แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

กลุ่มนิสิต-อาจารย์รัฐศาสตร์ ม.พะเยา ค้านเหมาเข่ง - เสนอนิรโทษกรรมเฉพาะประชาชน

ที่มา ประชาไท


"กลุ่มคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ" จากสาขารัฐศาสตร์ ม.พะเยา สนับสนุนให้วุฒิสภายับยั้งร่างนิรโทษกรรม และเสนอให้รัฐสภาแก้ไขขอบเขตการนิรโทษกรรมให้อยู่ในระดับของผู้ร่วมชุมนุม และแสดงออกทางการเมือง
6 พ.ย. 2556 - วันนี้ กลุ่มคณาจารย์และนิสิตในสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ในนาม "กลุ่มคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ" ได้เผยแพร่แถลงการณ์ "แถลงการณ์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ" โดยมีรายละเอียดของแถลงการณ์ และข้อเสนอดังนี้
000
แถลงการณ์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
กลุ่มคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ
ในฐานะส่วนหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษา และประชาคมทางการเมืองไทย นอกจากมวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว พวกเราต้องขอขอบคุณสมาชิกวุฒิสภาที่จะตัดสินไม่รับร่าง พ.ร.บ นิรโทษกรรม ฉบับแก้ไขโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ขอบคุณท่านนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่แสดงบทบาทผู้นำในการตัดสินใจอย่างรวดเร็วที่จะไม่ฝืนต้านกระแสมวลชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจุดหมาย วิธีการ และจุดยืนของเคลื่อนขบวนมีหลายรูปแบบ พวกเราจึงขอร่วมเสวนาต่อทั้งประเด็นร่าง พ.ร.บ นิรโทษกรรมฯ และการเคลื่อนไหวของมวลชน เพื่อสร้างข้อถกเถียงและเสนอแนวทางคลี่คลายสถานการณ์การเมืองต่อไป พวกเราเชื่อมั่นว่า หากสามารถผ่านพ้นเหตุการณ์นี้ไปได้ ประเทศไทยก็นับว่ากำลังเดินทางผ่านรอยต่อทางแยกที่สำคัญในประวัติศาสตร์การ เมืองอย่างผ่าเผย

จุดยืน
ภายใต้เอกภาพของการคัดค้าน พวกเราต่างมีอิสระและความหลากหลายทางอุดมการณ์ กล่าวคือ พวกเราประกอบไปด้วย ผู้มีอุดมการณ์สีแดง ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้กระทำผิดในเหตุการณ์เมษายน 2552 และพฤษภาคม 2553, ผู้มีอุดมการณ์สีเหลือง ซึ่งไม่เห็นด้วยกับการล้างผิดผู้นำทางการเมืองที่คอร์รัปชั่นและเป็นเผด็จ การรัฐสภา ทั้งๆ ที่ยังไม่ผ่านการลงโทษตามกฎหมาย, กลุ่มคนผู้รักคุณทักษิณ ชินวัตร ซึ่งปรารถนาให้ท่านกลับมาอย่างสง่างามชอบธรรมตามวิถีทางของอารยชน, กลุ่มคนผู้รักพรรคเพื่อไทย ที่ต้องการให้พรรคกลับมาเป็นองค์กรแห่งความหวังทางอุดมการณ์เพื่อ ประชาธิปไตย ความเสมอภาค และคนรากหญ้า กลุ่มคนผู้รักพรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรารถนาให้ผู้นำพรรคพ้นข้อกล่าวหาอย่างไร้ข้อกังขา, ตลอดจนกลุ่มคนที่มิได้เลือกข้างฝั่งอุดมการณ์ใดๆ แต่ต้องการให้กระบวนการทางประชาธิปไตยและรัฐสภาของไทยไม่แปดเปื้อนจากผล ประโยชน์เฉพาะหน้า จนกลายเป็นรอยด่างพร้อยอีกวงในกงล้อประวัติศาสตร์

ความหวัง
ในห้วงเวลาของประวัติศาสตร์ เมื่อมองย้อนกลับไปในอดีต พวกเราเห็นบาดแผลที่ยังคงเยียวยารักษาไม่หาย เช่นกรณีคนไทยฆาตรกรรมกันเองในเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ซึ่งกระทั่งปัจจุบันคนกระทำผิดก็ยังไม่ถูกลงโทษ ดังนั้นการนิรโทษกรรมฯ ในขณะที่ยังไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรมจึงอาจทำให้เกิดประวัติศาสตร์บาดแผลซ้ำ รอย อย่างไรก็ตาม การให้อภัยก็ย่อมทำได้ แต่ก็ต่อเมื่อผู้กระทำผิดสำนึกและกล้ารับโทษตามกฎหมายแล้ว เมื่อหันมามองการเมืองไทยในยุคปัจจุบัน พวกเราเห็นว่า แม้นความตื่นตัวทางการเมืองของมวลชนเสื้อเหลืองและเฉพาะยิ่งมวลชนเสื้อแดงจะ ทำให้พวกเราตื่นตาและตื่นเต้นกับพลังการมีส่วนร่วมของพวกเขาเหล่านั้น เนื่องจากมาจากทุกกลุ่มชนชั้น กระนั้น ฝ่ายตรงข้ามของทั้งสองก็ยังคงกังขากับความบริสุทธิ์ของมวลชนอยู่ อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์คัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เพื่อความถูกต้องทางนิติบัญญัติและชอบธรรมทางการเมืองที่ค่อยๆเคลื่อนขบวน ออกมาทีละระลอกนี้ กลับฉายให้พวกเราคลายความเคลือบแคลงในประเด็นผลประโยชน์แอบแฝง กระทั่งเราอยากจะเปรียบเปรยว่าขบวนคัดค้านเหล่านี้เป็นการตื่นรู้หรือซาโตริ แบบรวมหมู่ พวกเราหวังว่า การปะทุของการประท้วงเชิงปัญญานี้จะอยู่ภายในขอบเขตของกฎหมาย ท่ามกลางความสัมพันธ์ทางการเมืองแบบไม่ปิดจุดต่าง มองเห็นจุดร่วม ไม่เหมารวม และเว้นวรรคการนำสถาบันหลักของชาติมานำมวลชน เพราะนอกจากพลังของมวลชนพลเมืองจะกลายเป็นกรอบให้นักการเมืองไทย ผู้ซึ่งแม้นมิใช่เทวดา แต่ก็มิใช่ยักษาวานร ได้เดินอยู่ภายใต้เส้นทางของความถูกต้องทางกฎหมายและความชอบธรรมทางการเมือง แล้ว มันจะยังสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองไทยแบบมีส่วนร่วมและสันติวิธีอย่างแท้จริง

ข้อเสนอ
หากร่างกฎหมายฉบับนี้ผ่าน แม้ว่ามวลชนจะคัดค้านอย่างคับคั่งก็ตาม แต่รัฐไทยย่อมถูกเพ่งเล็งจากประชาคมโลกได้ว่า ไทยนั้นเพิกเฉยต่อปัญหาคอรัปชั่น ความรุนแรงทางการเมือง การละเมิดสิทธิมนุษยชน การละทิ้งหลักการว่าด้วยนิติรัฐ โดยกลับยอมรับวิธีการแก้ไขปัญหาด้วยหนทางนอกระบอบประชาธิปไตยอย่างการรัฐ ประหาร ดังนั้น จากฐานะ จุดยืน ความหวัง และหลักการทั้งหมด ตลอดจนการเล็งเห็นวิธีการเดินกฎหมายที่มีความรีบเร่ง ไร้ขอบเขต ในขณะที่กระบวนการค้นหาความจริงยังไม่สิ้นสุด พวกเราจึงขอสนับสนุนการยับยั้งร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ของวุฒิสภา และขอเสนอให้รัฐสภาแก้ไขขอบเขตของการนิรโทษกรรมให้อยู่เพียงในระดับผู้ร่วม ชุมนุมและแสดงออกทางการเมืองเท่านั้น อันจะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองไทยเข้าสู่สภาวการณ์ปรองดองอย่างแท้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น