แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ใจ อึ๊งภากรณ์: อย่าสรุปง่ายๆ ว่าที่อียิปต์ มีแค่รัฐประหาร และประชาธิปไตยถอยหลัง

ที่มา ประชาไท


คนตาบอดทางการเมืองมักปิดหูปิดตาถึงบทบาทมวลชน และบทบาทของขบวนการแรงงานในการนัดหยุดงาน หลายบทความเกี่ยวกับอียิปต์ในประชาไทยและสื่อกระแสหลักออกมาในรูปแบบนี้ แต่ในวันที่ 30 มิถุนายนมวลชนอียิปต์ 17 ล้านคนออกมาประท้วงไล่ประธานาธิบดี มูรซี่ ประชากรทั้งหมดของอียิปต์มี ประมาณ 83 ล้านคน ดังนั้นถ้าเทียบสัดส่วนกับไทย ลองนึกภาพคนไทย 14 ล้านคนออกมาประท้วงไล่รัฐบาล ภาพนี้เราไม่เคยเห็น ทั้งเสื้อแดงและเสื้อเหลืองออกมาอย่างมากครั้งละสองแสน เหตุการณ์ 14 ตุลาก็เช่นกันเพราะถ้าเทียบกับประชากรไทยปัจจุบันคงไม่เกินสองแสน แต่ผมกำลังพูดถึง 17 ล้านคนที่ออกมาในอียิปต์
แต่ลองอ่านบทวิเคราะห์สถานการณ์ในอียิปต์จากสื่อต่างๆ จะเห็นว่าเกือบทุกบทความไม่เอ่ยถึง มวลชนเลย ไม่พูดถึงการนัดหยุดงานด้วย มีแต่การพูดถึงกองทัพ นักการเมืองพรรคมุสลิม นักการเมืองเสรีนิยม และรัฐบาลต่างประเทศเท่านั้น และสิ่งที่ตามมาคือไม่พูดถึงสาเหตุหลักที่มวลชนไม่พอใจมาตั้งแต่ยุคมูบารัก นั้นคือนโยบายกลไกตลาดเสรีที่ทำให้คนจนจนลง เลยมีการสรุปว่าประเด็นสำคัญคือศาสนา แต่พวกนี้อธิบายไม่ได้ว่าทำไมคนส่วนใหญ่ที่ออกมาไล่มูรซีนับถือศาสนาอิสลาม
ทำไมพวกนี้ตาบอด หรือแกล้งตาบอดถึงบทบาทมวลชน?
ชนชั้นปกครองที่คุมสื่อกระแสหลักและพยายามผูกขาดความคิดประชาชน ต้องการสอนเราให้คิดแต่ว่า “ผู้ใหญ่” เท่านั้นที่เปลี่ยนสังคมหรือสร้างประวัติศาสตร์ พวกนี้ไม่ต้องการให้ประชาชนเป็นใหญ่ในแผ่นดินจริงๆ เขาเลยเสนอว่าที่อียิปต์มันเป็นรัฐประหารเท่านั้น หรือเวลาพูดถึงเสื้อแดงก็บอกว่าเป็นแค่เครื่องมือทักษิณ หรือเวลาเกิดการลุกฮือในปี 35 ที่ไทย ก็จะลืมบทบาทมวลชนและฉายภาพนายทหารสองคนเข้าเฝ้าประมุข พวกที่คิดแบบนี้มักเน้นบทบาทรัฐบาลมหาอำนาจในการสร้างประชาธิปไตย และมักพูดด้วยอคติว่าพวกที่นำการชุมนุมของมวลชน “พาคนไปตาย”
แนวทางที่ตาบอดทางการเมืองมักปิดหูปิดตาถึงบทบาทมวลชนเสมอ สำหรับนักวิชาการกระแสหลักและสื่อชนของชั้นปกครอง มันเป็นการจงใจตาบอด แต่ในที่ลับๆ พวกนี้จะกลัวว่ามวลชนมีบทบาทแล้วจะล้มระบบ พวกนี้เรียกการล้มระบบ ที่เต็มไปด้วยความป่าเถื่อนและการขูดรีด ว่าเป็น “ความไม่สงบ” เขาต้องการความสงบในการปกครองของเขาต่อไป และเขาหวังว่าคนที่อยู่ฝ่ายมวลชนในอดีตจะออกมาห้ามปรามและสลายการเคลื่อนไหว ตัวอย่างที่ดีคือพรรคมุสลิมในอียิปต์ หรือ พรรคเพื่อไทยและ นปช. ในไทย ในทั้งสองกรณีกองทัพและชนชั้นปกครองฝ่ายความหวังไว้กับพวกนี
ฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะนักมาร์คซิสต์ จะเน้นบทบาทมวลชนเสมอ และมองเห็นมวลชนเพราะใช้การวิเคราะห์ ภาพรวมแบบ “วิภาษวิธี” ซึ่งเข้าใจชนชั้นด้วย คือมันมีผู้กดขี่ และผู้ถูกกดขี่ มันมีผู้ผลิต และผู้ที่ขูดรีดผลผลิต และความขัดแย้งในสังคมไม่ใช่แค่เรื่อง “ข้างบน”
อียิปต์ 3 กรกฏาคม ต่างโดยสิ้นเชิงจาก ไทย 19 กันยายน ในกรณี ไทย 19 กันยา มวลชนเสื้อเหลืองออกมาแต่ไม่ยิ่งใหญ่ แบบอียิปต์ และเป็นการเรียกร้องให้ “เจ้านายที่อยู่เบื้องบน” ปลดนายกที่มาจากการเลือก ตั้ง มีการตั้งความหวังกับกองทัพ และมีความต้องการที่จะหมุนนาฬิกากลับสู่สถานการณ์เดิมๆ ยิ่งกว่านั้นมีความไม่พอใจที่รัฐบาลทักษิณทำตามคำมั่นสัญญาต่อคนจน โดยดูถูกว่านั้นคือนโยบายแย่ๆ ที่เรียกว่า “ประชานิยม” แต่ในอียิปต์มวลชน 17 ล้านออกมาล้มมูรซี่เพราะไม่ทำตามสัญญาและไม่ทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อคนจนเลย ยิ่งกว่านั้นมวลชนอียิปต์ทำการปฏิวัติล้มเผด็จการมูบารักไปรอบหนึ่งแล้วเมื่อสองปีก่อน
ถ้าศึกษาเหตุการณ์ 14 ตุลา เราจะเห็นว่ามวลชนไล่สามทรราช แต่ผู้ที่ประสานงานให้พวกนั้นออกจากตำแหน่ง และออกนอกประเทศ คือกองทัพและชนชั้นปกครองไทย นั้นคือบทบาทเดียวกันของกองทัพอียปต์ในการปลดมูรซี่
สหาย ซาเมย์ นากวิบ จากองค์กรปฏิวัติสังคมนิยมอียิปต์ อธิบายว่า.....
"มันเป็นสถานการณ์ที่ขัดแย้งในตัวเอง ถ้าดูผิวเผินมันเป็นรัฐประหารโดยทหาร แต่ทหารเข้ามาแทรกแซงเพื่อป้องกันตนเองจากการปฏิวัติมวลชน ในอีกด้านมันเป็นการกระทำของมวลชนเป็นล้านที่ทำ ให้ทหารเข้าแทรกแซง มันเป็นครั้งที่สองที่เกิดขึ้น ครั้งแรกคือกรณีมูบารัก ครั้งที่สองคือมูรซี่ มวลชนออกมาเป็นล้าน มันเป็นการประท้วงที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ชนชั้นปกครองอียิปต์ตอนนี้เหมือนหมา จนตรอก เกือบจะไม่มีทางเลือกเหลือ ถ้ามูรซี่อ่อนแอ ตัวแทนอื่นของชนชั้นนายทุน เช่น เอล์บาราเดย์ ก็ยิ่งอ่อนแอ มันไม่ใช่จุดจบของประชาธิปไตย และไม่ใช่แค่รัฐประหาร มันซับซ้อนกว่านั้น"
มวลชนบนท้องถนนมีความมั่นใจในตนเองสูงมากที่จะกำหนดประวัติศาสตร์ได้
กระบวนการปฏิวัติเป็นกระบวนการที่มีความเป็นประชาธิปไตยสูง แค่การเลือกตั้งทุกห้าปีเป็นเรื่องตลก กองทัพอียิปต์ต้องการจะยับยั้งกระบวนการปฏิวัตินี้
มีการวางแผนว่าจะนัดหยุดงานในวันพฤหัสโดยคนงานขับรถเมล์ คนงานรถไฟ คนงานโรงงานซีเมน และคนงานคลองซุเอส คนที่ออกมาประท้วงส่วนใหญ่เป็นกรรมาชีพ การประท้วงอาจลามไปสู่การนัดหยุดงานทั่วไปได้ และนี่คือสิ่งที่พวกทหารกลัว เพราะการนัดหยุดงานเป็นพลังหลักที่ล้มมูบารัก
ในช่วงแรกๆ มวลชนที่ต่อต้านมูรซี่แสดงความดีใจ มีการเชียร์กองทัพ แต่มวลชนไม่โง่ เขารู้ว่าตำรวจกับทหารทำอะไรในอดีต และอย่าลืมว่าเมื่อคนออกมา 17 ล้าน มันต้องมีคนที่ไม่เคยประท้วงมาก่อนในชีวิต เขาอาจหลงคิดว่าทหารอยู่ข้างประชาชน แต่มันเป็นเรื่องชั่วคราว ตอนนี้เวลาเขาเห็นทหารนำพวกนักการเมืองเก่าสมัยมูบารักกลับมา เขาเริ่มโกรธ
ความหวังที่จะมีการเปลี่ยนแปลงพุ่งสูงสุดขอบฟ้า สูงกว่าตอนเราล้มมูบารักอีก และรัฐบาลใหม่ไหนที่เข้ามาคงจะไม่สามารถตอบสนองได้ และไม่สามารถแก้ปัญหาปากท้องได้ เพราะพวกนั้นเป็นพวกเสรีนิยมกลไกตลาด
มวลชนรู้ว่าตนเองมีพลังและมีสิทธิ์ เขาล้มประธานาธิบดีมูรซี่ภายในระยะเวลาแค่หนึ่งปี เพราะมูรซี่ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน มวลชนสามารถทำได้อีกในอนาคต สามารถล้มทหาร และทหารก็เข้าใจตรงนี้”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น