แถลงการณ์สวนโมกข์ ๕๐ ปี


บทสวด ปฏิจจสมุปบาท MP3 24 จบ ฟังยาวได้เลย 2 ชั่วโมง 49 นาที



พุทธวจนคืออะไร

วันเสาร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2556

[วิดีโอ] "คิดใหม่ประชานิยม: จากรัฐบาลทักษิณถึงยิ่งลักษณ์ เราเรียนรู้อะไรบ้าง"

ที่มา ประชาไท

Fri, 2013-05-31 20:50
ตามที่เมื่อวันที่ 30 พ.ค. ที่ผ่านมา ประชาไทได้นำเสนอข่าว สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) และมูลนิธิมูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท (FES) จัดเสวนาสาธารณะ “คิดใหม่ประชานิยม: จากรัฐบาลทักษิณถึงยิ่งลักษณ์ เราเรียนรู้อะไรบ้าง” ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเสวนาสาธารณะเศรษฐกิจแห่งวันพรุ่งนี้ 'Economy of Tomorrow' โดยวิทยากรประกอบด้วย นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการอิสระ เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อัมมาร สยามวาลา สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย และ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ดำเนินรายการโดย ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ openbook นั้น (อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง)
โอกาสนี้ประชาไทนำเสนอวิดีโอส่วนหนึ่งของ การเสวนา “คิดใหม่ประชานิยม: จากรัฐบาลทักษิณถึงยิ่งลักษณ์ เราเรียนรู้อะไรบ้าง” ดังกล่าว โดยวิดีโอการอภิปรายที่นำเสนอ แบ่งออกเป็น 3 ช่วง โดยมีรายละเอียดต่อไปนี้
000



ช่วงแรก สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประเมิน นโยบายประชานิยมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลไทย สองช่วงคือสมัยทักษิณ ชินวัตร และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตามด้วยการอภิปรายของเกษียร เตชะพีระ กล่าว 4 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับนโยบายประชานิยม และอภิปรายเรื่องการเมืองแบบเทคโนแครต ที่ไม่มีน้ำยา เพราะไม่อาจคัดค้านการเมืองแบบประชานิยมได้ “ไม่มีน้ำยา” และข้อเสนอให้ฝ่ายต่างๆ "repositioning ให้พ้นการเมืองเสื้อสี และการเมืองแบบประชานิยม"
ขณะที่นิธิ เอียวศรีวงศ์ กล่าวถึงเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิดนโยบายประชานิยมในโลกคือ หนึ่ง สังคมที่ผลิตสินค้าและบริการขาย ไม่ใช่สังคมเกษตร สอง สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง นอกจากนี้ความสัมพันธ์เชิงประเพณีที่กำหนดให้เกิดความมั่นคงสำหรับคนเล็กๆ ได้หมดไปแล้ว เพราะฉะนั้นหลังรัฐธรรมนูญ 2540 เมื่อการเมืองแบบเลือกตั้งในไทยค่อนข้างมั่นคง นักการเมืองที่เข้ามาใหม่ก็มองเห็นทันทีว่าต้องเล่นเรื่องประชานิยม นอกจากนี้นิธิ ตั้งข้อสังเกตด้วยว่าเงื่อนไขการเกิดประชานิยมในไทย และในลาตินอเมริกามีเงื่อนไขที่คล้ายกัน
นอกจากนี้นิธิเตือนด้วยว่านโยบายประชานิยมเหมาะอย่างยิ่งในการทำให้เกิด ระบอบเผด็จการเบ็ดเสร็จขึ้นได้ ถ้าไล่ดูจะเห็นว่าเผด็จการมีช่วงของการใช้นโยบายลักษณะนี้หรือฝันว่าจะใช้ นโยบายกระจายทรัพยากร ด้วยเหตุดังนั้น ถ้าเราไม่เอาใจใส่เรื่องที่มา ความถูกต้อง ความชอบธรรมของอำนาจ เราจะเปิดโอกาสให้เกิดเผด็จการเบ็ดเสร็จได้
000



ช่วงที่สอง เป็นการอภิปรายโดย อัมมาร์ สยามวาลา กลายว่านโยบายประชานิยมบางเรื่องก็เป็นนโยบายที่เห็นด้วย เช่น หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อย่างไรก็ตามแต่ไม่ได้หมายความว่ารัฐบาลประสบความสำเร็จในเรื่องนี้ ข้อสังเกตอันหนึ่งของความไม่เอาไหนของระบบประชานิยมคือ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในร้อยประเทศที่ไม่มีดัชนีค่าจ้างแรงงาน ไม่มีใครแคร์ ถ้าขาดแคลนแรงงานก็เอาพม่ามา เขมรมา ตรงนี้ผมเป็นชาตินิยม เพราะเป็นการตัดช่องน้อยแต่พอตัว แทนที่จะเพิ่มค่าแรงและปรับปรุงตัวเอง
อัมมาร์กล่าวถึงบทบาทของสถาบันวิจัยทีดีอาร์ไอด้วยว่า ดูทุกนโยบายของรัฐบาล ปัญหาก็คือ คราวที่แล้วทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านเสนอนโยบายประชานิยมทั้งคู่ และระบบการเลือกตั้งพอลงคะแนนเสียง ได้เสียงข้างมากไปแล้วก็มีอำนาจล้นฟ้า ขณะที่พรรคฝ่ายค้านไม่มีน้ำยา ส่วนหนึ่งเพราะไม่มีน้ำยาจริงๆ อีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐธรรมนูญไม่เปิดให้ฝ่ายค้านมีน้ำยา นอกจากนี้อัมมาร์ได้กล่าวยอมรับว่าได้ร่วมมือกับรัฐบาลหลังการรัฐประหารในปี 2549 ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องทบทวน และว่ายุคทหารครองเมืองจากการปฏิวัติมันหมดแล้ว และมันสร้างพิษในระบบการเมืองของเราจนถึงทุกวันนี้ ผมหวังว่ามันค่อยๆ จางลงไปแล้ว"
ขณะที่เกษียร เตชะพีระ มีข้อเสนอให้มีการปรับจุดยืน (Repositioning) ทั้งนี้พอหลังเลือกตั้ง รัฐบาลเมื่อมีอำนาจมากขึ้นก็เริ่มแสดงท่าแบบที่เคยทำก่อนรัฐประหาร บวกกับความจริงทีว่า การเมืองเสื้อสีตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทำให้การถกเถียงเชิงนโยบายลำบาก ดังนั้นจึงต้องต้องปรับจุดยืนตัวเองแล้วเป็นตัวแทนบทสนทนาที่หลากหลาย ต้องสร้างบทสนทนาของประชาชนกับผู้มีอำนาจรัฐที่มีประสิทธิภาพ
000


ช่วงที่สาม เป็นการอภิปรายช่วงท้ายของ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ที่ กล่าวถึงจุดยืนของนักวิชาการว่า อยากเห็นนักวิชาการและทีดีอาร์ไอเป็นนักวิชาการ ไม่ได้เป็นแอคติวิสต์ การที่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้มแข็ง ไม่ควรเป็นเหตุให้สถาบันวิชาการทำหน้าที่แทนพรรคฝ่ายค้าน และว่าทีดีอาร์ไอยังอยากจะวิพากษ์วิจารณ์นโยบายเป็นชิ้นๆ มากกว่าการวิพากษ์วิจารณ์ระบบการเมือง เพราะมันเสี่ยงและเลี่ยงได้ยากมากที่จะพัวพันกับเสื้อสีต่างๆ การวิจารณ์นโยบาย ไม่ว่ารัฐบาลไหนมันมีทั้งนโยบายที่ดีและไม่ดี
ขณะที่ เกษียร เตชะพีระ เสนอให้กลุ่มประชาชนกลุ่มต่างๆ กลุ่มอาชีพ กลุ่มนักวิชาการ ที่ไม่ทะเลาะกันเรื่องสีแล้วสร้างบทสนทนากับรัฐบาลที่มาจาการเลือกตั้งได้ เพราะสภาก็ไม่สามารถพูดแทนปัญหาจำนวนมากได้ ซึ่งการจะทำให้ประชาธิปไตย Healthy จำเป็นต้องการบทสนทนาที่แข็งแรงหลากหลาย
ต่อข้อเสนอปรับจุดยืนของเกษียรนั้น นิธิ เอียวศรีวงศ์กล่าว ว่า เห็นด้วยกับเรื่องนี้ แต่มีความยุ่งยาก คนกลุ่มหนึ่งสามารถทำได้ แต่ถ้าไม่เข้าใจทำไม่ได้ และคนจำนวนมากทำไม่ได้ อย่างเช่น จำนวนมากของคนเสื้อแดง เขาไม่ได้เห็นพ้องต้องกันกับธิดา หรือเกษียร แต่เขาเห็นร่วมกันว่าอย่าเผลอ ไม่อย่างนั้นทหารจะยึดอำนาจ เขาจึงต้องเล่นสุดโต่งต่อ
ขณะที่ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ยังเสนอ ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญให้มีวินัยการคลัง เพื่อไม่ให้การเมืองทั้งสองฝ่ายแข่งขันกันจนทำลายตัวเองและระบบเศรษฐกิจ เขาเตือนด้วยว่าแม้ว่าประเทศไทยขณะนี้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีไม่สูง แต่มันสามารถกระโดดขึ้นได้ถ้าเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจ เกิดแรงกระทบจากภายนอก เช่นในปี 1997 หนี้ต่อ GDP เคยกระโดดจาก 16% เป็น 61% ในเวลาปีสองปี และหนี้ต่อ GDP ขณะนี้อยู่สามารถ 44% ก็สามารถกระโดดขึ้นไปได้ เพราะขณะนี้กำลังจะมีโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ เกิดขึ้นมา และถ้าเกิดภาวะเช่นนั้นความเดือดร้อนจะเกิดกับประชาชนทุกกลุ่ม
ขณะที่อัมมาร สยามวาลา เสนอว่าเงินทุกบาทที่รัฐบาลใช้จ่าย จะต้องอยู่ในงบประมาณแผ่นดินที่ได้รับการอนุมัติจากสภา เท่าที่ผมอ่านประวัติศาสตร์เมืองนอก ประชาธิปไตยเกิดขึ้นเพราะข้อถกเถียงเรื่องการใช้เงินรัฐและการเก็บภาษี ประชาชน จะขาดดุลก็ได้ตราบใดที่รัฐสภาตัดสินใจได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น