นาย ชลิต ระบุด้วยว่าหากรัฐบาลไม่รับข้อเสนอของสภาเกษตรกรฯ ก็จะเป็นกลไกที่ชาวนาเกษตรกรจะเคลื่อนไหวต่อ โดยในพรุ่งนี้จะมีชาวนาอีกส่วนหนึ่งหลายจังหวัดจะเดินทางมายื่นข้อเรียกร้อง กับรัฐบาลด้วย ดังนั้นทางสภาฯ จึงเสนอต่อรัฐบาลไปว่าให้คงราคาไว้ที่ 15,000 บาทก่อน เพื่อลดกระแสการประท้วง แล้วให้ตัวแทนเกษตรกรอย่าง สภาเกษตรกรแห่งชาติที่ถูกจัดตั้งตาม พรบ.สภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 เข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนด กขช. และ พรบ.ดังกล่าวในมาตรา 11 ก็ระบุให้อำนาจหน้าที่ของสภาฯให้ความคิดเห็น คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในการแก้ปัญหาของเกษตรกรด้วย หากรัฐบาลใช้กลไกนี้ก็จะไม่บีบให้ชาวนาต้องเคลื่อนไหวตามท้องถนน
ประธาน สภาเกษตรกร จ.นครนายก กล่าวด้วยว่าทั้งนี้สภาเกษตรกรแห่งชาติจะมีการประชุมในวันที่ 28 – 29 มิ.ย.นี้ แต่ทางสภาฯ ในส่วนของกลุ่มภาคกลางซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดเห็นว่า หากรอมติการประชุมดังกล่าวอาจไม่ทันการจึงออกมาเรียกร้องต่อรัฐบาลก่อนให้ ยุติการลดราคาจำนำ และหากในอนาคตจะมีการลดราคาจำนำข้าวนั้นความชื่นต้องเพิ่มขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามต้องการให้คงราคาที่ 15,000 บาท ไว้ก่อน
ประธาน สภาเกษตรกร จ.สระบุรี กล่าวว่า การที่รัฐบาลประกาศลดราคาจำนำข้าวกะทันหัน ทำให้ชาวนาต้องแบบรับภาระเพราะมีการลงทุนไปแล้ว และการทำนาต่อรอบก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 – 5 เดือน บวกกับต้นทุนที่เพิ่มหลังมีการรับจำนำในราคานี้ ทั้งค่าจ้างรถไถ-รถเกี่ยวข้าว ค่าปุ๋ย ค่าเช่าที่และค่าแรง เป็นต้น
สำหรับ ข้อกังวลกรณีการที่ชาวนาไม่ได้ประโยชน์จากโครงการจำนำข้าวอย่างเต็มที่นั้น ประธานสภาเกษตรกร จ.สระบุรี ชี้แจงว่าเรื่องนี้รัฐบาลมีมาตรการตรวจสอบควบคุมอยู่แล้วจึงไม่เป็นเรื่อง ที่น่ากังวล
กลุ่มชาวนา-เสื้อแดง เดินเท้าจากลานพระบรมรูปฯ
นอกจากตัวแทนสภาเกษตรกรภาคกลางและภาคเ
หน้าประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น