แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2556

72ปี "ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" ครูนักปั้น ผู้ไม่หวัง "ผลชนะ" ในยุคนี้

ที่มา มติชน

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957189l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957222l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957272l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957305l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957343l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957387l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957417l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957502l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957518l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957567l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957602l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957646l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957681l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957726l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957749l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957777l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957836l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957951l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371957998l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371958034l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371958076l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371958100l.jpg

 http://www.matichon.co.th/online/2013/06/13719547321371958290l.jpg


"การรณรงค์ที่ได้เริ่มทำไว้หลายอย่าง แม้ยังไม่เป็นผลในตอนนี้และอาจจะไม่สำเร็จในรุ่นเรา แต่ก็หวังว่าจะเป็นการเริ่มต้นเพื่อให้มีคนทำต่อยอดในรุ่นต่อไป" 

นี่ เป็นส่วนหนึ่งจากปากคำ"ชาญวิทย์เกษตรศิริ"ในบทสนทนาที่มูลนิธิโครงการตำรา สังคมศาสตร์เมื่อไม่นานมานี้น่าจะเป็นคำตอบที่สอดคล้องต่อการตั้งของสังเกต ของลูกศิษย์ซึ่งกล่าวสร้างความสนุกสนานเฮฮาในงานแสดงมุทิตาจิตที่ผ่านมาว่า"อาจารย์สู้ไม่เคยชนะเรื่องใดสักเรื่อง" ซึ่งหลายๆ เรื่องเป็นที่รู้กันเช่น รณรงค์คัดค้านการย้ายนักศึกษาปริญญาตรี สายสังคมศาสตร์จากท่าพระจันทร์ไปเรียนรังสิตทั้ง 4 ปี, รณรงค์ให้แก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 รวมถึงการรณรงค์เปลี่ยนชื่อประเทศไทยเป็นสยาม ล่าสุด เสนอเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเป็น วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และการรณรงค์อื่นๆ อีกนานับประเด็น

ด้วยความเป็น "ครูนักปั้น" ปั้นทั้งดินและปั้นลูกศิษย์ ซึ่งอาจารย์ชาญวิทย์ เคยแสดงทรรศนะว่า 

"การปั้นคน กับการปั้นหม้อ มีส่วนที่คล้ายกันและแตกต่างกัน เราปั้นคนก็เป็นสิ่งสำคัญ เพียงแต่ดินกับคน ไม่เหมือนกัน เพราะ ดิน มันยอมให้เราทำอะไรก็ได้ แต่คนมันมีหัวใจของมัน เราอาจจะปั้นมัน แต่เสร็จแล้ว คนมันต้องไปหาหนทางของมันเอง" 

ถึงวันนี้อาจารย์มีลูกศิษย์มากมายนำมาสู่การรวมตัวร่วมแสดงมุทิตาจิตเมื่อวันที่22มิถุนายนที่คณะศิลปศาสตร์มธ.ในงานแสดงมุทิตาจิต "72 ปี ชาญวิทย์ เกษตรศิริ" โดยโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์  มธ.  มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ รวมทั้ง ศิษย์เก่า – ศิษย์ปัจจุบันและกัลยาณมิตร มี อาจารย์สมฤทธิ์   ลือชัย นักวิชาการอิสระด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เป็นพิธีกรตลอดงาน 





ในงานมีการนำอาหารเครื่องดื่มมาแจกจ่ายซึ่งจัดเตรียม โดยศิษย์เก่าศิษย์ปัจจุบันในโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษาจากนั้นมี กิจกรรมยอวาที “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง"  บรรยากาศเน้นความสนุกสนาน โดยแบ่งเป็น ฝ่าย “เยิน” กับ ฝ่าย “ยอ” ผู้กล่าวยอวาทีประกอบด้วย อาจารย์พนัส  ทัศนียานนท์ อดีตคณบดีนิติศาสตร์ มธ. อาจารย์นันทนา    นันทวโรภาส วิทยาลัยสื่อสารการเมือง ม.เกริก  อาจารย์ชาตรี ประกิตนนทการ ม.ศิลปากร นายสุรพงศ์     รักษาจันทร์ ศิษย์เก่าโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึง อั้ม เนโกะ นักศึกษาธรรมศาสตร์รุ่นปัจจุบัน ดำเนินรายการโดย อาจารย์อัครพงษ์ ค่ำคูณ ในญัตติธรรมศาสตร์ ดีดี๊ดี 

อาจารย์อัครพงศ์ กล่าวตอนหนึ่งว่า ตนเข้ามาเรียนโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา เมื่อปี 2544 ตั้งแต่ถือกระเป๋าเดินตามอาจารย์ชาญวิทย์มา เห็นว่าอาจารย์รณรงค์เคลื่อนไหวต่อสู้หลายเรื่องแต่ไม่เคยชนะเรื่องใดสักเรื่อง แม้จะไม่ชนะในแต่ละเรื่อง แต่ก็ได้ทำให้เกิดคนรุ่นใหม่ ได้เข้ามาร่วมกันต่อสู้ เพื่อต่อยอดเรื่องต่างๆ ต่อไป 

ด้านอาจารย์พนัส กล่าวว่า แม้อาจารย์ชาญวิทย์ จะสู้ไม่ชนะสักเรื่อง แต่ก็ขอให้รอดูคดีปราสาทพระวิหาร เที่ยวนี้อาจารย์ชาญวิทย์อาจจะชนะ เพราะ บอกว่า ไม่เจ๊าก็เจ๊ง สำหรับความสัมพันธ์ส่วนตัวตนเป็นเพื่อนเรียนสวนกุหลาบรุ่นเดียวกันและล่าสุดยังได้รับฉายาร่วมกัน ว่าเป็นนักวิชาการขายชาติ จากกรณีปราสาทพระวิหารด้วย 

อาจารย์พนัส ในฐานะผู้นำฝ่าย “เยิน” กล่าวถึงกรณีคณะกรรมาธิการวิสามัญ เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ....ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง (มร.) เป็นประธาน กำลังจะเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง ว่า เห็นด้วยที่อาจารย์ชาญวิทย์ เสนอว่า เรื่องชื่อมหาลัย ต้องใช้ชื่อ เดิมท่านผู้ประศาสน์การปรีดี พนมยงค์ ตั้งให้เป็นมงคล ถ้าจะใช้ชื่อเดิม ต้องใช้ชื่อเดิมเต็ม มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งมีภาษาอังกฤษกำกับด้วย University of Moral and Political Sciences (UMPS) นอกจากนั้น อาจารย์ชาญวิทย์ ยังมีหนังสือไปถึงรัฐมนตรีมหาดไทย เรียกร้องว่า ควรฟังเสียงศิษย์เก่า จากข้อเรียกร้องของท่าน คือถ้าจะเปลี่ยนทั้งที ต้องใช้ชื่อเดิม เพราะถ้าหาก ไม่มี “วิชา” มีแต่ “การเมือง” ก็อาจจะเป็นการเมืองที่ไม่ดี ขณะที่ในด้านผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้แจงโดยมีเหตุผลหนึ่งว่า วิชาที่สอนในมหาวิทยาลัยมีวิชาอื่นด้วย ไม่ใช่แค่วิชาในชื่อเดิม

อาจารย์พนัส กล่าวว่า ปัญหาคือ ควรเปลี่ยนชื่อหรือไม่ หรือ ถ้าเปลี่ยน ควรเปลี่ยนเป็นอะไร ระหว่าง วิชาธรรมศาสตร์และการเมือง กับ ธรรมศาสตร์และการเมืองเท่านั้น ส่วนตัว คิดว่า ข้อพิจารณาที่สำคัญคือ  ถ้าเปลี่ยนแล้วเกิดปัญหาหรือไม่ในทางปฏิบัติ  ถ้าไม่มีปัญหามากนักก็สมควรเปลี่ยนและก็ควรเปลี่ยนเป็นชื่อเดิม อย่างที่ อาจารย์ชาญวิทย์เสนอ เป็นมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง แต่ก็ต้องมีการอธิบายว่าวิชาอื่นจะไม่รู้สึกน้อยใจหรือว่ามีชื่อวิชาแค่ 2 สาขาวิชาเท่านั้นเอง 

อาจารย์นันทนา ในฐานะผู้นำฝ่าย “ยอ”  กล่าวว่า สมัยก่อนธรรมศาสตร์ขายวิชา สมัยนี้ขายแอร์ประหยัดไฟ(อดีตอธิการบดี เป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาแอร์ยี่ห้อหนึ่ง) สมัยก่อน ต่อต้านรัฐประหาร สมัยนี้ เกิดรัฐประหาร เวลคัมทูธรรมศาสตร์ และในปี 2535 มีการปิดประตูมหาวิทยาลัยไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้ามา จึงตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันมหาวิทยาลัยจะสามารถใช้ชื่อธรรมศาสตร์และการเมืองได้หรือไม่  ในอดีตธรรมศาสตร์ เป็นหัวหอกในการเปลี่ยนแปลงทุกเรื่อง อยู่เคียงข้างประชาชนเสมอ ก้าวแรกที่เดินเข้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เจอป้าย ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้รักประชาชนรู้สึกตื้นตันใจมาก แล้ววันนี้ จิตวิญญาณหายไปไหน ถ้าจะเปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัย ก็ต้องมีจิตวิญญาณต้องยืนอยู่ข้างประชาชนด้วย 

อาจารย์ชาตรี กล่าวว่า ขอเริ่มด้วยคำ “มหาวิทยาลัยย่อมอุปมา ประดุจบ่อน้ำ บำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้ อันเป็นสิทธิและโอกาส ที่เขาควรมีควรได้ ตามหลักเสรีภาพของการศึกษา” ตอนแรกที่เห็นข้อความนี้ คิดว่า เป็นคำพูดสวยหรู เรียกลูกค้า แต่ไปนานๆ คิดว่า มันอาจจะเป็นอุดมคติที่แท้จริง 

ส่วนตัวมองว่า จุดเริ่มต้นของธรรมศาสตร์ เข้าใกล้อุดมคติทางการศึกษาที่สุดในจุดเริ่มต้น แต่ไม่ขอพูดถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามมหาวิทยาลัยแห่งนี้ ผลิตปัญญาชน ได้ต่อเนื่องที่สุด ดูจากหนังสือที่ผลิตขึ้นมีมากที่สุด โดยเฉพาะหนังสือที่อาจารย์ชาญวิทย์ เป็นบรรณาธิการมีอิทธิพลต่อความคิดตนเองมาก และนำไปสู่วิทยานิพนธ์ด้วย สำหรับเล่มที่ชอบมาก คือ ปรัชญาประวัติศาสตร์ 

แม้ธรรมศาสตร์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่ธรรมศาสตร์ในปัจจุบันซึ่งเป็นยุคหลังรัฐประหาร ธรรมศาสตร์ก็ยังสามารถผลิต “คณะนิติราษฎร์” ได้อย่างน่าชื่นชม มีความเกี่ยวข้องกับจุดเริ่มต้นธรรมศาสตร์ ที่เกิดเพื่อการแสวงหาความรู้อย่างแท้จริง 

อั้ม เนโก๊ะ  กล่าวว่า จิตวิญญาณธรรมศาสตร์ ต้องอยู่ในใจ แม้ตนจะถูกตำหนิหลังจากใส่บิกินนี่ทำกิจกรรม ที่ มธ. ศูนย์รังสิตเมื่อไม่นานมานี้ แต่ก็ขอยืนยันว่า ทุกคนควรมีสิทธิเข้าถึงการศึกษาไม่ว่าภายนอกจะเป็นอย่างไร ส่วนตัวไม่ทันได้เรียนกับอาจารย์ชาญวิทย์ซึ่งเป็นอาจารย์ที่น่ารักทำให้ปราบปลื้มใจ แต่ก็ได้เรียนกับลูกศิษย์อาจารย์ชาญวิทย์ คืออาจารย์สมศักดิ์ เจียมธรสกุล 

นายอนุสรณ์ ธรรมใจ เล่าว่า ไม่ได้จบ ปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ใกล้ชิดธรรมศาสตร์มากกว่าเพราะ มาทำกิจกรรมอยู่ธรรมศาสตร์ แทบไม่ได้อยู่จุฬาฯ สำหรับความรู้สึกต่ออาจารย์ชาญวิทย์ มองว่าอาจารย์เป็นผู้หนึ่งที่ณรงค์ หลายอย่างให้ถูกต้อง เช่น ชื่อประเทศ มีการรณรงค์ ให้ใช้ชื่อสยาม ส่วนชื่อ มหาลัย ก็รณรงค์ให้กลับไปใช้ชื่อเดิมอาจารย์เป็นผู้อาวุโสที่ตนเคารพ และในแง่จุดยืนก็ไม่หวั่นไหวอำนาจและผลประโยชน์ สาเหตุที่ท่านทำได้มองว่าเพราะ ท่านเป็นโสด ไม่ต้องห่วงลูกหลาน อาจารย์ท่านมีความเป็นอิสระ 

นายสุรพงษ์ รักษาจันทร์ ศิษย์เก่า กล่าวว่า ยังงงกับการเปลี่ยนชื่อธรรมศาสตร์ ในฐานะ เจนเนอเรชั่น y ก็สงสัยว่าทำไมต้องตัดคำว่า วิชาออก และทำไมต้องเปลี่ยนตอนนี้ เปลี่ยนเพื่ออะไร เปลี่ยนทำไม อย่างไรก็ตาม แม้แต่หากมีการเปลี่ยนแปลงกลับไปใช้ชื่อเดิม มธก ก็ควรมีเหตุผลรองรับว่าเพราะอะไร 

อาจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม อดีตอธิการบดีธรรมศาสตร์ ซึ่งมาร่วมงานด้วยกล่าวว่า อาจารย์ชาญวิทย์ เป็นนักวิชาการที่ “ดี เก่ง กล้า” กล้าพูดความจริง เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติโดยไม่เกรงกลัวอำนาจใดๆ เป็นอธิการบดีที่สร้างคุณูปการแก้ปัญหาหอพักนักศึกษา ที่ มธ.ศูนย์รังสิต โดยดึงเอเชี่ยนเกมส์ มาจัดที่ศูนย์รังสิต ทำให้มหาวิทยาลัยได้หอพัก สนามกีฬา ถ้าคิดเป็นเงิน หลายพันล้าน แต่นี่คือคุณูปการของอาจารย์ชาญวิทย์ ที่แก้ปัญหา และเป็นผู้จุดประเด็นพูดความจริงอย่างกล้าหาญ


ด้าน อาจารย์สมฤทธิ์ กล่าวให้ความรู้พร้อมสร้างเสียงเฮฮาว่า อาจารย์ชาญวิทย์  เกิดเมื่อปี 6 พค 2484 กองทัพญี่ปุ่นกำลังบุกจีน กองทัพนาซีกำลังบุกยุโรป อาจารย์ชาญวิทย์เกิดที่บ้านโป่ง ราชบุรี เกิดก่อนมีการลงนามสนธิสัญญาโตกิโอ 3 วัน เหมือนกับว่าอาจารย์ชาญวิทย์ ต้องเกิดมาเกี่ยวข้องกับสนธิสัญญาโตกิโอฉบับนี้ เพราะทำให้เราได้ พระตะบอง เสียงราฐ ศรีโสภณ คืนมา 

หลังอาจารย์อายุได้ 5 ขวบ สนธิสัญญานี้ยกเลิกด้วยสนธิสัญญาวอชิงตัน อาจารย์ชาญวิทย์วันนี้ 72 ปี ยังต้องมาบอกอีกหลายคนว่า สนธิสัญญา เลิกแล้วนะ อาจารย์ชาญวิทย์ทำงานมาตลอดชีวิต เพื่อบอกคนรุ่นเดียวกันว่าสนธิสัญญาเขาเลิกแล้วนะ 

ผลงานชิ้นโบว์แดง ก่อนงานครบรอบ 72 ปี คือ ได้รับเกียรติเป็นประธาน “นักวิชาการขายชาติ” 10 กว่าคน ส่วนมากนั่งอยู่ในนี้ทั้งนั้น มีอาจารย์ชาญวิทย์เบอร์ 1 และอาจารย์พนัสเบอร์ 2 ส่วนตนเองเป็นเบอร์ 10 ได้รับเกียติถูกเรียกว่าขายชาติ (หัวเราะ) นอกจากนั้น อาจารย์ชาญวิทย์ยังเคยบริจาคเงิน 5 บาท ให้ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ไปต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร ซึ่งทุกวันนี้ยังบอกว่าไม่น่าให้ไปเลยและสงสัยว่า 5 บาทนั้นไปอยู่ไหน อาจารย์เกิดมาพร้อมเหตุการณ์สำคัญของอุษาคเนย์


ในงานมีการร่วมร้องเพลงแฮปปี้เบิร์ธเดย์แด่อาจารย์ชาญวิทย์ ด้านอาจารย์ชาญวิทย์กล่าวของคุณเป็นภาษาต่างๆในอาเซียน และกล่าวว่า วันนี้ไม่ใช่วันเกิดของตน แต่เห็นในเฟซบุคเป็นวันเกิดอาจารย์ท่านอื่น(ธเนศ วงศ์ยานนาวา และ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล) แม้ไม่ใช่วันเกิดตนเองแต่ดีใจและมีความสุขมาก ขอบคุณทุกๆ คนที่มาร่วมงานและจัดงานให้ ส่วนตัวอยู่ธรรมศาสตร์มานาน ตั้งแต่เรียนทำงานอยู่กับคนหลายรุ่นรวมถึงคนรุ่นหลาน ขอบคุณทุกคนที่ทำให้ชีวิตนี้มีความสุข
 
 
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น