ร่าง
กฎหมายนี้
เพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ริเริ่มและควรมีสาระบัญญัติทั้งส่วนที่เป็น
การนิรโทษกรรมให้ผู้กระทำผิด
และส่วนที่เป็นการล้างมลทินให้ผู้บริสุทธิ์รวมอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกัน
โดยเป็นกฎหมายที่มีขอบเขตครอบคลุมการกระทำของประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทางการ
เมืองเท่านั้น
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วรพล พรหมิกบุตร
ผู้ เขียนติดตามข้อเสนอแนวทางการปรองดองเพื่อคลี่คลายความขัดแย้งและความรุนแรง ทางการเมืองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจรัฐกับการชุมนุมของประชาชนในช่วง รัฐบาลชุดต่าง ๆ ที่คาราคาซังอยู่ตลอดหลายปีที่ผ่านมา และเห็นด้วยว่าการสร้างความปรองดองด้วยวิธีการตรากฎหมายรองรับเป็นแนวทางที่ สามารถพัฒนาสร้างภาวะปรองดองในวงกว้างต่อไปได้ และได้ดีกว่าการ “เกี้ยเซียะ” และ/หรือการบังคับปรองดอง
ข้อเสนอร่างกฎหมายของแต่ละกลุ่มเท่าที่ปรากฎควรแก่การพิจารณาและควรพิจารณา อย่างจริงจังรอบคอบว่าสมเหตุสมผลและทำได้ในทางปฏิบัติมากน้อยต่างกันเพียงใด
ผู้ เขียนเสนอความเห็นเกี่ยวกับการร่างกฎหมายเพื่อการปรองดองของประชาชนต่อ สมาชิกรัฐสภาผ่าน ดร. พีรพันธุ์ พาลุสุข สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และผ่านสำนักงานเลขาธิการของทั้งสองสภาไปแล้วเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีฐานความคิดที่สรุปมาจากรายละเอียดข้อเท็จจริงภาคสนามว่าประชาชนกลุ่ม ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองที่มีความขัดแย้งและความรุนแรงเป็น องค์ประกอบเหตุการณ์นั้นอาจจำแนกได้เป็นประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นเหยื่อ ของการกระทำรุนแรงและประชาชนที่สถานการณ์บีบบังคับให้กลายเป็นผู้ร่วมกระทำ ผิดหรือผู้สนับสนุนการกระทำความผิดตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุมที่จัดโดยแกนนำเสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อหลากสี หรือเสื้อไม่ระบุสีกลุ่มอื่น ๆ ต่างก็มีองค์ประกอบของประชาชนสองแบบนี้รวมอยู่ด้วยกัน แต่มีสัดส่วนมากน้อยต่างกันตามข้อเท็จจริงเหตุการณ์ที่ปรากฎ
การ ร่างและผ่านกฎหมายเพื่อผ่อนคลายแรงกดดันทางการเมืองและชนักติดหลังทางกฎหมาย ให้แก่ประชาชนเหล่านี้เป็นสิ่งที่หลักนิติธรรมอนุญาตให้ทำได้ และตัวแทนของประชาชนในรัฐสภาซึ่งใช้อำนาจนิติบัญญัติแทนประชาชนควรต้องทำ ให้สำเร็จโดยเร็วเพื่อผลประโยชน์ของชาติต่อไป
หลัก นิติธรรมอนุญาตให้สังคมออกกฎหมายงดเว้นโทษให้แก่ผู้กระทำความผิดที่สังคม เห็นว่าสมควรงดเว้นโทษให้ กฎหมายดังกล่าวคือกฎหมายนิรโทษกรรม การออกกฎหมายนิรโทษกรรมยังคงเป็นการยืนยันว่ามีการกระทำความผิดเรื่อง นั้นเกิดขึ้นแต่สังคมเห็นว่าผู้กระทำผิดสมควรได้รับการงดเว้นไม่ต้องถูกลง โทษด้วยเหตุผลที่ต้องมีรองรับหนักแน่นเพียงพอ ประชาชนผู้ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญเข้าร่วมชุมนุมทางการเมืองไม่ว่ากับแกนนำ ฝ่ายใดแล้วกลับต้องตกเป็นผู้กระทำผิดด้วยตนเอง ผู้ร่วมกระทำผิดกับผู้อื่น หรือผู้สนับสนุนการกระทำผิดของผู้อื่น เป็นประชาชนที่อยู่ในข่ายการนิรโทษกรรมหากสังคมเห็นว่ามีเหตุและผลเพียงพอ ที่จะงดเว้นการลงโทษให้ ผู้เขียนเห็นว่าประชาชนสามารถร่วมกันเรียกร้องตัวแทนของตนในรัฐสภาให้ร่าง และผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมให้ประชาชนผู้กระทำผิดเหล่านั้น
การ กระทำผิดของประชาชน (ทุกกลุ่มสี) ผู้ร่วมชุมนุมทางการเมืองที่เกี่ยวข้องมีบทบัญญัติของกฎหมาย 4 ส่วนให้พิจารณา คือ (1) พรบ. ความมั่นคงฯ (2) พรก. สถานการณ์ฉุกเฉินฯ (3) ประมวลกฎหมายอาญา และ (4) กฎหมายพิเศษต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายจราจร กฎหมายฟอกเงิน ข้อผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการก่อการร้ายสากล เป็นต้น
ความร้ายแรงของความผิดและระวางโทษตามข้อกฎหมายแต่ละเรื่องมีระดับหนักเบา ต่างกันโดยพิจารณาได้จากจำนวนเชิงปริมาณของการลงโทษที่กฎหมายเรื่องนั้น ๆ กำหนด ผู้เรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมจึงควรยอมรับด้วยว่าการนิรโทษกรรมให้แก่ทุก ฐานความผิดเป็นไปได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ ทั้งยังอาจกลายเป็นการขัดต่อหลักนิติรัฐนิติธรรม แทนที่จะเป็นไปตามหลักนิติธรรมตามที่ต้องการ สังคมไทยปัจจุบันจะต้องเสวนาหารือกันให้ครบถ้วนรอบด้านเพื่อสรุปขอบเขตของ การกระทำผิดอันเกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองที่ผ่านมาว่าฐานความผิด ใดเป็นฐานความผิดที่สมควรงดเว้นโทษให้แล้วจึงนำฐานความผิดนั้นไปตราไว้ใน กฎหมายนิรโทษกรรม
ประชาชน ผู้บริสุทธิ์ยังอาจจำแนกออกได้เป็นส่วนย่อยอีก 2 ส่วน คือ (1) ประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ถูกดำเนินการทางกฎหมายหรือไม่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ดำเนินคดีใด และสามารถใช้ชีวิตอิสระตามปกติหลังการชุมนุม และ (2) ประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่ถูกดำเนินการทางคดีโดยการใช้อำนาจรัฐ ; ประชาชนทั้งสองส่วนนี้ไม่ใช่ผู้กระทำความผิดตามกฎหมายใดจึงไม่ต้องมีกฎหมาย นิรโทษกรรมงดเว้นโทษให้เหมือนกลุ่มประชาชนที่กระทำความผิดข้างต้น
การร่างและผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมแต่เขียนข้อความคลุมเครือไปครอบคลุมบุคคล เหล่านี้ด้วยกลับกลายเป็นการตั้งฐานความคิดว่าประชาชนทุกคนในที่ชุมนุมทุก ครั้งที่ผ่านมาล้วนเป็นผู้กระทำความผิด ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าไม่ใช่เช่นนั้น ประชาชนผู้บริสุทธิ์ส่วนที่สองนี้เป็นผู้ถูกคุกคามให้กลายเป็นผู้มีมลทิน โดยผู้มีอำนาจรัฐที่ใช้ประโยชน์จากกระบวนการยุติธรรมของรัฐกล่าวหา จับกุม คุมขัง และดำเนินคดีต่อประชาชน จนอาจถึงขั้นการพิพากษาลงโทษไปบ้างแล้วบางส่วน ประชาชนผู้บริสุทธิ์แต่ถูกอำนาจรัฐสร้างมลทินให้เหล่านี้ต้องการกฎหมายล้าง มลทินให้การรับรองเป็นลายลักษณ์อักษรทางกฎหมายว่าเป็นผู้บริสุทธิ์และควร ต้องถือเสมือนเป็นผู้ไม่เคยถูกกล่าวหาดำเนินคดีโดยรัฐในเรื่องนั้นเลย รวมทั้งควรได้รับการเยียวยาจากรัฐตามระดับหนักเบาของมลทินที่ผู้ใช้อำนาจ รัฐก่อให้เกิดแก่ชีวิตของพวกเขาและเธอ
ร่าง กฎหมายเพื่อการปรองดองของประชาชนตามที่ผู้เขียนเสนอความเห็นนี้เป็นร่าง กฎหมายที่ผู้เขียนเห็นว่าควรให้ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ริเริ่มและควรมีสาระ บัญญัติทั้งส่วนที่เป็นการนิรโทษกรรมให้ผู้กระทำผิดและส่วนที่เป็นการล้าง มลทินให้ผู้บริสุทธิ์รวมอยู่ในกฎหมายฉบับเดียวกัน โดยเป็นกฎหมายที่มีขอบเขตครอบคลุมการกระทำของประชาชนผู้ร่วมชุมนุมทางการ เมืองเท่านั้น กล่าวคือ ประโยชน์ของกฎหมายดังกล่าวนี้ไม่ครอบคลุมให้ประโยชน์แก่ผู้กระทำความผิดที่ เป็นผู้ใช้อำนาจรัฐและไม่ครอบคลุมให้ประโยชน์แก่ผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ จัดการชุมนุมหรือผู้เป็นแกนนำสั่งการเคลื่อนไหวการกระทำของประชาชนผู้ร่วม การชุมนุม
สำหรับฐานความผิดอื่น ๆ ที่กฎหมายอาจไม่นิรโทษกรรมให้นั้น ผู้เขียนเห็นว่าผู้ถูกกล่าวหาทุกกลุ่มและทุกสถานะ ไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป แกนนำมวลชน รวมทั้งผู้ใช้อำนาจรัฐที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดโดยมีหลักฐานข้อเท็จจริงรอง รับเพียงพอแก่เหตุ ยังสมควรต้องได้รับสิทธิการปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อต่อสู้คดีตามกระบวนการ ยุติธรรมปกติต่อไป
ซึ่ง ผู้เขียนเห็นว่าศาลควรแสดงให้สังคมเห็นการใช้ดุลยพินิจที่บ่งบอกถึงภาวะ “ความเท่าเทียมเสมอภาคทางกฎหมายที่รับรู้รูปธรรมได้” มากกว่าระดับที่เป็นอยู่ในช่วงที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น