แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ปัญหาหมอกควันบรูไนสะท้อนถึงอาเซียน

ที่มา ประชาไท


ปัญหาหมอกควันที่ขณะส่งผลกระทบต่อคุณภาพอากาศและมีผลกระทบโดยตรงต่อ สุขภาพ โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจของประชาชนในอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และขณะนี้ได้ขยายตัวและทวีความรุนแรงมากขึ้นมาเกาะบอร์เนียว จนกลายเป็นปัญหาของภูมิภาคก็ว่าได้ โดยบรูไนที่ถือว่าตั้งอยู่บริเวณปลายเกาะทางเหนือของบอร์เนียวได้รับผลกระทบ เป็นพื้นที่แรก ความรุนแรงของสภาวะอากาศดังกล่าว ได้เริ่มต้นเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2556 ช่วงเย็น โดยในวันแรกยังไม่มีความรุนแรงและมองไม่เห็นหมอกควัน แต่เมือวานและโดยเฉพาะในวันนี้สามารถมองเห็นหมอกควันได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะจากที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแห่งชาติบรูไน ดารุสลาม ติดทะเลจีนใต้ เดินข้ามถนนไปเพียง 200 เมตรก็จะถึงทะเล โดยหากอยู่บนตึกก็สามารถมองเห็นทะเลได้อย่างชัดเจน แต่ในขณะนี้ถูกหมอกควันปกคลุมจนมิด ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถออกกำลังกายได้ บางคนเจ็บคอ หายใจไม่สะดวก และหลายคนได้ล้มป่วย
จากปัญหานี้ อยากสะท้อนมุมมองปัญหาผ่านมุมมองการจัดการ วิสัยทัศน์, core value กับ structural transformation ของ ASEAN ทุกปีในแง่ของนโยบาย การจัดการ และการควบคุมหมอกควันของแต่ละประเทศได้มีการเตรียมพร้อมรับอยู่แล้วโดยเฉพาะ อินโดนีเซีย แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปัญหาหมอกควัน หรือ ปัญหาอื่นที่มีลักษณะส่งผลกระทบร่วมต่อหลายประเทศในภูมิภาค การบริหารจัดการร่วมต่อภัยพิบัติหรือปัญหาต่างๆ มีแนวทางเป็นอย่างไร ยังคงเป็นสิ่งที่ท้าทายสำหรับ ASEAN อยู่ การดำเนินการในลักษณะ Inter-governmental หรือ กลไก ASEAN สามารถตอบสนองกับปัญหาต่างๆ ใหม่ๆ ได้มากน้อยเพียงใด เช่น ในเรื่องของภัยธรรมชาติ หรือ ภัยพิบัติต่างๆ ก็มีแนวคิดในการจัดการเรื่องดังกล่าว ที่ว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ประสานงานระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อช่วยเหลือด้าน ภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ ที่เริ่มคิดกันเมื่อเกิดพายุไซโคลนนากิส พัดถล่มพม่าและไทย โดยอาเซียนแทบไม่มีบทบาทใดๆ เลยในฐานะองค์กรกลาง มีเพียงแต่การดำเนินการช่วยเหลือของแต่ละประเทศในภูมิภาคในลักษณะรัฐต่อรัฐ หรือความช่วยเหลือที่มาจากประเทศนอกภูมิภาค และ องค์การสหประชาชาติ
สิ่งที่อยากชวนคิด คือ เป็นไปได้มากน้อยเพียงใดและถึงเวลาที่ควรจะทบทวนแนวคิด “ASEAN WAY” ที่เป็นยุทธศาสตร์ผลักดันที่ใช้กันมา ที่อาจจะไม่สามารถปรับ หรือ สะท้อนฟังชั่นของมันต่อความซับซ้อนของปัญหาในภูมิภาคได้อย่างเท่าที่ควรจะ เป็น ด้วยจุดเด่น ที่รัฐต่างให้การให้ความชอบธรรมระหว่างกัน ในการตัดสินใจและดำเนินการ จนเป็นเสมือนดาบสองคมหรือไม่ ที่ทำให้เมื่อเกิดปัญหาใหม่ๆ ที่มีผลกระทบกับหลายประเทศในภูมิภาค เราไม่มี core value ที่เป็นช่องทางในการรับมือกับปัญหาเร่งด่วนของภูมิภาค หรือ มติร่วมกันในการดำเนินการต่างๆ ในฐานะองค์กรกลางของภูมิภาคอย่างทันท่วงที เรายังมี mind set แบบเดิมอยู่ คือ จัดการใครจัดการมัน ด้วยความเกรงใจและให้เกียรติกัน ถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่ ASEAN อาจต้องมีการทบทวน ปรับเปลี่ยนแนวคิดรวมถึงโครงสร้าง กลไก บางอย่างในการบริหารงานของ ASEAN เช่น ในลักษณะ R2P (Responsibility to Protect) หรือ อย่างอื่น เพื่อเข้าถึงปัญหาต่างๆ ที่มีมากขึ้นในภูมิภาคไม่เพียงแต่ปัญหาทางธรรมชาติเท่านั้นที่กำลังจะท้าทาย ภูมิภาคนี้มากขึ้นทุกวัน แต่ยังรวมถึง ปัญหาอื่นๆ ด้วยที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงของมนุษย์ สงครามกลางเมือง ความขัดแย้งของความเชื่อและความแตกต่างของชาติพันธ์
จริงอยู่ ASEAN มีแนวคิด หรือ คณะกรรมการเล่านี้อยู่แล้ว แต่เท่าที่ได้สัมผัสมาโดยตรงองค์กรย่อย หรือ คณะกรรมการเหล่านี้ไม่ active ด้วยหลายสาเหตุ เช่น หนึ่ง จากจุดเด่นของอาเซียนที่บอกว่า ความหลากหลาย คือ จุดเด่นของอาเซียน ซึ่งมองในแง่ดีเป็นสิ่งที่สวยงามแต่จริงๆ แล้วมีความอยากลำบากในการผนวก ผสาน ลักษณะระบบการปกครอง วัฒนธรรม จารีต ภาษา ศาสนา ที่แตกต่างเข้าอยู่ในองค์กรเดียวกันตามหัวข้อที่ระบุใน Road Map (ยกเว้นกรอบ AEC) ในขาความมั่นคงทางการเมืองระบุเรื่องของแนวทางการส่งเสริมให้ประเทศมาชิกมี ความเป็นประชาธิปไตย ซึ่งบางประเทศไม่ได้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
ตัวอย่าง เช่น บรูไน ดารุสลาม ใช้ระบอบการปกครองสมบูรณาญาสิทธิราช ดังนั้นหลายเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เมื่อจัดให้อยู่ตามกรอบสากล จะมีหลายตัวชี้วัดที่ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือ บางประเทศก็ไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเต็มรูปแบบ หรือ บางประเทศก็ดูเหมือนจะมีความเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ไม่ได้เป็นดังที่เห็น คือ เรามีประเทศที่ไม่ได้ใช้ระบบประชาธิปไตย เราระดับของความเป็นประชาธิปไตยที่แตกต่างกันด้วยในมุมเดียวกัน ดังนั้น เราจะหา common ground ในจุดนี้อย่างไร เพื่อให้นำไปสู่ภารกิจย่อยๆ ที่ไม่ active เพราะความแตกต่างเหล่านี้ อาจจะต้องมีการกำหนดกรอบเฉพาะขึ้นมาเพื่อภารกิจบางอย่างที่ความหลากหลายถูก จุดให้อยู่บนมาตรฐานร่วมบางอย่างที่ไม่ได้วางอยู่บนเรื่องของ การปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม หรือ เศรษฐกิจ แต่วางอยู่บนพื้นฐานความเป็นมนุษย์เหมือนกันเพื่อจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นกับ มนุษย์
สอง การที่อาเซียนเน้นหนักมากเรื่อง AEC จนมีผลงานวิจัยบอกออกมาแล้วในประเทศไทยว่าคนไทยจำนวนมากมีความเข้าใจว่า ASEAN คือ AEC ด้วยสาเหตุใดก็ตามที่เกี่ยวกับรัฐที่เน้นเศรษฐกิจนำ แต่ทำให้ประชาชนไม่ทราบถึงสองขาที่เหลือ ซึ่งข้อนี้สำคัญมากสำหรับเจ้าหน้าที่ของแต่ละประเทศที่มีความตั้งใจในการทำ งานและการพลักดันเป้าหมายที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งสิ่งนี้แสดงให้เห็นว่ารัฐให้ความสำคัญไม่มากเท่าที่ควรกับสองขาที่เหลือ โดยเฉพาะด้านงบประมาณในการดำเนินงานต่างๆ การประชุม เพื่อดำเนินการร่วมกัน ซึ่งมีผลโดยตรงต่อความสัมฤทธิ์ผลของการทำงาน นโยบายและเป้าหมายของสองขาที่เหลือที่แท้จริงแล้วควรจะมีการดำเนินการควบคู่ กันไปทั้งสามขาพร้อมๆ กัน


หมายเหตุ: นิชานนท์ สิงหพุทธางกูร เป็นนักศึกษาปริญญาเอก สาขาเอเชียศึกษา คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบรูไนดารุสซาลาม

ที่มา: PATANI FORUM

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น