แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กรณี แพทย์ชนบท นัดชุมนุมผู้ป่วยล้างไตหน้าบ้านนายกฯ ปู การเมือง หรือเดือดร้อน ???

ที่มา Thai Free News

 บทความโดย ลูกชาวนาไทย

ตอน เริ่มต้นการทำงานของชีวิตใหม่ ผมเคยได้มีโอกาสทำงานเป็นบุคคลากรด้านสาธารณสุขในระดับล่างสุดของกระทรวง สาธารณสุข ที่เขาเรียกกันแบบสุภาพๆ ว่า "พวกน้องเณร" ทั้งหลาย ทำให้ผมมีความรู้ความเข้าใจการทำงานด้านสาธารณสุขในระดับชุมชนมากพอสมควร เรียกว่ารากฐานความรู้ช่วงต้นๆ มาจากตรงนั้นเลยก็ได้

ผมได้ยินข่าวว่า "ชมรมแพทย์ชนบท" จะเอาผู้ป่วยล้างไต ไปประท้วงหน้าบ้านนายกฯปู ผมก็เริ่มรู้สึกแปลกใจว่า "เกิดอะไรขึ้น" 

มี ปัญหาอะไรกันในวงการสาธารณสุขที่ใหญ่โตขนาดนั้น จากที่ไม่สนใจข่าวนี้ทำให้ผมต้องกลับไปค้นว่า "รากฐานที่มาของปัญหามันคืออะไรกันแน่" 

แพทย์ ชนบทนั้น คือแพทย์จบใหม่ทั้งหลายที่ต้องใช้ทุนรัฐบาลที่เข้าเรียนแพทย์ซึ่งเป็นการ "ได้รับทุนทั้งหมด" แพทย์ทุกคนต้องใช้ทุนโดยการรับราชการอย่างน้อย 4-5 ปีนี่แหละก่อนจะลาออกไปทำงานโรงพยาบาลเอกชนได้ ช่วงปี 2520-2530 เป็นช่วงที่ประเทศไทยทุ่มงบประมาณพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศเป็นอย่างมาก มีการสร้างโรงพยาบาลอำเภอเกือบทุกอำเภอ เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 - 60 เตียง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจะส่งแพทย์จบใหม่ ไปประจำตามอำเภอเหล่านั้น ซึ่งสมัยก่อนเราได้ยินเรื่องดังๆ เช่น หมอเมืองพร้าว เป็นต้น

บุคคลากร สาธารณสุขต่างๆ รวมทั้งแพทย์ชนบทมี Idol ที่เคารพมากคือ "นายแพทย์ประเวศ วะสี" เพราะช่วงปี 2520-2540 หมอประเวศทุ่มเทงานด้านสาธารณสุขมาก ผู้นำแพทย์ชนบทยุคนั้นที่ได้ยินชื่อเช่น น.พ.วิชัย โชควิวัฒน๋ เป็นต้น 

การ ขยายตัวไปชนบทนั้นแพทย์ได้รับความนับถือจากชาวบ้านมาก เพราะเหมือน "พ่อพระ" มาโปรด คนยากคนจน แพทย์ชนบทจึงได้รับความนับถือจากชาวบ้าน ยิ่งมีการขยายงานสาธารณสุขมูลฐาน การอบรม ผสส./อสม. ที่เอาชาวบ้านมาอบรมด้านสาธารณสุขแล้วให้ช่วยเหลือเป็นอาสาสมัครสาธารณสุข ขยายเต็มทุกหมู่บ้าน

เมื่อแพทย์ชนบทเปรียบเสมือนผู้ให้ จึงมีความรู้สึกว่าเหนือกว่าชาวบ้านที่เป็นผู้รับทั้งหลาย

มา ถึงยุคนายกฯทักษิณ ชินวัตร นโยบายสาธารณสุขเปลี่ยนไปจากโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งจริงๆ คือ การนำเอาระบบ Comprehensive Health Care System=CHCS แบบอังกฤษมาใช้ สรุปคือ "ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของทั้งสังคมนั้น รัฐ (ก็คือสังคม) จะเป็นผู้จ่าย (เรียกระบบ Single Payer) จะไม่มีการจ่ายตรงจากประชาชนอีกต่อไป 

การรักษาพยาบาลกลายเป็น "สิทธิของประชาชน" ที่รัฐจะต้องจัดหามาให้ 

ระบบ การแพทย์ก็เปลี่ยนไปจาก การแพทย์แบบประชาสงเคราะห์แพทย์/พยาบาลเหมือนผู้ให้ มีสถานะสูงกว่าผู้รับคือ ชาวบ้านที่ต้องมาข้อรับการสงเคราะห์นั้น 

ระบบ ใหม่ "บริการด้านการแพทย์เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่รัฐจัดหาให้" แพทย์พยาบาลเปลี่ยนบทบาทจาก "ผู้ให้" มาเป็น "ผู้บริการ" ซึ่งถือเป็นหน้าที่ ส่วนประชาชนกลายเป็นผู้มีสิทธิ์ในการรับบริการ ไม่ใช่มาขอแบบอนาถาอีกต่อไป

ผู้รับจึงมีเกียรติและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีความเสมอภาค

แน่นอนระบบใหม่นี้บุคคลากรบางส่วนย่อมไม่พอใจ

ยุค นายกฯปู ปี 2555 ประเทศไทยเปลี่ยนเป็นประเทศที่กำลังเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม รายได้ระดับกลาง กำลังติดกับดัก Middle income Trap ที่จะต้องทะลวงผ่านให้ได้ รัฐบาลจึงมีนโยบายเป็นศูนย์กลางต่างๆ เช่น ยานยนต์ 

และ โชคดีที่ระบบการแพทย์และสาธารณสุขของไทยได้รับความนิยมมาก มีเศรษฐีต่างๆ จากทั้งอาหรับและคนมีฐานะดีในภูมิภาคอาเซียน เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนมาก ยินดีจ่ายไม่อั้น ระบบการแพทย์ไทยจึง "สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก" เช่นเดียวกับการนวดแผนไทย สปา ที่นักท่องเที่ยวนิยม 

รัฐบาล นายกฯปู จึงมีนโยบาย Medical Hub หรือ "การเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านการแพทย์ในอาเซียน" เพื่อสร้างรายได้เข้าประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การจ้างงานบุคคลากรในด้านการแพทย์ การสาธารณสุขต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งการพัฒนาระบบการแพทย์ไทยให้ก้าวหน้าอยู่ในระดับแนวหน้า

การ ทำตามนโยบาย Medical Hub จึงต้องปรับตัวหลายด้าน เช่น การผลิตยา ก็ต้องส่งเสริมให้บริษัทใหญ่ๆ เข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เพื่อต้นทุนลดลง หรือมีการใช้ทรัพยากรในประเทศ เช่นสมุนไพร เป็นต้น

แน่ นอน มันย่อมขัดผลประโยชน์รัฐวิสาหกิจที่ผูกขาดในการผลิตยาของไทย คือ "องค์การเภสัชกรรม" (ก็เหมือน ปตท.ที่ผูกขาดตลาดแก๊สธรรมชาตินั่นแหละ) การเปิดเสรีด้านการผลิตยา ย่อมขัดผลประโยชน์องค์การเภสัชกรรม แรงต้านจากกลุ่มผู้บริหาร และคนทีเกี่ยวข้องจึงมี และการปลด นพ.วิทิต อรรถเวชกุล ออกจากผู้อำนวยการองค์การเภสัชฯ น่าจะเป็นการจุดชนวนความไม่พอใจอันหนึ่ง  ของกลุ่มผลประโยชน์ที่ผูกขาดตลาดการผลิตยาแต่เพียงเจ้าเดียวอยู่

จริงๆ นโยบาย Medical Hub ไม่ได้ขัดแย้งกับระบบบริการด้านการแพทย์ในโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค CHCS เพราะรัฐบาลยังบริการประชาชนด้วยระบบนี้อยู่ อาจมีการดึงบุคคลากรกันระหว่าง รพ.เอกชน กับ รพ.รัฐ ทางแก้ก็คือ ต้องผลิตบุคคลากรให้เพียงพอในระยะยาว 

ประเด็น เรียกร้องของแพทย์ชนบทที่จะเอาผู้ป่วยล้างไตไปประท้วงหน้าบ้านนายกฯ หลังจากที่ผมดูข้อเรียกร้องทั้ง 5 ข้อของแพทย์ชนบทแล้ว ผมงงๆ 

(ข้อเรียกร้องอยู่นี่ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1366877017&grpid=00&catid=00 )

เพราะ ผมว่ารัฐบาลสามารถเจรจากันได้ เหมือนที่ นายกฯปู ตอบสนองเจรจากับม็อบปากมูล ที่ไปบุกทำเนียบเมื่อเดือนที่แล้ว และการเจรจาก็จบได้อย่างดี พึงพอใจทั้งสองฝ่าย

ผมคิดว่า นายกฯปู คงพร้อมที่จะเจรจากับแพทย์ชนบท 

ส่วน เรื่องการเรียกร้องให้ ยุติโครงการ Medical Hub และปลด รมว.สาธารณสุข นั้นผมว่ามันเกินไป มันเป็นการเคลื่อนไหวในบริบททางการเมือง แนวคิดทางการเมือง ไม่ใช่เรื่องความเดือดร้อน และแนวคิดล้าหลังกว่าชัดๆ 

ยิ่ง เห็นชื่อ น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ และอดีตแกนนำแพทย์ชนบทอื่นๆ ที่เชื่อมโยงไปถึง น.พ.ประเวศ วะสี อะไรพวกนี้แล้ว ผมรู้สึกทะแม่งๆ ว่านี่มันเป็น "ยุทธการทางการเมืองเพื่อโค่นล้มรัฐบาลนายกฯปู" เป็น "แนวรบอีกสาขาหนึ่งของพวกอำมาตย์" หรือเปล่า 

ข้อเรียกร้องก็ไม่ค่อยสมเหตุสมผลมากมายแต่อย่างใด เพราะมันเจรจากันได้ ไม่ถึงกับต้องเอาผู้ป่วยฟอกไตเป็นเครื่องมือ

ยิ่ง อ้างว่าทักษิณซื้อ รพ.เอกชน ด้วยแล้ว ข้อเท็จจริงมันไม่ใช่ วงการเขารู้กันอยู่ว่า กลุ่มทุน รพ.เอกชนนั้นเชื่อมโยงกับอำมาตย์ ไม่ใช่ทักษิณ 

แต่ข่าวล่าสุดคือ กลุ่มแพทย์ชนบท ได้คุยกับฝ่ายรัฐบาลแล้ว และประกาศเลื่อนการชุมนุมหน้าบ้านนายกฯ ไปอีกสองสัปดาห์

ก็ ดีครับหากเป็นปัญหาความเดือดร้อน และรัฐบาลพร้อมที่จะคุยเพื่อหาทางออกในการกแก้ปัญหา ก็ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี เพราะไม่มีปัญหาใดที่คุยกันไม่ได้ 

การเจรจา ก็ต้องดูว่าผลประโยชน์รวมของประเทศชาติเป็นอย่างไร จะแก้ปัญหาร่วมกันอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

อย่า ให้เป็นปัญหาการเมือง หรือนโยบายแนวคิดทางการเมืองเลยครับ เพราะนโยบายและแนวคิดนั้นควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชนเป็นผู้ตัดสิน 

เพราะรัฐบาลได้รับฉันทานุมัติจากประชาชนให้มาทำตามที่เขาสัญญากับประชาชนไว้


http://www.tfn5.info/board/index.php?topic=46566.0

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น