แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

24 มิถุนายน 2475 : ไทยสปริงครั้งแรก

ที่มา ประชาไท


ในที่สุดวันที่ 24 มิถุนายนก็ได้เวียนบรรจบมาอีกครั้งในปีที่ 81 นับตั้งแต่เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็น ระบอบประชาธิปไตยของไทย และครั้งนี้ก็เป็นปีที่ 53 นับตั้งแต่จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ได้เปลี่ยนวันชาติจากวันที่  24 มิถุนายนไปเป็นวันอื่นเมื่อปี 2503 อันส่งผลให้คนไทยยุคใหม่มองว่าวันที่  24 มิถุนายนเป็นวันปกติทั่วไป (Just one of those days)  ไม่มีการเฉลิมฉลอง ไม่มีอนุสาวรีย์หรือสัญลักษณ์ใดในการระลึกถึงหรือสรรเสริญคณะราษฎร แม้แต่      สารคดีในสื่อกระแสหลักก็อาจมีแบบเสียไม่ได้คือมีแบบสั้นๆ เน้นการตัดต่อเช่นเดียวกับบทเรียนสำหรับนักเรียนโดยมุ่งเทิดพระเกียรติพระ มหากษัตริย์มากกว่าคณะราษฎร ทั้งที่วันที่ 24 มิถุนายน2475 ได้ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสังคมไทย ประวัติศาสตร์เช่นนี้ย่อมทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยที่เห็นว่าการกระทำของคณะ ราษฎรเป็นเพียงการการถ่ายอำนาจจากคนหนึ่งไปยังบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งบทความต่อไปนี้จะเป็นการแสดงให้เห็นว่าวันที่ 24 มิถุนายนที่จริงเป็นวันที่สำคัญที่สุดในวันสำคัญทั้งหลายในรอบปีเพราะวันดัง กล่าวในปี 2475  คือวันที่เกิดการปฏิวัติของไทยหรือไทยสปริงครั้งแรกในประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ก็ว่าได้    
ขีดจำกัดของการปฏิวัติ
นิยามของการปฏิวัติซึ่งเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ  "การเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนต่อโครงสร้างของรัฐและสังคมโดยเฉียบพลันอัน ได้รับการสนับสนุนหรือมีส่วนร่วมโดยมวลชนและมีเป้าหมายเพื่อมวลชน “  ดังนั้นประวัติศาสตร์แบบดัดแปลงพันธุกรรมดังข้างบนจึงทำให้คนส่วนใหญ่มองว่า 24 มิถุนายน 2475 ไม่ใช่การปฏิวัติหากเป็นเพียงการแย่งชิงอำนาจจากบุคคลๆ หนึ่งไปยังกลุ่มบุคคลหนึ่ง คำพูดเช่นนี้ดูแยบยล แต่ถ้าพิจารณาดูให้ดีแล้วการปฏิวัติทั้งหลายในโลกก็ล้วนเข้าข่ายนี้ทั้งนั้น เช่นการปฏิวัติอเมริกา ในปี 1776  ก็คือการที่ชาวอาณานิคมปลดแอกจากอังกฤษมาอยู่ภายใต้อำนาจของผู้ปกครองที่ตัว เองเลือกคือประธานาธิบดีและรัฐสภา (ซึ่งมีหลายครั้งที่ทำตัวเป็นเผด็จการไม่ต่างจากอดีตเจ้าอาณานิคมเลย) เท่านั้นเอง   การปฏิวัติโดยทั่วไปต้องใช้เวลาในการถ่ายโอนอำนาจ เมื่อมีการก่อการแล้วใช่ว่าอำนาจจะลงมาสู่ประชาชนเลยทันทีโดยไม่มองว่า สถาบัน องค์กรหรือโครงสร้างต่างๆ ของระบอบเดิมก็ยังคงมีอิทธิพลหลงเหลืออยู่  นอกจากนี้กลุ่มอำนาจเก่ายังคงมีอำนาจในการกลับมาทวงอำนาจคืนหรือทำลายล้างผล การปฏิวัติ (Counter-revolution) จึงนำไปสู่การชะลอตัวของการปฏิวัติ คณะปฏิวัติต้องกระทำการที่เป็นปฏิบัตินิยมคือยืดหยุ่นไปกว่าอุดมการณ์เดิม เพื่อปกป้องระบอบใหม่และตัวเอง ด้วยตระหนักว่าถ้าทำไม่สำเร็จ คณะปฏิวัติเองก็ต้องประสบความล้มเหลวหรือพบจุดจบในที่สุด  ปรากฏการณ์เช่นนี้มีมากมายในอดีตแม้แต่การปฏิวัติที่เกิดจากประชาชนรากหญ้า ก็ตาม แต่เมื่อโค่นรัฐบาลชุดเก่าได้แล้วก็ต้องสนับสนุนคนที่เห็นว่าเหมาะ สมมาปกครองต่อซึ่งผู้นำอาจทรยศต่ออุดมการณ์เก่าหรือว่าไร้ประสิทธิภาพจนทำ ให้เกิดการปฏิวัติหรือทำรัฐประหารซ้อนอีกก็ได้ดังเช่นการปฏิวัติฝรั่งเศสที่ สิ้นสุดลงเพราะการขึ้นมามีอำนาจของพระเจ้านโปเลียน
24 มิถุนายน 2475  และมวลชน
การเห็นว่า24 มิถุนายน 2475  เป็นเรื่องของชนชั้นปกครองเพียงประการเดียวไม่เกี่ยวกับมวลชนหรือชนชั้นล่าง ย่อมมองข้ามธรรมชาติของการปฏิวัติในประเทศต่างๆ ว่าล้วนมีแตกต่างกันออกไปโดยเฉพาะสัดส่วนของการมีส่วนร่วมของมวลชนอันขึ้น อยู่กับว่าเราจะตีความว่ามวลชนที่ร่วมทำการปฏิวัติหรือสปริงอยู่กับชนชั้น ไหนว่ามีบทบาทมากที่สุด เพราะเป็นไปได้ยากที่จะมีการลุกฮือกันของทุกคนในประเทศ อย่างเช่นในอาหรับสปริง ชนชั้นกลางจะมีส่วนร่วมกันมากในการโค่นล้มรัฐบาลโดยเฉพาะอียิปต์  การปฏิวัติสีส้ม (Orange Revolution) ในยูเครนเมื่อปี 2004 หรือแม้แต่เหตุการณ์ประท้วงรัฐบาลของตุรกีและบราซิลที่กำลังดำเนินอยู่นี้  แต่สำหรับสปริงในหลายๆ ประเทศ  เช่นในอเมริกาใต้หรือแอฟริกาช่วงสงครามเย็น ชาวนาชาวไร่มีส่วนในการร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในการปฏิวัติหรือโค่นล้ม รัฐบาลเผด็จการซึ่งก็สำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง  และหลังจากมีการปฏิวัติแล้ว อำนาจก็มาอยู่กับบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งอาจจะเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ อำนาจนิยมก็ได้แล้วแต่ปัจจัยของประเทศนั้น
สำหรับไทยนั้นหนังสือประวัติศาสตร์หลายเล่มได้แสดงให้เห็นว่าชนชั้นกลาง ใหม่ (และยังเป็นที่น่าสนใจว่ารวมไปถึงเชื้อพระวงศ์ระดับล่างๆ อีกหลายพระองค์) มีส่วนในการสนับสนุนไทยสปริงครั้งแรกนี้อย่างมากมายไม่ว่า นักกฎหมาย ปัญญาชน นักคิดนักเขียนหรือแม้แต่พ่อค้าซึ่งได้วิพากษ์ระบอบ  สมบูรณาญาสิทธิราชและให้การสนับสนุนคณะราษฎรภายหลังจากยึดอำนาจแล้วเพราะ พวกเขาเห็นว่ารัฐบาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวขาดประสิทธิภาพในการ บริหารประเทศ  ส่วนชนชั้นรากหญ้านั้นแน่นอนว่าเสียงของคนเหล่านั้นอาจไม่ได้ถูกถ่ายทอดออก มาเป็นลายลักษณ์อักษรได้มากนักเพราะคนไทยในยุคนั้นส่วนใหญ่มีการศึกษาน้อย อ่านออกเขียนไม่ได้จึงไม่สามารถแสดงเจตจำนงของเขาได้ชัดเจน อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถด่วนสรุปได้ว่าการที่คณะราษฎรสามารถทำการปฏิวัติ ได้สำเร็จก็เพราะเกิดจากการที่มีประชาชนทั้งหมดสนับสนุนการปฏิวัติ เช่นเป็นไปได้ว่ามีประชาชนจำนวนหนึ่งที่ไม่พอใจการปฏิวัติแต่ไม่กล้าประท้วง ต่อต้าน เช่นขุนนางระบอบเก่า ข้าราชการและประชาชนที่หัวนิยมเจ้า หรืออาจมีประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่ขาดความสนใจเรื่องการเมือง ไม่ใส่ใจว่าใครจะมาปกครองเพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกลเช่นหัวเมืองที่มีสำนึก ความเป็นท้องถิ่นสูงและการสื่อสารและการขนส่งก็ไม่ดีพอหรืออีกกลุ่มหนึ่งที่ มีความจงรักภักดีต่อกษัตริย์และให้การยอมรับต่อคณะราษฎรเมื่อฝ่ายหลังได้ยืน ยันว่าจะให้ประมุขของประเทศคือกษัตริย์แต่รัฐบาลได้รับการบริหารโดยคณะราษฎร
แต่ถ้าเราศึกษาดูประวัติศาสตร์ในช่วงตั้งแต่การก่อตั้งรัฐสมบูรณาญาสิทธิ ราชคือสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นนั้นจะพบว่า ประชาชนมีความกระตือรือร้นทางการเมืองสูงมากโดยเฉพาะการแสดงความไม่พอใจต่อ รัฐบาลกลางเป็นอย่างมากเช่นมีตามภูมิภาคต่างๆ มีการถวายฏีกาโดยผู้นำชุมชนต่อรัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราช แต่รัฐบาลไม่สามารถตอบสนองได้เป็นจำนวนมาก รวมไปถึงการขบถแยกดินแดน การประท้วงการเก็บภาษีและกฎหมายหลายประการที่ไม่เป็นธรรม อยู่เนืองๆ  ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกับประเทศตะวันออกหลายประเทศก่อนจะเกิด อาหรับสปริง  สาเหตุสำคัญก็เพราะรัชกาลที่ 5 ทรงไม่สามารถปฏิรูปประเทศเพื่อส่งประโยชน์ถึงประชาชนในระดับล่างๆ ได้อย่างแท้จริง ประเทศจึงประสบปัญหาด้านการเกษตรกรรมและเศรษฐกิจอย่างมากในช่วงปลายรัชสมัย ของพระองค์ และยังถูกซ้ำเติมโดยความด้อยประสิทธิภาพในการบริหารประเทศของรัฐบาลในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว [ii] จึงเป็นปัจจัยที่ทำให้รัฐบาลของรัชกาลที่ 7 ถูกยึดอำนาจไปอย่างง่ายดาย สาเหตุประการหนึ่งที่พระองค์และเหล่าอภิรัฐมนตรีไม่คิดขัดขืนฝ่ายคณะราษฎรก็ ด้วยความตระหนักว่าระบอบเก่าได้ถึงกาลอวสานแล้ว เพราะความไร้ศักยภาพของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกในทศวรรษ ที่ 30 ผสมกับกระแสการล่มสลายของสถาบันกษัตริย์ในประเทศต่าง ๆ อันมีสาเหตุสำคัญเพราะสงครามโลกครั้งที่ 1
ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่สันนิฐานได้ว่าประชาชนระดับล่างๆ อยู่เป็นจำนวนมากที่ให้การสนับสนุนคณะราษฎรภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว ถึงแม้จะไม่ได้ออกมาเดินประท้วงเหมือนกับการปฏิวัติทั่วไปโดยเฉพาะใน ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามคนเหล่านั้นไม่ได้ตั้งใจให้ทำลายสถาบันกษัตริย์แต่ต้องการให้ ประเทศมีการปกครองแบบกษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญโดยประชาชนมีการควบคุม ชะตากรรมของตน อันนำไปสู่การการแบ่งผลประโยชน์ต่อประชาชนภายในชาติอย่างเป็นธรรม  ด้วยจิตสำนึกของความเป็นชาติ (Nation) ที่ถูกปลูกฝังเสริมสร้างตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6[iii] พวกเขาและชนชั้นอื่นล้วนแต่มีส่วนร่วมในการปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงกระบวน ทัศน์ (Paradigm) เกี่ยวกับการเมืองการปกครองไปโดยปริยาย   

คณะราษฎรเพื่อมวลชน
การที่มีความเชื่อว่าว่าคณะราษฎรทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของตัวเองก็ เพราะภาพลักษณ์ของคณะราษฎรถูกนำเสนอผ่านประวัติศาสตร์แบบราชาชาตินิยมในการ ลดคุณค่าของคณะราษฎรเพื่อเพิ่มความสำคัญแก่สถาบันกษัตริย์ โดยมองข้ามข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ไปเป็นจำนวนมาก แท้ที่จริงแล้วคณะราษฎรได้กระทำในสิ่งที่เรียกว่าการปฏิวัติคือเปลี่ยนแปลง โฉมหน้าของประเทศอย่างมากมาย เช่นการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานก็คือจากการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช ไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ  (Constitutional Monarchy) อันถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไม่ใช่เปลี่ยนรัฐบาลเพียงประการ เดียวเหมือนการทำรัฐประหาร             (Coup d'etat) สิ่งนี้นำไปสู่การจัดวางอำนาจของสถาบันกษัตริย์ในสังคมไทยที่เป็นแกนหลักของ ระบบราชการและกฎหมายเสียใหม่ และยังนำไปสู่การเลื่อนไหลของกระบวนทัศน์เกี่ยวกับความเท่าเทียมกันของชน ชั้น (ข้ามาเทียบชั้นกับเจ้า)  รวมไปถึงรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเช่นมีนายกรัฐมนตรี มีรัฐสภา มีการผลักดันให้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด มีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ปวงชนชาว ไทยไปทั่วประเทศอันแตกต่างจากรัชกาลที่ 7 ที่ทรงเคยดำริจะนำรัฐธรรมนูญออกมาด้วยวัตถุประสงค์คือเพื่อเอื้อต่อการ ปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชเช่นให้มีนายกรัฐมนตรีเพื่อช่วยทำงานแทนพระองค์[iv]
นอกจากนี้คณะราษฎรยังได้ประกาศปณิธาน 6 ประการอันสร้างประโยชน์ให้แก่ราษฎรด้วยทั่วหน้า ถึงแม้จะมีผู้โจมตีว่าไม่สำเร็จ แต่ถ้าไม่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ประเทศก็คงจะถูกขับเคลื่อนต่อไปด้วย ปณิธานของพวกเจ้าต่อไป  นอกจากการการแก้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรมระหว่างประชาชนธรรมดากับพวกเจ้าแล้ว นายปรีดี  พนมยงค์ยังมีส่วนสำคัญในการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ไทยเป็นเอกราชทางศาลเมื่อ พ.ศ. 2481  มีการออกพ.ร.บ.จัดระเบียบเทศบาล เมื่อ พ.ศ.2476 เพื่อการกระจายอำนาจที่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองมากกว่าระบอบ เก่า  ที่สำคัญยังมีการเปิดให้มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรเป็นครั้งแรก เมื่อพ.ศ.2476 และผู้แทนซึ่งถึงแม้จะมาจากทางอ้อมก็มีความตื่นตัวทางการเมืองในการเป็นปาก เป็น เสียงแก่ท้องถิ่น ของตน จนมีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทางตรงใน ปี 2480 (มีประชาชนไปใช้สิทธิกว่าร้อยละ 40)  ที่ทำให้มีตัวแทนของประชาชนเข้ามาสะท้อนความคิดของประชาชนได้ อันเป็นสิ่งที่ไม่อาจเกิดขึ้นในช่วงสมบูรณาญาสิทธิราช ซึ่งสะท้อนว่าไทยสปริงครั้งแรกประสบความสำเร็จไปได้ระดับหนึ่ง ก่อนจะมาสะดุดเพราะเงื่อนไขหลายประการ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการทำรัฐประหารโดยกลุ่มนายทหารนอกราชการเมื่อ พ.ศ. 2490  ซึ่งสมาชิกโดยส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นสมาชิกของคณะราษฎรหรือเลื่อมใสในระบอบ ประชาธิปไตยเลยแม้แต่น้อย
หลังการทำปฏิวัติแล้วผู้เขียนก็ไม่ปฏิเสธว่าในบรรดานักปฏิวัติจะมีการ แย่งชิงอำนาจกันเพราะเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลหลายกลุ่มที่มีวัตถุ ประสงค์ร่วมกันแบบหลวม ๆ  แต่อาจจะมีผลประโยชน์ส่วนบุคคลหรือเฉพาะกลุ่มแอบแฝง หรือมีการตีความในการบริหารรัฐกิจไม่ตรงกัน แต่เป็นที่น่าสนใจว่าประวัติศาสตร์กระแสหลักมักจะมุ่งเน้นตรงจุดนี้มากไป โดยไม่กล่าวถึงการช่วงชิงอำนาจกลับของพวกภักดีเจ้าอย่างเช่นพระยามโนปกรณ์ นิติธาดาซึ่งคณะราษฏรมุ่งหวังจะให้มาประนีประนอมกับรัชกาลที่ 7 กลับพยายามทำรัฐประหารโดยการปิดสภา งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรารวมไปถึงการยุยงให้สมาชิกของคณะราษฎรขัดแย้งกันเอง ดังเช่นพระยาทรงสุรเดช หรือแม้แต่ขบฏบวรเดชซึ่งเกือบทำให้เกิดสงครามกลางเมืองเมื่อ 2476 ก็เกิดจากการที่กลุ่มภักดีเจ้าต้องการถวายอำนาจส่วนหนึ่งคืนให้กษัตริย์[v]  มีผลให้แผนของคณะราษฎรในการกระจายอำนาจสู่ประชาชนต้องชะงักงัน แม้แต่สำหรับจอมพล ป.พิบูลสงครามในยุคแรก (2481-2487)   มักมีผู้เห็นว่านายกรัฐมนตรีผู้นี้มีความประพฤติเป็นเผด็จการ ฝักใฝ่ในลัทธิทหาร มีการสร้างลัทธิเชิดชูบุคคลเช่นคำขวัญที่ว่า "เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย" สาเหตุสำคัญนอกจากสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้วก็เพราะเขาต้องการป้องกันไม่ให้พวกนิยมเจ้ากลับมามีอิทธิพลอีก[vi]    อย่างไรก็ตามเป็นที่น่าสนใจว่าจอมพล ป. ได้เปลี่ยนแปลงรัฐไทยไปสู่โฉมหน้าใหม่เช่นยกเลิกบรรดาศักดิ์หรือตอกย้ำลัทธิ ชาตินิยมที่มีรัฐเป็นศูนย์กลางไม่ใช่สถาบันกษัตริย์ และในท้ายสุดเขาได้พ้นตำแหน่งจากนายกรัฐมนตรี โดยการแพ้เสียงมติไม่ไว้วางใจจากรัฐสภาตามแบบประชาธิปไตย         
สุดท้ายนี้หากมีการเห็นว่าเมื่อประชาชนถวายการต้อนรับรัชกาลที่ 8 และพระอนุชาเมื่อเสด็จนิวัติพระนครอย่างล้มหลามด้วยความปีติ เป็นตัวสะท้อนว่า 24 มิถุนายน 2475   ไม่ใช่การปฏิวัติแล้วการเปลี่ยนแปลงการปกครองของฝรั่งเศสเมื่อปี 1789 ก็ไม่ใช่การปฏิวัติเพราะหลังจากนั้นก็มีการรื้อฟื้้น ระบอบกษัตริย์ขึ้นมาอีกเรื่อย ๆ  สำหรับเมืองไทยผู้เขียนคิดว่าคณะราษฎรรวมไปถึงประชาชนจำนวนมากไม่ได้ต้องการ ล้มล้างระบอบกษัตริย์และไม่ได้ต้องการให้คนไทยเลิกรักหรือเชิดชูพระมหา กษัตริย์ แต่ว่าต้องการให้พระราชอำนาจของพระองค์ถูกจำกัดภายใต้รัฐธรรมนูญและถ่ายโอน มาให้ประชาชนได้บริหารประเทศกันเอง ส่วนการถวายการต้อนรับของประชาชนต่อกษัตริย์เกิดจากความรู้สึกชื่นชมของ ประชาชนต่อบารมีหรือบุคลิกส่วนพระองค์ของกษัตริย์เองไม่ใช่ตกอยู่ภายใต้ อำนาจของกษัตริย์เหมือนเมื่ออยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
ปรากฏการณ์ทั้งหมดนี้ผู้เขียนคิดว่าเป็นมรดกของปรากฏการณ์ไทยสปริงครั้ง แรกอันเกิดจากคณะราษฎรและประชาชนไทยอย่างแท้จริง  ส่วนความล้มเหลวของหลายส่วนของการปฏิวัติในภายหลังอันทำให้ประชาธิปไตยของ ไทยล้มลุกคลุกคลานเป็นเวลากว่า 80  ปี ผู้เขียนมีความเห็นว่าไม่สามารถโทษคณะราษฎรได้เพียงประการเดียว หากมีกลุ่มผลประโยชน์อื่นรวมไปถึงบริบททางสังคมและการเมืองเข้ามาเป็นตัว จำกัดอีกด้วย




[i]ผู้ ก่อการไม่ได้เรียกการกระทำของตนว่า “ปฏิวัติ”  มีแต่เรียกว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครอง”  หรือ “การยึดอำนาจ”  และนายปรีดี พนมยงค์ในภายหลังต้องการเรียกว่าเป็นการอภิวัฒน์   แต่ในบทความนี้ขอเรียกว่าการปฏิวัติตามความนิยมในปัจจุบันเช่นเดียวกับคำว่า สปริง

[ii] อัจฉราพร กมุทพิสมัย. (2524). กบฏ ร.ศ. 130 : ศึกษากรณีการปฏิรูปทางการปกครองและ กลุ่ม "ทหารใหม่". วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย, สาขา ประวัติศาสตร์

[iii] Craig J. Renolds   http://www.academia.edu/557749/Thai_Revolution_1932_Thai Revolution (1932)

[iv] ถึงแม้ว่าร่างรัฐธรรมนูญหลายฉบับดังกล่าวจะไม่ได้เป็นการนำประชาธิปไตยแก่ สยามอย่างแท้ จริงแต่ต้องตกไปอย่างง่ายดายเพียงเพราะการทัดทานจากอภิรัฐมนตรีสภาอันประกอบ ด้วยบรรดาเจ้านายชั้นผู้ใหญ่หัวอนุรักษ์นิยมสามารถสะท้อนว่าพระองค์นั้นทรง ขาดความตั้งพระทัยในการพระราชทานรัฐธรรมนูญด้วยข้ออ้างว่าคนไทยยังไม่ พร้อม     ด้วยท่าทีเช่นนี้ย่อมทำให้บรรดาคณะราษฎรถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ไม่ชัดเจน เพียงพอที่จะต้อง รอ  ดังนั้นคำอธิบายที่บอกว่า "คณะราษฎรใจร้อน ด่วนได้" เป็นการให้ความหมายของคนใน ภายหลังที่ไม่เข้าใจขีดบริบทที่เหล่านักปฏิวัติกำลังเผชิญอยู่

[v] มีการแจกใบปลิวเพื่อโฆษณาชวนเชื่อว่าตนอยู่ฝ่ายเดียวกับพระมหากษัตริย์ ถึงแม้รัชกาลที่ 7 จะทรงปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขบฎ แต่ศาลพิเศษที่ถูกจัดตั้งโดยรัฐบาลได้ ตัดสินว่าพระองค์มีส่วนสนับสนุนทางการเงินต่อบุคคลเหล่านั้น    ยังเป็นที่น่าสนใจที่ สุธาชัย  ยิ้มประเสริฐได้เล่าว่า ภายหลังการทำรัฐประหารไม่สำเร็จ ชาวบ้านซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ซึ่งได้พบเห็นฝ่ายขบฏกำลังล่าถอนก็ได้พร้อมใจ กันแจ้งให้กับทางราชการทราบถึงทิศทางของการเคลี่อนย้ายของฝ่ายขบฏ

[vi] Kobkua Suwannathat-Pian.Thailand's durable  Premier: Phibun through three decades, 1932-1957

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น