24 มิ.ย.56 ที่ห้องพิจารณาคดี 909 ศาลอาญา รัชดา
นัดไต่สวนคำร้องชันสูตรพลิกศพเพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิต คดีหมายเลขดำที่
อช.3/2556 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 4
ยื่นคำร้องขอให้ไต่สวนการเสียชีวิตของ นายถวิล คำมูล อายุ 38 ปี
อาชีพรับจ้าง แนวร่วมกลุ่มประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช.
ถูกกระสุนปืนลูกโดดที่ศีรษะทะลุเข้ากะโหลกศีรษะทำให้เนื้อสมองฉีกขาดมาก
ชีวิตบริเวณแยกสารสิน ถนนราชดำริ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553
ในเหตุการณ์ขอคืนพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ทหาร สมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยในวันนี้อัยการได้นำพยานจำนวน 3 ปาก ประกอบด้วย พ.อ.โกญจนาท ธูปเทียนรัตน์ เสนาธิการกรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์, พ.ท.ณัฐพงศ์ บัวจันทร์ รองเสนาธิการ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, พ.ท.จิรภัทร เศวตเศรณี หัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุง กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ขึ้นเบิกความสรุปว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 ขณะนั้นพยานทั้งสามซึ่งเป็นผู้นำหน่วยทหาร ได้นำกำลังทหารขอคือพื้นที่จากกลุ่ม นปช. บริเวณถนนวิทยุและอาคารเคี่ยนหงวน ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ซึ่งจากการตรวจสอบภายในอาคารเคี่ยนหงวนพบกลุ่มผู้ต้องสงสัยประมาณ 10-20 คน จึงได้ตรวจค้นภายในตัวไม่พบอาวุธ แต่จากการตรวจสอบภายในอาคารพบอาวุธปืนเอ็ม 16 และ HK ประมาณ 3 กระบอก จึงได้นำตัวผู้ต้องสงสัยส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี จากนั้นเป็นเรื่องของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ
พยานเบิกความด้วยว่าทราบว่ามีกองกำลังติดอาวุธ แต่ไม่ทราบฝ่ายอยู่ในพื้นที่บริเวณสวนลุมพินีด้วย ทั้งนี้จุดที่พยานได้นำกองกำลังทหารเคลื่อนพลนั้นไม่ได้มีเหตุการณ์ปะทะกับ กลุ่มผู้ชุมนุมแต่อย่างใด และยืนยันว่าการปฏิบัติการดังกล่าวทหารใช้เพียงอาวุธปืนลูกซองและกระสุนยาง โดยการยิงขึ้นฟ้าขู่ผู้ชุมนุมเท่านั้น ไม่มีการใช้กระสุนปืนจริงแต่อย่างใด อีกทั้งการใช้กระสุนจริงจะต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นก่อน ส่วนปฏิบัติการกระชับพื้นที่ 19 พ.ค. นั้น พยานไม่ทราบว่ามีผู้เสียชีวิต แต่ได้รับทราบจากข่าวสารในเวลาต่อมา
ภายหลังพยานเบิกความแล้วเสร็จ ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปในวันที่ 29 ก.ค. นี้ เวลา 09.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศภายในห้องพิจารณาคดี มีเจ้าหน้าที่ทหารกว่า 20 นาย ได้เข้าร่วมรับฟังการไต่สวนและมาให้กำลังใจผู้บังคับบัญชา แต่ไม่มีญาติฝ่ายผู้เสียชีวิตเข้าฟังการไต่สวนแต่อย่างใด
ด้านนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้เสียชีวิต กล่าวว่า สำหรับการไต่สวนนัดนี้เป็นนัดที่ 2 ซึ่งอัยการได้นำเจ้าหน้าที่ทหารผู้นำหน่วยในการกระชับพื้นที่บริเวณถนนวิทยุ และอาคารเคี่ยนหงวน ขึ้นเบิกความ แต่พยานไม่ได้อยู่บนถนนสารสินจึงไม่เห็นผู้ตายและไม่ทราบเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น จึงไม่ค่อยมีผลต่อรูปคดีมากเท่าใด
สำหรับถวิล คำมูล เขาถูกยิงเวลาประมาณ 7.30 น. วันที่ 19 พ.ค.53 บริเวณป้ายแท็กซี่อัจฉริยะ ใกล้สี่แยกศาลาแดงถนนราชดำริ ถือเป็นศพแรกของวันที่ 19 พ.ค.53 โดยผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือหลายคนถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส(คลิกดูอัลบั้มภาพ ชุดเหตุการณ์ต่อเนื่องที่ “หงส์ศาลาแดง” และ คลิกดูภาพเคลื่อนไหว ) แต่ก็ไม่มีใครนำร่างถวิลไปส่งโรงพยาบาลได้ จนกระทั่งถูกหน่วยกู้ชีพที่มากับเจ้าหน้าที่ทหารที่เข้ามาทางศาลลาแดงนำร่าง ไป พร้อมกับร่างของชายไม่ทราบชื่อถอดเสื้อนอนเสียชีวิตจากการถูกยิงที่ศีรษะ บริเวณเต๊นท์ผู้ชุมนุมใกล้ร่างของถวิล (คลิกอ่านเรื่องของชายไม่ทราบชื่อ) โดยขณะเกิดเหตุทหารกำลังเข้าพื้นที่ดังกล่าวอย่างน้อย 2 ทาง คือ บริเวณแยกศาลาแดง ซึ่งอยู่ไม่ไกลไปทางด้านหลังป้ายแท็กซี่อัจฉริยะนั้น และทางด้านสวนลุมพินี ซึ่งอยู่ทางซ้ายของภาพ
ถวิล ถูกยิงก่อนหน้าที่นายฟาบิโอ โปเลนกี ช่างภาพชาวอิตาลี จะถูกยิงเสียชีวิตในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งในคดีนายฟาบิโอนั้น เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสังว่าเขาเสียชีวิตจากกระสุนที่มาจากฝั่งทหาร อย่างไรก็ตาม ศาลระบุว่า ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ (คลิกคำสั่งชันสูตรพลิกศพ นายฟาบิโอ โปเลงกีคดีหมายเลขดำที่ ช.10/2555)
โดยในวันนี้อัยการได้นำพยานจำนวน 3 ปาก ประกอบด้วย พ.อ.โกญจนาท ธูปเทียนรัตน์ เสนาธิการกรมทหารม้าที่ 5 รักษาพระองค์, พ.ท.ณัฐพงศ์ บัวจันทร์ รองเสนาธิการ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์, พ.ท.จิรภัทร เศวตเศรณี หัวหน้าฝ่ายส่งกำลังบำรุง กองพลที่ 1 รักษาพระองค์ ขึ้นเบิกความสรุปว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 ขณะนั้นพยานทั้งสามซึ่งเป็นผู้นำหน่วยทหาร ได้นำกำลังทหารขอคือพื้นที่จากกลุ่ม นปช. บริเวณถนนวิทยุและอาคารเคี่ยนหงวน ตามคำสั่งของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือ ศอฉ. ซึ่งจากการตรวจสอบภายในอาคารเคี่ยนหงวนพบกลุ่มผู้ต้องสงสัยประมาณ 10-20 คน จึงได้ตรวจค้นภายในตัวไม่พบอาวุธ แต่จากการตรวจสอบภายในอาคารพบอาวุธปืนเอ็ม 16 และ HK ประมาณ 3 กระบอก จึงได้นำตัวผู้ต้องสงสัยส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี จากนั้นเป็นเรื่องของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินการ
พยานเบิกความด้วยว่าทราบว่ามีกองกำลังติดอาวุธ แต่ไม่ทราบฝ่ายอยู่ในพื้นที่บริเวณสวนลุมพินีด้วย ทั้งนี้จุดที่พยานได้นำกองกำลังทหารเคลื่อนพลนั้นไม่ได้มีเหตุการณ์ปะทะกับ กลุ่มผู้ชุมนุมแต่อย่างใด และยืนยันว่าการปฏิบัติการดังกล่าวทหารใช้เพียงอาวุธปืนลูกซองและกระสุนยาง โดยการยิงขึ้นฟ้าขู่ผู้ชุมนุมเท่านั้น ไม่มีการใช้กระสุนปืนจริงแต่อย่างใด อีกทั้งการใช้กระสุนจริงจะต้องขออนุญาตจากผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นก่อน ส่วนปฏิบัติการกระชับพื้นที่ 19 พ.ค. นั้น พยานไม่ทราบว่ามีผู้เสียชีวิต แต่ได้รับทราบจากข่าวสารในเวลาต่อมา
ภายหลังพยานเบิกความแล้วเสร็จ ศาลนัดไต่สวนครั้งต่อไปในวันที่ 29 ก.ค. นี้ เวลา 09.00 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศภายในห้องพิจารณาคดี มีเจ้าหน้าที่ทหารกว่า 20 นาย ได้เข้าร่วมรับฟังการไต่สวนและมาให้กำลังใจผู้บังคับบัญชา แต่ไม่มีญาติฝ่ายผู้เสียชีวิตเข้าฟังการไต่สวนแต่อย่างใด
ด้านนายโชคชัย อ่างแก้ว ทนายความญาติผู้เสียชีวิต กล่าวว่า สำหรับการไต่สวนนัดนี้เป็นนัดที่ 2 ซึ่งอัยการได้นำเจ้าหน้าที่ทหารผู้นำหน่วยในการกระชับพื้นที่บริเวณถนนวิทยุ และอาคารเคี่ยนหงวน ขึ้นเบิกความ แต่พยานไม่ได้อยู่บนถนนสารสินจึงไม่เห็นผู้ตายและไม่ทราบเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้น จึงไม่ค่อยมีผลต่อรูปคดีมากเท่าใด
สำหรับถวิล คำมูล เขาถูกยิงเวลาประมาณ 7.30 น. วันที่ 19 พ.ค.53 บริเวณป้ายแท็กซี่อัจฉริยะ ใกล้สี่แยกศาลาแดงถนนราชดำริ ถือเป็นศพแรกของวันที่ 19 พ.ค.53 โดยผู้ที่เข้าไปช่วยเหลือหลายคนถูกยิงได้รับบาดเจ็บสาหัส(คลิกดูอัลบั้มภาพ ชุดเหตุการณ์ต่อเนื่องที่ “หงส์ศาลาแดง” และ คลิกดูภาพเคลื่อนไหว ) แต่ก็ไม่มีใครนำร่างถวิลไปส่งโรงพยาบาลได้ จนกระทั่งถูกหน่วยกู้ชีพที่มากับเจ้าหน้าที่ทหารที่เข้ามาทางศาลลาแดงนำร่าง ไป พร้อมกับร่างของชายไม่ทราบชื่อถอดเสื้อนอนเสียชีวิตจากการถูกยิงที่ศีรษะ บริเวณเต๊นท์ผู้ชุมนุมใกล้ร่างของถวิล (คลิกอ่านเรื่องของชายไม่ทราบชื่อ) โดยขณะเกิดเหตุทหารกำลังเข้าพื้นที่ดังกล่าวอย่างน้อย 2 ทาง คือ บริเวณแยกศาลาแดง ซึ่งอยู่ไม่ไกลไปทางด้านหลังป้ายแท็กซี่อัจฉริยะนั้น และทางด้านสวนลุมพินี ซึ่งอยู่ทางซ้ายของภาพ
ภาพ : ถวิล คำมูลก่อนและหลังถูกยิง ภาพโดย หงส์ศาลาแดง
ทั้งนี้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 นายสุเทพ
เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ขณะนั้น
ได้ชี้แจงต่อรัฐสภากรณีการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ในวันที่ 19 พ.ค.53
ว่าชายดังกล่าวเสียชีวิตก่อนหน้าการปฏิบัติการของทหารเนื่องจากเลือดได้แห้ง
หมดแล้ว โดยนายสุเทพ ระบุว่า “.. มีคนเสียชีวิตจริงๆ 6 คน
นับรวมคนที่เสียชีวิตมาก่อนตอนที่เราเข้าไปถึงตอน 7-8 โมงเช้า
เห็นนอนอยู่แล้ว ที่ข้างเต๊นท์ที่สวนลุมพินีเลือดแห้งหมดแล้ว 2 คนด้วย.." (คลิกดูวิดีโอคลิปอภิปรายดังกล่าวในนาทีที่ 1.25.12 ประกอบ)ถวิล ถูกยิงก่อนหน้าที่นายฟาบิโอ โปเลนกี ช่างภาพชาวอิตาลี จะถูกยิงเสียชีวิตในบริเวณใกล้เคียงกัน ซึ่งในคดีนายฟาบิโอนั้น เมื่อวันที่ 29 พ.ค.ที่ผ่านมา ศาลอาญากรุงเทพใต้ มีคำสังว่าเขาเสียชีวิตจากกระสุนที่มาจากฝั่งทหาร อย่างไรก็ตาม ศาลระบุว่า ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้ลงมือกระทำ (คลิกคำสั่งชันสูตรพลิกศพ นายฟาบิโอ โปเลงกีคดีหมายเลขดำที่ ช.10/2555)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น