แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ก่อนจะถึง ๑๒ สิงหา วันมหาปีติ

ที่มา Thai E-News


:นักประชาธิปไตยถก ‘ปล่อยนักโทษการเมือง’ ในวันศุกรที่ ๒๖ กรกฎาคม นี้ ที่ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน ตั้งแต่เวลาบ่ายโมงตรงถึงสี่โมงครึ่ง


ท้าวความตามท้องเรื่อง โดยตัดตอนแต่เมื่อทนาย ประเวศ ประภานุกูล เขียนบนหน้าเฟชบุ๊คถึงการ ไปเยี่ยมคุณดา ตออร์ปิโด คุณสุรชัย และคุณสมยศ ที่ว่า
คุณ สุรชัยยังเชื่อว่าจะได้รับพระราชทานอภัยโทษ โดยแกเชื่อว่าเป็นสัญญาณจากสำนักราชเลขาธิการผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ นอกจากนี้แกยังได้ข่าวจากสถานทูตเกาหลีว่าพรุ่งนี้จะมีการพระราชทานอภัยโทษ ลงมา แต่ยังไม่แน่ว่าเป็นคนเกาหลี หรือตัวแกเองกับคุณหนุ่มเมืองนนท์
แต่ถ้าพรุ่งนี้ไม่ได้พระราชทานอภัยโทษ ก็คงเป็นวันที่ ๑๒ สิงหาคมนี้
ซึ่งก็เป็นความหวังของผู้ต้องขังในคดีคล้ายคลึงกันอีกหลายคน ว่าวันที่ ๑๒ สิงหาคม อาจเป็นวันมหาปีติขิงพวกตนบ้างด้วยก็ดี
การณ์ปรากฏในวันที่ ๕ กรกฎาคม มีข่าวใหญ่สำหรับคนเสื้อแดงว่า อภัยโทษ 'หนุ่ม เรดนนท์' ปล่อยตัวแล้ว หลังจำคุกกว่า 3 ปี เป็นที่ปลาบปลื้มกันถ้วนหน้า กลุ่มปฏิญญาหน้าศาล อันมี รศ. ดร.สุดา รังกุพันธุ์ หรืออาจารย์หวานเป็นผู้ประสานงานคนสำคัญได้จัดทำบายศรีสู่ขวัญกันครึกครื้น
หนุ่มเร็ดนนท์ หรือคุณธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล ชายไทยวัย ๔๑ ปีท่านนี้ มีความเป็นมาที่โยงใยกับปัญหาสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเกี่ยวกับนักโทษการเมือง นักโทษทางความคิด และกฏหมาย Draconian Law พอดู
“เขาถูกจับกุมและคุมขังตั้งแต่วันที่ ๑ เม.ย. ๕๓ โดยไม่ได้รับการประกันตัวระหว่างต่อสู้คดี หลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเขาตัดสินใจยื่นอุทธรณ์คดี แต่ภายหลังได้ถอนอุทธรณ์ และขอพระราชทานอภัยโทษพร้อมกับ นายสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน) ซึ่งถูกพิพากษาจำคุก ๑๒ ปีครึ่งจากมาตรา ๑๑๒ และนายวันชัย แซ่ตัน ชาวสิงคโปร์ที่ถูกจำคุกจากมาตราเดียวกัน ๑๕ ปี อย่างไรก็ตาม วันชัยได้รับพระราชทานอภัยโทษก่อนหน้านี้ และถูกส่งตัวกลับสิงคโปร์หลังจากได้รับการปล่อยตัว เหลือเพียงสุรชัย แซ่ด่าน วัย ๗๑ ปี ที่ยังถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพ”

ไม่ เพียงเท่านั้น ยังปรากฏความจริงตามข้อมูลอันเป็นวิทยาศาสตร์จากผลงานการวิจัยของศูนย์ ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม (ศปช.) ระบุว่า
“จากข้อมูลที่ ศปช. เก็บรวบรวมได้ถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๕ พบว่า มีผู้ถูกจับจากเหตุการณ์ที่สืบเนื่องกับการชุมนุมตั้งแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๓ ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๑,๘๕๗ คน ในจำนวนนี้ ต่อมาถูกดำเนินคดีอย่างน้อย ๑,๗๖๓ คน โดยคิดเป็นจำนวนคดีทั้งสิ้น ๑,๓๘๑ คน ในศาล ๕๙ แห่ง ทั้งในกรุงเทพปริมณฑล และต่างจังหวัด”
แม้นว่าผู้ได้รับเคราะห์กรรมเหล่านี้หลายต่อหลายคนอาจได้รับการปล่อยตัว อีกทั้งตนเอง และครอบครัวอาจได้รับการเยียวยากันไปแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ที่ยังติดค้างด้วยกับดักแห่งกฏหมายสถานการณ์ฉุกเฉินบ้าง สถานการณ์ก่อการร้ายบ้าง และสถานการณ์หมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์อันทรงเป็นประมุขแห่งรัฐบ้าง ยังถูกจองจำในคุกกันอีกไม่ต่ำกว่า ๓๓ คนเป็น ซึ่งเป็นจำนวนไม่น้อยเมื่อคำนึงถึงการทนทุกข์ที่แต่และคน  พร้อมด้วยครอบครัวของพวกเขาได้รับ
ศปช. “จึงได้จัดให้มีการชี้แจงด้วยเหตุผลบนหลักฐานอันประจักษ์ข้อเท็จจริง นอกเหนือไปจากหลักนิติธรรมสากล ซึ่งมีอยู่เกลื่อนกราดร้อยแปดพันประการ หากแต่ยังไม่ค่อยมีตุลาการหยิบยกเอาไปใช้ให้บังเกิดสิทธิมนุษยธรรมที่ถ่องแท้
โดยระดมนักวิชาการ นักกิจกรรม นักกฏหมาย นักสื่อสาร นักการเมือง และนักศิลปกรรม ที่ล้วนเข้าซึ้งถึงแก่นใจ และยึดมั่นเป็นสรณะในหลักการประชาธิปไตยสมบูรณ์  มาร่วมกันวิสัชนาอภิปราย
ให้แจ่มแจ้งว่าทำไมประเทศไทยจึงจำเป็นต้องปลดปล่อยนักโทษการเมืองทั้งหลายโดยเร็วไว”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น