นิตยสารไทม์ชี้ประชาธิปัตย์ไม่ได้เป็นนักประชาธิปไตยสมกับชื่อพรรค
เรียกร้องให้โค่นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง นำม็อบยึดสถานที่ราชการ
หวังกองทัพเข้ายึดอำนาจ เล่นการเมืองแบบอันธพาล
เว็บไซต์ของนิตยสารไทม์
เสนอรายงานในวันพฤหัสบดี ที่ 28 พฤศจิกายน 2556 ในชื่อ
"พรรคประชาธิปัตย์ของประเทศไทยตั้งชื่อผิดอย่างน่าหัวร่อ" ระบุว่า
ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างสองสีเสื้อในเมืองไทยได้กลับมาปะทุอีกครั้ง
เหล่าคนเสื้อเหลืองผู้สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์ได้เข้ายึดกระทรวงต่างๆในเมืองหลวงและศาลากลางอย่างน้อยใน
19 จังหวัด
เมื่อวันอังคาร นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
อดีตรองนายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ แกนนำการประท้วง ได้ตอกย้ำเสียงเรียกร้อง
"การปฏิวัติประชาชน"
เพื่อจัดตั้งสภาประชาชนของพวกรอยัลลิสต์ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ไทม์ได้ชี้ถึงความดีเด่นดังของประเทศไทยหลายประการ
เช่น
เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีผู้ไปเยือนปีละหลายล้านคน, เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับต้นของโลก,
มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
และประชาธิปไตยของไทยก็เป็นแบบอย่างให้แก่เพื่อนบ้านในพม่า, ลาว,
กัมพูชา และเวียดนาม
แต่พรรคประชาธิปัตย์เป็นหนึ่งในผู้ปฏิบัติในด้านระบอบประชาธิปไตยที่แย่ที่สุด
พวกคนเสื้อเหลืองนับหมื่นกำลังเดินขบวนทั่วประเทศ
แต่การเรียกร้องให้จัดตั้งสภาของพวกรอยัลลิสต์นั้น
ยากที่จะเรียกว่าเป็นการปฏิวัติประชาชน
อำนาจประชาชนได้แสดงออกเป็นที่ประจักษ์แล้วโดยผู้ออกเสียงเลือกตั้ง
15 ล้านคน ที่ได้โหวตเลือกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยของเธอเมื่อปี 2554
พรรคการเมืองต่างๆที่ทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกโค่นอำนาจโดยกองทัพเมื่อปี 2549
ได้ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงข้างมากอย่างล้นหลามตลอด 5 ครั้งที่ผ่านมา
แน่นอน มหาเศรษฐีโทรคมนาคมผู้นี้
มีบาดแผลหลายอย่าง เช่น การทำธุรกิจของเขาในอดีต, สงครามปราบปรามยาเสพติดเมื่อปี
2546, การบงการการชุมนุมของคนเสื้อแดง
แต่น่าประหลาดใจที่พรรคฝ่ายค้านไม่ได้โจมตีเขาด้วยเรื่องเหล่านี้
พรรคประชาธิปัตย์ชนะเลือกตั้งครั้งหลังสุดเมื่อปี
2535 ฐานเสียงของพรรคคือ พวกนานทุนน้อยในกรุงเทพ
พรรคนี้ไม่ได้รับความนิยมในหมู่คนยากจนในภาคอีสาน ซึ่งเป็นที่มั่นของคนเสื้อแดง
แต่แทนที่จะสร้างแนวนโยบายเพื่อช่วงชิงคะแนนเสียงจากคนยากจน
พรรคนี้กลับยิ่งผลักไสผู้ออกเสียงเลือกตั้งกลุ่มใหญ่
ด้วยการเรียกร้องเชิญชวนให้พันธมิตรผู้มากอิทธิพล อย่างเช่น กองทัพหรือศาล
ให้บ่อนทำลายคู่แข่งของตน
เวลานี้ได้กลายเป็นวงจรไปแล้ว
เมื่อประชาชนเลือกพรรคที่ทักษิณสนับสนุนให้เป็นรัฐบาล พวกชนชั้นนำก็จะเข้าโค่นล้ม
อาทิ กรณีการรัฐประหารเมื่อปี 2549, กรณีศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคพลังประชาชนเมื่อปี
2551 เมื่อประชาชนออกมาประท้วงบนท้องถนนก็เกิดการสูญเสียเลือดเนื้อ จากนั้น
พรรคที่ทักษิณสนับสนุนก็ชนะเลือกตั้งอีก
มีการโจมตีนโยบายต่างๆของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
แต่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนายสุเทพ
ซึ่งทั้งสองได้ถูกตั้งข้อหาฆ่าคนตายเนื่องจากสั่งปราบปรามคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553
ขณะเป็นรัฐบาล ก็ได้แพ้มติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีในสภาผู้แทนราษฎรในวันพฤหัสบดี
หลายคนเคยหวังว่า
ความขัดแย้งของคนต่างสีเสื้อจะยุติลงหลังจากเหตุการณ์น่าสลดเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม
2553 ซึ่งคนเสื้อแดงได้ประท้วงการโค่นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง
ซึ่งเป็นสิ่งที่นายสุเทพกำลังเรียกร้องอยู่ในเวลานี้
น่าเสียใจที่สัญญาณทุกอย่างล้วนชี้ว่า
เหตุการณ์กลับกำลังจะบานปลายยิ่งขึ้น
วันเฉลิมพระชนม์พรรษา 5 ธันวาคม กำลังใกล้เข้ามา เบนจามิน ซาแว็กกี ที่ปรึกษากฏหมายอาวุโสประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของคณะกรรมการนักกฎหมายระหว่างประเทศ บอกว่า นายสุเทพไม่ต้องการทำลายบรรยากาศของวันมหามงคลนี้ ดังนั้น เขาจะเร่งยกระดับการชุมนุม ด้วยความหวังว่าทหารจะทำรัฐประหาร หรือประกาศกฎอัยการศึกเป็นการชั่วคราว ก่อนที่จะถึงวันหยุดสำคัญนี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น