แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส.ว. รสนา เสนอเจรจาพม่าปิดซ่อมท่อก๊าซช่วงใช้ไฟฟ้าไม่สูง

ที่มา ประชาไท


จากกรณีที่ รมว.พลังงานระบุให้ประชาชนเตรียมรับวิกฤตไฟฟ้าขาด เม.ย.นี้ สาเหตุจากพม่าปิดซ่อมท่อก๊าซ ส.ว. รสนา เสนอเจรจาพม่าปิดซ่อมท่อก๊าซช่วงใช้ไฟฟ้าไม่สูงเช่นเดือน ก.พ. หรือ เดือน มี.ค. ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถวางแผนได้
 
17 ก.พ. 56 - จากกรณที่ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในรายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ เมื่อวันที่ที่ 16 ก.พ. ที่ผ่านมาว่าในช่วงเดือน เม.ย. นับแต่วันที่ 4 เม.ย. ประเทศไทยอาจพบกับวิกฤตด้านพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากท่อส่งก๊าซไทย-มาเลเซียได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุการทิ้งสมอ เรือ เป็นผลให้ก๊าซหายไปจากระบบ 270 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ประกอบกับแท่นขุดเจาะก๊าซของประเทศพม่า ซึ่งเป็นแหล่งใหญ่ของไทยเกิดการทรุดตัว ต้องหยุดซ่อมบำรุง จะเริ่มในวันที่ 4 เม.ย.นี้ จะทำให้ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าหายจากระบบถึง 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยมีแผนรับมือนำโรงไฟฟ้าที่ปิดใช้แล้วกลับมาใช้ผลิตรองรับชั่วคราว แต่คิดว่าไม่เพียงพอ ดังนั้น กระทรวงพลังงานเตรียมประกาศภาวะฉุกเฉิน ขอความร่วมมือจากภาคประชาชน หน่วยงาน ให้ประหยัดการใช้พลังงานในช่วงดังกล่าว เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไปต่อได้ โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมใหญ่ ที่กระทรวงพลังงานเพื่อวางแผนซักซ้อมรองรับวิกฤติ
 
นายพงษ์ศักดิ์ กล่าวว่า กระทรวงพลังงานจะเร่งเจรจากับพม่าให้เลื่อนกำหนดการซ่อมบำรุงท่อก๊าซออกไป เป็นวันที่ 7 - 8 เม.ย. เพราะเป็นช่วงวันหยุดยาวในเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยลงได้ ในอดีตเราก็เคยเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้แต่ไม่หนักเท่า ดังนั้นเหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่คนไทยต้องพึงสังวรณ์ เพราะเราพึ่งก๊าซธรรมชาติมากซึ่งก็กำลังจะหมดไปขณะเดียวกันก็มีคนต่อต้านการ สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าพลังน้ำ สัมปทานก๊าซก็ไม่ให้ต่อ จึงถึงเวลาที่ทุกคนต้องตัดสินใจอนาคตประเทศร่วมกัน ส่วนพลังงานนิวเคลียร์ในเร็วๆนี้ยังไม่มีโครงการและโอกาสได้ใช้เพราะการ ศึกษาของไทยในเรื่องดังกล่าวยังไม่เพียงพอ
 
วันนี้ (17 ก.พ. 56) นางสาวรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภาได้แสดงความเห็นผ่านหน้าเพจเฟซบุ๊กของตนเองต่อกรณีนี้ดังต่อไปนี้ 
 
อ่านข่าวที่ รมต.พลังงานระบุให้ประชาชนเตรียมรับวิกฤติไฟฟ้าขาดในเดือนเมษายนนี้ สาเหตุจากพม่าปิดซ่อมท่อก๊าซ และอุบัติเหตุจากท่อก๊าซไทย-มาเลเซียขาดเพราะโดนสมอเรือ ต้องปิดซ่อมเช่นกัน
 
อ่านข่าวนี้แล้วมีข้อเสนอดังนี้
 
1) รมต.พลังงาน หรือ ปตท.ที่เป็นคู่ค้ากับพม่าควรเจรจาให้พม่ากำหนดเวลาปิดซ่อมท่อก๊าซในช่วง เดือนที่ความต้องการไฟฟ้าไม่สูงมากเช่นเดือนก.พ หรือ เดือนมี.คซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถวางแผนได้
 
2) กระทรวงพลังงานควรปรับปรุงระบบการรับซื้อพลังงานหมุนเวียนที่เรียกว่า Feed in Tariff ที่่เรารับรูปแบบต่างประเทศมาใช้ แต่รับมาไม่หมด 
 
ต่างประเทศ จะกำหนดการรับซื้อพลังงานหมุนเวียนก่อนพลังงานจากเชื้อเพลิงชนิดอื่น และรับไม่อั้น ราคารับซื้อต่อหน่วยจะลดลงทุกปี เพื่อบีบให้ผู้ผลิตต้องพัฒนาเทคโนโลยี่ให้มีประสิทธิภาพ และมีต้นทุนลดลงเรื่อยๆ
 
แต่ ก.พลังงานรับซื้อพลังงานหมุนเวียนเป็นโควต้า แม้ผู้ผลิตพลังงานหมุนเวียนจะสามารถผลิตได้มากขึ้นก็ไม่รับซื้อ อ้างว่าการจ่ายadder 6.50บาทให้กับพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นภาระค่าไฟ ทำให้การผลิตไฟฟ้าของประเทศต้องพึ่งพลังงานจากก๊าซธรรมชาติถึง80% แล้วก็มักมีปัญหาจากก๊าซขาดเพราะปัญหาทางเทคนิค หรือปริมาณที่คาดการณ์ว่าจะน้อยลง แต่ก็ไม่สนใจพัฒนาพลังงานหมุนเวียนมาแทนที่ ยังทู่ซี้จะใช้ก๊าซธรรมชาติต่อไป
 
ตอนนี้ก็มีข่าวจะเปิดประมูลโรงไฟฟ้า IPPขนาด 5,400เมกกะวัตต์ โดยใช้ก๊าซธรรมชาติอีกแล้ว กำลังเร่งรีบจะประมูลกันในเดือนมิถุนายน2556 
 
3)การส่ง เสริมพลังงานแสงอาทิตย์โดยใช้ หลังคาบ้านติดแผงโซล่าเซลล์ มีการส่งเสริมอย่างเป็นจริงเป็นจังในมาเลเซีย อิตาลี และเยอรมัน ยกเว้นประเทศไทย ทั้งที่ควรส่งเสริมก่อนที่จะส่งเสริมการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จาก Solar Farm เพราะลงทุนสูงกว่ามาก แต่ก.พลังงานส่งเสริมการผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ด้วยSolar Farm ถึง 99.9% 
 
การส่งเสริม การผลิตพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาบ้านเป็นวิธีที่ง่าย ประหยัด และมีประสิทธิภาพ เพราะไม่ต้องไปสร้างสายส่งไฟฟ้าใหม่ และจะเป็นมิติใหม่ที่เปลี่ยนโฉมหน้าประชาชน จากการเป็นเพียงผู้บริโภคพลังงานให้เป็นผู้ผลิตพลังงานด้วย
 
ก.พลังงาน ควรให้แรงจูงใจเพื่อให้คนอยากลงทุนติดแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาบ้าน ตั้งแต่การรับซื้อพลังงานที่ผลิตได้จากครัวเรือนเหมือนรับซื้อจากโซล่าฟาร์ม คือ6.50บาทต่อหน่วย แต่ใช้ในราคา 3บาทต่อหน่วย และสนับสนุนแผงโซล่าเซลล์ในราคาถูกเพื่อจูงใจให้ครัวเรืิอนอยากลงทุน
 
ก.พลังงาน ยังยอมเอาเงินจากกองทุนน้ำมันไปให้แท๊กซี่เปลี่ยนถังก๊าซเป็น NGV ก.พลังงานยังให้แรงจูงใจกับโรงกลั่นที่ขายน้ำมันหน้าโรงกลั่นให้คนไทยในราคา นำเข้าจากสิงคโปร์ ทั้งที่โรงกลั่นเวลานี้ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปเป็นสินค้าส่งออกอันดับ4ของ ประเทศด้วยมูลค่า 3.98แสนล้านบาทในปี2555 ในขณะที่ข้าวส่งออกแค่ 1.42แสนล้านบาท แต่เราก็ยังทู่ซี่ให้แรงจูงใจโรงกลั่นน้ำมันอย่างไม่ยอมเลิก ก็ควรส่งเสริมประชาชนคนเล็กคนน้อยบ้างเพื่อให้มีส่วนร่วมในการผลิตพลังงาน จะได้ไม่รอเป็นเพียงผู้บริโภคพลังงานเท่านั้น
 
4) ก.พลังงานควรเปลี่ยนทัศนคติเรื่องรณรงค์ให้คนประหยัดพลังงานที่ใช้แต่งบจัด อีเว้นท์ ให้เป็นเรื่องจริงจังว่าการประหยัดเป็นเรื่องที่ต้องลงทุน และส่งเสริม โดยมีแรงจูงใจ และมีการวัดผลด้วย ไม่ควรเป็นแค่การรณรงค์สร้างจิตสำนึกเท่านั้นซึ่งได้ผลน้อย
 
เมื่อ อาทิตย์ก่อนอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในกรรมาธิการตรวจสอบทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาลวุฒิสภาจัดสัมนาเรื่อง ปฏิรูปนโยบายพลังงาน ประสบการณ์ของไทยและเยอรมัน สมาชิกสภาผู้แทนจากพรรคกรีนเยอรมัน มาเล่าประสบการณ์ ความก้าหน้าของการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนว่า ในปี2000เมื่อเริ่มส่งเสริมมีการจ้างงาน 30,000คน 10ปีต่อมาในปี2010 มีการจ้างงาน 400,000ตำแหน่ง ในปี 2013 การจ้างงานจะสูงถึง 500,000ตำแหน่ง ( รายละเอียดจะเล่าเป็นอีกตอนหนึ่งในภายหลัง)
 
ก.พลังงาน ควรปรับปรุงก.ม ระเบียบที่เปิดทางให้ประชาชนได้ขยายความคิดสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการผลิตพลังงานอย่างจริงจัง 
 
ในเมื่อ ก.พลังงานยังใช้เงินปีละหลายหมื่นล้านบาทชดเชยการใช้ก๊าซ LPGของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ แต่ประชาชนในชุมชนที่ผลิต Biogas ใช้เอง ลดการใช้ก๊าซLPG ของส่วนกลาง ควรมีกองทุนเป็นแรงจูงใจ เพื่อให้ชุมชนสามารถพัฒนาเทคโนโลยี่การผลิตที่มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น รวมถึงการหาวิธีให้มีการขายเข้าสู่ระบบได้
 
นี่จะเป็นวิธีการส่วนหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขวิกฤติพลังงานได้ 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น