แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ กับบทบาททีดีอาร์ไอในกระแสประชานิยม

ทีมา ประชาไท


“นโยบายประชานิยม” กลายเป็นกระแสใหญ่ในสังคมประชาธิปไตย  ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมาประชานิยมถูกนำมาใช้หาเสียงในการเมืองไทยอย่างแพร่หลายโดยหลาย พรรคการเมืองท่ามกลางความคิดเห็นต่างขั้ว   ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบายซึ่งพยายามท้วงติงจึงถูกแขวนป้ายผลักให้ไปอยู่ ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล   ไม่เว้นแม้การแสดงความเห็นทางวิชาการของสถาบันทางวิชาการต่าง ๆ
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) กล่าวในการเสวนาสาธารณะ “เศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้”(Economy of Tomorrow) เรื่อง “คิดใหม่ประชานิยม: จากรัฐบาลทักษิณถึงยิ่งลักษณ์ เราเรียนรู้อะไรบ้าง”  ซึ่งทีดีอาร์ไอร่วมกับมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES)จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้  โดยได้แสดงมุมมองเกี่ยวกับนโยบายประชานิยมและบทบาทของทีดีอาร์ไอในฐานะ สถาบันทางวิชาการ
ดร.สมเกียรติ   กล่าวว่า ประชานิยมในทางเศรษฐกิจ เป็นนโยบายซึ่งหวังผลให้ได้การสนับสนุนทางการเมือง โดยเน้นการล้วงกระเป๋าคนกลุ่มหนึ่งไปให้คนอีกกลุ่ม หรือแทรกแซงกลไกตลาด ซึ่งโดยตัวมันเองไม่ใช่เรื่องผิดอะไร  ถ้าสามารถช่วยสร้างขีดความสามารถในระยะยาวของประชาชนและภาคธุรกิจปัญหาก็คือ นโยบายประชานิยมส่วนใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงหลัง นอกจากไม่ช่วยสร้างความเข้มแข็งของประชาชนหรือภาคธุรกิจแล้ว ยังสร้างภาระทางการคลังต่อประเทศมาก
หากเปรียบประชานิยมยุครัฐบาลทักษิณเป็นประชานิยมรุ่นแรก และยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นรุ่นที่สอง นโยบายรุ่นแรกเช่น 30 บาทรักษาทุกโรคช่วยสร้างขีดความสามารถประชาชนอย่างมาก เพราะสุขภาพเป็นรากฐานของมนุษย์    นโยบายโอท็อปก็เป็นความพยายามสร้างความสามารถให้แก่ธุรกิจชุมชน แม้จะมีปัญหาหลายอย่างก็ตาม แต่นโยบายประชานิยมในรุ่นที่สองจำนวนมากไม่เข้าข่ายนี้เลยเช่น นโยบายรถคันแรก เกิดจากการล็อบบี้โดยนักลงทุนข้ามชาติในอุตสาหกรรมยานยนต์ นโยบายนี้จึงออกมาเพื่อเอาใจนักลงทุนต่างประเทศแล้วผู้ซื้อรถคนไทยเป็นผล พลอยได้ ตอนนี้ก็เห็นชัดว่ามีคนไม่สามารถรับรถได้มากขึ้นเรื่อย ๆ โดยบางยี่ห้อสูงถึง 70-80%
นโยบายรถคันแรกเป็นตัวอย่างนโยบายประชานิยมในเชิง ลด-แลก-แจก-แถม ที่มีปัญหามาก  และสวนทางกับแนวทางการพัฒนาที่ควรจะเป็น ซึ่งควรทำให้คนทุกกลุ่มใช้บริการขนส่งสาธารณะมากขึ้น   นโยบายประชานิยมส่วนใหญ่ยังไม่มีการติดป้ายราคาบอกผู้ลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ว่ามีต้นทุนเท่าไร นโยบายประชานิยมในช่วงหลัง ๆ ยังเริ่มเข้าไปหากลุ่มเฉพาะมากขึ้น เช่น เรื่องรถ แรงงาน ข้าว แต่ละกลุ่มก็มีกลุ่มผลประโยชน์อยู่ในแต่ละเรื่องการกระจายผลประโยชน์ที่แคบ ลงทำให้นโยบายประชานิยมเหล่านี้มีคุณภาพที่ด้อยลงไปด้วย
ต่อข้อเสนอจากบางฝ่ายให้นักวิชาการรวมทั้งทีดีอาร์ไอมาทำหน้าที่ฝ่ายค้าน นั้น  ดร.สมเกียรติ   เห็นว่า การที่เรามีพรรคฝ่ายค้านที่ไม่ค่อยเข้มแข็งไม่ควรจะเป็นเหตุให้สถาบันทาง วิชาการต้องไปทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านแทน ทีดีอาร์ไอและนักวิชาการควรวิพากษ์วิจารณ์นโยบายแต่ละเรื่องมากกว่าที่จะไป วิพากษ์วิจารณ์ตัวระบบการเมือง ซึ่งเลี่ยงได้ยากที่จะเข้าไปพัวพันกับการเมืองทั้งนี้ การวิจารณ์ต้องอยู่บนหลักวิชาการและข้อมูลว่านโยบายเหล่านั้นมีข้อดีและข้อ เสียที่ควรปรับปรุงอย่างไรภาควิชาการควรเป็นตัวแทนของภาคประชาสังคม ภาคประชาชน คนเล็กคนน้อยที่ไม่มีปากมีเสียงในสังคมมากกว่าที่จะเข้าไปต่อสู้ในเวทีทาง การเมืองโดยตรง เพราะในระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยมีกลไกตัดสินใจอยู่แล้ว
จากประสบการณ์ที่มีนักวิชาการจากทีดีอาร์ไอเข้าไปร่วมในตำแหน่งที่สำคัญ ในรัฐบาลในอดีตและได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มาก   เราได้ทบทวนบทเรียนและได้ข้อสรุปว่า  ต่อไปเราไม่ควรจะเดินเส้นทางนั้นอีก  เราอยากเห็นการเมืองประชาธิปไตยแบบรัฐสภาที่มีความสมดุลมากยิ่งขึ้น เป็นการเมืองที่นอกจากจะเป็นตัวแทนของเสียงข้างมากแล้ว ยังคุ้มครองเสียงข้างน้อยที่ไม่มีปากมีเสียงในสังคม ไปจนถึงรุ่นลูกหลานที่ไม่สามารถออกเสียงเลือกตั้งในวันนี้ด้วย
“ด้วยแนวคิดอย่างนี้เราจึงวิตกทุกข์ร้อนกับนโยบายประชานิยม ไม่ใช่ว่าเพราะเราเป็นพวกเสรีนิยมใหม่ ซึ่งมีแนวคิดต่างจากนักวิจัยส่วนใหญ่ในทีดีอาร์ไอมาก แต่เพราะพวกเราเห็นว่าถ้าปล่อยให้ดำเนินนโยบายประชานิยมแบบนี้ต่อไป มันจะพาเราไปสู่วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งคนที่รับภาระก็คือคนรุ่นลูกรุ่นหลานของเราในฐานะที่เป็นหน่วยงานทาง วิชาการเราอยากมีส่วนช่วยทำให้การเมืองในระบบรัฐสภามีความสมบูรณ์มากยิ่ง ขึ้น   งานหนึ่งที่เราทำกันอยู่ในปัจจุบันคือการร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าจัดตั้ง หน่วยวิเคราะห์งบประมาณของรัฐสภา เพื่อช่วยให้รัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น”
ดร.สมเกียรติ กล่าวว่า  นโยบายด้านเศรษฐกิจและสังคมที่อยากเห็น คือ นโยบายที่มีความรับผิดชอบทางการคลัง  ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีกติกาที่ทำให้การเมืองในระบอบประชาธิปไตยไม่แข่ง ขันกันจนทำลายตัวเอง หรือทำลายเศรษฐกิจจนเกิดวิกฤติกฎกติกาบางอย่างอาจต้องไปแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย โดยต้องแก้ให้มีวินัยทางการคลังที่จำกัดการใช้เงิน ไม่ใช่ปล่อยให้ขาดดุลทางการคลังต่อเนื่องไปนานๆ
ตั้งแต่เกิดวิกฤติการณ์ในปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยขาดดุลการคลังมาทุกปี ยกเว้นปี 2548 ปีเดียว และถ้าเกิดแข่งขันกันทางนโยบายแบบนี้ต่อไป ก็จะมีแนวโน้มขาดดุลเพิ่มขึ้น แม้ว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะของไทยอยู่ที่ระดับ 44-45% ของจีดีพี ซึ่งยังไม่ใช่ระดับที่สูง แต่ถ้าเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ มีแรงกระแทกจากภายนอกก็ทำให้หนี้สาธารณะสามารถกระโดดขึ้นได้ เช่นที่เคยเกิดหลังวิกฤติในปี 2540 ซึ่งหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นจาก 16%เป็น 61% ของจีดีพีในเวลาเพียง 2-3  ปีดังนั้น เราจึงไม่ควรประมาท
ประธานทีดีอาร์ไอ  เรียกร้องให้ทุกฝ่ายในสังคมช่วยกันกำหนดกติกาให้การแข่งขันทางการเมืองไม่นำ ไปสู่การทำลายระบอบประชาธิปไตยและระบอบเศรษฐกิจ  นั่นคือ  วินัยทางการคลัง  ซึ่งสังคมควรมาช่วยกันคิดส่วนตัวเห็นว่า รัฐธรรมนูญควรจะคุมเพดานการขาดดุลการคลังในช่วงภาวะเศรษฐกิจปรกติ  โดยไม่ต้องไปกำหนดแนวนโยบายแห่งรัฐในรายละเอียดเหมือนรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550   แต่ควรปล่อยให้พรรคการเมืองกำหนดนโยบายเพื่อหาเสียงเลือกตั้งได้โดยอิสระภาย ใต้กรอบวินัยทางการคลัง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น