แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

วุฒิสภาในโลกนี้ 'เลือกตั้ง' หรือ 'แต่งตั้ง'?

ที่มา Voice TV



ในช่วงที่การเมืองไทยผูกติดอยู่กับประเด็นการแก้รัฐธรรมนูญว่าด้วยที่มาของวุฒิสภา เกิดข้อถกเถียงกันว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้ดีเท่า ส.ว.สรรหา ตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เราจะไปดูกันว่าวุฒิสภาใน ที่ต่างๆ ของโลก มาจากการเลือกตั้งหรือสรรหามากกว่ากัน และวุฒิสภาที่มาจากกระบวนการที่ต่างกัน มีอำนาจและบทบาทหน้าที่แตกต่างกันอย่างไร
คำวินิจฉัยล่าสุดของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ตัดสินว่าการแก้รัฐธรรมนูญให้วุฒิสมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด เป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และก่อให้เกิดสภาผัว สภาเมีย ทำลายวัตถุประสงค์ของการมี 2 สภาเพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุล ทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่าจริงๆ แล้ว วุฒิสมาชิกไม่ควรจะมาจากการเลือกตั้งจริงหรือ ทั้งที่ทุกวันนี้ มีหลายประเทศในโลกที่มีวุฒิสภาซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน รวมถึงประเทศหัวหอกค่ายประชาธิปไตยอย่างสหรัฐฯ
อันที่จริงแล้ว ถึงแม้ว่าประเทศเกือบทั้งหมดในโลกนี้จะปกครองโดยประชาธิปไตยระบอบรัฐสภา แต่ส่วนใหญ่แล้ว แต่ละประเทศเลือกที่จะมีสภาเดียว นั่นก็คือสภาผู้แทนราษฎร และมีเพียง 80 ประเทศในโลกเท่านั้นที่กำหนดให้มีวุฒิสภา หรือสภาสูงเพิ่มขึ้นมา ขณะที่มีอีกหลายประเทศ เช่นสวีเดน เดนมาร์ก ไอร์แลนด์ และนิวซีแลนด์ ที่ยกเลิกวุฒิสภาไปแล้ว เนื่องจากเห็นว่าเป็นการสิ้นเปลือง
และในบรรดาประเทศที่มีวุฒิสภา ก็มีที่มาของวุฒิสภาแตกต่างกันไปตามประวัติศาสตร์การเมืองของแต่ละประเทศ โดยสามารถแบ่งเป็น 3 ค่ายใหญ่ๆ ค่ายแรกคือประเทศที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาเก่าแก่ และมีชนชั้นขุนนางที่ แข็งแรง และไม่ได้ถูกโค่นล้มไปแบบถอนรากถอนโคนในการเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์เป็นประชาธิปไตย ทำให้วุฒิสภาเป็นที่รวมของบรรดาชนชั้นสูง ขุนนางเก่า ซึ่งเป็นวุฒิสมาชิกผ่านการแต่งตั้ง หรือสืบทอดตามสายตระกูล รวมถึงผู้นำทางศาสนา วุฒิสภาประเภทนี้มาจากการแต่งตั้ง จึงไม่มีอำนาจเท่าสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน มีหน้าที่กลั่นกรอง ตรวจสอบกฎหมาย แต่ไม่สามารถยับยั้งกฎหมายที่ยืนยันโดยสภาล่างได้ เช่นวุฒิสภาอังกฤษเป็นต้น
ค่ายที่สอง เป็นค่ายที่ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองไม่ต้องมีการจัดสรรที่ ทางให้กับกลุ่มอำนาจเก่า เช่นสหรัฐอเมริกาและออสเตรเลีย สภาสูงจึงมาจากการเลือกตั้งเช่นเดียวกับสภาล่าง และมีอำนาจตรวจสอบถ่วงดุลที่ทรงพลังไม่แพ้กัน เนื่องจากต่างฝ่ายต่างมีอำนาจของประชาชนหนุนหลังด้วยกันทั้งคู่ โดยประเทศที่มีวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง 100% ก็เช่นญี่ปุ่น อิตาลี และฟิลิปปินส์
ส่วนค่ายที่สาม เป็นค่ายที่มีทั้งการเลือกตั้งและแต่งตั้งวุฒิสมาชิก โดยส่วนใหญ่จะเป็นประเทศที่ยึดรูปแบบวุฒิสภาที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ แต่เพิ่มวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้ง เพื่อเคารพในความแตกต่างหลากหลายทางเชื้อชาติและศาสนาของพลเมือง หรือเพื่อให้พื้นที่ของตัวแทนรัฐบาลท้องถิ่นแต่ละมลรัฐ เช่นอียิปต์ ที่มีตัวแทนศาสนาได้รับแต่งตั้งเข้าไปนั่งในวุฒิสภาด้วย หรือเบลเยียม ที่ชุมชนที่พูดภาษาต่างๆ ก็ได้รับสิทธิ์ส่งตัวแทนเข้าไปนั่งในวุฒิสภา รวมถึงมาเลเซีย ที่วุฒิสมาชิกส่วนหนึ่งมาจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ เพื่อเป็นตัวแทนแต่ละรัฐ 
ซึ่งค่ายที่มีวุฒิสมาชิกมาจากการแต่งตั้ง และเลือกตั้งผสมกัน เป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะรวมเอาข้อดีของทั้งสองรูปแบบมาไว้ด้วยกัน นั่นก็คือได้รับความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง และยังให้สิทธิ์เสียงแก่คนกลุ่มน้อยที่ไม่มีพลังพอในการชนะเลือกตั้ง
แต่ที่น่าสนใจก็คือ มีหลายประเทศที่พยายามผลักดันให้วุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง 100% เช่นแคนาดา ที่ทุกวันนี้มีวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมดตามรูปแบบของสภาขุนนางอังกฤษ กลับมีความพยายามในการเปลี่ยนระบบการได้มาซึ่ง ส.ว.เป็นการเลือกตั้งทั้งหมด เพื่อเพิ่มความชอบธรรมให้กับวุฒิสภาในการตรวจสอบถ่วงดุลสภาผู้แทนราษฎรได้ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งตรงข้ามกับไทย ที่มีข้อโต้แย้งว่าวุฒิสภาที่มาจากการแต่งตั้งต่างหาก ที่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ดีกว่า
22 พฤศจิกายน 2556 เวลา 17:38 น.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น