แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)

ที่มา ประชาไท

 
วิพากษ์สุรพล นิติไกรพจน์ (ภาค ๒)

พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

คำอภิปรายในงานรำลึกครูกฎหมาย (อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม) โดย สุรพล นิติไกรพจน์ วันนี้  ถ้าอย่างในคัมภีร์ก็คงได้เพียงอุทาน "โมฆะบุรุษหนอ" หรือแปลเป็นภาษาลูกทุ่ง ก็คือ "อ้ายชิบหาย" ครับ

อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม ไม่เคยเขียนตำราในทำนองที่สุรพลฯ "ยัดคำพูดใส่ปากผู้ตาย(อ.ไพโรจน์)" ดังที่ปรากฏในตำราของอาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม (โปรดดูคำต่อคำของอาจารย์ไพโรจน์ฯ ซึ่งผมรวบรวมไว้ ใน "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญและการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ - ไพโรจน์ ชัยนาม [๒๔๙๕ - คัดลอกตำราคำต่อคำ]" :  http://goo.gl/jNAld ) ท่านมีแต่ยืนยันว่า รัฐธรรมนูญต้องแก้หรือยกเลิกได้เสมอ เพราะมีพลวัตร คือ สุรพลฯ ไม่เคยแปรเปลี่ยนความไร้ยางอาย ณ จุด ๆ นี้เลย

การกระทำของสุรพลฯ ในข้อที่ ๑ นอกจากไม่ให้เกียรติต่อผลงานทางวิชาการของ "ครู" แล้ว "การ(กล่าว)บูชาครู" (คำของสุรพลฯ) ด้วยการสนับสนุนยืนเคียงข้างรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ (ไปร่างประกาศ คมช. และรัฐธรรมนูญชั่วคราว ๒๕๔๙ ตัวท่านเปิดเผยเองในงานนศ.มอบพวงหรีดให้ท่าน) และสุรพลฯ กล่าวปฏิเสธการการดำเนินกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่อิงอำนาจที่เป็นรากฐานของสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญ เช่นนี้ นอกจาก "ชั่ว" ในเชิงจริยธรรมทั่วไปแล้ว ยัง "ชั่ว" ใน(คราบ)ทางวิชาการอีกด้วย

ที่ สุรพลฯ กล่าวว่า "เราไม่เคยมีกฎหมายฉบับใดเลยในประเทศนี้ เราไม่เคยมีรธน.ฉบับใดเลยในประเทศนี้ที่ผ่านการลงประชามติ นั่นคืออธิปไตยโดยตรงที่ก้าวข้ามไม่ได้เด็ดขาด จะแก้รธน.ทั้งฉบับโดยไม่ถามประชาชน ไม่ได้เป็นอันขาด"

นั่นหมายความว่า การประชามติของประชาชนที่จะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับนั้น ย่อมมีผลเป็นการ "ถามความเห็นเปลี่ยนระบอบการปกครอง" นะครับ! ซึ่งจริงครับที่ว่า จะมองข้ามผู้ทรงอำนาจอธิปไตยคือประชาชนไปไม่ได้เป็นอันขาด ถ้าประชาชนโหวตเปลี่ยนเป็นรีปับลิค ตามตรรกะนี้ (ซึ่งโหวตก่อนแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับ แบบนี้ในทางวิชาการ คือ การโหวตเปลี่ยนระบอบนะ) สุรพลฯ เอาจริงๆ ไหม? (คือ ที่กล่าวมานี่เอาจริง หรือตอแหล หรือจริงในบางสถานการณ์?)

รัฐธรรมนูญนั้นต้องตีความอย่างมีชีวิต จริงครับ แต่คนตีความไม่ใช่ทำตัวเป็น "จิ้งจก" (ตระกูลเดียวกับ "ตัวเหี้ย") ที่จะตีความตัวบทโดย "ดูหน้าคู่ความในคดี" ว่าเป็นพรรคใด แล้วตีความตามกระแส - การตีความรัฐธรรมนูญที่มีชีวิตคือ การตีความในทางเกาะตัวบทโดยมุ่งผลการตีความสอดรับกับยุคสมัยของสังคม

ฉะนั้น ที่ สุรพลฯ กล่าวว่า "เราจะผูกพันกับรธน.ที่ร่างมาเมื่อ 10 20 50 ปี 200 ปีก่อนคงไม่ได้" กล่าวเช่นนี้มันไม่ผิดหรอกครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วน "บทบัญญัติห้ามแก้ไข" ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เราจะนำเอาเจตน์จำนงของผู้ร่างรัฐธรรมนูญในสมัย ๑๐ ๒๐ ๕๐ ๑๐๐ ปี (ในอดีต) มาผูกมัดเจตน์จำนงของมนุษย์ในยุค generation ปัจจุบันหรืออนาคตมิได้ ฉะนั้น การห้ามแก้ไข "รูปของรัฐ" (เช่น ห้ามเปลี่ยนเป็นสาธารณรัฐ แบบนี้ อย่าห้าม) ห้ามแก้ไข "ประมุขของรัฐ" (เช่น ห้ามเลิกวิธีสืบสายโลหิต เช่นนี้ จะบัญญัติห้ามแก้ไม่ได้) หรือถ้าบัญญัติแล้วต้องตีความตาม อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม ที่อธิบายว่า เป็นเพียงแรงบันดาลใจของผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมายใดๆ ต่อผู้แก้รัฐธรรมนูญเลย

ถ้าสุรพลฯ ถามว่า ดิ้นรนอะไรนักหนาจะแก้รัฐธรรมนูญ ก็ควรต้องถามกลับว่า เมื่อรัฐธรรมนูญนี้เป็นซากเดนรัฐประหาร ทำไม สุรพลและพวก ต้อง ดิ้นรนเป็นสุนัขโดนน้ำร้อนลวก อะไรนักหนา ที่ต่อต้านการแก้รัฐธรรมนูญเหลือเกิน ราวกับเป็นกล่องดวงใจแห่งโภคทรัพย์ของฝูงตนเยี่ยงอีห่าอีแร้ง

ที่สุรพลฯ โจมตีอำนาจของ ผู้ได้รับการเลือกตั้งว่าเสมือนกษัตริย์ในสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น เป็นการกล่าวเทียบที่ "ต่ำมาก" เพราะเป็นการนำเอาตัวแทนของประชาชนที่ประชาชนเขา "เลือก" (คือทักษิณฯ) ไปเทียบกับ ผู้เผด็จการ ที่ทึกทักเอาอำนาจของราษฎรไปเป็นของตน โดยประชาชนเขา "ไม่อาจเลือกได้" (คือ กษัตริย์สมบูรณาญาสิทธิราชย์) เป็นการเทียบที่ผิดฝาผิดตัว ที่อ้างอาจารย์ไพโรจน์นั้น สุรพลฯ ไม่ได้ดูเลยว่า อาจารย์ไพโรจน์ท่านเรียกระบอบเจ้า ในตำรายุคแรกๆ ว่า "ระบอบทรราชย์" ครับ แต่ถ้าจะสะท้อนสภาพ sommet ของอำนาจ เทียบ "ผู้มีความชอบธรรมในอำนาจรัฐ" ก็เทียบ นายกรัฐมนตรีในระบบรัฐสภา (ธรรมชาติมีความชอบธรรม) กับ กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (ไม่มีความชอบธรรมโดยธรรมชาติ)

เรียนสุรพลฯ ให้ท่านไปอ่านรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘ เถิดครับว่า ใครบ้างในระบบกฎหมาย ที่ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลไทย ประกาศไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ในรัฐธรรมนูญ

อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม ยังไม่ตายหรอกครับ (มองข้ามสังขารเสีย) ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ไพโรจน์ฯ เป็นภาพสะท้อนคุณค่าแห่งชีวิตที่อาจารย์ไพโรจน์ฯ ยังคงทำงานทางวิชาการตราบจนปัจจุบัน ตำรับตำราของอาจารย์ไพโรจน์ได้สร้างความรู้ให้แก่นิสิตนักศึกษาผ่านตัวอักษร เชื่อว่า อาจารย์ไพโรจน์ ชัยนาม ยังคงอยู่ในแวดวงวิชาการตราบนานเท่านาน

แต่ สุรพล นิติไกรพจน์ ตายไปนานแล้วครับ (ในทางวิชาการ)

ให้ "คนตาย" มาพูดถึง "คนเป็น" เอ้อ วงวิชาการกฎหมายไทยก็แปลกดีพิลึกล่ะครับผม.

_______________________

เชิงอรรถ

ภาค ๑ นั้น ผมเคยเขียนในสมัยที่ยังเป็นนักศึกษา ขณะนี้สำเร็จการศึกษาแล้ว ใน "วิพากษ์ความบิดเบือนทางวิชาการของอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" (ดู http://prachatai.com/journal/2010/01/27489 )
"คำต่อคำ “สุรพล นิติไกรพจน์” แตะปรากฎการณ์ทางการเมือง-รธน." (ที่มา สำนักข่าวอิศรา : http://goo.gl/c67H3 )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น