แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ไทย-ตุรกีตั้งคณะทำงานร่วม - หนุนเชื่อมเอเชีย-ยุโรป

ที่มา Voice TV

 ไทย-ตุรกีตั้งคณะทำงานร่วม - หนุนเชื่อมเอเชีย-ยุโรป


รัฐบาลไทยและตุรกี เห็นพ้อง ตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าทางการค้าระหว่างกันภายใน 5 ปีให้มากกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐ  โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน
 
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เดินทางถึงประเทศตรุกี และเข้าพบหารือกับ นายเรเจพ เทยิพ แอร์โดอาน นายกรัฐมนตรีตุรกี และหารือข้อราชการแบบเต็มคณะ  ที่สำนักนายกรัฐมนตรี นครอิสตันบูล สาธารณรัฐตุรกี 
 
หลังการหารือเสร็จสิ้น นายธีรัตถ์ รัตนเสวี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญของการหารือว่า ทั้งสองฝ่ายยืนยันความสัมพันธ์ไทย-ตุรกี ที่มีมาอย่างราบรื่น และในปี 2561 ซึ่งเป็นปีครบรอบความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ตุรกี 60 ปี จะมีการจัดกิจกรรมร่วมกัน 
 
ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดทำความตกลง FTA ไทย-ตุรกี โดยเริ่มต้นศึกษาความเป็นไปได้ร่วมกันก่อน และเห็นควรที่จะเพิ่มมูลค่าทางการค้าอย่างเป็นรูปธรรมใน 5 ปีข้างหน้า โดยหาแนวทางการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกัน เพื่อขยายมูลค่าการค้าและการติดต่อให้มากกว่า 1,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 
 
และในการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ได้นำภาคเอกชนไทยในด้านต่างๆ เช่น พลังงาน ชิ้นส่วนยานยนต์ อาหารฮาลาล ก่อสร้าง และสิ่งทอ ร่วมเดินทางด้วย  เพื่อแสวงหาลู่ทางการลงทุนใหม่ๆ ในด้านที่ตุรกีมีศักยภาพ และสร้างความเชื่อมโยง เพราะทั้งสองประเทศต่างให้ความสำคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะการเชื่อมโยงทางการขนส่งเพื่อเชื่อมโยงแต่ละภูมิภาค 
 
โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง กลาโหม  แจ้งว่าไทยจะลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ในการสร้างรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงลาว และจีน รวมไปถึงรัสเซียและยุโรป เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของประชาคมอาเซียน 
 
ส่วนด้านการท่องเที่ยว ทั้งสองฝ่ายยินดีที่ประชาชนเดินทางติดต่อกันมากขึ้น  และรัฐบาลไทยวางแผนที่จะเปิดสถานกงสุลประจำเมืองอันทาเลียและนครอิซเมียร์ เช่นเดียวกับฝ่ายตุรกี  ที่เตรียมเปิดสถานกงสุล  ที่ภูเก็ตและเชียงใหม่  ซึ่งส่งเสริมให้การติดต่อระหว่างประชาชน การท่องเที่ยวและการค้า การศึกษาและวัฒนธรรมมีเพิ่มมากขึ้น 
 
ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือเต็มคณะ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและนายกรัฐมนตรีตุรกีเป็นประธาน ในพิธีลงนามความตกลง จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ สนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้กระทำผิดและความร่วมมือในการบังคับให้เป็นไป ตามคำพิพากษาในคดีอาญา  แผนปฏิบัติการร่วมไทย-ตุรกี  และบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านวิชาการและการฝึกอบรมนักการ ทูตระหว่างสถาบันการต่างประเทศของไทยกับตุรกี 
 
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรี ยังระบุว่า ไทยยินดีที่จะสนับสนุนโครงการ New silk road ของตุรกี  เพื่อเชื่อมโยงเอเชียและยุโรปด้วยเส้นทางรถไฟผ่านตุรกี และชื่นชมโครงการพัฒนาอุโมงค์รถไฟ Marmaray  ที่ทางคณะได้เยี่ยมชม 
 
ซึ่งในส่วนของประเทศไทยได้มีโครงการลง ทุนกว่า 66 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อพัฒนาการขนส่งและจะสนับสนุนโครงการ New Silk Route ภายใต้กรอบความร่วมมือเอเซีย หรือ  ACD ซึ่งหากสองโครงการนี้บรรลุผลจะช่วยเชื่อมต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง กับยุโรป และแอฟริกา ผ่านเส้นทางของตุรกี ทั้งนี้นายกรัฐมนตรียินดีสนับสนุนตุรกีในการเข้าเป็นสมาชิก ACD 
 
สำหรับประเทศไทย ถือว่า ตรุกี เป็นตลาดใหม่  สำหรับการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวของไทย  เป็นจุดเชี่อมต่อระหว่างภูมิภาคยุโรปและเอเชีย เป็นประเทศมุสลิมขนาดใหญ่ที่มีแนวคิดสายกลาง และมีอิทธิพลต่อประเทศในกลุ่มตะวันออกกลาง เอเชียกลาง บอลข่าน รวมถึงองค์การความร่วมมือศาสนาอิสลาม หรือ OIC ด้วย 
6 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:27 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น