โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วรพล พรหมิกบุตร
นักวิชาการเพื่อประชาธิปไตยและสันติวิธี
เรื่องเกี่ยวเนื่อง:“นิรโทษกรรมผู้กระทำผิด / ล้างมลทินผู้บริสุทธิ์” กฎหมายปรองดองประชาชนกับอำนาจรัฐของประชาชน
จดหมายเปิดผนึกถึงสมาชิกรัฐสภา
เลขที่ ๕๖/๒๐๒ ซอยพหลโยธิน ๕๙
ถนนพหลโยธิน แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กทม. ๑๐๒๒๐
วันที่ กุมภาพันธ์ พ.ศ.
๒๕๕๖
เรื่อง
ความเห็นเรื่องการสร้างความปรองดองของประชาชนด้วยกฎหมายหนึ่งฉบับสองกรณี
เรียน
สิ่งที่ส่งมาด้วย บทความเรื่อง “วิธีสร้างความปรองดองรากหญ้าด้วยกฎหมายหนึ่งฉบับสองกรณี”
ตามที่ทุกฝ่ายเห็นพ้องต้องกันว่าความปรองดองสมานฉันท์ระหว่างคนในชาติเป็น
สิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาประเทศ และทุกฝ่ายกำลังแสวงหาแนวทางและวิธีการต่าง ๆ
ในการบรรลุจุดมุ่งหมายแห่งการปรองดองที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
ในฐานะนักวิชาการและประชาชนที่เห็นว่าการปรองดองแห่งชาติมีขั้นตอนและระดับ
ปฏิบัติการรูปธรรมหลายชั้นแต่สามารถเริ่มต้นและควรเริ่มต้นจากการสร้างความ
ปรองดองระหว่างประชาชนที่เป็นรากฐานการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้สำเร็จก่อน
ดำเนินการปรองดองในส่วนของนักการเมืองและหรือกลุ่มองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง
ต่อไป
ข้าพเจ้าจึงทำหนังสือนี้เพื่อเสนอเอกสารบทความความเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยว
กับวิธีสร้างความปรองดองระหว่างประชาชนที่แตกแยกทางการเมืองให้สามารถยุติ
ปัญหาทางกฎหมายและคืนกลับสู่ความเป็นมิตรด้วยวิธีการทางกฎหมาย
(กฎหมายหนึ่งฉบับสองกรณี)
โดยให้สมาชิกรัฐสภาในฐานะผู้ใช้อำนาจนิติบัญญัติทั้งในสภาผู้แทนราษฎรและ
วุฒิสภา
เป็นผู้พิจารณาหากเห็นว่าเป็นประโยชน์โปรดดำเนินการเพื่อร่างและเสนอร่าง
กฎหมายนั้นเข้าสู่ที่ประชุมรัฐสภาต่อไป
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาหากเป็นประโยชน์ต่อประชาชน
ขอแสดงความนับถือ
(รองศาสตราจารย์
วรพล พรหมิกบุตร)
การชุมนุมทางการเมืองของประชาชนระหว่างปี
พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึง ๒๕๕๕ ที่มีความเกี่ยวโยงกับผลของการรัฐประหารวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
มีความสำคัญในฐานะที่เป็นช่องทางการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน โดยมีนักเคลื่อนไหวมวลชนและนักการเมืองฝ่ายต่าง
ๆ ที่ขัดแย้งกันเข้าเป็นแกนนำ
(รวมทั้งมีนักยุทธวิธีความมั่นคงภายในจากหน่วยงานของรัฐอีกจำนวนหนึ่งเข้าไปมีบทบาทเกี่ยวข้อง)
จนเกิดสภาพเป็นการต่อสู้ทางการเมืองแบบแบ่งขั้วสองฝ่าย
ส่งผลอันเป็นความสัมพันธ์ต่อเนื่องให้มวลชนตั้งแต่ระดับรากหญ้าและชนชั้นกลางชนบทถึงรากหญ้าและชนชั้นกลางชาวเมืองพัฒนาความคิดสะสม
(ที่เป็นภาวะด้อยพัฒนา) จนเกิดความรู้สึกเป็นปฎิปักษ์ฝ่ายตรงข้ามซึ่งกันและกันมาตาม
ลำดับ
เหตุการณ์และสถานการณ์การต่อสู้ทางการเมืองในห้วงเวลาดังกล่าว
รูปธรรมสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาความคิดทางการเมืองในสภาวะการต่อสู้ดัง
กล่าว
ได้แก่ การกำหนดชื่อเรียกมวลชนเป็นสองฝ่าย (คนเสื้อเหลืองและคนเสื้อแดง)
โดยแนบความคิดและความรู้สึกว่าเป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองเข้าไปในความหมายของ
ชื่อเรียกทั้งสอง
การแข่งขันทางการเมืองรวมทั้งความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ทางการเมืองระหว่างกลุ่มนักเคลื่อนไหว นักการเมือง
ผู้นำกองทัพ
และข้า
ราชการระดับสูงในระบบราชการประจำภายในระบอบรัฐสภาเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น
ได้ตามธรรมชาติทางการเมืองและแรงจูงใจในชีวิตและผลประโยชน์ของบุคคลที่
เกี่ยวข้องเฉพาะรายหรืออย่างมากเฉพาะกลุ่ม
การแข่งขันและ
การต่อสู้ทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยสามารถใช้วิธีการเคลื่อนไหวมวลชน
ซึ่งเป็นไปตามบรรทัดฐานของสังคมปัจจุบันในประชาคมโลกโดยทั่วไป แต่การเคลื่อนไหวมวลชนโดยใช้อาวุธและความรุนแรงประกอบกิจกรรมของตนเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ของแกนนำการเคลื่อนไหวนั้นเป็นการกระทำผิด
ทั้งทางกฎหมาย, บรรทัดฐานของประชาคมโลก, และหลักจริยศาสตร์พื้นฐ่านของสังคมไทย
การ
พัฒนาภาวะด้อยพัฒนาทางสังคมที่มีรูปธรรมเป็นการแยกฝ่ายแบ่งข้างเป็นปฏิปักษ์
กันระหว่างคนสีเหลืองกับคนสีแดงในการเมืองไทยอาจถึงเวลาที่ควรต้องยุติ
แต่ก็ควรเป็นการยุติด้วย “ความจริงและภูมิปัญญา” มากกว่าด้วยวิธีการแบบที่คติโบราณเตือนไว้ว่า “อย่าหักด้ามพร้าด้วยเข่า” ขณะเดียวกันก็ไม่ควรยุติด้วยวิธีการแบบที่เรียกกันตามสำนวนจีนว่า
“เกี้ยเซียะ”
การหักด้ามพร้าด้วยเข่ามีสภาพเป็นการบังคับขืนใจให้ต้องยอมรับสิ่งที่ถูก
กำหนดโดยผู้มีอำนาจในแต่ละขณะ
ขณะที่การเกี้ยเซียะมีกลไกของการหลอกลวงอำพรางเข้าเกี่ยวข้อง
การสร้างหรือการพัฒนาความรู้สึกเป็นมิตรและไว้วางใจซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนซึ่งขณะนี้ยังมีความรู้สึกเป็นสองฝ่าย
(คือคนเสื้อแดงและคนเสื้อเหลือง)
หรือที่เรียกกันด้วยศัพท์ที่มีลักษณะทางเทคนิคมากขึ้นว่า “การปรองดองแห่งชาติ” สามารถกระทำได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยกฎหมายที่มีประเด็นข้อกฎหมายควบคู่กันสองส่วน
คือ (๑) กฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้กระทำผิดไม่ร้ายแรง และ (๒) กฎหมายล้างมลทินให้แก่ผู้ตกเป็นเหยื่อของการกระทำผิด
ทั้งนี้
การใช้ประโยชน์จากข้อกฎหมายดังกล่าวควรจะต้องพิจารณาดำเนินการบนพื้นฐานข้อ
เท็จจริงอันเป็นที่ยอมรับได้จากประชาชนทั้งสองฝ่ายที่มีการแบ่งขั้วแยกข้าง
พื้นฐานข้อเท็จจริงที่เป็นความจริงอันน่าจะยอมรับได้จากประชาชนผู้เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยสุจริตทั้งสองฝ่าย
ประการแรก ได้แก่
ข้อเท็จจริงที่ว่ากิจกรรมการชุมนุมของคนเสื้อแดงกับคนเสื้อเหลืองที่ผ่านมามีภาวะความแตกต่างสำคัญประการหนึ่ง
คือ แกนนำการชุมนุมคนเสื้อเหลืองสั่งการหรืออนุญาตให้นักเคลื่อนไหวนำมวลชนผู้บริสุทธิ์จำนวนมากเข้าร่วมปฏิบัติการด้วยกำลัง อาวุธ
ความรุนแรง และการคุกคามต่อสวัสดิภาพของบุคคลากรของรัฐรวมทั้งทรัพย์สินของทางราชการจำนวนมาก
(โดยที่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปฏิบัติการรุนแรงและอาวุธเหล่านั้นมิได้เกิด
ขึ้นจากการกล่าวหาใส่ร้ายหรือลักลอบสร้างสถานการณ์ใส่ความโดยผู้อื่น
แต่เป็นที่ยอมรับโดยคำแถลงของแกนนำการเคลื่อนไหวนั้นเอง)
ขณะที่การ
ชุมนุมคนเสื้อแดงเป็นการชุมนุมซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐได้ตรวจสอบทั้งทางลับ
และทางแจ้งตลอดมาว่านักเคลื่อนไหวมวลชนไม่มีการสะสมอาวุธไว้ใช้ก่อเหตุ
รุนแรง
(ข้อเท็จริงนี้ประชาชนทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบได้ถึงชั้นการพิจารณาของศาลอาญา)
ประชาชน
ผู้บริสุทธิ์ที่เข้าร่วมชุมนุมกับแกนนำหลักของคนเสื้อแดง
(ในที่นี้คือกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือ นปช.)
จึงไม่ตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับมวลชนผู้บริสุทธิ์ในกลุ่มคนเสื้อเหลืองที่
สุ่มเสี่ยงต่อการเป็นผู้ร่วมชุมนุมในเหตุการณ์ที่มีการกระทำผิดกฎหมาย
มากกว่า
อย่าง
ไรก็ตาม
พัฒนาการของการชุมนุมคนเสื้อแดงและการตอบโต้การชุมนุมดังกล่าวด้วยอำนาจรัฐ
ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทำให้เกิดหรือมีส่วนที่ทำให้เกิดสถานการณ์บานปลายไปสู่ความรุนแรง
การบาดเจ็บและเสียชีวิต
รวมทั้งการทำลายทรัพย์สินของทางราชการและเอกชนจำนวนมาก
แต่ข้อเท็จจริงเท่าที่ปรากฎก็ยังมีความแตกต่างจากกรณีการใช้ความรุนแรงและ
อาวุธของกลุ่มพันธมิตรฯ
เนื่อง
จากอาวุธส่วนใหญ่ที่ปรากฏเกี่ยวข้องกับกรณีการชุมนุมคนเสื้อแดงนั้นเป็น
อาวุธสงครามของรัฐที่นำมาใช้ปราบปรามประชาชนมากกว่าจะเป็นอาวุธที่แกนนำคน
เสื้อแดงสะสมมาใช้ต่อสู้
การ
เสียชีวิตและความบาดเจ็บของคนเสื้อแดงในการชุมนุมดังกล่าวมีภาพหลักฐานสื่อ
มวลชนในเหตุการณ์เป็นจำนวนมากแสดงว่าเกิดจากกำลังและอาวุธของทหารที่รัฐบาล
สั่งการให้สลายการชุมนุมของประชาชน
ความบาดเจ็บและการเสียชีวิตของทหารที่เข้าปฏิบัติการสลายการชุมนุมคนเสื้อ
แดงในค่ำวันที่
๑๐ เมษายน ๒๕๕๓
มีภาพบันทึกเหตุการณ์แสดงแน่ชัดว่าเกิดจากการกระทำของกลุ่มคนจำนวนเล็กน้อย
ที่มีความชำนาญในยุทธวิธีทางการทหารแบบจู่โจมพิเศษ
แต่
ยังไม่มีหน่วยงานใดสามารถระบุแน่ชัดได้ว่าเป็นกลุ่มใด
นอกเหนือไปจากการพยายามปรักปรำจากปากคำของนักการเมืองผู้มีส่วนร่วมในการ
สั่งการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงว่าเป็น
“ชายชุดดำ”
การ
เผาทำลายทรัพย์สินเอกชนภายในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ตอนเย็นวันที่
๑๙ พฤษภาคม ๒๕๕๓
มีภาพบันทึกจากโทรทัศน์วงจรปิดภายในศูนย์การค้าดังกล่าวแสดงให้เห็นว่ามี
ความเกี่ยวข้องกับกองกำลังปฏิบัติการรบพิเศษนอกสารบบคำสั่งปกติ
(para-military) ที่ยังไม่มีหน่วยงานใดระบุแน่ชัดว่าเป็นกลุ่มใด
การเผาทำลายทรัพย์สินของทางราชการหลายแห่งในหลายจังหวัดมีคนเสื้อแดง คนใส่เสื้อสีแดง และที่ไม่ใช่คนเสื้อแดงปะปนเกี่ยวข้อง
ข้อเท็จจริงเหล่านี้ (และที่ยังมีรายละเอียดเพิ่มเติมแต่ละกรณีเหตุการณ์อีกมากมาย)
อาจเพียงพอต่อการสรุปความจริงที่ทุกฝ่ายที่ขัดแย้งกันสามารถยอมรับร่วมกันในชั้นนี้ได้ว่า ประชาชน
เสื้อแดงส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองกับแกนนำ
นปช.
ไม่มีส่วนร่วมดำเนินการเคลื่อนไหวปฏิบัติการที่ผิดกฎหมายหรือใช้อาวุธและ
ความรุนแรงก่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์
เวชชาชีวะในขณะนั้นสั่งการให้ใช้กำลังกองทัพเข้าบริหารจัดการกับแกนนำ
นปช.และประชาชนผู้ร่วมชุมนุมที่เป็นคนเสื้อแดง
บน
พื้นฐานข้อเท็จจริงและความจริงที่
(น่าจะยอมรับร่วมกันได้)
ว่าประชาชนเสื้อเหลืองจำนวนมากตกอยู่ในสถานการณ์การชุมนุมที่แกนนำดำเนิน
วิธีปฏิบัติการเคลื่อนไหวมวลชนอย่างผิดกฎหมาย
คนเสื้อเหลืองผู้มีเจตนาทางการเมืองโดยสุจริตจึงตกอยู่ในสภาพที่หลีกเลี่ยง
ได้ยากในการเดินทางออกจากที่ชุมนุมในขณะที่เกิดเหตุการณ์รุนแรงและผิด
กฎหมาย
ประชาชนเหล่านี้จำนวนหนึ่งตกเป็น “เหยื่อ”
ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตไปแล้วส่วนหนึ่งในระหว่างช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์ชุลมุนมวลชน
(เช่นกรณีการเสียชีวิตของ “น้องโบ”
ในเหตุการณ์ชุมนุมพันธมิตรฯ ที่หน้ารัฐสภาในสมัยรัฐบาลพรรคพลังประชาชน ปี
พ..ศ.
๒๕๕๑)
ขณะที่ประชาชนเสื้อเหลืองอีกเป็นจำนวนมากที่เข้าร่วมอยู่ในเหตุการณ์ที่มี
การกระทำผิดกฎหมายโดยแกนนำของตนนั้นต้องกลายเป็นผู้สนับสนุนหรือผู้ร่วม
กระทำผิดโดยนัยข้อกฎหมายโดยไม่มีทางเลือก
ประชาชนที่เป็นมวลชนเสื้อเหลืองกลุ่มนี้
(ไม่ใช่ประชาชนที่เป็นแกนนำปฎิบัติการผิดกฎหมาย) คือ
ผู้ที่ควรได้รับประโยชน์จากข้อกฎหมายนิรโทษกรรม
และข้อกฎหมายนิรโทษกรรมดังกล่าวควรตราอยู่ในพระราชบัญญัติโดยอำนาจรัฐสภา
หรือหากเห็นร่วมกันว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนและไม่มีอันตรายต่อฝ่ายบริหารก็อาจ
ตราเป็นพระราชกำหนดประกาศใช้ก่อนแล้วให้รัฐสภารับรองภายหลัง
ขณะที่ประชาชน
ที่เป็นมวลชนเสื้อแดงส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดที่เข้าร่วมการชุมนุมกับ
นปช.
เป็นประชาชนที่มีเจตนาทางการเมืองสุจริตเท่าเทียมกับมวลชนเสื้อเหลืองทั้ง
ยังเป็นที่เห็นได้ชัดจากข้อมูลหลักฐานจำนวนมากว่ามิได้เคลื่อนไหวปฏิบัติการ
ด้วยอาวุธและความรุนแรง
กิจกรรมการ
แสดงออกทางการเมืองของประชาชนเสื้อแดงผู้เข้าร่วมชุมนุมส่วนใหญ่ประกอบด้วย
การร่วมฟังคำปราศรัยและการเคลื่อนขบวนมวลชนไปตามเส้นทางสาธารณะโดยปราศจาก
อาวุธและโดยการแจ้งเรื่องประสานงานกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจ
เสมอมา (โดยที่แกนนำ นปช. ก็มิได้ประกาศสั่งการให้คนของตนดำเนินวิธีที่รุนแรงผิดกฎหมายตอบโต้กับผู้ใช้อำนาจรัฐ
แม้แต่ในช่วง ๒-๓ วันสุดท้ายของการชุมนุมในกลางเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓)
มวลชนเสื้อ
แดงเหล่านี้ไม่ต้องการกฎหมายนิรโทษกรรมเนื่องจากเป็นมวลชนที่มิได้เป็นผู้
กระทำความผิดจึงไม่ต้องการการงดเว้นการลงโทษด้วยกฎหมายนิรโทษกรรม
อย่างไรก็ตาม
คนเสื้อแดงจำนวนมากถูกกระบวนการทางการเมืองของรัฐใช้อำนาจกล่าวหาว่าเป็นผู้กระทำความผิดหรือสนับสนุนการกระทำความผิดของผู้อื่น โดยมีฐานความผิดจากกฎหมาย ๔ ส่วนเกี่ยวข้องกับการตั้งข้อกล่าวหา
คือ (๑) พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (๒)
พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (๓) ประมวลกฎหมายอาญา และ (๔) กฎหมายพิเศษอื่น ๆ
ที่มีระวางโทษสูงต่ำต่างกัน
การถูกตั้งข้อกล่าวหาดำเนินคดีทางกฎหมายทั้งที่มิได้กระทำความผิดเป็นการถูกทำให้มีมลทินทางกฎหมายและทางการเมือง
คนเสื้อแดงจำนวนมากถูกกระบวนการทางการเมืองในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ใช้อำนาจของกระบวนการยุติธรรมบริหารจัดการให้คนเสื้อแดงต้องมี
“มลทิน”
ตั้งแต่การถูกตั้งข้อกล่าวหาจนถึงขั้นตอนที่มีการสั่งการให้ควบคุมตัวไว้ใน
เรือนจำเป็นเวลานานแรมปีโดยไม่ได้รับการอนุญาตให้ประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่ว
คราวเหมือนกรณีแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ได้รับการผ่อนปรนให้
ประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราวแม้ในคดีที่แกนนำพันธมิตรถูกตั้งข้อกล่าวหา
ร้ายแรงตามประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายพิเศษอื่นที่มีระวางโทษสูง
คน
เสื้อแดงเหล่านี้
(ทั้งส่วนที่ถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำและส่วนที่ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
มาก่อนแล้วจำนวนหนึ่ง)
คือผู้บริสุทธิ์ที่ถูกสร้างมลทินให้แปดเปื้อนโดยการใช้อำนาจทางการเมืองของ
รัฐ
คนเสื้อแดงเหล่านี้ควรได้รับการเยียวยาล้างมลทินทางการเมืองให้ด้วยการใช้
อำนาจของรัฐตรากฎหมายล้างมลทินที่มีข้อความระบุว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นบุคคล
ที่
“เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการตั้งข้อกล่าวหานั้นมาก่อนเลย”
ถ้าหากเป็นกรณีข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามกฎหมายสองฉบับ คือ พระราชบัญญัติความมั่นคงฯและพระราชกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉินฯ[i]
หรือข้อกล่าวหาอื่นที่มีระวางโทษไม่สูงกว่า ; หาก
เป็นข้อกล่าวหาที่มีระวางโทษสูงกว่านั้น,
คนเสื้อแดงที่ถูกกล่าวหาและจองจำไว้ดังกล่าวควรได้รับความเป็นธรรมเท่าเทียม
กับแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯที่ศาลอนุญาตให้ประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อ
ต่อสู้คดีตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
ข้อกฎหมายนิรโทษกรรมให้ผู้กระทำผิดที่เข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองโดยสุจริต
และข้อกฎหมายล้างมลทินให้ผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองที่ตกเป็น
“เหยื่อ” ของการกล่าวหาว่ากระทำผิด
เป็นข้อกฎหมายสองกรณีที่สามารถบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับเดียวกัน
และสามารถพิจารณาใช้เป็นคุณทั้งต่อผู้ชุมนุมเสื้อเหลืองและผู้ชุมนุมเสื้อแดง
โดยสามารถพิจารณาให้ประโยชน์แก่ประชาชนแต่ละรายบุคคลตามแต่กรณีข้อเท็จจริงที่ปรากฏ เช่น
หากข้อเท็จจริงปรากฎว่าเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายข้างต้นก็เข้ากรณีนิรโทษกรรม
(ทั้งนี้ไม่เลือกว่าจะเป็นเสื้อเหลืองหรือแดง)
หรือ
หากข้อเท็จจริงปรากฎว่าเป็นผู้ถูกกล่าวหาโดยไม่มีมูลความจริงเพียงพอว่าเป็น
ผู้กระทำผิดกฎหมายข้างต้นก็เข้ากรณีล้างมลทิน
(ทั้งนี้ไม่เลือกว่าจะเป็นเสื้อเหลืองหรือเสื้อแดง)
การพิจารณาข้อเท็จจริงแต่ละกรณีว่าเข้าข่ายนิรโทษกรรมหรือล้างมลทินเป็นการ
พิจารณาที่สามารถดำเนินการได้โดยอาศัยบุคคลากรตามกระบวนการยุติธรรมปกติ
( พนักงานสอบสวน อัยการ ทนายและศาล)
ทั้ง
นี้โดยไม่จำเป็นต้องจัดตั้งองค์กรพิเศษเพิ่มเติม
ข้อกฎหมายนิรโทษกรรมและข้อกฎหมายล้างมลทินประกอบกันในกฎหมายฉบับดังกล่าว
ที่คนเสื้อเหลืองและคนเสื้อแดงสามารถใช้เป็นคุณแก่ตนตามแต่กรณีน่าจะสามารถ
สร้างกลไกทางจิตวิทยามวลชนและผลต่อเนื่องเป็นรูปธรรมทางปฏิบัติให้เกิดการ
ประสานความรู้สึกปรองดองระหว่างประชาชนที่เคยขัดแย้งกันให้สามารถหวนกลับ
เป็นมิตรและต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการสร้างสรรค์พัฒนาประเทศร่วมกัน
ต่อไป
กลไก
ทางจิตวิทยาสังคมที่ระดับมวลชนรากฐานดังกล่าวรวมทั้งรูปธรรมทางปฏิบัติเพื่อ
ขยายผลการปรองดองแห่งชาติต่อไปน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการทางการเมืองที่
เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน
ที่ต้องการทั้งฝ่ายการเมืองที่สามารถนำนโยบายทางการเมืองการบริหารที่สอด
คล้องกับทิศทางประชาคมโลกไปปฏิบัติ
และการมีส่วนร่วมทางการเมืองจากประชาชนกลุ่มต่าง
ๆ ที่สามารถมีความคิดความเห็นอันแตกต่างหลากหลาย
แต่เป็นประโยชน์ต่อการประมวลสังเคราะห์หาข้อสรุปแนวทางปฏิบัติต่าง
ๆ ร่วมกันตามกลไกการเมืองระบอบรัฐสภาที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นในอนาคตต่อไป @
[i] ประเด็นข้อกฎหมายกฎหมายดังกล่าวสามารถรวมอยู่ในร่างกฎหมายฉบับเดียวกัน (พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด) ที่อาจเรียกชื่อว่า “ ............ นิรโทษกรรมและล้างมลทินผู้ชุมนุมทางการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๓ พุทธศักราช ๒๕.....” โดยมีเนื้อหาที่สำคัญได้แก่ (๑) ที่มา เหตุผลและวัตถุประสงค์ของกฎหมาย (๒) คำจำกัดความ (๓) บทบัญญัติว่าด้วยการนิรโทษกรรมกรณีผู้กระทำผิดกฎหมายในขอบเขตที่นิรโทษกรรมได้ และ (๔) บทบัญญัติว่าด้วยการล้างมลทินให้ผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดแต่รัฐไม่มีหลักฐานเพียงพอในการดำเนินคดีต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น