แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อนาคต "ม็อบ" กับ ความชอบธรรม ในการ "ชุมนุม"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

 http://www.prachachat.net/online/2013/11/13845087611384508772l.jpg

updated: 15 พ.ย. 2556 เวลา 16:57:07 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
ถามว่าเหตุใดการชุมนุมของแนวร่วมคน ไทยรักชาติ รักษาแผ่นดิน อันนำโดย นายไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ที่ท้องสนามหลวง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจึงไม่ประสบความสำเร็จ
ตอบว่า อยู่ที่ "ความชอบธรรม"

แม้จะมีองค์การพิทักษ์สยามอันนำโดย พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ กับ พล.ร.อ.ชัย สุวรรณภาพ เข้ามาเสริม ก็ไม่สามารถระดมคนเข้าร่วมได้อย่างอุ่นหนาฝาคั่ง

ยังดำรงสถานภาพม็อบ "เรือนร้อย"

ถามว่าเหตุใดการยกระดับการชุมนุมของ "สนามหลวง" ประสานกับการเคลื่อนไหวของ "หน้ากากขาว" ถึงกับประกาศจัดตั้ง "กองทัพประชาชน โค่นระบอบทักษิณ" โดยปักหลักชุมนุมที่สวนลุมพินีตั้งแต่เดือนสิงหาคม จึงไม่ประสบผลสำเร็จ

ตอบว่า อยู่ที่ "ความชอบธรรม"

แม้จะมีกองทัพธรรมอันมีสันติอโศกเป็นแบ๊ก แม้จะมีมือจากพรรคประชาธิปัตย์เข้าไปแตะสัมผัส แม้จะพยายามขับเคลื่อนจากสวนลุมพินีไปยังหน้าทำเนียบรัฐบาลและแยกสายไปอุรุพงษ์

ก็ยังดำรงสถานภาพม็อบ"เรือนร้อย"อยู่ไม่แปรเปลี่ยน

ปัญหา"ความชอบธรรม" จึงสำคัญเป็นอย่างมากในการชุมนุม ในการเคลื่อนไหวและก่อกระแสทางการเมือง


ต้องยอมรับว่าการจัดม็อบของพรรคประชาธิปัตย์โดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ไม่ว่าจะเป็นที่สามเสน ไม่ว่าจะเป็นบนถนนราชดำเนิน

ต่างจาก "สนามหลวง" เมื่อเดือนพฤษภาคม

ต่างจาก "สวนลุมพินี" เมื่อเดือนสิงหาคม

ต่างจาก "แยกอุรุพงษ์" เมื่อเดือนตุลาคม

นั่นก็คือ ม็อบของพรรคประชาธิปัตย์ไม่เพียงแต่จะมี "มวลชน" ของตนเองในพื้นที่ กทม.อยู่แล้วโดยพื้นฐาน

หากยังอาศัยร่าง พ.ร.บ. "นิรโทษกรรม" มาจุดให้กลายเป็น "กระแส"

จะเห็นได้จากการเข้าร่วมของกลุ่ม "นักธุรกิจ" ในภาคเอกชน จะเห็นได้จากการเข้าร่วมของปัญญาชน นักวิชาการ แสดงออกผ่านบุคคลระดับ "อธิการบดี" จะเห็นได้จากการเข้าร่วมของบุคคลในแวดวงองค์กรอิสระและตุลาการ

ไม่ว่าจะมาโดยพลังจาก "มือที่มองไม่เห็น" ไม่ว่าจะมาเพราะการบิดเบือนและเน้นย้ำในเรื่องล้างผิด "คนโกง" โดยมองข้ามบทบาทของคนออกคำสั่งฆ่า 99 ศพ บาดเจ็บเกือบ 2,000 คน แต่ก็ทำให้บนถนนราชดำเนินคึกคักเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในห้วงก่อนรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549

"ความชอบธรรม" จึงเป็น" อาวุธ" อันทรงพลัง


กระนั้น ความชอบธรรมในสถานการณ์ 1 ก็หมดความหมายหากสถานการณ์เริ่มคลี่คลายและมีการนำข้อเสนอใหม่เข้ามาอย่างไม่สอดรับกับสภาพความเป็นจริง

"ความชอบธรรม"ที่เคยมีก็จะค่อยๆหมด"บทบาท"

เช่นเดียวกับ เมื่อพรรคเพื่อไทย พรรคร่วมรัฐบาล และรัฐบาลเริ่มถอยด้วยการถอนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมทุกฉบับที่มีออกมาหมด

ตัดเงื่อนไขนี้ทิ้งอย่างสิ้นเชิง

การชุมนุมของพรรคประชาธิปัตย์บนถนนราชดำเนินหากยังดึงดันเดินหน้าต่อไปก็จะขาดความชอบธรรมที่เคยมี

"มวลชน"ที่เคยให้การสนับสนุนก็จะถอยหนีวางมือไม่เข้าร่วม

ยิ่งหากพรรคประชาธิปัตย์เสนอเงื่อนไขใหม่ถึงขั้นให้หยุดงาน หยุดเรียน ชะลอการเสียภาษีเข้ามาอีก ยิ่งก่อให้เกิดความตื่นตระหนก ยิ่งก่อให้เกิดความคลางแคลงใจในเจตนา กระทั่งในที่สุดก็ปฏิเสธ

เพราะขาด "ความชอบธรรม" เพราะไม่อยากอยู่ใต้ "อาณัติ" พรรคประชาธิปัตย์

ที่เคยมีคนเข้าร่วม "เรือนหมื่น" ก็จะเหลือคนเข้าร่วมเพียง "เรือนพัน" และก็จำเป็นต้องอำลาจากท้องถนนไปในที่สุด

"อนิจจัง" ไม่เที่ยง ไม่แท้ ไม่ "แน่นอน"

จากนี้จึงเห็นได้ว่า เส้นทางที่พรรคประชาธิปัตย์จะดำเนินไปจะเป็น "เส้นทาง" ใดในทางการเมือง

เป็นเส้นทางเหมือนกับที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก่อนเดือนกันยายน 2549 หรือเป็นเส้นทางของม็อบสนามหลวง ม็อบสวนลุมพินี ม็อบแยกอุรุพงษ์

วันศุกร์ที่ 15 พฤศจิกายนนี้ มี "คำตอบ"




ที่มา : นสพ.มติชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น