๆ ถูกละเมิดอย่างไร้ขอบเขตและความรับผิดชอบ จนอาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนกลุ่มต่างๆ พวกข้าพเจ้าดังมีรายนามด้านท้ายของหนังสือนี้ ขอเรียนให้ท่านนายกรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้พิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้

1. เพื่อแก้ไขวิกฤตที่เกิดจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2550 รัฐบาลต้องจัดให้มีการลงประชามติเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญกำหนดว่าวันลงประชามติจะต้องมีกำหนดไม่น้อยกว่า 90 วันหลังรัฐบาลประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา

2. หลังจากนั้น รัฐบาลต้องประกาศยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดยจะดำเนินการควบคู่ไปกับการออกเสียงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ

ทั้งนี้ การยุบสภาผู้แทนราษฎรให้กระทำโดยพระราชกฤษฎีกา ซึ่งต้องกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร

พวกข้าพเจ้าเห็นว่า ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ รัฐบาลจำเป็นต้องคืนอำนาจในการตัดสินใจทางการเมืองให้กับประชาชน และยืนยันในความสำคัญของรักษาประชาธิปไตยตามวิถีทางรัฐสภา

ขอแสดงความนับถือ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น