ระยะนี้เรื่องสำคัญทางการเมืองที่ทุกฝ่ายจับตามองมากที่สุด คงหนีไม่พ้นเรื่องกฎหมายนิรโทษกรรม โดยจุดร่วมอย่างหนึ่งคือ มีเป้าหมายการนิรโทษกรรมให้กับผู้ต้องหาทางการเมืองหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ภายหลังจากความพยายามผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรมเมื่อปีที่ผ่านมาประสบความ ล้มเหลว
เราขอย้อนไปถึงกฎหมายนิรโทษกรรมในอดีต เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายนิรโทษกรรมที่กำลังแข่งขันกันนำเสนอจากหลายฝ่ายในขณะนี้
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มีการออกกฎหมายนิรโทษกรรม 22 ฉบับ (ไม่ขอนับ พ.ร.บ.อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นเพียง พ.ร.บ. ที่รับรอง พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ.2488 และ พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2502 ซึ่งเป็นเพียงร่างแก้ไข พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ. 2499 เท่านั้น)
โดยแบ่งออกเป็น พ.ร.ก. 4 ฉบับ, พ.ร.บ. 17 ฉบับ และรัฐธรรมนูญ 1 ฉบับ
สาระสำคัญของ กม.นิรโทษกรรม ทั้ง 22 ฉบับคือ การนิรโทษกรรมให้กับการกระทำผิดต่างๆ โดยแบ่งออกเป็น
- ความผิดฐานเปลี่ยนแปลงการปกครอง 1 ฉบับ
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน พ.ศ.2475
- ความผิดฐานก่อกบฏ 6 ฉบับคือ
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ.2488
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในโอกาสครบ 25 พุทธศตวรรษ พ.ศ.2499
พ.ร.บ.ยกเลิกคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติที่ 36/2515 ลงวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2515
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 25 และวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2520
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 8 และวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2528
- ความผิดจากการก่อรัฐประหาร 9 ฉบับคือ
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมในการจัดการให้คณะรัฐมนตรีลาออกเพื่อให้มีการเปิดสภาผู้แทน ราษฎรตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2476
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ.2490
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ที่ได้นำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2475 กลับมาใช้ พ.ศ.2494
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ.2500
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2501
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการปฏิวัติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ.2514
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองประเทศ เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2520
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550
- ความผิดจากการต่อต้านสงครามของญี่ปุ่น 1 ฉบับคือ
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการต่อต้านการดำเนินการสงครามของญี่ปุ่น พ.ศ.2489
- ความผิดจากการชุมนุมทางการเมือง 4 ฉบับคือ
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่นักเรียนนิสิต นักศึกษาและประชาชน ซึ่งกระทำความผิดเกี่ยวเนื่องกับการเดินขบวนเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ.2516
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมในมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์ระหว่างวันที่ 4 ถึงวันที่ 6 ตุลาคม 2519
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการยึดและควบคุมอำนาจการปกครองแผ่นดิน เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2534
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ.2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2535
- ความผิดจากการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ 1 ฉบับคือ
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำการอันเป็น ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญาและความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทำอันเป็น คอมมิวนิสต์ พ.ศ.2532
เมื่อพิจารณาจากกฎหมายนิรโทษกรรมที่ผ่านมาจะเห็นว่า ส่วนใหญ่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับการก่อรัฐประหารที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งมักจะออกกฎหมายกันเกือบจะในทันที ส่วนผู้แพ้มักจะได้รับการนิรโทษกรรมในภายหลัง บางกรณีกว่าจะได้รับการนิรโทษกรรมก็ผ่านไปนานถึง 12 ปีก็มี
เนื่องจากเกือบ 2 ปีที่ผ่านมามีการนำเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมออกมาจากหลายฝ่าย ผู้เขียนจึงขอเปรียบเทียบกฎหมายนิรโทษกรรมที่น่าสนใจ และเปรียบเทียบกฎหมายนิรโทษกรรมเหล่านี้กับกฎหมายนิรโทษกรรมในอดีต
กฎหมายนิรโทษกรรม ปี 2555
ปี 2555 มีการนำเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมจากหลายฝ่าย แต่เป็นการมาอย่าง "ฉุกละหุก" เพราะไม่มีการเตรียมการล่วงหน้ามาก่อน จะด้วยความหวังดีหรือด้วยการเตะสกัดร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาลก็สุดแท้ แต่มุมมอง แต่การนำเสนอ กฎหมายนิรโทษกรรมครั้งนี้ ถือเป็นครั้งที่สร้างความขัดแย้งมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และยังสร้างความด่างพร้อยให้กับรัฐสภาไทยอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การนำเสนอกฎหมายนิรโทษกรรมในครั้งนี้มีหลายฉบับ แต่ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่น่าสนใจ 3 ฉบับเท่านั้นปลายเดือน พ.ค. 2555 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน นำเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. .... ในระหว่างช่วงการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล โดยอ้างเรื่องการสร้าง "ความปรองดอง" ให้กับประชาชนในชาติ โดยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า
"ให้บรรดาการกระทำใดๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมืองตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน พ.ศ.2548 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 หากมีการกระทำที่เป็นความผิดตามกฎหมาย ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปและให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้ กระทำความผิดและความรับผิดชอบโดยสิ้นเชิง
การกระทำตามวรรคหนึ่งให้หมายความถึงการกระทำของบุคคล ดังต่อไปนี้
- การกระทำทั้งหลายของบุคคลที่เกิดจากการ
ชุมนุมทางการเมือง หรือการแสดงออกทางการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามการชุมนุม
การกล่าววาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีใดเพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ
การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือการประท้วงด้วยวิธีใดๆ
อันเป็นการกระทบต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่นซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อ
เนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง
- การกระทำทั้งหลายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือบุคคลใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการป้องกันระงับหรือปราบปราม ในเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมือง หรือการกระทำใดที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าว
จากสาระในมาตรานี้ ชัดเจนว่า ร่าง
พ.ร.บ.ฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" คือ
นิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุม/แกนนำทุกเสื้อสี/เจ้าหน้าที่รัฐ
ทั้งคดีทางอาญา/แพ่ง เป็นการนิรโทษกรรมที่มีกรอบระยะเวลายาวนานที่สุดใน
ประวัติศาสตร์คือ เกือบ 5 ปี 7 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่การชุมนุมของ พธม.
เพื่อต่อต้านรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 15 ก.ย. 48,
การก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ
(คมช.) ไปจนถึงการปราศรัยของ นปช. วันที่ 10 เม.ย. 54 ซึ่งต่อมา DSI
กล่าวหาว่า แกนนำ นปช. หลายคนกระทำการละเมิด ม.112
และการปราบปรามประชาชนในช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.53
นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับนี้ยังมีบางมาตราที่ดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ผู้คนพูดกันว่า
"วาระซ่อนเร้น" เพื่อนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และอดีตกรรมการจากหลายพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนสิทธิทางการ
เมืองเป็นเวลา 5 ปี เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 50 และ 2 ธ.ค. 51 รวมทั้งสิ้น 220
คน อีกด้วย
หลังการนำเสนอร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้
เกิดกระแสการต่อต้านอย่างหนักจากทุกฝ่าย ไม่เว้นแม้แต่คนเสื้อแดง
รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์ซึ่งหยิบยกบางมาตราซึ่งดูเหมือนจะเป็นการนิรโทษกรรม
ให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นข้ออ้างในการคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้
พรรคเพื่อไทยซึ่งกำลังลุ้นสุดชีวิตกับร่าง
แก้ไขรัฐธรรมนูญก็ต้องเกิดอาการสะดุด แม้จะรู้ว่า
เวลานี้ไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมในการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เข้าสู่สภา
แต่ก็ไม่อาจทัดทานกระแสดังกล่าวได้ จึงจำต้องนำเสนอร่าง
พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. .... เข้าสู่รัฐสภา
โดยมีเนื้อหาเหมือนกับร่าง พ.ร.บ. ของ พล.อ.สนธิ ทุกประการ ร่าง พ.ร.บ.
ของพรรคเพื่อไทย ถูกหลายฝ่ายมองว่า เป็นการ "เหยียบศพ"
คนเสื้อแดงเพื่อเป็นรัฐบาล เป็นการหักหลังคนเสื้อแดง
ด้วยเหตุนี้จึงมีร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ที่มีสาระในการนิรโทษกรรมให้กับทุกฝ่ายถูกบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาพร้อมกัน 2 ฉบับ
นปช. จึงจำต้องนำเสนอร่าง
พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ....
ของตนเองเข้าสู่รัฐสภาเช่นเดียวกัน โดยมีสาระสำคัญอยู่ในมาตรา 3
ซึ่งระบุว่า
"บรรดาการ
กระทำทั้งหลายของบุคคลที่มีมูลเหตุหรือสืบเนื่องมาจากการชุมนุม เรียกร้อง
หรือแสดงออกทางการเมืองไม่ว่าในรูปแบบหรือลักษณะใด
รวมถึงการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างวันที่
15 กันยายน พ.ศ. 2548 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554
หากการกระทำนั้นเป็นความผิดต่อกฎหมาย
ให้ถือว่าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดอีกต่อไปและให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด
และความรับผิดโดยสิ้นเชิง
หากผู้นั้นต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดไม่ว่าจะถูกคุมขังอยู่โดยหมาย
หรือคำสั่งของศาลหรือไม่ก็ตาม
ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด
หากถูกคุมขังอยู่ก็ให้ปล่อยตัวผู้นั้นไป
ถ้าผู้นั้นรับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษสิ้นสุดลง
การกระทำข้างต้นไม่รวมถึงการกระทำอันเป็นความผิดฐานก่อการร้าย และความผิดต่อชีวิต"
จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับนี้นิรโทษกรรมให้กับเฉพาะผู้ชุมนุมทุกเสื้อสี/แกนนำบางคน-บางคดี
ทั้งคดีทางอาญา/แพ่ง เช่น คดีหมายเลขดำที่ อ.3531/2552 ของศาลอาญา
ซึ่งแกนนำ นปช. 4 คนและพวกถูกกล่าวหาว่า มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป
และใช้กำลังประทุษร้าย เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 50 ที่หน้าที่พักของ พล.อ.เปรม
ติณสูลานนท์ รวมทั้งคดีที่แกนนำ นปช. หลายคนถูกกล่าวหาว่า
กระทำการหมิ่นประมาทอีกด้วย
ร่าง พ.ร.บ. ฉบับของ นปช.
นี้ไม่นิรโทษกรรมให้กับ "การก่อการร้าย" และ "ความผิดต่อชีวิต"
จึงไม่ใช่การนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" แบบร่าง พ.ร.บ. ของ พล.อ.สนธิ
และพรรคเพื่อไทย ผู้เขียนเห็นว่า แม้จะมีการแก้ไขเนื้อหาในบางมาตรา
แต่ก็ยังคงมีบางมาตราซึ่งดูเหมือนจะเป็น "วาระซ่อนเร้น"
เพื่อนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และอดีตกรรมการจากหลายพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนสิทธิทางการ
เมืองเช่นเดียวกับร่าง พ.ร.บ. ของ พล.อ.สนธิ และเพื่อไทย
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับนี้จะไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้ที่โดนข้อหา "ก่อการร้าย"
ซึ่งในขณะนั้นแกนนำ นปช. ถูกฟ้องในข้อหาก่อการร้ายจาก เหตุการณ์ เม.ย.-พ.ค.
53 แล้ว แต่สำหรับแกนนำ พธม. ยังไม่มีการฟ้องคดีแต่อย่างใด ดังนั้นหากร่าง
พ.ร.บ. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ และอัยการไม่สั่งฟ้องแกนนำ พธม.
ในข้อหาก่อการร้ายแล้ว พ.ร.บ. ฉบับนี้กลายเป็น "ตลกร้าย" สำหรับ นปช.
เพราะเป็นการนิรโทษกรรมให้กับแกนนำ พธม. ทั้งหมดแทน
นอกจากนี้ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับนี้ยังไม่สอดคล้องกับความ เป็นจริง โดยเฉพาะข้อหา "ก่อการร้าย" นั้น
ไม่ได้มีเฉพาะแกนนำ นปช. เท่านั้นที่ถูกฟ้อง แต่ผู้ต้องหาทางการเมืองหลายคน
โดยเฉพาะผู้ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำ 4 คนคือ วัลลภ พิธีพรม, เพชร
แสงมณี, ส.ต.ต.บัณฑิต สิทธิทุม และ สุรชัย เทวรัตน์ ต่างก็ถูกฟ้องในข้อหา
"ก่อการร้าย" ทั้งสิ้น รวมทั้งในคดีหมายเลขดำที่ อ.2542/2553 ของศาลอาญา
ซึ่งแกนนำ นปช. 12 คนถูกกล่าวหาว่า กระทำการก่อการร้ายนั้น มีการ์ด นปช. 12
คนอยู่ในคดีนี้ด้วย ซึ่ง 1 ในนั้นคือ สุรชัย เทวรัตน์
คนเหล่านี้ก็ไม่ได้รับการนิรโทษกรรมด้วยเช่นกัน
การไม่นิรโทษกรรมให้กับ "ความผิดต่อชีวิต"
นั้น
ไม่เพียงแต่เป็นการไม่นิรโทษกรรมให้กับผู้ที่สั่งการสังหารประชาชนเท่านั้น
แต่ยังทำให้ผู้ต้องหาทางการเมืองจำนวนมากที่โดนข้อหาที่เกี่ยวข้องกับการทำ
ร้ายร่างกายไม่ได้รับการนิรโทษกรรมไปด้วย เช่น ปรีชา ตรีจรูญ ผู้ชุมนุม
พธม. ซึ่งถูกกล่าวหาว่า "พยายามฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่"
จากเหตุการณ์ที่เขาพยายามขับรถยนต์พุ่งชนเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 คน
และศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง ให้ลงโทษจำคุก 33 ปี
30 พฤษภาคม 2555 มีการนำร่าง
พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ..... ของ พล.อ.สนธิ
ขึ้นมาพิจารณาในรัฐสภา ความวุ่นวายเกิดขึ้นทันที
ส.ส.ประชาธิปัตย์ก่อหวอดประท้วงอย่างรุนแรง โดยอ้างว่า ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับดังกล่าวเป็นกฎหมายการเงิน จำเป็นต้องนำเสนอโดยคณะรัฐมนตรี แต่
สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.
ฉบับดังกล่าวไม่ใช่กฎหมายการเงิน สร้างความไม่พอใจให้กับ
ส.ส.ประชาธิปัตย์เป็นอย่างมาก มีการตะโกนด่าทอด้วยถ้อยคำหยาบคายมากมาย
ส.ส.ประชาธิปัตย์บางคนขัดขวางการทำงานของประธานรัฐสภา
และเชิญประธานสภาลุกออกจากเก้าอี้ โดยอ้างว่า เขาทำผิดระเบียบ
แต่เขาไม่ยอมลุก ส.ส.เหล่านั้นจึงดึงแขนของประธานจนเขาเกือบตกจากเก้าอี้
เจ้าหน้าที่ตำรวจของรัฐสภาหลายคนต้องเข้ามาระงับเหตุ
ในที่สุดประธานรัฐสภายอมเลื่อนการพิจารณา
ร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวออกไปเป็นวันรุ่งขึ้น
แต่เหตุการณ์ในวันต่อมาก็วุ่นวายไปแพ้วันแรก
ส.ส.ประชาธิปัตย์บางคนขว้างแฟ้มเอกสารใส่ประธานรัฐสภาจนในที่สุดประธาน
รัฐสภาต้องยอมยุติการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าว
ส่งผลให้ความหวังในการนิรโทษกรรมในครั้งนั้นต้องปิดฉากลง พร้อมๆ
กับภาพแห่งปีของรัฐสภาไทย
กฎหมายนิรโทษกรรม ปี 2556
ปีนี้เริ่มมีการกล่าวถึงกฎหมายนิรโทษ กรรมอีกครั้ง เริ่มจากเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 55 ในงานปราศรัยใหญ่ "ต้านรัฐประหาร สร้างประชาธิปไตย" ของ นปช. ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ จ.นครราชสีมา แกนนำ นปช. ประกาศปฏิญญาเขาใหญ่ 3 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการร้องขอให้รัฐบาลออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม ให้กับผู้ต้องหาทางการเมืองทั้งหมดโดยเร็ว โดยไม่ได้กล่าวถึงร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. .... ของ นปช. ที่ยังคงค้างอยู่ในรัฐสภา
13 มกราคม 2556
คณะนิติราษฎร์จัดงานแถลงข้อเสนอทางวิชาการ โดยนำเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ
เพื่อการนิรโทษกรรมและการขจัดความขัดแย้ง โดยมีสาระสำคัญอยู่ใน 3 มาตราคือ
"มาตรา 291/1
บรรดาการกระทำใดๆ ของบุคคลอันเป็นความผิดตามกฎหมายจากการฝ่าฝืนข้อกำหนด
ประกาศ หรือคำสั่งที่ออกตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ.2548
หรือข้อกำหนดที่ออกตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ.2551
ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมือง
ภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ
มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549
ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง
มาตรา 291/2
บรรดาการกระทำใด ๆ
ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่ที่มี
การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง
ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
หรือพื้นที่ที่มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่น
คงภายในราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
พ.ศ.2551
ซึ่งได้ประกาศใช้อันเนื่องมาจากการเดินขบวนและการชุมนุมประท้วงทางการเมือง
ภายหลังจากการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ
มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549
หากเป็นความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
หรือเป็นความผิดอันมีโทษปรับสถานเดียวหรือเป็นความผิดอันมีโทษจำคุกไม่เกิน 2
ปีตามกฎหมายอื่น ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง
มาตรา 291/3
บรรดาการกระทำใดๆ
ของบุคคลผู้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมืองในเขตท้องที่หรือ
พื้นที่ตามมาตรา 291/2 อันเป็นความผิดตามกฎหมายซึ่งมิได้
รับนิรโทษกรรมตามมาตรา 291/1 หรือมาตรา 291/2 ตลอดจนการกระทำใด ๆ
ที่ได้กระทำขึ้น ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม
พ.ศ.2554 ของบุคคลซึ่งไม่ได้เข้าร่วมเดินขบวนและชุมนุมประท้วงทางการเมือง
แต่การกระทำนั้นมีมูลเหตุเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับความขัดแย้งทางการ
เมืองภายหลังการยึดอำนาจรัฐโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549
หากการกระทำดังกล่าวไม่ว่าจะเป็นการกระทำทางกายภาพหรือการแสดงความคิดเห็น
เป็นความผิดตามกฎหมายอันผู้กระทำได้กระทำไปโดยมีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง
ให้ผู้กระทำาพ้นจากความผิด และความรับผิดโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้
เท่าที่ไม่ขัดกับพันธกรณีตามกฎหมายระหว่างประเทศ"
จากสาระสำคัญใน 3 มาตรานี้ชัดเจนว่า
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมเฉพาะผู้เข้าร่วมชุมนุม/ผู้ไม่
เข้าร่วมชุมนุม/แกนนำทุกเสื้อ สี ทั้งคดีทางอาญา/แพ่ง ระหว่างวันที่ 19
ก.ย. 49-9 พ.ค. 54 เท่านั้น ครอบคลุมระยะเวลาเกือบ 4 ปี 7 เดือน
โดยไม่มีการนิรโทษกรรมให้กับผู้เคลื่อนไหวทางการเมืองก่อนการรัฐประหาร 19
ก.ย. 49
ซึ่งอาจเป็นเพราะช่วงเวลาดังกล่าวยังไม่มีการกระทำผิดกฎหมายใดๆจากทั้ง 2
ฝ่าย รวมทั้งไม่มีการนิรโทษกรรมให้กับการก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19
ก.ย. 49 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และเจ้าหน้าที่รัฐอีกด้วย
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า
ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้แตกต่างจากกฎหมายนิรโทษกรรมเมื่อปีที่ผ่านมาคือ
ไม่มีมาตราใดซึ่งดูเหมือนจะเป็นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และอดีตกรรมการจากหลายพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนสิทธิทางการ
เมือง อีกทั้งร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ยังมีการแบ่งการนิรโทษกรรมออกเป็น
3 มาตรา เพื่อเป็นการแบ่งส่วนระหว่างผู้เข้าร่วมชุมนุมธรรมดา (มาตรา
291/1), ผู้เข้าร่วมชุม/ผู้ไม่เข้าร่วมชุมนุมที่กระทำความผิดเล็กน้อย
(มาตรา 291/2)
และผู้เข้าร่วมชุม/ผู้ไม่เข้าร่วมชุมนุม/แกนนำทุกเสื้อสีที่กระทำความผิด
ร้ายแรง (มาตรา 291/3)
แต่ข้อด้อยที่สำคัญคือ การให้จัดตั้ง
"คณะกรรมการขจัดความขัดแย้ง"
ขึ้นมาเพื่อพิจารณาการกระทำใดที่จะเข้าข่ายได้รับการนิรโทษกรรมจากร่างแก้ไข
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ซึ่งในทางปฏิบัติจะต้องใช้เวลามาก
และสร้างความยุ่งยากให้กับการนิรโทษกรรมในครั้งนี้
เฉพาะการผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้
และการจัดตั้งคณะกรรมการฯชุดนี้ก็ต้องใช้เวลานานนับปี
อย่างไรก็ดี ร่าง
แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้รับการตอบรับอย่างดีจากหลายฝ่าย
โดยเฉพาะคนเสื้อแดงที่ไม่สังกัด นปช. จนนำไปสู่การจัดตั้ง "กลุ่มแนวร่วม 29
มกราฯ ปลดปล่อยนักโทษการเมือง"
เพื่อขับเคลื่อนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
แม้ต่อมาจะถูกคนเสื้อแดง และแกนนำ นปช. ที่สนับสนุนรัฐบาลโจมตีก็ตาม
15 มกราคม 2556 แม้ นปช.
จะเป็นฝ่ายเรียกร้องให้มีการนิรโทษกรรมก่อนใคร
แต่กลับนำเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม ตามหลังคณะนิติราษฎร แกนนำ นปช.
หลายคนประกาศแถลงการณ์เพื่อร้องขอให้รัฐบาลเร่งการออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม
และมีการนำเสนอ
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาอันถึงที่สุด
และผู้ที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการ
เมือง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2554
โดยสาระสำคัญของร่าง พ.ร.ก. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า
"บรรดาผู้ที่
ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญาอันเนื่องมาจากความขัดแย้งทางการเมืองตั้งแต่
วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2554
ไม่ว่าจะได้รับโทษจำคุกจากคำพิพากษาอันถึงที่สุด
หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาคดีซึ่งยังไม่ถึงที่สุด
ให้ถือว่าไม่ได้เป็นผู้กระทำความผิด
และให้พ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง
ความในวรรคก่อนไม่รวมถึงบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ หรือสั่งให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงเวลาดังกล่าว"
จากสาระในมาตรานี้ชัดเจนว่า ร่าง พ.ร.ก.
ฉบับนี้นิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมทุกเสื้อสี/เจ้าหน้าที่รัฐที่
ปฏิบัติตามคำสั่ง เฉพาะคดีทางอาญาเท่านั้น นอกจากนี้การที่ นปช.
เลือกช่วงเวลาระหว่าง 1 ม.ค. 50-31 ธ.ค. 54 ซึ่งกินระยะเวลา 5 ปีเต็มนั้น
เท่ากับเป็นการไม่นิรโทษกรรมให้กับการก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย.
49 ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.)
รวมทั้งยังไม่มีมาตราใดที่เป็นการนิรโทษกรรมให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และอดีตกรรมการจากหลายพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนสิทธิทางการ
อีกด้วย
การที่ร่าง พ.ร.ก. ฉบับนี้เลือกใช้ข้อความ
"ผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ" และ "ผู้สั่งให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง"
จะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ "วาระซ่อนเร้น" ก็ตาม
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า
เมื่อถึงเวลาพิจารณาคดีในศาลคงไม่มีบุคคลใดยอมรับว่า ตนเองเป็น
"ผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ" หรือ
"ผู้สั่งให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง" เป็นแน่
และถ้าอัยการไม่สามารถพิสูจน์ได้แล้ว สุดท้ายร่าง พ.ร.ก.
ฉบับนี้ก็ไม่ต่างจากการนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" และจะกลายเป็นการ
"เหยียบศพ" คนตายในที่สุด
ปลายเดือนมกราคา 2556 อุกฤษ มงคลนาวิน
ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (ศอ.นธ.)
นำเสนอร่าง
พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมทางการเมืองของ
ประชาชน ระหว่างวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 ถึงวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2554
โดยมีสาระสำคัญอยู่ใน 3 มาตราคือ
"มาตรา 3
ให้บรรดาการกระทำใดๆ
ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองหรือการแสดงออกทางการเมือง
ไม่ว่าจะเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามการชุมนุม
การกล่าววาจาหรือโฆษณาด้วยวิธีการใดเพื่อเรียกร้องหรือให้มีการต่อต้านรัฐ
การต่อสู้ขัดขืนการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
หรือการประท้วงด้วยวิธีการใดๆ
อันเป็นการกระทบต่อร่างกายหรือทรัพย์สินของบุคคลอื่น
ซึ่งเป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองหรือการ
แสดงออกทางการเมือง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549 จนถึงวันที่ 10
พฤษภาคม พ.ศ.2554 ไม่เป็นความผิดต่อไป
และให้ผู้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดและความรับผิดโดยสิ้น
เชิง
การกระทำใน
วรรคหนึ่งไม่รวมถึงการกระทำใดๆ ของบรรดาผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ
หรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมืองในห้วงเวลาดังกล่าว
และไม่รวมถึงเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจตามกฎหมายในการ
รักษาความสงบ หรือยุติเหตุการณ์นั้น
มาตรา 4
เมื่อพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับแล้ว ถ้าผู้กระทำการตามมาตรา 3
วรรคหนึ่ง ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล
ให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการระงับการสอบสวนหรือการฟ้องร้อง
หากถูกฟ้องต่อศาลแล้วให้พนักงานอัยการถอนฟ้อง
หรือหากจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นเอง ให้ศาลพิพากษายกฟ้องหรือสั่งจำหน่ายคดี
ในกรณีที่มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษบุคคลใดก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มี
ผลใช้บังคับ ให้ถือว่าบุคคลนั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิด
และถ้าผู้นั้นอยู่ระหว่างการรับโทษ
ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลงและปล่อยตัวผู้นั้น
มาตรา 5
การดำเนินการใดๆ
ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่เป็นการตัดสิทธิ์ของบุคคลซึ่งไม่ใช่องค์กรหรือหน่วย
งานของรัฐในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำของบุคคลใดซึ่งพ้นจากความ
รับผิดตามพระราชบัญญัตินี้ และทำให้ตนต้องได้รับความเสียหาย"
จากสาระสำคัญใน 3 มาตรานี้ชัดเจนว่า ร่าง
พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมทุกเสื้อสี
และการก่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 49
ของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในความผิดทางอาญาเท่านั้น
โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย. 49-10 พ.ค. 54
นอกจากนี้ยังไม่มีมาตราใดซึ่งดูเหมือนจะเป็นการนิรโทษกรรมให้กับ
พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
และอดีตกรรมการจากหลายพรรคการเมืองที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญเพิกถอนสิทธิทางการ
อีกด้วย
ผู้เขียนเห็นว่า จุดเด่นของ พ.ร.บ.
ฉบับนี้คือ มาตรา 4 ที่มีการให้อำนาจกับพนักงานสอบสวน, อัยการ
และศาลในการพิจารณาจำหน่ายคดีได้เอง
ซึ่งจะทำให้เกิดความรวดเร็วในทางปฏิบัติ และการให้อำนาจทั้ง 3
ฝ่ายเป็นผู้พิจารณานั้นยังป้องกันการถูกกลั่นแกล้งได้ระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ผู้ต้องหาทางการเมือง
และผู้ถูกคุมขังทางการเมืองทั้งหมดยังถูกล้าง "มลทิน"
จนหมดเสมือนไม่เคยกระทำความผิดใดๆ มาก่อนอีกด้วย ส่วนมาตรา 5
นั้นเป็นการไม่นิรโทษกรรมในคดีทางแพ่ง
ด้วยเหตุที่ในมาตรา 3 ของ พ.ร.บ.
ฉบับนี้มีข้อความที่คล้ายคลึงกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ.
.... ของ พรรคเพื่อไทยเมื่อปีที่ผ่านมา
จึงไม่น่าแปลกใจที่พรรคเพื่อไทยจะให้การสนับสนุนร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้
เพราะอย่างน้อย เพื่อไทยก็ไม่ต้อง "เปลืองตัว" ที่จะนำเสนอกฎหมายนิรโทษกรรม
ด้วยตัวเอง
แต่เช่นเดียวกับร่าง พ.ร.ก. ของ นปช. ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เลือกใช้ข้อความ "ผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ" หรือ "ผู้สั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง" ซึ่งสุดท้ายร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็อาจจะกลายเป็นการนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" และ "เหยียบศพ" คนตายในที่สุด แต่เหลือไว้เฉพาะ "เจ้าหน้าที่รัฐ" รับกรรมแทน
แต่เช่นเดียวกับร่าง พ.ร.ก. ของ นปช. ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้เลือกใช้ข้อความ "ผู้ซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจ" หรือ "ผู้สั่งการให้มีการเคลื่อนไหวทางการเมือง" ซึ่งสุดท้ายร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ก็อาจจะกลายเป็นการนิรโทษกรรมแบบ "เหมาเข่ง" และ "เหยียบศพ" คนตายในที่สุด แต่เหลือไว้เฉพาะ "เจ้าหน้าที่รัฐ" รับกรรมแทน
อำนาจนิรโทษกรรมโดยคณะรัฐมนตรี
หลาย คนอาจกำลังสงสัยว่า
คณะรัฐมนตรีมีอำนาจในการออก พ.ร.ก.นิรโทษกรรม หรือไม่ ผู้เขียนจึงตรวจสอบ
กฎหมายนิรโทษกรรมในอดีต และพบว่า มี พ.ร.ก.นิรโทษกรรม 3
ฉบับที่ออกโดยคณะรัฐมนตรีคือ
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ.2488,
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้ก่อความไม่สงบเพื่อยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน
ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม ถึงวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2524 และ
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องในการชุมนุมกันระหว่างวันที่ 17
พฤษภาคม พ.ศ. 2535 ถึงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2535
แต่ผู้เขียนขอนำเสนอเฉพาะ
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ.2488 เท่านั้น
11 ตุลาคม 2476
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเพียง 1 ปี พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดช
อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม นำกำลังทหารก่อกบฏเพื่อล้มล้างรัฐบาล
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา โดยอ้างเรื่องความไม่พอใจที่ ถวัติ ฤทธิเดช
เป็นโจทก์ฟ้อง ร.7
จากกรณีที่พระองค์ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยคัดค้านแผนพัฒนาเศรษฐกิจของหลวง
ประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์)
การกบฏสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2475
รวมระยะเวลา 15 วัน ผู้ก่อการฯหลายคนถูกสังหาร และถูกจับกุม
แต่พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าบวรเดชทรงเสด็จลี้ภัยไปเวียดนาม
รัฐบาลตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีผู้ก่อการฯโดยเฉพาะ
ผู้ก่อการฯหลายคนถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
ปี 2478 ส.อ.สวัสดิ์ มหะมัด
รวบรวมนายทหารชั้นประทวนจากกองพันต่างๆ เตรียมก่อกบฏเพื่อล้มล้างรัฐบาล
พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ในวันที่ 5 ส.ค. 2478 แต่แผนรั่วไหลไปถึงรัฐบาลก่อน
ผู้ก่อการฯ ทั้งหมดจึงถูกจับกุมในวันที่ 3 สิงหาคม 2478
รัฐบาลตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีผู้ก่อการฯโดยเฉพาะ ส.อ.สวัสดิ์
ถูกตัดสินประหารชีวิต ผู้ก่อการฯ หลายคนถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
ปี 2481 พระยาทรงสุรเดช
ผู้บัญชาการโรงเรียนรบ จ.เชียงใหม่ ถูก พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม
ปลดออกจากตำแหน่งโดยกะทันหัน และถูกบีบในต้องเดินทางไปกัมพูชาในทันที
เนื่องจากต้องสงสัยเตรียมการยึดอำนาจ และเกี่ยวข้องกับการลอบสังหาร
พ.อ.หลวงพิบูลสงคราม 3 ครั้งก่อนหน้านี้
การกวาดล้างในครั้งนั้นมีผู้ต้องสงสัยถูกจับกุมหลายสิบคน
รัฐบาลตั้งศาลพิเศษเพื่อพิจารณาคดีบุคคลเหล่านี้โดยเฉพาะ
ผู้ก่อการฯหลายคนถูกพิพากษาประหารชีวิต
ปี 2488 รัฐบาล ควง อภัยวงศ์ ได้ออก
พ.ร.ก.นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พ.ศ.2488
สาระสำคัญของร่าง พ.ร.ก. ฉบับนี้อยู่ในมาตรา 3 ซึ่งระบุว่า
"บรรดาการ
กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจลทั้งหลายทั้งสิ้นก่อนวันใช้พระราชกำหนดนี้
ซึ่งต้องพิจารณาพิพากษาโดยศาลพิเศษซึ่งจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลพิเศษ พุทธศักราช 2476 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษพุทธศักราช 2476
แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2478 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลพิเศษ
พุทธศักราช 2481 นั้น
ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะได้ถูกฟ้องและรับโทษตามคำพิพากษาแล้วหรือไม่และไม่ว่า
ผู้กระทำผิดนั้นจะได้หลบหนีจากที่ใดไปยังที่ใดหรือไม่
ให้เป็นอันพ้นจากความผิดนั้นๆทั้งสิ้น"
ดังนั้น พ.ร.ก.
ฉบับนี้จึงเป็นการนิรโทษกรรมให้กับ นักโทษจากการกบฏทั้ง 3 ครั้งนี้
ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ออกเมื่อปี 2488
ซึ่งทิ้งช่วงห่างจากกบฏทั้ง 3 ครั้ง 7-12 ปี
ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงเชื่อว่า ระยะเวลาไม่ใช่เหตุผลในการออก พ.ร.ก.
แม้ว่าต่อมาจะมีการออก
พ.ร.บ.อนุมัติพระราชกำหนดนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล
พุทธศักราช 2488 เพื่ออนุมัติการใช้ พ.ร.ก. ฉบับนี้ก็ตาม
นอกจากนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 261 ทวิ ระบุให้อำนาจคณะรัฐมนตรีสามารถออก พ.ร.ฎ.
เพื่อขอพระราชทานอภัยโทษจากพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสสำคัญต่างๆ เช่น
พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2555 ในคราวที่พระราชินีทรงมีพระชนมายุครบ 80
พรรษา หรือเนื่องจากกรณีพิเศษ เช่น พ.ร.ฎ.พระราชทานอภัยโทษ พุทธศักราช 2487
ซึ่งนิรโทษกรรมให้เฉพาะนักโทษที่กระทำผิดจากหนีราชการทหารหรือตำรวจ แต่
พ.ร.ฎ.
นี้เป็นการนิรโทษกรรมให้กับนักโทษที่คดีมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น