แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บทสัมภาษณ์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร กับกรณี “คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของสุลักษณ์ ศิวรักษ์

ที่มา ประชาไท


ภาพจาก มติมหาราษฎร์ 6-12 ธันวาคม 2527[เอกสารถ่ายสำเนา]
[1] ว่าด้วยเอกสาร
เอกสารชิ้นนี้ เป็นบทสัมภาษณ์ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร [เมื่อครั้งยังเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์]ที่สัมภาษณ์โดยกองบรรณาธิการนิตยสารรายสัปดาห์ “มติมหาราษฎร์” ตีพิมพ์ในฉบับวันที่ 6-12 ธันวาคม 2527 ระหว่างหน้า 13-15 อันเป็นช่วงเวลาที่ สุลักษ์ ศิวรักษ์ ถูกดำเนินคดีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องมาจากการตีพิมพ์หนังสือ “ลอกคราบสังคมไทย” [ทองใบ ทองเปาว์เป็นหัวหน้าทนายฝ่ายจำเลย] สุดท้ายอัยการ “ถอนฟ้อง”คดีจึงยุติลง
ภาพจาก http://su-usedbook.tarad.com
อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญที่ผู้คนให้ความสนใจกันมาก คือ เหตุใดอัยการจึงถอนฟ้องคดีดังกล่าว??มีอำนาจพิเศษใดเข้ามาเกี่ยวข้องหรือ ไม่? อาจพอหาคำตอบได้บทสัมภาษณ์ของราชนิกุลผู้นี้

[2] “จับก็ต้องระดับสูง ปล่อยก็ต้องระดับสูง”
บทสัมภาษณ์นี้ของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เกิดขึ้นภายหลังคดีดังกล่าวยุติลง “มติมหาราษฎร์”จั่วหัวบทสัมภาษณ์นี้ว่า
“ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร สมเด็จพระเทพฯทรงเป็นนักวิชาการ เป็นไปได้ที่ท่านสนพระทัยเรื่องอาจารย์สุลักษณ์”
ต่อประเด็นคำถามเรื่องการดำเนินการของอัยการ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ตอบอย่างน่าสนใจว่า
“มันก็ต้องระดับสูงทั้งนั้น จับก็ต้องระดับสูง ปล่อยก็ต้องระดับสูง...อันนี้มันเป็นการตัดสินใจระดับสูงทั้งนั้น” การถอนคดีดังกล่าว ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ยังเห็นว่าเชื่อมโยงกับสถานะของรัฐบาล พล.อ.เปรมที่มั่นคงขึ้นด้วย

[3] เชื้อพระวงศ์ กับกรณีสุลักษณ์
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ให้สัมภาษณ์ว่า นับแต่มีการจับกุมสุลักษณ์นั้น ตัวเขาเองก็มิได้ไปมาหาสู่เชื้อพระวงศ์เท่าไหร่นัก แต่เขาเล่าว่ามีเจ้านายชั้นสูงหลายองค์ไม่ชอบสุลักษณ์ เพราะสุลักษณ์พูดตรงไปตรงมา แต่ “เท่าที่ทราบก็มีไม่กี่คนที่เห็นด้วยกับการจับ” [ดูหน้า14](สุลักษณ์-ผู้เขียน) ส่วนในวังจะเป็นอย่างไรนั้นเขาไม่ทราบ
คำถามสำคัญที่น่าสนใจ คือ “สมัยหนึ่งเคยที่จะมีการจับอาจารย์สุลักษณ์แต่คนที่ห้ามปรามเอาไว้คือในหลวง ครั้งนี้มีส่วนอย่างนั้นหรือเปล่า”ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ตอบว่า
“อันนี้ผมไม่ ทราบ ผมว่าสิ่งที่น่าสนใจที่สุด คือ ท่านนายกฯเปรมไม่เห็นด้วยกับการจับ และตอนนี้อาจารย์สุลักษณ์ถูกปล่อย หมายว่าตอนนี้ท่านนายกฯเองก็มีอิทธิพลมาก ก็เอาไปคิดเองก็แล้วกัน [ตัวเน้นเป็นของผู้เขียน]
ถาม-“ทราบว่าสมเด็จพระเทพฯทรงสนพระทัยต่อคดีอาจารย์สุลักษณ์มากและทรงติดตามงานเขียนมาโดยตลอด
ตอบ-“สมเด็จพระเทพฯทรงเป็นนักวิชาการ เป็นไปได้ที่ท่านสนพระทัยเรื่องอาจารย์สุลักษณ์”[ดูหน้า 13-14]
สัญญาณของอำนาจพิเศษในการเลือกที่จะถอนฟ้องสุลักษณ์ในคดีหมิ่นพระบรมเด ชานุภาพนี้ยังสะท้อนออกมาตอนท้ายของการสัมภาษณ์ ดังที่มติมหาราษฎร์ถาม ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ว่า
“แล้วที่อธิบดีกรมอัยการบอกว่า “ถึงแม้จะไม่มีการชี้ว่าผิดหรือไม่แต่จำเลยย่อมสำนึกได้ด้วยตัวเองไว้ว่า ถ้าเห็นว่าหนังสือนี้ผิด ก็ควรจะทำลายเสีย เพราะตัวเองรอดพ้นเพราะอะไร ก็ย่อมรู้อยู่แก่ใจ[การขีดเส้นใต้เป็นของผู้เขียน]
คำกล่าวของอัยการดังที่ยกมานี้ แม้แต่ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เองก็ยังสงสัยว่า “ถ้าเขาไม่ผิด แล้วจะสำนึกผิดได้อย่างไร”[ดู หน้า 15]
อย่างไรก็ตาม ทรรศนะของม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ต่อการดำเนินคดีตามมาตรา 112 กับสุลักษณ์เมื่อหลายสิบปีก่อนโน้น ดูจะขัดแย้งกับจุดยืนของพรรคที่เขาสังกัดอยู่ในปัจจุบัน เพราะตามบทสัมภาษณ์ที่ยกมานี้ ภายหลังการถอนฟ้องคดีสุลักษณ์ ศิวรักษ์  ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เห็นว่า
“ก็ดีใจว่ามัน หมดเรื่องไปเสียที” และ “ผมคิดว่ามีผลทางบวกมาก ทำให้ชาวโลกและคนไทยทั่วไปเห็นว่าคนไทยนี่สามารถยุติเรื่องราวต่างๆหรือข้อ ขัดแย้ง ข้อพิพาทต่างๆโดยใช้เหตุผลได้”[ดูหน้า 13]
บทสัมภาษณ์นี้ จึงหาใช่แค่ทรรศนะของราชนิกุลผู้หนึ่งกับคดีหมิ่นฯประวัติศาสตร์คดีหนึ่ง เท่านั้น แต่ยังสะท้อนให้เห็น[จากปากคำของเขาเอง]ว่า การฟ้อง/ถอนฟ้อง คดีที่กระทำผิดตามกฎหมายดังกล่าวมี“อำนาจพิเศษ”บางอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่นเดียวกันกับข้อสังเกตก่อนหน้านี้ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุลต่อคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของ วีระ มุสิกพงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2531[ดู สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลข้อมูล "ใหม่": คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ของ วีระ มุสิกพงศ์ ปี 2531 เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักราชเลขาธิการ ติดต่อศาล เรื่องคดี]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น