ในห้วงเวลาตั้งแต่เริ่มมีการให้ว่าที่ผู้สมัครเริ่มแนะนำตัวได้นั้นเราจะ ได้เห็นวาทะกรรมต่างๆที่ออกมาโดยมากจะออกมาจากทางฝั่งของผู้สนับสนุนพรรคประ ชาธิปัตย์ เช่น
"หากท่านเห็น
แก่บ้านเมือง ท่านต้องออกไปใช้สิทธิ์ออกเสียงลงคะแนนให้คุณชายสุขุมพันธุ์
มิฉะนั้นเราอาจจะ เสียกรุงเทพ ฯ ให้แก่ข้าศึก.."
วสิษฐ เดชกุญชร, 21 ม.ค.56
"..บ้านเมืองต้องไม่ชั่วร้ายไปกว่านี้ ผมจำต้องเลือกคุณชายสุขุมพันธุ์เป็น "ไม้กันหมา"
ปู จิตกร บุษบา, 25 ม.ค.56
“ 3 มีนา
ตั้งใจไว้แล้ว ต้องไปกาเบอร์16 ไม่ได้พิศวาสอะไร
กับหม่อมสุขุมพันธ์เป็นพิเศษหรอก แต่เกลียดคนพรรคเผาไทยเป็นพิเศษ
เป็นตายร้ายดียังไง ต้องต่อต้านไม่ให้พวกมึงมายึดกรุงเทพฯของเรา
เพราะการเลือกตั้งครั้งนี้ ไม่ใช่เลือกผู้ว่ากทม. เท่านั้น สำหรับพวกมัน
มันเป็นสงครามยึดประเทศไทยเลยเชียวแหละ หมู่นี้เริ่มรำคาญพวกที่ชอบพูดว่า
ไม่เลือกสุขุมพันธ์เพราะแก่ เพราะอุ้ยอ้าย เพราะพูดไม่เก่ง
.....ห่......เอ้ย 3มีนา เขาให้มึงหาคนมาเป็นผู้ว่าฯนะโวย
ไม่ได้ให้มึงมาหาผัว”
หรือในกรณีล่าสุดที่นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปปัตย์เอง ได้ออกมากล่าวเองว่า จะให้กรุงเทพเป็นเมืองขึ้นหรือเมืองหลวง สุขุมพันธุ์ กับประชาธิปัตย์ ปกป้องทุกอย่างให้กรุงเทพเป็นเมืองหลวงไม่ใช่เมืองขึ้นใครทั้งสิ้นวาทกรรมดังกล่าวข้างต้นสะท้อนให้เห็นอะไร ? สะท้อนให้เห็นถึงความคิดเมื่อยุคสมัยหลายร้อยปีที่ผ่านมากล่าวคือ เมื่อเสียเมืองหลวงแล้วย่อมจะแพ้สงครามทันที แต่สิ่งที่ผู้กล่าวเหล่านั้นคงหลงลืมไปว่า การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้นกฎหมายได้กำหนดไว้ว่าผู้ ว่าราชการกรุงเทพมหานครมาจาก การเลือกตั้ง
ปัญหาที่ต้องนำมาพิจารณากันต่อคือสถานะของกรุงเทพมหานครทั้งในทางกฎหมาย และในทางความคิดหรือจินตนาการว่าแท้จริงแล้วกรุงเทพมหานครมีสถานะอย่างไรกัน แน่
ในทางกฎหมายกรุงเทพมหานครมีฐานะเป็นเพียงแค่ องค์กรปกครองส่วนื้องถิ่นรูปแบบพิเศษเท่านั้น โดยที่ในปี พ.ศ. 2518 ได้มรการตราพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครขึ้นและเปลี่ยน สถานะจากหน่วยราชการกึ่งภูมิภาคมาเป็นราชการส่วนท้องถิ่นแบบเต็มรูปแบบ สถานะของกรุงเทพมหานครจึงเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้มีความหมายหรือสัญลักษณ์อะไรที่มากมายไปกว่านั้น อาจะเป็นเพราะตัวกรุงเทพมหานครเองมีสถานะอีกอย่างนั่นคือการเป็นเมืองหลวง ของประเทศไทยจึงทำให้มีการเข้าใจกันไปแบบผิดๆว่าแท้จริงแล้วกรุงเทพคือ ประเทศไทย ซึ่งผู้เขียนยืนยันเลยว่ากรุงเทพมหานครมีสถานะที่ไม่แตกต่างจากองค์การ บริหารส่วนจังหวัดแต่ที่มีสถานะพิเศษนั่นเป็นเพราะมีความเป็นเมืองหลวงอยุ่ ในตัว
กลับมาสู่วาทกรรมต่างๆที่ออกมาจากวาทกรรมที่ผู้เขียนได้ยกมาจะเห็นได้ว่า มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนหรือแท้จริงแล้วเข้าใจแต่แสร้งทำเป็นไม่เข้าใจ เกี่ยวกับการเมืองในระบอบประชาธิปไตยยแบบผู้แทน หรือ การเลือกตั้ง การเลือกตั้งในระบบสากลนั้นยึดถือหลัก หนึ่งคนหนึ่งเสียงหรือ one man one vote หมายความว่าไม่ว่าคุณจะเป็นใครอยู่ในฐานะหรือศักดินาเท่าไหร่คุณก็มีสิทธิ เลือกเพียงแค่หนึ่งคะแนน ไม่มีสิทธิมากหรือน้อยไปกว่านั้น เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาทุกคนก็ต้องเคารพผลการเลือกตั้งที่ทาง กกต ได้ประกาศรับรอง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการเลือกตั้ง
ประเด็นปัญหาที่สำคัญจากวาทกรรมดังกล่าวคือ การเสียเมืองให้ศัตรู ผู้เขียนแทบไม่เชื่อว่ายังมีแนวคิดแบบนี้หลงเหลืออยู่ในรัฐสมัยใหม่ที่ ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ การเลือกตั้งนั้นเป็นการออกมาเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของแต่ละปัจเจกว่าต้องการ เลือกผู้ใดหรือลงคะแนนให้ใคร เป็นการใช้อำนาจอธิปไตยที่ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันในการตัดสินใจตาม แบบที่ ฝรั่งเรียกว่า souveraineté populaire
แล้วการนิยามคำว่าศัตรูคืออะไรและใคร ในที่นี้เข้าใจได้ว่าหมายถึงผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย นอกจากนั้นยังหมายความรวมถึงผู้ที่คิดจะลงคะแนนให้พรรคเพื่อไทยและอาจหมาย รวมไปถึงผู้สมัครอิสระคนอื่นๆ หากมองในแง่ของความเป็นรัฐชาติแล้วการแสดงออกซึ่งเจตนารมณ์ในการเลือกผู้แทน ย่อมที่จะไม่ได้หมายความว่าเป็นมิตรหรือเป็นศัตรู ดังที่คิดกันแต่มันคือเสน่ห์ของระบอบประชาธิปไตยที่ตั้งอยู่บนความหลากหลาย ของความคิดเห็น การจะนิยาม ข้าศึกหรือศัตรูกับผู้มีสิทธิเลือกตั้งนั้นย่อมเป็นข้อพิจารณาที่ค่อนข้าง คับแคบและขาดความเข้าใจในการปกครองระบอบประชาธิปไตย
ขากหัวบทความจะเห็นว่าผู้เขียนเลือกที่จะใช้หัวเรื่องว่าประเทศไทยไม่ใช่ กรุงเทพ หมายความว่า ไม่ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาเช่นไร ประเทศไทยก็ไม่ได้ล่มสลายไปตามผลการเลือกตั้ง แน่นอนว่าเมื่อคนที่ต้องการไม่เข้าวิน ย่อมเกิดความผิดหวังต่อการลงคะแนนแต่ก็ต้องเคารพกติกาของการลงคะแนนเช่นกัน ว่าเมื่อเสียงส่วนใหญ่เลือกแล้วก็ควรที่จะเคารพจะไปกำหนดกะเกณฑ์ว่าเป็นข้า ศึกนั้นย่อมเป็นเรื่องที่ผิดวิสัย
ต่อประเด็นเรื่องการเป็นเมืองขึ้นผู้เขียนเข้าใจมาตลอดในการเรียนว่าการ เป็นเมืองขึ้นนั้นถูกยกเลิกไปตั้งแต่สมัยมีการปฏิรูประบบราชการ มีการสถาปนารัฐสมัยใหม่ขึ้น ปัญหาคือเป็นเมืองขึ้นของใคร ของพรรคเพื่อไทย ของทักษิณ หรือของใครกันแน่ ต้องเข้าใจก่อนว่า ผลการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยน แปลงแห่งอาณาเขตของรัฐแต่อย่างใดเป็นเพียงแค่การเปลี่ยนผู้บริหารเท่านั้น ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่านั้น และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครก็ไม่ใช่ตัวแทนอย่างเป็นทางการของรัฐไทยแต่ อย่างใด หากลองถามคนต่างชาติดูจะพบว่าเมื่อพูดถึงเมืองไทยสิ่งที่ชาวต่างขาติพูดเป็น อันดับแรกของการสนทนาคือเชียงใหม่และภูเก็ต ไม่ใช่กรุงเทพอีกต่อไป ภาพซ้อนของกรุงเทพและประเทศไทยคงเลือนหายไปตามบริบทแห่งกาลเวลาและความสำคัญ ในทางต่างประเทศ
ในส่วนของการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่กำลังจะถึงนี้ ประเด็นที่ผู้เขียนพบมากในโชเชี่ยลเนตเวิร์กคือการที่อยากให้ผู้ว่าราชการ กรุงเทพมหานครดำเนินการตามอำนาจที่มีเพื่อฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์ หลายแห่งที่สังกัด กทม ไม่ว่าจะเป็น พิพิธภัณฑ์เด็กเป็นต้น ซึ่งหากมีโอกาสผู้เขียนจะมาเล่าถึงการดำเนินการพิพิธภัณฑ์ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศในโอกาสต่อไป
การสร้างวาทกรรมให้เกิดความหวาดกลัวแก่การลงคะแนนให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด นั้นถือว่าเป็นการสร้างความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงต่อสาธารณชนซึ่งไม่ควรเกิด ขึ้นในสังคมประชาธิปไตย นอกจากนั้นการมองผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับตัวเองว่าเป็นข้าศึกหรือศัตรูของชาติ ยิ่งเป็นความคิดที่ล้าหลังอย่างมากจนไม่น่าเชื่อว่าบางความเห็นนั้นออกมาจาก นักการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่ยึดมั่นในหลักการรัฐสภา
สุดท้ายผู้เขียนอยากจะส่งสาสน์ไปถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งว่าขอให้เลือกคน ที่คิดว่าจะมีประโยชน์แก่ท้องถิ่นมากที่สุดอย่าเลือกเพราะความสงสารเพราะ อคติเพราะความหวาดกลัวอีกฝ่ายไม่อย่างนั้นสังคมเราจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้หาก มีการส้รางวาทกรรมแห่งความหวาดกลัวยัดเยียดเข้าหัวประชาชนอยู่เสมอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น