แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ฮ่องกงชุมนุมรำลึก 24 ปีสลายชุมนุม 'เทียนอันเหมิน'

ที่มา ประชาไท


จีนกักบริเวณฝ่ายต่อต้านรัฐบาล และวางกำลังเข้มทั่วปักกิ่ง รับมือวันครบรอบ 24 ปีเหตุสลายชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ขณะที่ในฮ่องกงมีผู้ร่วมรำลึกเหตุสลายชุมนุมนับหมื่นที่วิคตอเรีย ปาร์ค
 
ชาวฮ่องกงหลายหมื่นคนมาชุมนุมที่ สวนสาธารณะวิคตอเรีย ปาร์ค เพื่อรำลึกครบรอบ 24 ปี เหตุสลายการชุมนุมที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1898 (ที่มา: Pacific Chillino/flickr.com/by-sa/2.0/)

ชาวฮ่องกงหลายหมื่นคนชุมนุมเมื่อคืนวานนี้ (4 มิ.ย.) ที่สวนสาธารณะวิคตอเรีย ปาร์ค เพื่อรำลึกครบรอบ 24 ปี เหตุทหารจีนสลายการชุมนุมผู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน อย่างไรก็ตามแม้จะผ่านมานับ 2 ทศวรรษ แต่ทางการจีนก็ยังไม่ออกมาขอโทษ หรือยอมรับว่าได้เกิดอะไรขึ้น ไม่มีการรายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตที่แท้จริง โดยมีเพียงตัวเลขประมาณการผู้เสียชีวิตระหว่าง 200 คนจนถึงหลายพันคน
โม จี้สือ ฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซึ่งยังคงอยู่ในปักกิ่ง กล่าวกับหนังสือพิมพ์เทเลกราฟว่า ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ไม่ประสบความสำเร็จในการลบเหตุการณ์ 4 มิถุนายนออกจากประวัติศาสตร์จีน "ผมไม่คิดว่าประวัติศาสตร์ช่วงนี้จะถูกลืมเลือนเมื่อเวลาผ่านไป เหตุการณ์นี้ได้แสดงให้เห็นถึงการกบฎของประชาชนที่มีต่อผู้เผด็จการ" เขากล่าว
นอกจากนี้กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ยังเรียกร้องรัฐบาลจีน "ให้ยุติการคุกคามต่อผู้ที่เข้าร่วมการประท้วง และรับผิดชอบอย่างเต็มที่ต่อผู้ที่เสียชีวิต ถูกควบคุมตัว หรือสูญหาย" ขณะที่ฮิวแมนไรท์ ว็อทซ์ เรียกร้องให้ผู้นำใหม่ของจีนอนุญาตให้มีการจัดการรำลึกอย่างสาธารณะต่อการ สังหารในวันที่ 4 มิถุนายน และเพื่อรับรอง "ความรับผิดชอบของรัฐบาลที่มีต่อการสังหารหมู่พลเรือนที่ไม่มีอาวุธ"

ภาพคัด ลอกจากวิดีโอเมื่อปี 2532 ของนางเผิง ลี่ หยวน ภรรยาของประธานาธิบดีจีน กำลังร้องเพลงขับกล่อมทหารจีน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์ที่เทียนอันเหมิน โดยภาพดังกล่าวถูกเผยแพร่ในไมโครบล็อกของจีน 'เว่ย โป๋' และต่อมาบัญชีของผู้ใช้รายดังกล่าวก็ถูกลบออกไป (ที่มา: Ibtimes.com)
อย่างไรก็ตามทางการจีนได้เซ็นเซอร์ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับจัตุรัสเทียน อัน เหมิน ออกไปจากอินเทอร์เน็ต โดยการค้นหาคำว่า "วันนี้" "วันพรุ่งนี้" "การสังหารหมู่" และ "จัตุรัส" ถูกบล็อก และข้อความที่เป็นนัยถึงวันที่ 4 มิถุนายน ก็ถูกทำให้หายไป ทั้งนี้เทเลกราฟของอังกฤษรายงานว่า บางทีแม้แต่การโพสต์ไว้เพียงไม่กี่วินาที และมีการลบภาพของนางเผิง ลี่ หยวน ภรรยาประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำของจีน ที่กำลังร้องเพลงขับกล่อมทหารกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน โดยเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการที่จัตุรัสเทียนอันเหมินด้วย (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
นอกจากนี้ทางการจีนได้แบนคำว่า "เป็ดเหลืองยักษ์" หลังมีผู้ตัดต่อภาพ "Tank Man" ชายนิรนามที่ยืนขวางรถถัง แทนที่ด้วยภาพเป็ดเหลืองยักษ์ จากผลงานของศิลปินชาวดัตช์  ฟลอเรนติน ฮอฟแมน ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่ฮ่องกง (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
ทั้งนี้นักกิจกรรมชาวจีนมีการรณรงค์แบบออนไลน์ล่วงหน้าถึง 2 เดือน เรียกร้องให้มีการสวมเสื้อยืดสีดำและออกมาบนท้องถนนเพื่อเป็นการรำลึกเงียบ ถึงผู้เสียชีวิต โดยนายหู เจี้ย นักกิจกรรมชาวจีนผู้มีชื่อเสียง กล่าวว่า การสวมเสื้อสีดำ และเข้าร่วม "การเดินของพลเมือง" จะทำให้ประชาชนได้แสดงออกถึงความเสียใจ โดยที่ไม่ต้องเผชิญกับผลกระทบเหมือนกับการประท้วง
อย่างไรก็ตามไม่มีรายงานการประท้วงในเมืองใหญ่ หรือที่ไหนเลยในแผ่นดินใหญ่ "ที่ปักกิ่งมีการรักษาการอย่างหนาแน่นในวันนี้" นายหูกล่าว "หากมีคนเกินสามคนสวมเสื้อดำรวมตัวกันจะถูกล้อมและห้ามปราม"
ทั้งนี้เทเลกราฟรายงานว่า ในเช้าวันอังคารนี้ จัตุรัสเทียน อัน เหมิน ยังคงเปิด แต่เต็มไปด้วยกองกำลังด้านความมั่นคงของจีน รวมทั้งเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบ และยังมีรายงานว่า มีผู้สื่อข่าวชาวฮ่องกงถูกควบคุมตัวประมาณ 1 ชั่วโมง และถูกสั่งให้ลบภาพที่บันทึกเอาไว้ นอกจากนี้เหตุไม่ปกติอีกอย่างก็คือ สถานที่บรรจุร่างของประธานเหมา เจ๋อ ตงวันนี้ได้ปิดทำการ โดยคนงานรายหนึ่งระบุว่าเนื่องจากมีการก่อสร้างถนน
ทั้งนี้ในรอบไม่กี่สัปดาห์ ทั่วประเทศจีนมีความพยายามกดดันต่อผู้ที่เข้าข่ายว่าจะสร้างปัญหา ทั้งนี้มีนักรณรงค์และผู้ต่อต้านรัฐบาลจีนจำนวนหนึ่งกล่าวว่าพวกเขาถูกกัก บริเวณภายในบ้าน หรือถูกสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด ในขณะที่หมายเลขโทรศัพท์ของนักกิจกรรมหลายคนก็ไม่สามารถใช้การได้
สำหรับสื่อมวลชนในแผนดินใหญ่นั้นได้หลีกเลี่ยงการรายงานข่าวที่เกี่ยว ข้องกับเหตุการณ์ 4 มิถุนายน อย่างไรก็ตามในเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของจีน แต่ผ่อนปรนด้านสิทธิทางการเมืองนั้น สื่อมวลชนฮ่องกงต่างสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับผลกระทบหลังจากที่ได้พูดถึง เหตุการณ์สลายการชุมนุมเทียน อัน เหมิน ในปี 2532
โดยเป็นครั้งแรกที่ประธานาธิบดีจีน นายสี จิ้น ผิง ไม่อยู่ในประเทศจีนในช่วงครบรอบเหตุการณ์ 4 มิถุนายน โดยเขาอยู่ในระหว่างเยือนละตินอเมริกา แคริบเบียน และสหรัฐอเมริกา
ซึ่งนายหู เจี้ย นักกิจกรรมจีนกล่าวว่า "นี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดของเขา (ประธานาธิบดีสี จิ้น ผิง) ที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาละเอียดอ่อน"

เรียบเรียงจาก Huge protests in Hong Kong on Tiananmen anniversary, Telegraph, By Tom Phillips, in Shanghai and Kathleen McLaughlin in Beijing, 04 Jun 2013

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น