แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

"จาตุรนต์" อ่าน 2 ทางแพร่ง แนะ "เพื่อไทย" รุกนิรโทษฯ ปิดหีบปรองดอง "ไม่ง่ายที่คุณทักษิณจะกลับบ้าน"

ที่มา ประชาชาติธุรกิจ

updated: 09 มิ.ย. 2556 เวลา 12:59:08 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

"จาตุรนต์ ฉายแสง" อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นหนึ่งใน "กลุ่มคนเดือนตุลา" ที่ยังคงหายใจ และโลดแล่นบนถนนการเมือง

เขา เป็นหนึ่งใน เป็นหนึ่งในนักโทษการเมืองที่ได้รับผลพวงจาก "นิรโทษกรรม" หลังสิ้นสุดยุคคอมมิวนิสต์ อันเป็นคดีการเมืองเมื่อหลายสิบปีก่อน

พุทธศักราช 2556 หลังสิ้นสุดสงครามยึดอำนาจ 19 กันยายน 2549 ประชาชน 2 สีเสื้อ ถูกตั้งสถานะ "นักโทษการเมือง" อีกครั้ง

ฟากรัฐบาลปรากฏความพยายามผลักดันกฎหมาย เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ

ทั้ง กระบวนการผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม เพื่อ "ปลดปล่อย" นักโทษการเมือง และความพยายายามของ กลุ่ม ส.ส. + 1 รองนายกรัฐมนตรี ที่ต้องการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ฉบับที่ถูกขนานนามว่า "สุดซอย"

เมื่อภาพอดีตหวนคืนสู่ปัจจุบัน บทสนทนาของ "จาตุรนต์" กับประชาชาติธุรกิจ จึงมีความหมาย

ทั้งในฐานะผู้ที่เคยได้รับอานิสงส์จากนิรโทษกรรม และในฐานะนักต่อสู้ที่ต้องการเห็นความปรองดองเกิดขึ้นในสังคมอีกครั้ง

ทาง 2 แพร่งของพรรคเพื่อไทย ทั้ง "นิรโทษกรรม-ปรองดอง" เป็นอย่างไรในสายตาของเขา โปรดติดตาม






- ระหว่างร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม กับร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ พรรคเพื่อไทยสนับสนุนร่างไหน

แถลง ชัดเจนไปหลายครั้งแล้ว พรรคเพื่อไทยมีมติสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของคุณวรชัย (เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ) กับเพื่อน และมีมติสนับสนุนให้เลื่อนระเบียบวาระขึ้นมา เพื่อให้สภามีโอกาสพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นี้เป็นโอกาสแรก ส่วนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ที่เพิ่งมีการเสนอต่อสภา พรรคเพื่อไทยยังไม่ได้พิจารณา ยังไม่มีมติสนับสนุน

- ดูเหมือนว่าเวลานี้ เสียงของร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง จะดังกว่ามาก
เสียงปรองดอง เข้าใจว่าเป็นข่าว ทางสื่อให้ความสนใจ แต่ถ้าถามมติพรรค...ก็เป็นอย่างนี้ เชื่อว่า ส.ส.ก็จะปฏิบัติตามมติพรรค

- ส.ส.ที่ลงชื่อสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ถึง 163 คน ถือว่ามีนัยสำคัญหรือไม่
ก็ เป็นการใช้สิทธิของ ส.ส. แต่เมื่อมีการเลื่อนระเบียบวาระก็ดี นำร่าง พ.ร.บ.มาพิจารณารวมกันหรือไม่ก็ดี จะสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองในสภาหรือไม่ ก็จะเป็นไปตามมติพรรค

- ที่ฝ่ายค้านกลัวว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่าง พ.ร.บ.ปรองดองมารวมกัน ในเทคนิคเป็นไปได้หรือไม่
เอ่อ...เป็น ไปไม่ได้ ถ้ามีแต่ร่าง พ.ร.บ.ของคุณวรชัยเข้าไป ก็ต้องไปดูว่าหลักการเป็นอย่างไร ซึ่งพบว่าหลักการของร่าง พ.ร.บ.ปรองดองจะครอบคลุมกว้างกว่า มากกว่าร่างของคุณวรชัย ฉะนั้นจะรวมหรือแปรญัตติจนร่างของคุณวรชัยไปเหมือนกับร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ก็จะไม่เกิดขึ้น

- ดังนั้นการยกโทษให้แกนนำ ผู้สั่งการ และคุุณทักษิณ ชินวัตร ก็จะไม่เกิดขึ้น

คือ มันไม่ใช่สถานการณ์เหมาะหรือไม่เท่านั้น สถานการณ์เหมาะหรือไม่เหมาะ ถ้าจะเสนอร่าง พ.ร.บ.ที่มีเนื้อหากว้างกว่าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมประชาชน ก็ต้องดูความเหมาะสมของสถานการณ์ แต่ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง มีเนื้อหาที่ควรจะนำมาใช้หรือไม่ ไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะความเหมาะสมกับสถานการณ์ แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายต่าง ๆ  มีความเห็นตรงกัน หรือสอดคล้องกันหรือไม่ เห็นด้วยกันหรือไม่ กรณีการนิรโทษกรรมแกนนำและผู้สั่งการ ยังมีผู้ไม่เห็นด้วยอยู่มาก โดยเฉพาะไม่เห็นด้วยในแง่ผู้ที่เป็นแกนนำ และผู้สั่งการทั้งหลายไม่ผ่านกระบวนการยุติธรรม เท่ากับทำให้ผู้ที่สูญเสียไม่ได้รับความยุติธรรม นี่เป็นปัญหาใหญ่

ส่วน กรณีที่ระงับหรือยกเลิกผลการกระทำของคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) หรือคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ก็มีประเด็นว่าจะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 309 หรือไม่ ถ้าขณะนี้มีเสียงความเห็นที่ต่างกัน แม้แต่ในผู้ที่ต้องการให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย ต้องการให้เกิดความยุติธรรม รวมทั้งผู้ที่เห็นด้วยกับเนื้อหาของกฎหมายในส่วนที่จะทำให้เกิดความยุติธรรม ก็ยังมีไม่น้อยที่เห็นว่าเนื้อหานี้จะถูกหักล้างโดยรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นจึงยังมีปัญหาในเรื่องความเป็นไปได้ที่จะมีผลสำเร็จอีกด้วย

- ถ้าเอา พ.ร.บ.ปรองดองเข้าพิจารณาในสภา โอกาสที่จะสำเร็จก็เป็นไปได้ยาก
ร่าง พ.ร.บ.ปรองดองมีปัญหาใหญ่ ๆ อยู่ 2 ขั้นตอน คือ 1.การเอามาพิจารณาในสภาจะทำได้หรือไม่ จะเกิดการต่อต้านและจะกลายเป็นความรุนแรงหรือไม่ 2.ถ้าหากพิจารณาเสร็จแล้ว ขณะนี้ก็มีการเตรียมร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ปัญหาคือจะผ่านศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ แม้ฝ่ายที่อยากเห็นการคืนความยุติธรรม ก็ยังเห็นว่าเนื้อหาอย่างนี้คงจะผ่านศาลรัฐธรรมนูญยาก ก็คาดการณ์ได้เลยว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะคว่ำร่าง พ.ร.บ.นี้ ขนาดผู้ที่อยากเห็นความยุติธรรม ยังเชื่อว่าจะมีปัญหา ขัดรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญย่อมไม่ปล่อยไว้แน่

- อีกด้านหนึ่งจะเป็นเผือกร้อนสำหรับพรรคเพื่อไทยด้วยหรือไม่
สถานการณ์ เป็นอย่างไร คนเห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างไร ซึ่งสามารถไปดูได้จากการจะพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ ฉบับของพล.อ.สนธิ (บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคมาตุภูมิ) ก็เห็นแล้วว่านำไปสู่อะไร แต่พอมาปัจจุบันมีปัญหาซับซ้อนตามมา คือคนก็เกรงว่า ถ้าเอามาผสมกัน หรือมาพิจารณาพร้อมกัน ก็อาจมีผลกระทบกับร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมไปด้วย ดังนั้น ในขั้นต่ำ ก็คือผู้ที่อยากเห็นร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมได้รับการพิจารณา ก็อยากให้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมไปก่อน ส่วนร่าง พ.ร.บ.ปรองดองไม่เอามารวมกัน

- ดังนั้นต้องผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แล้วตามด้วยร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง
(สวน ทันที) ไม่ใช่สเต็ปอย่างนั้น และขณะนี้พูดอย่างเพื่อไม่ให้ขัดใจอะไรกันมาก คือขอพิจารณาร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้เสร็จ ส่วนถ้าถามว่าร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง พรรคเพื่อไทยยังไม่ได้พิจารณา ยังไม่มีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง

แต่ ถ้าถามผม ผมได้อธิบายไปแล้วว่ามองร่าง พ.ร.บ.ปรองดองอย่างไร ไม่ได้บอกว่าให้เอาร่าง พ.ร.บ.ปรองดองไปพิจารณาต่อจากร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมหรือไม่

- ฝ่ายค้านบอกว่า รัฐบาลเล่นเกมสับขาหลอกจะมีผลกระทบกับร่างกฎหมายหรือไม่
ก็ มี...ถ้าไม่ชี้แจงให้ชัดเจนก็จะทำให้เกิดแรงต่อต้านที่มาเหมารวมกับการ นิรโทษกรรมประชาชน จึงต้องทำให้ชัดเจนว่า...นี่ไม่ใช่การสับขาหลอก พรรคเพื่อไทยก็ควรทำให้ชัดเจนว่าสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมเพียงอย่างเดียว

- แต่ก็มีอีกกลุ่มหนึ่งในพรรคเพื่อไทยโฆษณาอยู่ทุกวันว่าจะเอาท่านทักษิณกลับ บ้านให้ได้ สิ่งนี้เป็นปัญหาใหญ่ของการเดินหน้าร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมไหม
ชาว บ้านก็เห็นต่าง ๆ กันไป ชาวบ้านที่สนับสนุนก็มี คัดค้านก็มี ส่วนเรื่องการช่วยให้ พ.ต.ท.ทักษิณกลับประเทศ มันก็เป็นเรื่องมีเหตุผล มีความชอบธรรมอยู่ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะทำด้วยวิธีไหน อย่างไร จึงจะเป็นไปได้ แล้วจึงจะมีผลเป็นที่ยอมรับ

- การพา พ.ต.ท.ทักษิณกลับบ้านยังมืดมน มีวิธีไหนที่ทำแล้วมีความชอบธรรม
ถ้า ถามผม ผมก็ตอบสั้น ๆ ว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องถูกล้ม ถูกทำให้พ้นจากการเป็นนายกฯ และทำให้ต้องถูกดำเนินคดี ถูกตัดสินลงโทษ และไม่สามารถอยู่ในประเทศไทยได้ เป็นผลจากการที่ประเทศนี้ไม่เป็นประชาธิปไตย ท่านจะกลับเมืองไทยได้ก็ต่อเมื่อบ้านเมืองนี้เป็นประชาธิปไตย และบ้านเมืองนี้มีความยุติธรรมจริง ๆ เกิดขึ้น ส่วนจะทำอะไรบ้างก็ต้องคิดกันอีกมาก เพราะมันไม่มีวิธีง่าย ๆ ที่จะนำท่านกลับมาประเทศไทย

- ทำไมการผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ยุคนี้จึงยากกว่าในอดีต
ใน อดีตหลายครั้งเกิดโดยการออกเป็นพระราชกำหนดก็ง่ายกว่าพระราชบัญญัติ นอกจากนั้น ที่เกิดบ่อยมากคือการนิรโทษตัวเองของผู้มีอำนาจ หรือไม่ก็เป็นการออกกฎหมายนิรโทษกรรมโดยผู้มีอำนาจ นิรโทษกรรมผู้ที่อยู่ฝ่ายตรงข้าม แต่การจะนิรโทษกรรมครั้งนี้มันเกิดขึ้นในขณะที่ความขัดแย้งในสังคมมันซับ ซ้อน ฝ่ายที่ขัดแย้งกันในสังคมมีลักษณะผลัดกันเป็นฝ่ายต่อต้านและฝ่ายรัฐบาล

สภาพ ที่พอจะมีการนิรโทษกรรมแล้วจะกลายเป็นการนิรโทษกรรมพวกตัวเอง ในขณะที่ความขัดแย้งในสังคมยังสูงอยู่ มันก็ทำได้ยาก เมื่อเทียบกับเวลาฝ่ายที่ยึดอำนาจมีอำนาจแล้วนิรโทษกรรมตัวเองมันง่าย ฝ่ายมีอำนาจถูกคนก่อกบฏขึ้น แล้วมานิรโทษกรรมให้กับผู้ก่อกบฏ มันก็ง่าย เพราะไม่มีผู้สูญเสียอื่นมาเกี่ยวข้อง แล้วสังคมก็อยู่ในสภาพปิด ความขัดแย้งไม่ได้ซับซ้อน

แต่มาเดี๋ยวนี้ ใครจะมาเป็นรัฐบาลก็ตาม เมื่อจะนิรโทษกรรม ก็จะมีปัญหา นิรโทษกรรมพวกตัวเองหรือเปล่า นิรโทษกรรมผู้มีอำนาจหรือเปล่า นิรโทษกรรมผู้สั่งการหรือเปล่า ก็จะทำให้ยากกว่าในอดีต

- จะฝ่าแรงต้านจนประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายได้หรือไม่
คือ ถ้าแยกซะให้ชัดเจน อธิบายให้ดี ก็น่าจะสามารถหยิบขึ้นมาพิจารณาได้ แล้วถ้าได้พิจารณา ก็น่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากสภา สามารถนำมาบังคับใช้ได้ แต่ถ้าปล่อยให้สถานการณ์คลุมเครือแล้วถูกกล่าวหาไปต่าง ๆ นานา ก็อาจทำให้มีแรงต้านมากขึ้นก็จะเป็นอุปสรรค

- พรรคเพื่อไทยคุมสถานการณ์อยู่ไหม
ต้องทำให้ชัดเจนมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่ก็หวังว่าเมื่อเวลาผ่านไปก็จะชัดเจนมากขึ้น ไม่ใช่ยิ่งคลุมเครือมากขึ้น

- แนวทางที่พรรคเพื่อไทยควรทำให้ชัดเจนมากกว่าที่เป็นอยู่คืออะไร

อาจจะต้องชี้แจงให้หนักแน่น ชี้ชัดเจนกว่านี้

- สรุปแล้วนิรโทษกรรมเป็นของร้อนหรือของเย็นของรัฐบาล

นิรโทษ กรรมก็เป็นจุดสนใจ เป็นประเด็นการเมืองที่คนสนใจมากพอสมควร อาจถูกกล่าวหาโจมตีก็ได้ เป็นภาระของรัฐบาลก็ได้ แต่โดยรวมแล้วเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้ประชาชน ช่วยทำให้เราก้าวไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้ง จึงเป็นเรื่องที่เป็นผลดีต่อรัฐบาล ถ้าทำสำเร็จก็จะเป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง และเป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล

- ประเด็นโต้แย้งก็ยังมีอยู่ในสังคม เช่น ไม่ควรนิรโทษกรรมคดีอาญา
การ นิรโทษกรรม เจตนาก็คือการนิรโทษกรรมคดีอาญาโดยตรง ไม่ใช่คดีแพ่ง ซึ่งการนิรโทษกรรม เป็นการนิรโทษกรรมคดีอาญาที่เกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง การนิรโทษกรรมคดีอาญาในอดีตทั้งหมด เป็นการนิรโทษกรรมในคดีอาญาทั้งนั้น การนิรโทษกรรมเมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลา ก็เป็นเรื่องคดีอาญา การที่มาพูดว่านิรโทษกรรมต้องไม่รวมคดีอาญา ก็คือไม่นิรโทษกรรมนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น