อุกกาบาต DA14 เคลื่อนผ่านโลกไปเมื่อคืนที่ผ่านมา
โดยอยู่ห่างจากโลกเพียงแค่ 27,700 กิโลเมตรเท่านั้น ขณะที่
สำนักข่าวของรัสเซียก็เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมของเหตุการณ์สะเก็ดอุกกาบาต
พุ่งชนพื้นที่ทางตอนกลางของประเทศ โดยระบุว่า สะเก็ดอุกกาบาตที่ตกลงมานั้น
มีมวลรวมกันกว่า 10 ตัน
สำนักข่าวรัสเซีย
ทูเดย์เปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเหตุการณ์สะเก็ดอุกกาบาต
ตกใส่พื้นโลก บริเวณตอนกลางของประเทศรัสเซียเมื่อวานที่ผ่านมา(15 ก.พ.)
จนทำให้มีผู้บาดเจ็บมากกว่า 1,200 คน โดยระบุว่า
สะเก็ดอุกกาบาตที่ตกลงมานั้น มีมวลรวมกันมากถึง 10 ตัน
ซึ่งสะเก็ดชิ้นที่ใหญ่ที่สุด เกิดระเบิดที่ชั้นบรรยากาศโลก
จนเกิดเป็นสะเก็ดอุกกาบาตชิ้นเล็กๆ ขณะที่ ชิ้นที่ใหญ่ที่สุด
มีเส้นผ่านศูนย์กลางกว้างหลายเมตร โดยประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว
จะได้ยินเสียงดังสะหนั่น
และสัมผัสได้กับแรงสั่นสะเทือนคล้ายกับแผ่นดินไหวอีกด้วย
ขณะที่เจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารการบิน
และอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ หรือนาซา ก็ได้ระบุว่า การระเบิดของอุกกาบาต
ทำให้เกิดการปล่อยพลังงานในชั้นบรรยากาศโลกมากถึง 300 กิโลตัน
โดยหลายฝ่ายได้ออกมาแสดงความกังวลว่า
อาจมีกัมมันตรังสีหลงเหลืออยู่จากการระเบิดของอุกกาบาตดังกล่าว
แต่ทางการรัสเซียยืนยันว่า กัมมันตรังสีที่ตกค้างอยู่นั้น
ไม่ได้มีปริมาณมากจนก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์
โดยเหตุการณ์สะเก็ดอุกกาบาตพุ่งชนโลกใน
ครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนหน้าที่อุกกาบาต DA 14
เคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดเพียงไม่ถึง 1 วัน
ซึ่งนักดาราศาสตร์ได้ออกมายืนยันแล้วว่า
สะเก็ดอุกกาบาตที่พุ่งชนโลกไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์อุกกาบาต DA 14
เคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดแต่อย่างใด
ซึ่งอุกกาบาต DA 14
ที่มีขนาดเท่ากับสระว่ายน้ำโอลิมปิก
ได้เคลื่อนเข้ามาใกล้โลกมากที่สุดเมื่อเวลา 2.30 น. ตามเวลาในประเทศไทย
โดยอยู่ห่างจากโลกไปแค่ 27,700 กิโลเมตรเท่านั้น และเคลื่อนด้วยความเร็ว
7.87 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งขณะนี้ มันกำลังโคจรเข้าไปหาดวงอาทิตย์
โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ทางภาคตะวันออกของ
ทวีปยุโรป ทวีปเอเชีย และประเทศออสเตรเลีย
สามารถมองเห็นอุกกาบาตนี้โดยใช้กล้องดูดาวธรรมดาๆ ขณะที่ องค์การนาซา
ก็ได้เป็นเจ้าภาพในการถ่ายทอดสดผ่านอินเทอร์เน็ต
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถมองเห็น
ปรากฏการณ์ดังกล่าวได้
ทางด้านของนักดาราศาสตร์จากมหาวิทยาลัย
ควีนส์ ในไอร์แลนด์เหนือเปิดเผยว่า อุกกาบาตลูกนี้
ถือว่าเป็นอุกกาบาตที่เคลื่อนเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 30 ปี ดังนั้น
จึงเป็นโอกาสสำคัญ
ที่นักดาราศาสตร์จะได้ศึกษาการเคลื่อนตัวของมันอย่างใกล้ชิด
by
Sutthiporn
16 กุมภาพันธ์ 2556 เวลา 10:56 น.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น