แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เปิดร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฉบับ ปชช. ผิด- "เผา-สั่งการ" ไม่ยกเว้น

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ




updated: 16 ก.ค. 2556 เวลา 11:55:19 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
หมายเหตุ : ร่าง พ.ร.บ.นิโทษกรรมฉบับประชาชนที่เตรียมเสนอนายกรัฐมนตรี และประธานสภา เพื่อบรรจุวาระในการเปิดประชุมสภาสมัยสามัญ ของกลุ่มญาติผู้เสียชีวิต และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลายการชุมนุม เม.ย.-พ.ค. พ.ศ.2553
มาตรา 1

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) นี้เรียกว่า พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ประชาชนซึ่งได้กระทำความผิดความสงบเรียบร้อยหรือต่อความ มั่นคงของราชอาณาจักร อันเนื่องมาจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะ ปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549, พ.ศ...........

มาตรา 2

พ.ร.บ.นี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

มาตรา 3

(1) บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลอันเป็นความผิดตามกฎหมายจากการฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือข้อกำหนดที่ออกตาม พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง

(2) บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่ที่มี การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน หรือพื้นที่ที่มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่น คงภายในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.มั่นคง ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมือง ภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 หากเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา หรือเป็นความผิดอันมีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดอันมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ตามกฎหมายอื่น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง

(3) บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง ในเขตท้องที่หรือพื้นที่ตาม มาตรา 3 (2) อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิได้รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 3 (1) หรือมาตรา 3 (2) ตลอดจนการกระทำใดๆ ที่ได้กระทำขึ้นระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง แต่การกระทำนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 หากการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร อันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีความเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์การทางการเมือง ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

(4) การกระทำใดๆ หรือการตระเตรียมการของผู้ใด ทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุม โดยมุ่งต่อการประทุษร้ายผู้อื่นโดยใช้อาวุธให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตาม กฎหมาย

การกระทำใดๆ ของประชาชนทั้งผู้ชุมนุมและผู้ที่ไม่ได้เข้าร่วมชุมนุมอันมุ่งต่อการก่อให้ เกิดภยันตรายต่อประชาชน หรือการกระทำผิดต่อทรัพย์ เช่น การวางเพลิงเผาทรัพย์ ปล้นทรัพย์ ลักทรัพย์ อันเป็นของเอกชน ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

บทบัญญัติในวรรคที่หนึ่งและสอง รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงระยะเวลาดังกล่าวนั้นด้วย

มาตรา 4

การกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐระดับปฏิบัติการที่มิได้ฝ่าฝืนคำสั่งการบังคับบัญชา และ/หรือ ไม่ได้กระทำการเกินกว่าเหตุให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ

การกระทำของบรรดา เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ตลอดจนการสลายการชุมนุมไม่ว่าจะได้กระทำการในฐานะเป็นผู้สั่งการหรือผู้ ปฏิบัติการ และไม่ว่าจะกระทำในขั้นตอนใดๆ รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง หากการกระทำนั้นไม่สมควรแก่เหตุ และ/หรือเป็นความผิดตามกฎหมาย ให้บุคคลนั้นยังคงมีความผิดตามกฎหมาย

บทบัญญัติในวรรคที่สองให้ใช้บังคับกับบุคคลที่เป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุนในความผิดนั้น

มาตรา 5

เมื่อ พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3 (1), (2) และ (3) ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาลหรืออยู่ในระหว่างการสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนผู้ซึ่งมีอำนาจสอบสวน หรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องระงับการฟ้องหรือให้ถอนฟ้อง ถ้าผู้นั้นอยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีไม่ว่าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือมีคำสั่งจำหน่ายคดี ในกรณีที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้มีผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด ถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น

มาตรา 6

ผู้ได้รับการนิรโทษกรรมตาม พ.ร.บ.นี้ จะได้รับการช่วยเหลือเยียวยาตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น แต่ไม่สามารถก่อให้เกิดสิทธิแก่ผู้ได้รับนิรโทษกรรมในอันที่จะเรียกร้อง สิทธิ หรือประโยชน์ใดๆ เพิ่มเติมทั้งสิ้น

มาตรา 7

การดำเนินการใดๆ ตาม พ.ร.บ.นี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยงานของรัฐในการเรียก ร้องค่าเสียหายในทางแพ่ง จากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความรับผิดตาม พ.ร.บ.นี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย

มาตรา 8

ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตาม พ.ร.บ.นี้

ทั้งนี้ นายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ในฐานะผู้ประสานงานกลุ่มญาติผู้เสียชีวิตและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์สลาย การชุมนุม เม.ย.-พ.ค.พ.ศ.2553 กล่าวถึงความคืบหน้าในการผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับประชาชน ว่า หลังจากได้แถลงข่าวเปิดตัวร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ไปในวันที่ 14 กรกฎาคม ขณะนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นของประชาชน โดยส่วนหนึ่งใช้ช่องทางโซเชียลมีเดีย อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มญาติมีกำหนดการจะนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ขอความสนับสนุนจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ที่ทำเนียบรัฐบาล ในเวลา 09.00 น. วันที่ 16 กรกฎาคม และจะทยอยเดินสายขอความสนับสนุนจากพรรคการเมืองต่างๆ ยกเว้นพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม ก่อนที่ในขั้นตอนสุดท้ายจะเข้ายื่นร่าง พ.ร.บ.ต่อ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภา ในวันที่ 24 กรกฎาคม เพื่อขอให้บรรจุเป็นระเบียบวาระการประชุมสภาในช่วงต้นเดือนสิงหาคมต่อไป




ที่มา : นสพ.มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น