แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ม็อบขับไล่รัฐบาลยึดสถานที่ราชการ

ที่มา Voice TV



กลุ่มผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาล ยังคงปักหลักชุมนุมในพื้นที่สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และประกาศตั้งเวทีเพิ่มอีก 1 จุด และเปิดเผยว่า จะเข้ายึดสถานที่ราชการเพิ่มเติมในวันพรุ่งนี้(26 พ.ย.)
 
 
กลุ่มผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาล ยังคงชุมนุมภายในพื้นที่สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง หลังเข้ายึดพื้นที่ได้ในช่วงบ่าย โดยในช่วงแรก นายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำผู้ชุมนุม ได้ประกาศให้มวลชนกระจายกำลัง ไปห้องต่างๆ ภายในอาคาร แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้ปิดประตูทางขึ้น และประตูห้องต่าง ๆ ไว้ก่อนหน้านี้ หลังข้าราชการบางส่วน ได้ทยอยออกจากพื้นที่ตั้งแต่เที่ยงวัน นอกจากนี้ นายสุเทพ ยังได้ประกาศตั้งเวทีเพิ่มเติม ที่กระทรวงการคลัง คู่ขนานกับเวทีราชดำเนิน
 
 
ขณะที่การชุมนุมบริเวณกองบัญชาการตำรวจนครบาล ซึ่งเป็น 1 ใน 13 จุดที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมไปประท้วง ก็มีสถานการณ์ที่ตึงเครียด และมีการชุมนุมยืดเยื้อ โดยในช่วงบ่าย เกิดเหตุปะทะระหว่างนายนิก นอสติทซ์ ช่างภาพอิสระ ชาวเยอรมัน กับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งหลังเกิดเหตุ เขาได้เข้าแจ้งความกับตำรวจให้ดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุทันที ซึ่งเขาเปืดเผยเบื้องต้นว่า เขาถูกต่อย ที่ใบหน้าหลายครั้ง จนแว่นตาและกล้องถ่ายภาพ ได้รับความเสียหาย
 
 
การชุมนุมอีกจุด ที่สถานการณ์เพิ่งคลี่คลาย คือหน้าสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ซึ่งกลุ่มผู้ชุมนุมต้องการพบนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา และนายกิตติ สิงหาปัด ผู้ดำเนินรายการข่าวของช่อง 3 ซึ่งนายสรยุทธได้ลงมาพูดกับผู้ชุมนุม เรื่องการนำเสนอข่าว จนทำให้ยอมสลายการชุมนุม
 
 
นอกจากการชุมนุมที่ช่อง 3 วันนี้กลุ่มผู้ชุมนุมได้แบ่งกลุ่มไปชุมนุม  ที่ช่อง 5  , ช่อง 7, ช่อง 9 และช่อง 11 ด้วย  จึงทำให้วันนี้ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ออกแถลงการณ์ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการกระทำดังกล่าว  และหากผู้ชุมนุมไม่พอใจการทำหน้าที่ของสื่อแต่ละช่อง   สามารถส่งตัวแทนไปยื่นหนังสือกับผู้บริหารของช่องนั้น ๆ ได้โดยตรง  และทำหนังสือร้องเรียน  มายังคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช. และสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย  ให้ตรวจสอบการทำงานได้ 
 
 
จึงขอเรียกร้องให้เข้าใจการทำหน้าที่ของ สื่อมวลชน  และขอให้สื่อมวลชน รายงานข่าวตามข้อเท็จจริงจากทุกฝ่าย และให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเช่นกัน
 
 
ด้านศูนย์อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย หรือ ศอ.รส. ได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน กรณีที่นายสุเทพ นำมวลชนเข้ายึดอาคารสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และขับไล่ข้าราชการออกจากพื้นที่ รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าในสถานที่ดังกล่าว เนื่องเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215 โดยแกนนำ และผู้ชุมนุม มีโทษจำคุกระหว่าง 6 เดือน ถึง 5 ปี และ ปรับไม่เกิน 1 พันบาท ถึง 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
 
ซึ่งนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวถึงการยึดพื้นที่สำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง โดยระบุว่าไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์นี้  และมองว่าเรื่องนี้ กระทบต่อความเชื่อมั่นของประเทศ
 
 
ส่วนการยกระดับหรือมาตรการดูแลผู้ชุมนุม เป็นพิเศษ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สถานที่ราชการ มีมาตราการดูแลตามขั้นตอนอยู่แล้ว แต่ได้ให้ฝ่ายความมั่นคงไปดูแลเพิ่มเติม และเชื่อว่าตำรวจจะดูแลความเรียบร้อย  ไม่ให้มีเหตุการปิดล้อมอาคารรัฐสภาในวันพรุ่งนี้ได้ เพื่อให้รัฐสภาเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจได้ตามกำหนด
25 พฤศจิกายน 2556 เวลา 17:43 น. 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น