แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

รบ.แจงเหตุลดราคาจำนำข้าวเพื่อวินัยการคลัง

ที่มา Voice TV




คณะรัฐมนตรี เห็นชอบตามข้อเสนอการปรับลดราคารับจำนำข้าวนาปรังปี 2556 ของกขช. โดยระบุว่า เป็นไปตามราคาตลาดโลก และวินัยทางการคลัง ขณะที่นายกรัฐมนตรีย้ำว่า หากราคาขึ้น จะปรับขึ้นราคารับจำนำแน่นอน
 
 
นายกรัฐมนตรี เรียกประชุมคณะรัฐมนตรีนัดพิเศษ หลังคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ หรือ กขช. มีมติให้ลดราคารับจำนำข้าวลง เฉพาะข้าวนาปรังปี 2556  จาก 15,000 บาท เป็น 12,000 บาท  
 
 
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี รับทราบความเห็นของ กขช. ที่ระบุว่าสถานการณ์เศรษฐกิจโลกโดยรวมมีความผันผวน ประกอบกับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น จึงเห็นชอบให้ปรับราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้า 100% ของโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 จากราคาตันละ 15,000 บาท เป็นราคาตันละ 12,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป 
 
 
โดยราคาที่ลดลงใกล้เคียงกับราคาเฉลี่ยของ ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง บวกค่าตอบแทนเกษตรกรประมาณร้อยละ 40 ซึ่งเป็นเกณฑ์การช่วยเหลือที่สูงกว่ามาตรฐานการช่วยเหลือสินค้าเกษตรทั่วไป  โดยนายกรัฐมนตรี ย้ำว่า จะขึ้นราคาและแก้เงื่อนไขดังกล่าว หากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น
 
 
ขณะเดียวกันที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ยังรับทราบผลการประชุม กขช. เรื่องการจำกัดวงเงินรับจำนำข้าวของเกษตรกรแต่ละครัวเรือน จากเดิมที่ไม่จำกัดวงเงิน เป็นไม่เกินครัวเรือนละ 500,000 บาทต่อปี โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไป
 
 
สำหรับกรอบวงเงินที่ใช้ในการรับจำนำข้าว เปลือกนั้น ยืนยันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2556 ที่กำหนดวงเงินดำเนินการสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2556 จะต้องไม่เกิน 500,000 ล้านบาท แบ่งเป็นวงเงินจากกระทรวงการคลัง 410,000 ล้านบาท และเงินทุนหมุนเวียนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจำนวน 90,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีข้าวเข้าร่วมโครงการประมาณ 2 - 3 ล้านตันข้าวเปลือก จึงมีผลกระทบกับเกษตรกรไม่มาก 
 
 
ด้านนายอารีพงศ์ ภุ่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ยอมรับว่า การลดราคารับจำนำข้าวเป็นผลมาจากการขาดทุน แบบมีผลกระทบต่อฐานะทางการคลังระยะยาว จึงต้องปรับให้เหมาะสมมากขึ้น ส่วนการบริหารหลังจากนี้ ขึ้นอยู่กับกระทรวงพาณิชย์  ที่จะระบายข้าวในสต็อกได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด โดยกระทรวงการคลัง  ต้องการเห็นกระทรวงพาณิชย์เพิ่มช่องทางการระบายข้าวให้มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น  นอกจากนี้ ยังยืนยัน การปรับลดราคารับจำนำข้าว จะทำให้วงเงินที่ใช้ในโครงการรวมทั้งหมด ไม่เกิน 500,000 ล้านบาท ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี
 
 
ปลัดกระทรวงการคลัง ยังยืนยันว่า ในปีงบประมาณ 2557 เป็นต้นไป จะทยอยชำระหนี้คืนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. ซึ่งขณะนี้มีค้างหนี้อยู่จากโครงการนี้ ประมาณ 1 แสนล้านบาท
 
 
ส่วนข้อท้วงติงว่าการปรับเปลี่ยนโครงการรับ จำนำข้าวเปลือก จะกระทบกับการแถลงเป็นนโยบายหรือไม่นั้น นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้ความเห็นว่าสามารถดำเนินการได้ เพราะรัฐบาลได้ดำเนินนโยบายเร่งด่วน  ตามที่ได้แถลงไว้ครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปีแรก  จากนี้ไปจะเป็นการปรับโครงสร้างภาคการเกษตร ที่เน้นเพิ่มรายได้ให้ดีขึ้น พร้อมกับเพิ่มคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับการชี้แจงของของนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
 
 
นอกจากนี้นายกรัฐมนตรี ยังกำชับ ว่า จากนี้ไป  รัฐบาลจะให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็นคือ การทำเกษตรโซนนิ่ง โดยเน้นการปลูกพืชเกษตรในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อช่วยเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร  เร่งรัดให้กระทรวงที่เกี่ยวข้อง  นำงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่องกับการเพิ่มมูลค่าและคุณภาพสินค้าเกษตรมาปรับใช้ เช่น การผลิตข้าวอินทรีย์ ที่เมื่อผลิตและส่งออกแล้ว  จะได้ราคาดี และสุดท้ายคือมอบหมายให้กิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี หารือร่วมกับกระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ยกระดับราคาสินค้าเกษตรที่สามารถนำมาใช้ในการผลิตเป็นพลังงานทดแทน
 
 
นอกจากนี้เพื่อความโปร่งใส  ในการดำเนินการโครงการรับจำนำข้าว ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกระทรวงมหาดไทย เข้มงวด  ในการตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าวทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การจดทะเบียน การตรวจสภาพข้าว การเก็บรักษา และการระบายข้าว
 
 
ด้านสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติพบว่า โครงการรับจำนำข้าวที่ผ่านมา ทำให้กำลังซื้อและการบริโภคของประเทศเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 2 ทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.69 ในปีแรกของโครงการ และเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62 ในปีที่สอง ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่าอัตราปกติ 
 
 
ทั้งนี้ในปี 2555 ที่ผ่านมา การใช้จ่ายภาคครัวเรือนทั้งประเทศขยายตัวถึงร้อยละ 6.7 แต่หากไม่มีโครงการเพื่อเพิ่มรายได้และอำนาจซื้อของเกษตรกรในชนบท จะส่งผลให้การบริโภครวมของครัวเรือนขยายตัวเพียงร้อยละ 4.7 เท่านั้น
19 มิถุนายน 2556 เวลา 18:24 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น