แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันจันทร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ป.ป.ช.ยกคำร้อง 3 สำนวนคดี ปรส.

ที่มา Voice TV




คณะอนุกรรมการไต่สวนคดี ปรส. ความเสียหาย 8 แสนล้านบาท ของ ป.ป.ช.  มีมติยกคำร้อง 3 สำนวน จากทั้งหมด 5 สำนวน ซึ่งเป็นสำนวนคดีของฝ่ายการเมืองในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัยทั้งหมด  
 
 
คณะอนุกรรมการไต่สวน คดีการดำเนินการบริหารองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. ที่มีนายใจเด็ด พรไชยา กรรมการ ป.ป.ช เป็นประธาน มีมติยกคำร้อง 3 สำนวน ประกอบด้วยคดี ที่นายธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย และผู้เกี่ยวข้องในฐานะผู้กำหนดนโยบาย โดยระบุว่าไม่มีส่วนในการขายทรัพย์สินโดยมิชอบ 
 
 
แต่ชี้มูลความผิด 1 สำนวน คือของนายมนตรี เจนวิทยาการ เลขาธิการปรส. ในฐานะที่ไม่ปฏิบัติตามข้อสนเทศ เรื่องการประกาศขายทรัพย์สิน ของ ปรส. ซึ่งหลังจากนี้ จะต้องส่งสำนวนคดีให้อัยการ ซึ่งคดีนี้จะขาดอายุความในวันที่ 30 กันายน 2557
 
 
ขณะเดียวกันยังเหลืออีก 1 สำนวนที่กล่าวหาคณะกรรมการปรส.ในการขายทรัพย์สิน ให้กองทุนรวมเอเชียคอบเวอรี่ ซึ่งอยู่ระหว่างการเชิญผู้ถูกกล่าวหามารับทราบและชี้แจงข้อกล่าวหา ซึ่งคดีนี้จะขาดอายุความวันที่ 31 พฤศจิกายน 2557 
 
 
นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการไต่สวน ยังได้ชี้แจงข้อมูลการทำคดี ให้กับนายพงษ์พิสิษฐ์ คงเสนา หรือ เล็ก บ้านดอน ผู้อำนวยการสถานีวิทยุมหาชนคนไทยหัวใจเดียวกัน และกลุ่มภาคี พลังประชาชน หรือ ภปช. ที่ชุมนุมหน้า ป.ป.ช. เพื่อต้องการทราบความชัดเจน และขอให้ชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร ตามที่ ป.ป.ช. รับคดี ปรส.ไว้ 6 เรื่องนั้น ว่ามีความคืบหน้าอย่างไร การดำเนินการที่อ้างว่าแล้วเสร็จไป 4 เรื่องนั้น สำนวนต่างๆ ถูกส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วหรือไม่  ซึ่งหลังจากการรับฟังการชี้แจง กลุ่มผู้ชุมนุม ภปช. จะมีการหารือร่วมกัน เพื่อสรุปว่า จะยุติการชุมนุมหรือยกระดับการชุมนุมต่อไป
 
 
คดี ปรส. เกิดขึ้นในปี 2540 ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจฟองสบู่แตก โดยมีที่มาจากการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือปรส. ของ 56 สถาบันการเงินที่ถูกปิดกิจการ มูลค่า 851,000 ล้านบาท ในสมัยของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อแยกหนี้ดี-หนี้เสียออกจากกัน แล้วค่อยประมูลขาย เพื่อปลดล็อกสินทรัพย์ โดยสินทรัพย์ที่ดี จะได้ขายได้ใน ราคาที่ดี (โดยใช้วิธีประมูล) อีกทั้งช่วยเหลือผู้ฝากเงิน และเจ้าหนี้ที่สุจริต โดยเฉพาะกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ในสัดส่วนร้อยละ 87.54 และเพื่อชำระบัญชีสถาบันการเงินที่ไม่สามารถฟื้นฟูกิจการได้  
 
 
แต่ปรากฎว่า รัฐบาลในขณะนั้นกลับนำสินทรัพย์ทั้งหมดไปประมูลขายเพียง 190,000 ล้านบาท ทำรัฐเสียหายกว่า 8 แสนล้านบาท เกิดความเสียหายแก่ระบบเศรษฐกิจของประเทศ ที่ผ่านมามีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์กล่าวโทษต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งดีเอสไอสรุปสำนวนคดีดังกล่าว ว่า ไม่ชอบด้วยกฎหมายใน 10 ประเด็น 
3 มิถุนายน 2556 เวลา 18:19 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น