ที่มา http://whereisthailand.info
เราได้ยินกันมามากเรื่องของการ “ทวงคืน” พลังงานเชื้อเพลิงในไทย ตั้งแต่ว่า
“ไทยเป็นซาอุฯ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
ไปจนถึงคำกล่าวที่ว่าเราเป็นประเทศส่งออกน้ำมันอันดับต้นๆ
แต่กลับขายคนไทยแพง คำกล่าวเหล่านี้มีความเป็นจริงเท็จเพียงใด?
และข้อเท็จจริงแล้วนั้นเป็นอย่างไร?
เริ่มจากคำถามที่ว่า จริงๆ แล้วเรามีทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติแค่ไหน? ในการตอบคำถามนี้เราต้องพิจารณาตัวเลขหลายชุด ได้แก่
- ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว หมายถึงปริมาณปิโตรเลียมในแหล่งกำเนิดที่สามารถนำออกมาใช้ได้ซึ่งได้รับการยืนยันแล้ว
- อัตรา การผลิต คือปริมาณที่บอกว่าเราสามารถผลิตปิโตรเลียมได้วันละเท่าใด เช่น ในบางประเทศอาจจะมีปริมาณสำรองมาก แต่มีการขุดขึ้นมาใช้ในอัตราที่น้อย เป็นต้น
- จำนวน ปีที่สามารถผลิตได้ บอกเราว่าหากเราขุดทรัพยากรขึ้นมาใช้ในอัตราที่ขุดอยู่ในปัจจุบัน เราจะสามารถขุดขึ้นมาในอัตรานี้ไปได้อีกกี่ปีก่อนที่จะหมด คำนวนโดยนำปริมาณสำรองพิสูจน์แล้วหารด้วยอัตราการผลิต
- อัตรา การบริโภค คือปริมาณการใช้ทรัพยากรนั้นในแต่ละวัน สำหรับบางประเทศอาจจะมีอัตราการผลิตที่สูงเกินพอความต้องการบริโภค เช่นกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน แต่สำหรับบางประเทศอาจพบว่าอัตราการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในแต่ละ วัน ดังนั้นจึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
ข้อมูลจากรายงาน “ถาม-ตอบยอดฮิต จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย[1]”ซึ่งอ้างอิงข้อมูลมาจาก “BP Statistical Review of World Energy 2012[2]” พบว่าประเทศที่น่าสนใจต่างๆ มีสถิติเกี่ยวกับทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ ดังนี้
ลำดับ | ประเทศ | ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว (ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต) | อัตราการผลิต (ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) | จำนวนปีที่ผลิตก๊าซธรรมชาติได้ (ปี) | อัตราการบริโภค (ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน) |
---|---|---|---|---|---|
1 | รัสเซีย | 1,574.98 | 0.0587 | 73.47 | 0.0411 |
5 | สหรัฐอเมริกา | 299.82 | 0.0630 | 13.04 | 0.0668 |
6 | ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย | 287.82 | 0.0096 | 82.13 | 0.0096 |
13 | สาธารณรัฐประชาชนจีน | 107.75 | 0.0099 | 29.76 | 0.0127 |
14 | สาธารณรัฐอินโดนีเซีย | 104.71 | 0.0073 | 39.22 | 0.0037 |
15 | มาเลเซีย | 86.01 | 0.0060 | 39.41 | 0.0028 |
42 | ไทย | 9.94 | 0.0036 | 7.61 | 0.0045 |
ลำดับ | ประเทศ | ปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว (ล้านบาร์เรล) | อัตราการผลิต (บาร์เรลต่อวัน) | จำนวนปีที่ผลิตน้ำมันดิบได้ (ปี) | อัตราการบริโภค (บาร์เรลต่อวัน) |
---|---|---|---|---|---|
1 | สาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา | 296,500 | 2,720,300 | 298.62 | 831,960 |
2 | ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย | 265,400 | 11,161,000 | 65.15 | 2,856000 |
8 | สหพันธรัฐรัสเซีย | 88,180 | 10,280,000 | 23.50 | 2,961,000 |
11 | สหรัฐอเมริกา | 30,870 | 7,841,000 | 10.79 | 18,835,470 |
15 | สาธารณรัฐประชาชนจีน | 14,710 | 4,089,660 | 9.86 | 9,758,000 |
23 | มาเลเซีย | 5,860 | 572,970 | 28.02 | 608,000 |
26 | สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม | 4,400 | 328,150 | 36.74 | 358,000 |
28 | สาธารณรัฐอินโดนีเซีย | 4,040 | 941,750 | 11.75 | 1,430,000 |
29 | ออสเตรเลีย | 3,870 | 483,660 | 21.94 | 1,003,000 |
47 | ไทย | 440 | 345,130 | 3.51 | 1,080,000 |
จากตัวเลขเหล่านี้
จะเห็นว่าประเทศที่เป็นแหล่งผลิตและสะสมน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติใหญ่ในโลก
ได้แก่ประเทศรัสเซีย ซาอุดิอาระเบีย ฯลฯ
ส่วนอีกหลายประเทศแม้จะมีการผลิตน้ำมันดิบที่ค่อนข้างสูง
แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน ฯลฯ
สำหรับประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น
พบว่ามีปริมาณสำรองและอัตราการผลิตน้ำมันดิบที่ค่อนข้างน้อย
และไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ
แต่มีก๊าซธรรมชาติในปริมาณที่มากกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น
โดยในกรณีมาเลเซียและอินโดนีเซียนั้นสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากกว่าความ
ต้องการบริโภคในแต่ละวัน
สำหรับประเทศไทย
เรามีก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้วอยู่ลำดับที่ 42 และ 47
ของโลกตามลำดับ
แต่อัตราการผลิตของเราไม่เพียงพอต่ออัตราการบริโภคในแต่ละวัน
เราผลิตก๊าซธรรมชาติได้เพียง 80% และผลิตน้ำมันดิบได้เพียง 32%
ของความการบริโภคภายในประเทศในแต่ละวัน ยิ่งไปกว่านั้น
หากเรายังคงผลิตด้วยอัตรานี้
เราจะมีก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบเหลือต่อไปเพียง 7.6 และ 3.5 ปี ตามลำดับ
เห็นได้ว่า
หากเราดูอัตราการผลิตเทียบกับอัตราการบริโภคและปริมาณสำรองที่เหลืออยู่แล้ว
สถานการณ์พลังงานของเรานับได้ว่าอยู่ในขั้น “ค่อนข้างวิกฤต”
และห่างไกลจากการเป็น “ซาอุฯ แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ที่หลายๆ
คนกล่าวอ้างยิ่งนัก
แล้วทุกวันนี้เราเอาน้ำมันที่ไหนมาเสริมความต้องการที่เกินกว่าอัตราการ
ผลิต? คำตอบย่อมเป็นอื่นไปไม่ได้นอกจากการนำเข้า
ซึ่งประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ต้องพึ่งการนำเข้าทรัพยากรเชื้อ
เพลิงจากต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น